รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าภูมิภาคยุโรป ระหว่างวันที่ 1- 15 มกราคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 21, 2010 12:20 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะเศรษฐกิจในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2553 ค่อนข้างซบเซาเนื่องจากประชาชนได้ออกมาจับจ่ายใช้สอยตั้งแต่ช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ไปแล้ว ข้อมูลจากสามาคมผู้บริโภคพบว่าค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนในเดือน พ.ย. 52 ปรับตัวดีขึ้นเป็น 1.7 % เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า +0.3 % การใช้จ่ายในช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นการปรับตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น คนอิตาลียังออกมาซื้อของขวัญในตลาดที่จัดขึ้นพิเศษในช่วงเทศกาลค่อนข้างมาก ในขณะที่บางครอบครัวเลือกออกไปฉลองตามร้านอาหาร และพบว่าสินค้าอาหารมียอดขายสูงขึ้น 3 % และคนอิตาเลี่ยนร้อยละ 75 เลือกซื้อสินค้า Made in Italy ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนอิตาเลี่ยนมีความเป็นชาตินิยมกว่าชาติอื่นๆ (ที่มีค่าเฉลี่ยของการซื้อสินค้าที่ผลิตภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 59) สินค้าส่วนใหญ่ที่คนอิตาเลี่ยนเลือกซื้อได้แก่ เสื้อผ้า หนังสือ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารและไวน์ ซึ่งปรากฎว่าในปี 2552 เครื่องดื่มประเภทแชมเปญของอิตาลีมียอดจาหน่ายทั่วโลกถึง 140 ล้านขวด ชนะยักษ์ใหญ่อย่างฝรั่งเศสได้

2. สมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าเกษตร (COLDIRETTI) เปิดเผยผลการสารวจว่าคนอิตาเลี่ยนใช้จ่ายซื้ออาหารและเครื่องดื่มซึ่งผลิตในประเทศเพื่อฉลองสาหรับเทศกาลปีใหม่ถึง 2,700 ล้านยูโร จานวนการท่องเที่ยวตามฟาร์มก็เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นถึง 20 % หรือคิดเป็นจานวนคนท่องเที่ยว 145,000 คน สอดคล้องกับรายงานของ สมาคมผู้ประกอบการโรงแรมแห่งชาติ (FEDERALBERGHI) ที่ระบุว่าคนอิตาเลี่ยนกว่า 12 ล้านคนที่ออกเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่นี้เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนถึง 3 เท่า โดยในช่วงคริสต์มาสมีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนที่ 505 ยูโร (สาหรับการท่องเที่ยวในอิตาลี) และ 1,255 ยูโร(สาหรับการท่องเที่ยวต่างประเทศ) และในช่วงปีใหม่มีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน 395 ยูโร (สาหรับการท่องเที่ยวในอิตาลี) และ 704 ยูโร(สาหรับการท่องเที่ยวต่างประเทศ) โดยสถานที่ที่นิยมที่สุดคือสถานที่ตามภูเขา

3. รายงานจากร้านค้าปลีก พบว่าในเดือนพ.ย. 52 ยอดขายสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ราคาก็สูงขึ้นตามไปด้วยในอัตรา +0.4% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการสีเขียวกระตุ้นเศรษฐกิจ “Cash for clunker” ที่รัฐบาลให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ซื้อรถที่ประหยัดพลังงานและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านใหม่ด้วย

4. ข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภค ได้แก่ Federconsumatori และ Adusbef พบว่ากาลังซื้อของครัวเรือนในรอบปีตั้งแต่การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ ต.ค. 51 จนถึง ก.ย. 52 ลดลงระหว่าง 1.8 — 1.9 % คิดเป็นเงินเฉลี่ยเพียง 565 ยูโรต่อครัวเรือน แตกต่างเล็กน้อยกับข้อมูลจาก สานักงานสถิติแห่งอิตาลี (ISTAT) ที่ระบุว่ากาลังซื้อของครัวเรือนลดลง 1.6 % และยืนยันว่ารัฐบาลต้องมีมาตรการกระตุ้นกาลังซื้อของครัวเรือนด้วยการลดการเก็บภาษีรายได้ (ทั้งเงินเดือนและเงินบานาญ) อย่างน้อย 1,200 ยูโรต่อปี

5. เทศกาลปีใหม่มีผลให้ราคาสินค้าและบริการของอิตาลีสูงขึ้นหลายรายการ บางรายการสูงขึ้นถึง 3 เท่าของอัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์ไว้ โดยข้อมูล ณ วันที่ 1 ม.ค. 52 สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ แก๊ซที่ใช้ในบ้าน ( เพิ่มขึ้น +2.8% เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเงินเฟ้อของปี 2552ที่คาดการณ์ไว้ระหว่าง 0.8% - 0.9%) ค่าทางด่วน (Motorway tolls) ซึ่งได้มีแผนการปรับราคาขึ้นไว้แล้วในอัตราเฉลี่ย 2.4 % และค่าสนามบินซึ่งจะคิดเพิ่มจากสายการบินต่างๆระหว่าง 1-3 ยูโรต่อผู้โดยสาร 1 คน ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าจะถูกผลักให้เป็นภาระของผู้โดยสาร

6. ภาวะตลาดรถยนต์ของอิตาลีและตลาดยุโรปฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน โดยปรากฎว่ายอดขายของบริษัทกลุ่มเฟี๊ยต (Fiat Group Automobile —FGA) ในตลาดยุโรปในเดือน พ.ย. 52 ได้กระโดดสูงขึ้นถึง 27.7 % จากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะในตลาดอิตาลีเองยอดขายได้เพิ่มขึ้นถึง 31.2 % เป็นอันดับ 4 รองลงมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายในฝรั่งเศสที่เพิ่มสูงขึ้น +48.3 % สเปน +37.3% และเชคพับบลิก +31.5% ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ที่รัฐบาลอิตาลีและอีกหลายๆประเทศได้ออกมา เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการให้เงินช่วยเหลือสาหรับการซื้อรถใหม่ทดแทนรถเก่า “cash for clunkers” นั่นเอง ทั้งนี้ ในเดือน พ.ย. 52 กลุ่ม FGA มีสัดส่วนตลาดในสหภาพยุโรป 8.2% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเท่ากับ 8.1%แต่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือน ต.ค. 52 ซึ่งครองตลาด 8.7%

ก่อนหน้านี้ นาย SERGIO MARCHIONNE - CEO ของบริษัทเฟี๊ยตในอิตาลีได้ออกข่าวว่าบริษัทมีแผนจะปิดโรงงานที่ Termini Imerese ในเกาะซิซิลี ซึ่งมีคนงานกว่า 1,300 คน ในปี 2011 และจะปรับเปลี่ยนโรงงานในการผลิตสินค้าอื่นแทน เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าโรงงานที่อื่นๆถึง 800 — 1,000 ยูโรซึ่งมีสาเหตุจากปัญหาการขนส่งรถยนต์จากโรงงานไปท่าเรือที่มีระยะห่างถึง 180 กิโลเมตรทาให้มีปัญหาต้นทุนการผลิตสูง รวมทั้งค่าแรงงานที่สูงด้วย ทาให้คนงานออกมาประท้วงและนาย Claudio Scajola รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมต้องจัดการประชุมหารือกับนาย Sergio และสหภาพแรงงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งสถานะล่าสุดบริษัทเฟี๊ยตจะนาเสนอแผนการปรับปรุงศูนย์การผลิตของบริษัทในอิตาลีทั้ง 5 แห่ง ซึ่งรวมทั้งโรงงานที่ Termini และที่ Pomigliano d’Arco ใกล้เมืองนาโปลีด้วย ผลเบื้องต้นได้ตกลงให้ปิดโรงงานทั้ง 2 แห่ง โดยรัฐบาลไม่คัดค้านแต่ขอให้เฟี๊ยตเพิ่มการผลิตจากเดิม ปีละ 650,000 คันเป็น 900,000 คัน เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการว่างงานของอิตาลี ซึ่งนาย Sergio ได้ตกลงที่จะเพิ่มการผลิตรถยนต์ให้ได้ 800,000 คันในปี 2011 และ 1 ล้านคันในปี 2012

มีข่าวว่ามีผู้สนใจจะซื้อโรงงานผลิตรถยนต์ที่ Termini เกาะซิซิลี รวม 2 รายคือ บริษัท Chery ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีนและบริษัท Tata Motor ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของอินเดียและเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทเฟี๊ยตตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ยี่ห้อเฟี๊ยตและทาทาที่เมือง Ranjangan แคว้นมหาราช (Maharashtra) ในอินเดียแต่ยังไม่มีการยืนยันแต่อย่างใด

7. ISTAT (สานักงานสถิติแห่งอิตาลี) ได้รายงานว่า
  • ผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial output) ของอิตาลีในเดือน พ.ย. 52 ได้เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้า 0.2 % และในช่วง 11 เดือนของปี 2552 ลดลง 18.5 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะผลผลิตรถยนต์ในเดือนพ.ย. 52 ที่พุ่งสูงขึ้นถึง 38.8 % แต่ในช่วง 11 เดือนของปี 2552 ผลผลิตรถยนต์กลับลดลง 24.2 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของปี 2552 เท่ากับ +0.8 % ลดลงต่าสุดในรอบ 50 ปี หลังจากสูงขึ้นถึง 3.3 % ในปี 2551 ซึ่งนับว่าสูงสุดในรอบ 12 ปี และมีอัตราเงินเฟ้อติดลบ -0.4 % ในปี 2502
  • การว่างงาน อัตราการว่างงานในเดือน พ.ย. 52 สูงถึง 8.3% ของกาลังแรงงาน(labor force)สูงสุดตั้งแต่เม.ย. 2547 เทียบกับเดือน พ.ย. 51 ที่อัตราการว่างงานเท่ากับ 7.1 %

ณ เดือน พ.ย. 52 จานวนคนกาลังหางานสูงถึง 2.079 ล้านคน มากกว่าเดือน ต.ค. 52 ถึง 30,000 คน และมากกว่าเดือน พ.ย. 51 ถึง 313,000 คน จานวนคนที่ได้งานลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 389,000 คน และลดลงจากเดือน ต.ค. 51 จานวน 44,000 คน โดยอัตราการว่างงานสูงสุดอยู่ในกลุ่มคนอายุระหว่าง 15-24 ปี (26.5 %)

8. ธนาคารแห่งชาติอิตาลีได้รายงานว่าในเดือน พ.ย. 52 อิตาลีมีภาวะหนี้สินกระเตื้องขึ้นเป็น 1.78 ล้านยูโรจากเดิมในเดือน ต.ค. 52 ที่สูงถึง 1.80 ล้านยูโรซึ่งหมายถึงประชาการอิตาลีทั้งชาย หญิงและเด็กต้องมีภาระหนี้สินคนละ 30,000 ยูโร ทั้งนี้อิตาลีเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจาก สหรัฐและญี่ปุ่น

9. สานักงานสถิติแห่งชาติอิตาลี (ISTAT) ได้รายงานว่า 9 เดือนแรกของปี 2552 อิตาลีต้องขาดดุลถึงร้อยละ 5.2 ของ GDP เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเท่ากับ 2.8 % ของ GDP โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3 ของปี 52 อิตาลีขาดดุล3.3 % ของ GDP เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขาดดุล 1.3 % ของ GDP

10. นายกรัฐมนตรีเบอร์ลุสโคนี ได้ออกมาแถลงว่ารัฐบาลไม่สามารถลดการเก็บภาษีรายได้ตามที่มีการร้องขอได้เพราะจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชาระหนี้และการฟื้นตัวของวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ต้องใช้งบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง

ก่อนหน้านี้ เบอร์ลุสโคนีได้ประกาศจะปรับโครงสร้างภาษี โดยเฉพาะการช่วยเหลือครอบครัวที่มีลูกด้วยการคืนภาษี (Tax rebates) อย่างไรก็ดี เบอร์ลุสโคนียังคงยืนยันการออกมาตรการคืนภาษีดังกล่าวแต่ยังไม่สามารถดาเนินการได้ในขณะนี้เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะที่สูงอยู่

11. สหภาพแรงงานอิตาลี (CGIL) ได้รายงานประจาปี 2552 ว่าช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนในอิตาลีได้เพิ่มมากขึ้น โดยครอบครัวร่ารวยร้อยละ 10 ครอบครองทรัพย์สินกว่า 44.5 % หรือโดยเฉลี่ยครอบครัวละ 1.54 ล้านยูโร(รวมทรัพย์สิน เงินสด และการลงทุน) ในขณะที่ครอบครัวคนจนจะครอบครองทรัพย์สินเฉลี่ย 68,171 ยูโร (รวมรถยนต์และสินค้าอื่นๆ) และครอบครัวที่ครอบครองทรัพย์สินระดับปานกลางเฉลี่ยครอบครัวละ 138,000 ยูโร ซึ่งมีเพียงร้อยละ 10 และมีแนวโน้มว่าจะมีจานวนลดลงเนื่องจากการชะงักงันของเงินเดือน

ทั้งนี้ สหภาพแรงงาน(CGIL) ได้เสนอให้รัฐบาลเก็บภาษี Solidarity tax กับผู้ครอบครอบทัรพย์สินเกินกว่า 800,000 ยูโร เพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนดังกล่าวลง

12. STAT ได้รายงานผลการศึกษาว่า คนอิตาลีจะมีอัตราเฉลี่ยอยู่ในกลุ่มอายุยืนสูงสุดในสหภาพยุโรป ในขณะที่อัตราการเกิดอยู่ในกลุ่มต่าสุด โดยผู้หญิงจะมีอายุสูงสุดเฉลี่ย 84 ปี เป็นอันดับ 3 รองลงมาจากเสปน (อายุเฉลี่ย 84.3 ปี) และฝรั่งเศส (84.4 ปี) และในผู้ชายจะมีอายุเฉลี่ย 78.6 ปี เป็นที่ 2 รองลงมาจากสวีเดน(79ปี)

ในด้านอัตราการเกิด อิตาลีมีอัตราการเกิดเฉลี่ยอยู่ในกลุ่มต่าสุดคือ 9.6 คน ต่อ 1,000 คน มากกว่าเยอรมันซึ่งมีอัตราการเกิดต่าที่สุด

อิตาลีเป็นประเทศที่มีจานวนประชากรมากเป็นอันดับ 4 ในกลุ่มสหภาพยุโรปรองจากเยอรมัน ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร คือ 60 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของจานวนประชากรทั้งหมดของกลุ่มประเทศ EU 27 ประเทศ (500 ล้านคน) และมีอัตราการเจริญเติบโตของจานวนประชากรเท่ากับ 0.7 % ต่อปี นอกจากนี้ อิตาลียังมีอัตราการหย่าร้างต่าเป็นอันดับ 2 ในยุโรปรองจากไอซ์แลนด์ คือ 8 คนต่อ 10,000 คน (แต่เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมาจะมีอัตราการหย่าร้างเพิ่มขึ้น 35%)

13. จากการเปิดเผยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายClaudio Scajola) แจ้งว่า รัฐบาลอิตาลีได้แจ้งการขยายอายุมาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์ที่เรียกว่า “Green cash for clunkers” ในปี 2553 ต่อ The European Union’s Energy Council และ ได้รับไฟเขียวจากคณะกรรมาธิการยุโรปแล้ว เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวได้แก่ การให้เงินสด 1,500 ยูโร แก่ผู้ซื้อรถใหม่ที่ใช้เครื่องยนต์ EURO 4 หรือ EURO 5 แทนรถเก่าที่ใช้เครื่อง EURO 2 หรือน้อยกว่า รวมทั้งมาตรการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 20 % แต่ไม่เกิน 10,000 ยูโร ให้แก่การซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและเฟอร์นิเจอร์ใหม่ด้วย

ทั้งนี้ บริษัทฟี๊ยตและสมาคมผู้จัดจาหน่ายรถยนต์(UNRAE) ได้ร้องขอให้รัฐบาลขยายอายุมาตรการดังกล่าวออกไปถึงปี 2553 มิฉะนั้นจะทาให้ยอดขายในปี 2553 ลดลงถึง 1.7 — 1.8 ล้านคันและยังส่งผลดีต่อสภาวะแวดล้อมด้วย

14. เมื่อวันอังคารที่ 12 มกราคม 2553 อิตาลีและจีนได้มีการลงนามใน MOI ระหว่าง นาย LUCA ZAIA รัฐมนตรีเกษตรอิตาลีและนาย HAN CHANGFU รัฐมนตรีเกษตรของจีนในโอกาสที่นาย LUCA ได้เดินทางมาเยือนจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการค้าและความร่วมมือระหว่างกันในกลุ่มสินค้าอาหาร โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมทั้งการต่อสู้ปัญหาสินค้าปลอมแปลงและหลอกลวง เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค โดยการจัดทารายชื่อบัญชีดา (black list) ทั้งบริษัทอิตาลีและจีนที่พบว่าดาเนินการค้าโดยไม่เป็นธรรมและหลอกลวงผู้บริโภค

ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตจีนประจากรุงโรม นาย SUN YUXI ได้เปิดแถลงข่าวเมื่อ 8 มกราคม 2553 ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลีและจีนเป็นไปอย่างดีที่สุดเท่าที่เคยเป็นมา โดยปีที่แล้วประธานาธิบดี HU JINTAO และประธานสภาประชาชนจีน (นาย WU BANGGUO) ได้เดินทางมาเยือนอิตาลีและได้เชิญประธานาธิบดีอิตาลี (นายGIORGIO NAPOLITANO) และนายกรัฐมนตรี (นาย SILVIO BERLUSCONI) ไปเยือนจีนด้วย ซึ่งทั้ง 2 ท่านก็ได้รับคาเชิญและคาดว่าจะเดินทางไปเยือนจีนได้ในงานฉลองการเปิดงาน EXPO 2010 ที่เซี่ยงไฮ้ในเดือน พ.ค. 53 นี้ ซึ่งคณะเดินทางของอิตาลีอาจมีนาย Franco Frattini รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอิตาลีร่วมด้วย

15. อิตาลีได้อัดแคมเปญมูลค่า 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าแฟชั่นสู่ตลาดสหรัฐซึ่งรวมทั้งการจัดประชุมระหว่างผู้ผลิตอิตาลีและผู้ซื้อชั้นนาจากสหรัฐราว 17 บริษัท (แคมเปญดังกล่าวได้เริ่มมาตั้งแต่ต.ค. 52 และจะเสร็จสิ้นในเดือน มี.ค. 53) โดยการดาเนินงานของ ICE (Italian Foreign Trade Institute) และจะมีการเปิดเผยรายละเอียดแคมเปญในการประชุมดังกล่าวซึ่งประกอบด้วยผู้ซื้อสหรัฐและผู้อานวยการใหญ่ ICE (นายUmberto Vattani) ในงานแสดงเสื้อผ้าชาย PITTI Image Uomo Menswear ที่จัดขึ้นที่ ฟลอเรนซ์ ระหว่างวันที่ 12 -15 ม.ค. 53 นี้

ทั้งนี้ สินค้าแฟชั่นเป็นสินค้าส่งออกสาคัญของอิตาลีซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างมาก โดยอิตาลีส่งออกสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายถึงร้อยละ 50 ไปสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดสาคัญอันดับที่ 5 มีสัดส่วนตลาด 6.5 %และตั้งแต่ ม.ค. —ก.ย. 2552 มียอดจาหน่ายลดลงถึง 22.8 %

16. รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมอิตาลี (นาง StefianiaPretigiacomo) ได้ปฎิญาณที่จะดาเนินโครงการพลังงานสะอาด (Clean Energy Project) มูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการกระตุ้นและพัฒนาการใช้พลังงานทางเลือกใหม่ เพื่อลดภาวะก๊าซเรือนกระจกให้แก่ประเทศเกิดใหม่ทั้งหลาย ซึ่งเป็นผลจากการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่ม G8 และกล่าวว่าจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อสนับสนุนให้มีการนาเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุดมาใช้ซึ่งถือเป็นปัจจัยสาคัญในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ทั้งในด้านการบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นและการช่วยเหลือประเทศที่ต้องการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี

ทั้งนี้ อิตาลีมีพันธกรณีที่จะต้องดาเนินการตามเป้าหมายของสหภาพที่ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20 % ภายในปี 2020 ในระดับที่เคยเป็นในปี 1990

17. ประเทศมอลต้าและอิตาลีได้มีการลงนามใน MOU ระหว่างกระทรวงนโยบายสังคมแห่งมอลต้า (Ministry for Social Policy of Malta) และกระทรวงแรงงานสาธารณสุขและสังคมแห่งอิตาลี (Ministry of Labour , Health and Social Policy of Italian Republic) เพื่อความร่วมมืออานวยความสะดวกในด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ในการอานวยความสะดวกในการรักษาและการแพทย์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลการวิจัยและเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขและนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและองค์กรเกี่ยวข้อง โดย MOU นี้จะมีอายุ 4 ปีและอาจมีการพิจารณาต่ออายุ หลังจากนั้นโดยเนื้อหาจะครอบคลุมในเรื่อง

การรักษากรณีฉุกเฉินและต้องการความดูแลสูง

การปลูกถ่ายและบริจาคเนื้อเยื่อ (Organ donation and transplantation)

โรคที่เกี่ยวกับการปลูกเนื้อเยื่อ (Neoplastic disease)

โรคที่เกี่ยวกับ Cardiovascular disease

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ