สรุปสถานการณ์การค้าระหว่างไทย-สเปน ปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 21, 2010 16:56 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตารางแสดงมูลค่าการค้าไทย-สเปน ปี 2552

                                     ธ.ค. 2552                      ม.ค.-ธ.ค. 2552
                          มูลค่า (Mil.US$)    เพิ่ม/ลด (%)      มูลค่า (Mil.US$)      เพิ่ม/ลด (%)
                                            จากเดือนก่อน                          ช่วงเดียวกันปีก่อน
          ส่งออก              85.16             +6.39            795.01            -40.80
          นำเข้า              38.39             -0.88            394.41            -25.94
          การค้ารวม          123.55             +4.02          1,189.42            -36.58
          ดุลการค้า           +46.77            +13.16            400.60            -50.57

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ในเดือนธันวาคม 2552 ไทยกับสเปนมีมูลค่าการค้ารวม 123.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายส่งออกไปสเปน 85.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.39 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยมีหลายหมวดสินค้าหลักที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน อาทิเช่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+95.85%) ยางพารา(+30.88%) เคมีภัณฑ์(+208.31%) เครื่องรับวิทยุ/โทรทัศน์และส่วนประกอบ (+19.07%) และผลิตภัณฑ์ยาง(+40.98%) ขณะที่นำเข้าจากสเปนรวม 38.39 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯลดลงร้อยละ -0.88 ทั้งนี้ ไทยได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นอีก 46.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ปี 2552 ไทย-สเปน มียอดการค้ารวม 1,189.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 36.58 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาโดยไทยมียอดส่งออกมาสเปนรวม 795.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -40.80 ขณะที่นำเข้าจากสเปน 394.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -25.94 ทำให้ไทยได้ดุลการค้าจากสเปนทั้งสิ้น จำนวน 400.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -50.57

ตารางแสดงโครงสร้างการส่งออกของไทยไปยังสเปน ปี 2552

                 หมวดสินค้า                     มูลค่า(Mil.US$)     เพิ่ม/ลด(%)จากปีก่อน      สัดส่วน (%)
          สินค้าเกษตรกรรม(กสิกรรม/ปศุสัตว์/ประมง)        141.1             -48.45             17.75
          สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร                     67.0             -36.20              8.43
          สินค้าอุตสาหกรรม                            586.7             -39.16             73.80
          สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                          0.2                n/a               0.03
               รวม                                 795.0             -40.80             100.0

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

จากโครงสร้างการส่งออกของไทยไปยังสเปน หมวดสินค้าอุตสาหกรรมยังครองส่วนแบ่งเป็นสินค้าส่งออกประมาณสามในสี่ อันประกอบด้วยสินค้าหลักๆได้แก่ เสื้อผ้าสำ เร็จรูป เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง และเลนส์ รองลงมาได้แก่หมวดสินค้าเกษตรกรรมมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 18 ซึ่งปรับตัวลดลงเกือบครึ่ง โดยเฉพาะมันสำปะหลังที่มียอดส่งออกลดลงมาก ขณะที่การส่งออก กุ้งสดแช่แข็งและข้าว ยังคงมีอัตราการขยายตัวที่ดี และในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีสัดส่วนการส่งออกไม่มากนักและปรับตัวลดลงร้อยละ 36

ตารางแสดงมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยมายังสเปน 10 อันดับแรก ปี 2552

          ที่      สินค้า                      มูลค่า (Mil.USD)     สัดส่วน(%)    เปลี่ยนแปลง(%)
          1  เสื้อผ้าสำเร็จรูป                      146.3           18.40          +6.74
          2  เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ          80.2           10.80         -55.72
          3  ยางพารา                            50.5            6.35         -53.29
          4  เคมีภัณฑ์                             40.9            5.15         -31.37
          5  กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                    36.7            4.62         +16.30
          6  ผลิตภัณฑ์ยาง                          30.1            3.79         -23.04
          7  เลนส์                               29.2            3.67         +33.42
          8  ข้าว                                26.5            3.33         +15.24
          9  อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป            25.4            3.19         -44.28
         10  ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                 24.3            3.06         -32.60
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกอย่างต่อเนื่องมาจากช่วงปลายปี 2551 ต่อเนื่องมาตลอดปี 2552 ทำให้มูลค่าการส่งออกรวมของไทยมายังสเปนมีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 40 จากปีที่ผ่านมาถึงแม้ว่าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป เลนส์ และหมวดอาหารบางรายการ ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็งและข้าวมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่สินค้าส่งออกหลักของไทยในตลาดนี้ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ และส่วนประกอบ ยางพารา และมันสำปะหลัง ล้วนประสบปัญหาจากความต้องการของตลาดที่ลดลงอย่างรุนแรงในอัตรากว่าร้อยละ 50 ทั้งสิ้น ทั้งนี้ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี มีสัญญาณว่าภาวะเศรษฐกิจได้ก้าวพ้นช่วงต่ำสุดและเริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้างเล้ว แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าการส่งออกของไทยยังคง ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องไปถึงกลางปี 2553

ในช่วงเดียวกันไทยนำเข้าสินค้าจากสเปน เป็นมูลค่า 394.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ -25.94 โดยมีรายละเอียดการนำเข้าสินค้า 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าสูงสุด ดังนี้

ตารางแสดงมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสเปน 5 อันดับแรก ปี 2552

                สินค้า                         มูลค่า (Mil.USD)     สัดส่วน(%)    เปลี่ยนแปลง(%)
          เคมีภัณฑ์                                 53.5             13.56        -22.49
          ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม               48.8             12.37        -31.80
          เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                 40.9             10.38        -29.68
          สินค้าทุนอื่นๆ                              37.3              9.47         78.53
          สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป              25.2              6.39         -6.33

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสเปน

ตั้งแต่กลางปี 2552 สเปนได้ก้าวผ่านจุดต่ำสุดของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจไปแล้วผู้บริโภคเริ่มผ่อนคลายการรัดเข็มขัดลงเล็กน้อย และหวังว่าปัจจัยอัตราดอกเบี้ยที่ยังต่ำ การกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล การฟื้นตัวของตลาดการเงิน จะช่วยเยียวยาความมั่นใจของผู้บริโภคที่หดหายไป โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาหลายเดือนติดต่อกันอันเนื่องมาจากการเข้ามาแทรกแซงของรัฐบาลโดยให้เงินสนับสนุนผู้บริโภคที่ซื้อรถยนต์ใหม่โดยตรง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับการยืดเวลาออกไปอีกเพื่อพยายามประคับประคองอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ที่มีผลกระทบกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องและการจ้างงานจำนวนมากในวงกว้าง

ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปมีสภาพหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยกันอย่างชัดเจนไประดับหนึ่งแล้ว แต่สภาพเศรษฐกิจของสเปนจะยังคงอึมครึมต่อไปอีกในปี 2553 และมีปัญหาที่จะต้องเร่งแก้ไขกันต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินที่เกิดจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจนมีงบประมาณขาดดุลมหาศาลถึงร้อยละ 11 ซึ่งเกินระดับมาตรฐานปกติของสหภาพยุโรปที่จะยินยอมให้ตั้งงบประมาณขาดดุลได้ไม่เกินร้อยละ 3 แถมสื่อบางแห่งขุดคุ้ยว่ารัฐบาลใช้จ่ายเกินรายรับไปถึงร้อยละ 73 อีกทั้งสารพัดปัญหารุมเร้าเกี่ยวกับนโยบายการสร้างงานที่ไม่ได้ผล ในขณะที่อัตราการว่างงานที่ยังมีสภาพเลือดไหลไม่หยุด และคาดว่าจะพุ่งทะลุระดับอัตราร้อยละ 20 ในเร็วๆ นี้

ในภาพรวมทางเศรษฐกิจแม้ว่าจะเริ่มฟื้นตัวบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหาความไม่สมดุลย์ที่ระบบเศรษฐกิจของสเปนสะสมมาอย่างยาวนานจนไม่สามารถจะกำจัดให้หมดสิDนไปโดยง่าย แต่คาดหวังว่าอุปสงค์ในต่างประเทศที่ขยับสูงขึ้น ร่วมกับการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนที่ขยายตัว จะช่วยให้สเปนมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นบวกได้ในช่วงครึ่งหลังของปี แต่ทั้งนี้จะเป็นไปอย่างเชื่องช้าโดยในปี 2553 สเปน จะยังคงมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวม -0.4

แนวโน้มการส่งออกของไทย

ในปี 2553 สินค้าส่งออกหลักดั้งเดิมของไทย ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เสื้อผ้าสำเร็จรูปยางพารา กุ้งแช่เย็น/แช่แข็ง ข้าว ยานพาหนะและส่วนประกอบ ในตลาดสเปนจะปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากความต้องการของผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวสูงขึ่น แต่ทั่งนี้ ผู้บริโภคยังคงขาดความมั่น ใจและยึดระดับราคาสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าต่อไป

สินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหารและเครื่องนุ่งห่ม ก็ยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาตลาดต่อไปได้ โดยเฉพาะกุ้งแช่เย็น/แช่แข็ง ที่เริ่มติดตลาดหลังจากเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ได้เข้ามาเปิดตัวและผลักดันอย่างจริงจัง รวมทั้งสินค้าอาหารพร้อมรับประทานที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าสินค้าเกษตรหรืออุตสาหกรรมการเกษตร สำหรับสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยมีระดับราคาเป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน

ส่วนสินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือยหรือไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่าง เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ ยังคงซบเซาต่อไป แต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะมีแนวโน้มขยายตลาดได้ดี เนื่องจากผู้บริโภคหันมาหาความสุขจากการใช้ชีวิตอยู่ภายในบ้านมากขึ้น กอปรกับกำหนดเวลาการเปลี่ยนสัญญาณถ่ายทอดโทรทัศน์จากอนาล็อกไปเป็นดิจิตอลที่ใกล้เข้ามา จะยังคงเป็นตัวเร่งยอดจำหน่ายโทรทัศน์ต่อไปหลังจากที่ได้ช่วยกระตุ้นให้ตลาดตื่นตัวในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รวมทั้ง โทรศัพท์มือถือที่มีการแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกสู่ตลาดตลอดเวลาก็ยังคงได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค

ในแง่ของสถานะคู่แข่งโดยทั่วไป จีนจะยังคงครองการเป็นเจ้าแห่งการผลิตและการส่งออกต่อไป นอกจากข้อได้เปรียบเรื่องต้นทุนการผลิตแล้วยังพัฒนาระดับฝีมือและเทคโนโลยีขึ้นเป็นลำดับด้วย นอกจากนั้น เวียดนามก็เป็นประเทศที่มีความได้เปรียบในแง่ของต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าและ สามารถผลิตสินค้าประเภทเดียวกับไทยแทบทุกชนิด หากเวียดนามยังเดินหน้าลดค่าเงินของตนลงอีกจะยิ่งทำให้สินค้าไทยเสียเปรียบมากยิ่งขึ้น

โดย กิตตินันท์ ยิ่งเจริญ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ