การผลิตเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งในเยอรมนีที่มีชื่อเสียงมาก เพราะมีช่างฝีมือชำนาญด้านเจียรนัย การตกแต่งและออกแบบเครื่องประดับ แหล่งผลิตเครื่องประดับที่สำคัญๆ ของเยอรมนี ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ที่สำคัญๆ ได้แก่ เมืองอีดาร์โอเบอร์ชไตน์ ชตุทการ์ท และฟอร์ซไฮม์ เป็นต้น จากตัวเลขสถิติที่สำนักงานสถิติแห่งชาติพิมพ์ออกเผยแพร่ มีมูลค่าการผลิตสินค้าอัญมณี เครื่องประดับต่างๆ และเครื่องใช้ทำด้วยโลหะมีค่าในประเทศดังนี้
ตารางที่ 1
มูลค่าการผลิตอัญมณี เครื่องประดับและเครื่องใช้มีค่าของเยอรมนี
ในปี 2550 - 2552
ล้านยูโร อัตราขยายตัว (%) ระหัส สินค้า 2550 2551 2551 2552 52 : 51
(มค.-มิย.) (มค.-มิย.) (มค.-มิย.)
3212 อัญมณี — เครื่องประดับแท้ — เครื่องใช้ต่างๆ 539.7 570.2 269.6 120.8 -55.19 321211000 อัญมณี ไม่รวมเพชร ยังไม่เจียรนัย 15.5 17.7 10.0 11.8 18.0 321213301 เครื่องใช้ เครื่องประดับเงิน ชุบเงิน 55.9 53.1 26.0 21.2 -18.46 321213303 เครื่องใช้ เครื่องประดับทอง ชุบทอง 445.1 413.3 191.0 156.9 -17.85 321213305 เครื่องใช้ เครื่องประดับทำด้วยพลาตินั่ม 20.0 15.6 9.0 5.4 -40.0 321213307 เครื่องใช้ เครื่องประดับชุบโลหะมีค่า 32.9 25.4 15.0 4.7 -68.67 321213513 ช้อม ส้อม มีดชุบหรือทำด้วยโลหะมีค่า 7.6 7.3 3.0 2.0 33.33 321213515 ถ้วยชาม ชุบหรือทำด้วยโลหะมีค่า 4.1 * * * * 321213517 เครื่องใช้อื่นๆ ชุบหรือทำด้วยโลหะมีค่า 0.3 * * * * 321213500 เครื่องใช้อื่นๆ ชุบด้วยโลหะมีค่า 9.9 10.9 5.0 3.5 -30.0 321214000 เครื่องประดับแบบอื่นๆ และไข่มุก * * * 4.4 3213 เครื่องประดับเทียม 45.5 41.5 19.9 17.0 -14.57 Source : Statistical Federal Office, Germany
- = ปกปิด
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2549— 2551) เยอรมนีนำเข้าสินค้าอัญมณี เครื่องประดับและเครื่องใช้ทำด้วยโลหะมีค่าเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นโดยเฉลี่ยปีละ 10,429 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปี 2552 (ม.ค.-กย.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 8,744.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีก่อนระยะเดียวกันมูลค่าลดลงร้อยละ 17.31 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ มีการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกปี 2552 เป็นมูลค่า 2,031.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 23.23 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 134.76 สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นโลหะมีค่า ได้แก่ ทองคำ พลาตินั่ม และโลหะมีค่าอื่นๆ เป็นต้น รองลงมาเป็นแอฟริกาใต้ มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 818.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9.36 มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 23.58 สินค้านำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นโลหะมีค่า ได้แก่ ทองคำ พลาตินั่ม และเหรียญทองคำ เป็นต้น ออสเตรีย มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 594.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.8 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.44 สินค้านำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นทองคำ เหรียญทองคำ และเครื่องประดับเทียม สหรัฐอเมริกา นำเข้ามากเป็นอันดับที่ 5 เป็นมูลค่า 550.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.3 มูลค่าลดลงร้อยละ 57.87 สินค้านำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นโลหะมีค่าต่างๆ และเหรียญทองคำ
ตารางที่ 2
แหล่งนำเข้าอัญมณี เครื่องประดับและเครื่องใช้มีค่าของเยอรมนี
ในปี 2549 — 2552 (ม.ค.-ก.ย.)
มูลค่า = ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2551 ปี 2552 เพิ่ม / ลด (%)
(ม.ค.-ก.ย.) (มค.-ก.ย.) 52:51
รวมทั้งสิ้น 8,629.7 10,689.3 11,969.2 10,575.0 8,744.5 -17.31 1. สวิตเซอร์แลนด์ 405.8 578.4 616.7 865.4 2,031.5 +134.76 2. แอฟริกาใต้ 799.7 1,032.9 1,148.1 1,071.2 818.6 -23.58 3. ออสเตรีย 359.1 429.0 614.1 558.9 594.9 +6.44 4. สหรัฐอเมริกา 1,146.2 1,472.4 1,505.7 1,306.6 550.5 -57.87 6. เบลเยี่ยม 1,401.0 1,646.4 1,592.4 1,400.2 445.0 -68.22 9. จีน 309.8 476.1 524.5 398.1 324.9 -18.40 14. ไทย 219.4 261.0 274.8 213.2 157.5 -26.14 Source of Data: Eurostat
สำหรับประเทศไทย มีการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกปี 2552 เป็นอันดับที่ 14 เป็นมูลค่า 157.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.8 มูลค่าลดลงร้อยละ 26.14 สินค้านำเข้าจากไทยส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องประดับแท้ทำด้วยเงิน ทำด้วยทอง และอัญมณีเจียระไนแล้ว
ตลาดส่งออกสินค้าอัญมณี เครื่องใช้ เครื่องประดับและโลหะมีค่าที่สำคัญๆ ของเยอรมนีส่วนใหญ่จะเป็นประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา
ตารางที่ 3
สถิติการส่งออกอัญมณี เครื่องประดับและเครื่องใช้มีค่าของเยอรมนี
ในปี 2549 — 2552 (ม.ค.-ก.ย.)
มูลค่า = ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2551 ปี 2552 เพิ่ม / ลด (%)
(ม.ค.-ก.ย.) (มค.-ก.ย.) 52:51
รวมทั้งสิ้น 6,974.3 80,260.8 9,279.7 8,917.1 5,807.3 -34.87 1. สวิตเซอร์แลนด์ 629.6 671.1 1,015.8 1,482.5 1,764.1 +19.00 2. เบลเยี่ยม 1,147.7 1,563.1 1,452.7 1,331.5 496.6 -62.71 3. สหรัฐอเมริกา 1,017.7 1,209.7 1,435.7 1,278.5 404.1 -68.39 4. ออสเตรีย 273.0 341.8 413.3 366.8 342.6 -6.60 5. ฝรั่งเศส 381.9 475.1 542.2 533.5 329.8 -38.19
โดยมีสินค้าสำคัญๆ ที่ส่งออกมากที่สุด คือ ทองคำ ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2552 ส่งออกเป็นมูลค่า 1,718.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.39 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ และลักแซมเบอร์ก มีสัดส่วนร้อยละ 52 และ 9 ตามลำดับ รองลงมาเป็น พลาตินั่ม ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2552 ส่งออกเป็นมูลค่า 1,613.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าลดลงร้อยละ 40.61 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 39, 9 และ 7 ตามลำดับ และเศษโลหะมีค่า ส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกปี 2552 เป็นมูลค่า 619.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าลดลงร้อยละ 66.91 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร มีสัดส่วนร้อยละ 42, 18 และ 10 ตามลำดับ เครื่องประดับและชิ้นส่วนที่ทำจากโลหะมีค่าที่ไม่ใช่เงิน ส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกปี 2552 เป็นมูลค่า 508.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าลดลงร้อยละ 27.6 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และออสเตรีย มีสัดส่วนร้อยละ 19, 15 และ 11 ตามลำดับ
สินค้าอัญมณี เครื่องประดับแท้ เทียมและเครื่องใช้ทำด้วยโลหะมีค่า ที่เยอรมนีนำเข้าจากไทยในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2547 — 2549) เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 251.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 157.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.8 เทียบกับปีก่อนระยะเดียวกันมูลค่าการนำเข้าจากไทยลดลงร้อยละ 26.14 สินค้าที่มีการนำเข้ามากจากไทย ได้แก่
- เครื่องประดับแท้ทำด้วยเงิน มีการนำเข้าในปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) เป็นมูลค่า 78.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 49.93 ของการนำเข้าสินค้ารายการนี้จากไทยมูลค่าลดลงร้อยละ 1.27 โดยเยอรมนีนำเข้าจากทั่วโลกเป็นมูลค่า 232.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.69 นำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วนร้อยละ33.78 รองลงมาคือ จีน สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 25.18 คิดเป็นมูลค่า 58.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 24.25 คู่แข่งอื่น ได้แก่ อิตาลี อินเดีย ฮ่องกง และตุรกี
สินค้าเครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินของไทยที่ส่งออกไปเยอรมนีนี้ ส่วนหนึ่งเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อของผู้ประกอบการ อีกส่วนหนึ่งเป็นการออกแบบ พัฒนารูปแบบขึ้นเองให้ตรงตามรสนิยมของผู้บริโภค สำหรับสินค้าสินค้าจากจีน มีปริมาณมาก ทำให้มีราคาต่ำกว่า แต่ในด้านคุณภาพปัจจุบันยังด้อยกว่าสินค้าจากไทยบ้าง ส่วนประเทศอื่นๆ ในยุโรป ได้เปรียบเพราะใกล้ชิดตลาด ทำให้ได้รับรู้เรื่องรสนิยมของตลาดมากกว่าไทย แต่ยังคงมีส่วนแบ่งตลาดน้อย
- เครื่องประดับแท้ทำด้วยโลหะมีค่าอื่นๆ มีการนำเข้าในปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.)เป็นมูลค่า 43.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 27.29 ของการนำเข้าสินค้ารายการนี้จากไทย มูลค่าลดลงจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 44.36 โดยเยอรมนีนำเข้าจากทั่วโลกเป็นมูลค่า 343.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 24.72 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 12.5 รองจากสวิสเซอร์แลนด์และอิตาลี ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 27.2 และ13.9 คู่แข่งอื่น ได้แก่ ฝรั่งเศส ตุรกี จีน อินเดีย สหรัฐฯ และฮ่องกง
- อัญมณี มีการนำเข้าในปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) เป็นมูลค่า 11.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 7.37 ของการนำเข้าสินค้ารายการนี้จากไทย มูลค่าลดลงร้อยละ 29.18 โดยเยอรมนีนำเข้าจากทั่วโลกเป็นมูลค่า 58.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 31.34 นำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วนร้อยละ19.81 รองลงมาคือ บราซิล ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา อินเดีย สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 16, 14, 13 และ 9 ตามลำดับ
- เครื่องประดับเทียม มีการนำเข้าในปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) เป็นมูลค่า 9.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 6.23 ของการนำเข้าสินค้ารายการนี้จากไทย มูลค่าลดลงร้อยละ 22.84 โดยเยอรมนีนำเข้าจากทั่วโลกเป็นมูลค่า 335.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.99 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 2.93 รองจากจีน ออสเตรีย และฮ่องกง สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 55.5, 17 และ 3.4 ตามลำดับ
5.1 เยอรมนีมีข้อกำหนดอนุญาตให้ผลิตเครื่องประดับใช้เงินและทองเป็นส่วนผสมมากน้อยได้อย่างเสรี ในกรณีที่ประสงค์จะตีตราประทับแจ้งส่วนผสมของเงินและทอง มีข้อกำหนดให้ใช้อัตราส่วนต่อ 1000 โดยกำหนดให้ใช้กับสินค้าต่างๆ ที่มีส่วนผสมของเงินตั้งแต่ 800 และสำหรับทองตั้งแต่ 585/1000 ขึ้นไป หากมีส่วนผสมต่ำกว่านี้ไม่อนุญาตให้ตีตราประทับแจ้งสัดส่วนของส่วนผสม ต่อมาตามระเบียบของสหภาพยุโรป เยอรมนีได้ยินยอมให้ตีตราประทับได้สำหรับสินค้าที่มีส่วนผสม 330, 375 และ 500/1000
สำหรับสินค้าที่นำเข้า ถึงแม้ว่าจะมีการตีตราแจ้งส่วนผสมเป็นอย่างอื่น เช่น เครื่องทองของไทยที่มีการตีตราแจ้งส่วนผสมเนื้อทองเป็นร้อยละ ก็ได้รับการอนุโลม อนุญาตให้นำเข้าและมิได้มีการบังคับให้ตีตราแจ้งสัดส่วนของส่วนผสมที่เป็นเงินและทองตามข้อกำหนดของเยอรมนี/สหภาพยุโรปแต่อย่างใด
5.2 ปัจจุบันผู้บริโภคจำนวนหนึ่งมีอาการแพ้สารโลหะที่เป็นส่วนผสมของเครื่องประดับ เช่น สารนิเกิ้ล ซึ่งหากสถานการณ์มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อาจจะถูกนำมาเป็นข้ออ้างห้ามมิให้นำเข้าได้ แต่โดยทั่วไปไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่มากเพียงพอสำหรับการนำมาใช้เป็นข้ออ้างห้ามนำเข้า
5.3 ตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในเยอรมนี มีความเสรี ไม่มีข้อจำกัดหรือมาตรการ NTB ใดๆ เป็นพิเศษที่จะเครื่องกีดกันทางการค้า นอกจากนี้ ยังมีอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำ หรือไม่ต้องเสียภาษีเลย ได้แก่ สินค้าที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องประดับ เช่น อัญมณี พลอยร่วง เงินและทองคำ เป็นต้น ส่วนสินค้าประเภท เครื่องประดับแท้และเครื่องประดับเทียม จะมีอัตราระหว่างร้อยละ 2 — 4 โดยจะมีแนวโน้มลดต่ำลงเป็น 0 ตามข้อตกลงของ WTO
อัตราภาษีนำเข้า
รายการ พิกัด H.S. อัตราภาษีนำเข้า 1. อัญมณี 1. เพชร 7102 0 % 2. พลอย 7103 0 % 3. ไข่มุก 7101 0 % 2. เครื่องประดับแท้ 1. ทำด้วยเงิน 7113 11 2.5 % 2. ทำด้วยทองคำ 7113 19 2.5 % 3. ทำด้วยโลหะมีค่าอื่นๆ 7113 20 4.0 % 3. เครื่องประดับเทียม 7117 4.0 % 4. อัญมณีสังเคราะห์ 7104 0 % 5. ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป 7108 0 % 6. โลหะมีค่าและของอื่นๆ ที่หุ้มด้วยโลหะมีค่า 7105,7106,7107 0 % 7114 2.0 % 7115 3.0 % 7116 2.5 % ที่มา: ศูนย์สารสนเทศ์ กรมส่งเสริมการส่งออก และกรมศุลกากรไทย อัตราภาษี ศุลกากรเยอรมัน
5.4 กล่าวโดยรวม ในปัจจุบันเยอรมนีไม่มีนโยบาย หรือมาตรการต่างๆ ใดๆ ที่จะเป็นการกีดกันทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีและมิใช่ภาษี และตามข้อตกลงของ WTO ซึ่งเยอรมนีเป็นสมาชิกและจะต้องปฏิบัติตาม มีข้อกำหนดการลดอัตราภาษีสำหรับสินค้าต่างๆ ให้ต่ำลงทุกปี รวมทั้งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับนี้ ที่คาดว่าในช่วง 5 — 7 ปีข้างหน้าน่าจะมีอัตราภาษีนำเข้าเป็น 0
6.1 สินค้าเครื่องประดับต่างๆ ที่ผลิตภายในประเทศ และที่นำเข้าจากต่างประเทศ จะโดยผู้ค้าเครื่องประดับ หรือโดยผู้นำเข้าสินค้ารายการนี้โดยเฉพาะก็ตาม จะมีวางจำหน่ายกันมากตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศ เช่น มิวนิค โคโลญจน์ ดุสเซิลดอร์ฟ แฮมเบอร์กและเบอร์ลิน เป็นต้น เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองดังกล่าวมีรายได้สูง สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดเยอรมนีมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าได้จำนวนมาก ซึ่งปัจจุบัน ในเยอรมนีมีร้านค้าปลีกเครื่องประดับที่มีการจำหน่ายนาฬิกาควบคู่กันไปด้วยกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศคิดเป็นส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 61 ช่องทางอื่นๆ ของการจำหน่ายสินค้าเครื่องประดับได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ร้านจำหน่ายเสื้อผ้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต/ซุปเปอร์มาร์เก็ต/ดิสเคาน์เตอร์ ร้านขายยา/น้ำหอม ร้านค้าอื่นๆ ประมาณร้อยละ 34 ทางอินเทอร์เน็ต และ Mail order ประมาณร้อยละ 5
6.2 ในปัจจุบัน ผู้ค้าส่งเครื่องประดับได้ลดบทบาทความสำคัญลง เพราะร้านค้าปลีกที่มีสาขา (chain stores) สั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในเยอรมนีหรือจากต่างประเทศโดยตรง แต่ก็ยังเป็นช่องทางสำคัญในการกระจายสินค้า เพราะมีผู้ค้าส่งรายเล็กที่ทำตลาดเฉพาะในท้องถิ่นซึ่งมีความชำนาญในสินค้าเครื่องประดับบางประเภทโดยเฉพาะ และมีผู้ค้าส่งรายใหญ่ที่มีลูกค้าในออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ และยุโรปตะวันออก ด้วย นอกจากนี้ ผู้ค้าส่งบางรายยังมีโชว์รูม ประเภท cash and carry จำหน่ายสินค้าให้กับผู้ค้าปลีกโดยตรง เช่น ที่เมือง Kaufbeuren และ Pforzheim
6.3 โครงสร้างของราคา ในระยะที่ผ่านมา Margin ของสินค้าเครื่องประดับในตลาดเยอรมนีได้ลดต่ำลง โดยเฉพาะตลาดระดับล่าง เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งในระดับผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก โดยในแต่ละช่องทางการจำหน่ายจะมี Margin ต่างกัน ถ้าเป็นผู้ค้าปลีกที่ซื้อสินค้าจากผู้ค้าส่งที่นำเข้าสินค้า การตั้งราคาสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว จะอยู่ระหว่าง 3-4 เท่า ของราคาส่งออก CIF
ต่ำ สูง - Margin ของผู้นำเข้า/ผู้ค้าส่ง 30% 50% - Margin ของตัวแทนจำหน่าย 6% 12% - Margin ของผู้ค้าปลีก 95% 120% 7. พฤติกรรมของผู้บริโภค
7.1 โดยทั่วไป ผู้บริโภคเยอรมนีจะนิยมซื้อเครื่องประดับที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะเครื่องประดับแท้ที่มีหรือไม่มีอัญมณี และเครื่องประดับเทียมที่มีส่วนประกอบของแก้ว แต่เนื่องจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะเครื่องประดับที่ทำจากทองคำ ทำให้ผู้บริโภคหันมาซื้อเครื่องประดับที่มีราคาถูกกว่า เช่น เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับเทียมที่ชุบโลหะ
7.2 การสูงขึ้นของราคาทองคำ ทำให้รูปแบบเครื่องประดับเปลี่ยนไป โดยมีการใช้ทองคำน้อยลง และใช้พลอยหรือเพชรในเครื่องประดับมากขึ้น หรือใช้โลหะมีค่าน้อยลง มีน้ำหนักเบาลง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคจำนวนมากที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบของเครื่องประดับมากกว่าจำนวนทองคำหรือแพลตตินัมที่ใช้ในชิ้นงาน
7.3 เครื่องประดับเงินยังเป็นที่นิยมมากที่สุดในตลาดเยอรมัน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น เพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องประดับจากโลหะมีค่าอื่น
7.4 ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก มีผลกระทบต่อตลาดสินค้าเครื่องประดับอย่างมาก ทำให้ตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในเยอรมนีในปัจจุบันนี้ ไม่แจ่มใสเท่าใดโดยเฉพาะสินค้ามีราคาสูง ส่วนสินค้าราคาย่อมเยา ยังคงได้รับความสนใจจากผู้บริโภค ส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่น ชาวต่างชาติ ที่นิยมซื้อเครื่องประดับที่มีราคาปานกลาง หรือราคาถูก ได้แก่ เครื่องประดับต่างๆ ทำด้วยเงินประดับด้วยอัญมณีเทียมต่างๆ เป็นต้น ส่วนผู้บริโภคที่มีรายได้โดยเฉลี่ยสูง จะนิยมเครื่องประดับแท้ ประดับเพชร พลอยและอัญมณีมีค่าอื่นๆ ที่มีรูปแบบสวย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทำด้วยทองคำหรือพลาตินัม
7.5 ผู้บริโภคเยอรมันหันมานิยมพลอยมากขึ้น เพราะมีความงาม ความหมาย และความสว่างสดใสในสีของมัน ซึ่งเป็นแนวโน้มของเครื่องประดับประเภทที่สามารถสื่อให้เห็นถึงความคิด หรือภาพลักษณ์เฉพาะตัวของผู้สวมใส่ได้
**จุดแข็ง
1. มีความสามารถพิเศษในการหุงหรือเผาพลอย รวมทั้ง ความสามารถและฝีมือของแรงงานไทยในการเจียระไนพลอยเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก และการ ขึ้นรูปเครื่องประดับด้วยมือหรือประกอบตัวเรือนที่ประณีต
2. สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยมีคุณภาพดีเป็นที่รู้จักและยอมรับในตลาดเยอรมัน
3. มีหน่วยงานวิเคราะห์และตรวจสอบอัญมณีที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ทำให้สินค้าของไทยเป็นที่น่าเชื่อ ถือในด้านคุณภาพพอสมควร
**จุดอ่อน
1. ต้องนำเข้าวัตถุดิบ และเทคโนโลยี่จากต่างประเทศ และแรงงานมีอัตราค่าจ้างสูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน ทำให้ต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าสูงกว่า
2. ขาดการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้รูปแบบสินค้าสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ส่วนหนึ่งจึงเป็นการรับจ้างผลิตตามแบบที่ลูกค้ากำหนด ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มต่ำ
3. สินค้าที่มีแบรนด์ของตัวเองจำหน่ายในต่างประเทศยังมีน้อยมาก
4. การพัฒนาด้านเทคโนโลยี่ การเจียระไนพลอย ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
**โอกาส
1. ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของเยอรมนีในปัจจุบันพึ่งพิงการนำเข้ามากขึ้น
2. จำนวนผู้หญิงทำงานในเยอรมนีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นกลุ่มที่ซื้อเครื่องประดับจริง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ในที่ทำงานให้ดูดี และจะใส่เครื่องประดับเป็นประจำทุกวัน ไม่ได้ใส่เฉพาะในโอกาสพิเศษเท่านั้น และการที่แรงงานในเยอรมันเป็นผู้หญิงสูงอายุมากขึ้น ทำให้ตลาดเครื่องประดับประเภทพลอยสีขยายตัว จึงเป็นโอกาสสำหรับพลอยสีของไทย
3. เครื่องประดับเงินยังเป็นที่นิยมของตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น
4. การใช้อินเทอร์เน็ตในเยอรมนีเป็นที่แพร่หลายและมีประสิทธิภาพสูง เป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยจะใช้เป็นช่องทางในการขายสินค้าตรงให้กับผู้บริโภคได้
5. การขยายตัวของตลาดสินค้าเครื่องประดับสำหรับผู้ชาย
**ข้อจำกัด
1. เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของเยอรมันที่หดตัวลงประมาณร้อยละ 6 โดยเฉพาะด้านการส่งออกที่ส่งผลต่อการผลิตและการจ้างงานในประเทศทำให้แรงงานไม่มั่นใจสถานภาพการจ้างงานในอนาคต จึงประหยัดการใช้จ่ายในสินค้าที่ไม่จำเป็น
2. ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคเยอรมันในสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับต่อคนยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย EU เนื่องจากชาวเยอรมันที่อยู่ในฝั่งตะวันออกเดิมยังเห็นว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย
3. การแข่งขันในตลาดสูงมาก โดยเฉพาะด้านราคา
4. เครื่องประดับที่มีแบรนด์ที่มีชื่อเสียงยังเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในการเลือกซื้อสินค้า โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น
9.1 สินค้าสำคัญของไทยที่เยอรมนีนำเข้ามากเป็นอันดับแรก คือ เครื่องประดับแท้ทำด้วยเงิน/ชุบเงิน ประดับด้วยอัญมณี (พิกัด 7113 11) มีส่วนแบ่งกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกสินค้ารายการนี้ไปเยอรมนี และเป็นส่วนแบ่งในตลาดเยอรมนีในอันดับต้นๆ สูงกว่าประเทศคู่ค้าอื่นๆ มาโดยตลอด เช่น จีน ตุรกี และประเทศอื่นๆ ในยุโรป และยังคงเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด จึงคาดว่าจะสามารถขยายการส่งออกในตลาดเยอรมนีในปี 2553 ได้เพิ่มขึ้น
9.2 สถานการณ์การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยไปเยอรมนีในปี 2552 คาดว่าจะลดลงประมาณร้อยละ 2-4 ทั้งนี้ เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ ต่างชะลอการซื้อสินค้าประเภทนี้กันมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นสินค้าที่ราคาไม่แพงมากนักก็ตาม แต่เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก มีผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีตลอดปี 2552 มีอัตราลดลงประมาณร้อยละ 6 และคนว่างงานมีจำนวน 3.31 ล้านคน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.4 นอกจากนี้คนงานบางส่วนต้องถูกลดชั่วโมงทำงาน หรือต้องหยุดพักงานชั่วคราว จึงมีการจับจ่ายซื้อสินค้าเครื่องประดับลดลง
9.3 สำหรับในปี 2553 ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ สมาคมสำคัญๆ ในเยอรมนีต่างเห็นว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีมีแนวโน้มขยายตัวได้เล็กน้อยประมาณร้อยละ 1.5 มีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 หากเศรษฐกิจของเยอรมนีมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นซึ่งคาดกันว่าจะเป็นไปได้ในช่วงกลางปี 2553 เป็นต้นไปและอย่างต่อเนื่อง จะทำให้สินค้าของไทยรายการนี้มีแนวโน้มที่ดีและแจ่มใสเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยคาดว่าจะส่งออกได้เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ประมาณร้อยละ 5 อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกของไทยยังคงต้องให้ความสำคัญในด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับรสนิยมและความต้องการของตลาด โดยเฉพาะการนำวัสดุใหม่ๆ ที่มีราคาถูกมาปรับใช้ในการออกแบบสินค้าให้เป็นไปตามแนวโน้มของตลาด รวมทั้งคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับผิวหนังการแพ้ เป็นต้น เพื่อมิให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคจนถูกห้ามนำเข้าได้
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน
ที่มา: http://www.depthai.go.th