ตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในแคนาดา

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 22, 2010 13:45 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะการผลิต/แหล่งวัตถุดิบในประเทศ

แคนาดาเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติสำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมากแห่งหนึ่งของโลก (Resource based Country) ได้แก่ เพชร ทอง และ เงิน เป็นหลัก

เพชร (Diamond) แคนาดาเป็นผู้ผลิตอันดับ 3 ของโลก(รองจากบอตสวานา และ รัสเซีย) แหล่งผลิตปัจจุบันอยู่ใน 3 มณฑล ได้แก่ Northwest Territories, Nunavut และ Ontario ซึ่งมีบริษัทที่ได้รับสัมปทานการทำเหมืองเพชรจำนวน 4 ราย ในปี 2551 มีการผลิตเพชรได้ 8,180,964 กะรัต มูลค่า 2.4 พันล้านเหรียญแคนาดา (ประมาณ 72,000 ล้านบาท) แม้ว่าแคนาดาเป็นผู้ผลิตรายสำคัญของโลก แต่อุตสาหกรรมเจียรไนเพชรในแคนาดามีขนาดเล็กและยังขาดแรงงานที่มีฝีมือประสบการณ์ (Skilled Labour) จึงจำเป็นต้องส่งออกไปยังประเทศที่สาม เพื่อเจียระไน และส่งกลับมายังแคนาดา ทั้งนี้ถึงแม้ว่าแคนาดาเป็นผู้ผลิตเพชรที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก แต่อุตสาหกรรมเหมืองเพชรในแคนาดาเป็นธุรกิจกึ่งผูกขาด ที่ผู้รับสัมปทานเป็นผู้กำหนด ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย ฯลฯ

ทอง (Gold) แคนาดามีการถลุงทอง เพื่อใช้ในประเทศ และส่งออกในปี 2551 มีปริมาณการผลิต 77.50 ตัน (มูลค่าตลาดประมาณ 2.16 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ซึ่งแคนาดาเป็นผู้ผลิตทองอันดับที่ 8 ของโลก รองจาก จีน แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เปรู และ รัสเซีย

เงิน (Silver) เป็นวัตถุดิบหลักสำหรับการผลิตสินค้า Costume Jewelry โดยแคนาดา มีการผลิตในปี 2551 ปริมาณ 573.62 ตัน เป็นผู้ผลิตใหญ่อันดับที่ 9 ของโลก รองจาก ประเทศ เปรู เม็กซิโก จีน ออสเตรเลีย ชิลี โปแลนด์ รัสเซีย และ สหรัฐฯ

1.2 ลักษณะการผลิต

เนื่องจากแคนาดาเป็นประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Country) ที่มีค่าจ้างแรงงานสูงมากจึงไม่มีโรงงานผลิต หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่จะเป็นโรงงาน ขนาดกลาง เล็ก (SMEs) ที่มีการนำเข้าพลอยร่วง มาประกอบเข้าตัวเรือน เป็นสินค้าระดับสูง (Hi-End Jewelry) เนื่องจาก โครงสร้างภาษีนำเข้าเอื้อประโยชน์ ให้

นำเข้าสินค้าอัญมณีที่ยังไม่สำเร็จรูปและนำมาประกอบเป็นสินค้า จะได้ยกเว้นภาษี หรือภาษีนำเข้าที่ต่ำอุตสาหกรรมการผลิตเพชร ในแคนาดานั้นส่วนใหญ่เป็นการผลิต และถลุงแร่เพชร (เพชรดิบ) เพื่อการส่งออก ไปเจียรไนในต่างประเทศ อุตสาหกรรมเจียรไนเพชรในแคนาดา ยังขาดแรงงานที่มีฝืมือ (Shortage of skilled Labour) และ ค่าแรงมีราคาสูง

1.3 กำลังการผลิต/นำเข้า

จากข้อมูลล่าสุด ของกระทรวงอุตสาหกรรมแคนาดา (Industry Canada) พบว่าอุตสาหกรรมผลิตอัญมณีเครื่องประดับในปี 2550 มีการผลิตภายในประเทศ มูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญแคนาดา (ประมาณ 4.03 หมื่นล้านบาท) มีอัตราเพิ่มขึ้น 10.8% เมื่อเปรียบเทียบในปี 2549 ทั้งนี้ในช่วง 2539-2549 มีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.4%

แคนาดามีการนำเข้าสินค้าอัญมณีเครื่องประดับ (HS71) มูลค่า 7,512.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -7.39% โดยนำเข้าจาก สหรัฐฯ เปรู ชิลี สุรินัม สหราชอาณาจักรฯ ตามลำดับ สินค้าที่นำเข้าหลักได้แก่ ทองคำ (HS7108) ทองคำที่เป็นเศษ Scarp Metal (HS7112) อัญมณีเครื่องประดับ (HS7113)

1.4 จำนวนโรงงาน

แคนาดามีโรงงานผลิต/ผู้ประกอบการสินค้าอัญมณีเครื่องประดับในประเทศ จำนวน 7,649 แห่ง ในปี 2551 โดยผู้ผลิต/ผู้ประกอบการที่สำคัญของแคนาดา ตั้งอยู่ที่ มณฑล Ontario (สัดส่วน 40.8%) Quebec (22.6%) และ British Columbia (16.4%) ตามลำดับ

1.5 จำนวนแรงงาน

ประเภทของธุรกิจผู้ผลิตสินค้าอัญมณีเครื่องประดับในแคนาดา นั้นส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ที่แต่ละโรงงาน/บริษัทมีจำนวนพนักงานระหว่าง 5-99 คน มีจำนวน 1,847 โรงงาน (สัดส่วน 48.00%) และขนาดพนักงานไม่เกิน 4 คน จำนวน 1,937 โรงงาน (สัดส่วน 50.30%) โดยโรงงานผลิตขนาดกลางและใหญ่ในแคนาดามีจำนวน 67 โรงงาน (สัดส่วน 1.70%) และ 1 โรงงาน (0.01%) ตามลำดับ

2. ข้อมูลทางการตลาด
2.1 ข้อมูลผลิตภัณฑ์

สินค้าที่จะส่งมาขายในแคนาดาจะต้องมีคุณภาพคงที่ และเชื่อถือได้ โดยคุณภาพของสินค้าจะเป็นสินค้าระดับ Premium ที่มีการออกแบบที่ดูดี สวยงาม และมีดีไซน์ที่ปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

เนื่องจากประชาชนแคนาดา มาจากหลายเชื้อชาติ ดังนั้นความนิยมสินค้าจะแตกต่างกันออกไป ชาวแคนาดาเชื้อสายอิตาเลี่ยนจะชอบทอง 18 กะรัต ส่วนชาวแคนาดาเชื้อสายจีนจะชอบทอง 24 กะรัตซึ่งออกสีเหลืองมากกว่า นอกจากสินค้าที่มีการออกแบบแบบทันสมัยแล้ว ผู้บริโภคบางกลุ่มยังชอบสินค้าที่ออกแบบเลียนแบบของเก่าด้วย เครื่องประดับอัญมณีแหวนเรือนแบบเดิมยังคงได้รับความนิยมอย่างดี ยกเว้นในมณฑลควีเบค ผู้บริโภคจะชอบของแบบใหม่ ที่มีการออกแบบที่แปลกใหม่จากเดิม แคนาดายังเป็นตลาดที่ดีสำหรับเครื่องประดับเพชร ซึ่งนิยมใช้เป็นของหมั้น และแต่งงาน นอกจากนี้สุภาพสตรีเองก็นิยมซื้อแหวนเพชร (ใส่มือขวา) สำหรับตัวเอง และสินค้าสำหรับกลุ่มผู้บริโภควัยเยาว์และวัยรุ่น มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น

2.2 พฤติกรรมผู้บริโภค

ตลาดอัญมณีเครื่องประดับสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ Fine Jewelry (เครื่องประดับของแท้) และ Costume Jewelry (เครื่องประดับเทียม) โดยกลุ่มผู้บริโภคหลัก ได้แก่ สุภาพสตรี อายุระหว่าง 25-50 ปี ซึ่งจำนวนลูกค้าสุภาพสตรีมีจำนวนมากขึ้นมาจากการที่สตรีทำงานนอกบ้านเพิ่มมากขึ้น และมีตำแหน่งการงานระดับสูงรวมทั้งการที่สตรีเป็นโสดมากขึ้น หรือแต่งงานช้าลงทำให้สตรีนิยมซื้อเครื่องประดับอัญมณีที่มีราคาแพงเพิ่มมากขึ้นให้กับตัวเอง

ช่วงเวลาที่ผู้บริโภคใช้จ่ายซื้อสินค้าเครื่องประดับ Jewellery สูงที่สุดได้แก่ เทศกาล วันวาเลนไทน์(เดือนกุมภาพันธ์) วันแม่ (เดือนพฤษภาคม) วันพ่อ (เดือนมิถุนายน) และคริสต์มาส (เดือนธันวาคม) วันเกิด วันครบรอบต่างๆและวันสำเร็จการศึกษาทำให้เครื่องประดับขายได้ตลอดปี

ชาวแคนาดานิยมใช้แหวนเพชร เป็นของหมั้น ที่มีอัตราสูงที่สุดในโลก (สูงถึง 85%) นอกจากนี้ ตลาดสินค้า Costume Jewelry หรือสินค้าอัญมณีเครื่องประดับเทียมที่มีราคาไม่สูง อาทิ พลอยเทียม สายหนัง เครื่องเงิน กำลังได้รับความนิยมตามกระแสแฟชัน่ ที่มีการเปลี่ยนรูปแบบตลอดเวลา

การบริการของผู้ส่งสินค้า(Exporter) มาขายในแคนาดา

การบริการก่อนและหลังการขายเป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จของการสั่งซื้อสินค้าในแคนาดา อาทิ การสื่อสารอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ ผู้ขายจะต้องมีเวลาในการตอบข้อซักถามและให้ข้อมูลแก่ผู้สั่งซื้ออย่างเพียงพอ และภาษาสำคัญที่ใช้สื่อสาร คือ ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส การส่งมอบ การรับประกันคุณภาพสินค้า (Warranty) การส่งมอบสินค้าที่ตรงเวลา ถ้ามีความล่าช้าหรือขัดข้องการส่งมอบสินค้าจะต้องแจ้งให้ผู้สั่งซื้อทราบทันที การออกแบบสินค้าที่ตรงกับตลาด การตั้งราคาที่แข่งขันได้

2.3 การกำหนดราคาขาย

การรับรู้ (Perceived Value) ของผู้บริโภคแคนาดาเกี่ยวกับสินค้าเครื่องประดับ Jewellery มักจะผสมผสานระหว่างราคา คุณภาพ และการบริการก่อนและหลังการขาย (Pre & Post Sale Service)

ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคจ่ายจะรวมราคาจากแหล่งผลิต (ในรูปเงินเหรียญแคนาดา) ค่าขนส่ง ค่าภาษีศุลกากร (ตั้งแต่ 0-5%) ค่าภาษีการค้าทั้งของรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น และส่วนกำไรของผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกฉะนั้นราคาขายปลีกจะสูงกว่าราคาจากผู้ผลิต 3 ถึง 4 เท่า เครื่องประดับที่ขายดีที่สุดในแคนาดา คือ เครื่องประดับราคาปานกลาง โดย 70% ของเครื่องประดับที่ขายดีในแคนาดาจะราคาชิ้นละไม่เกิน 100 เหรียญแคนาดา จะเป็นสินค้า Costume Jewelry หรือ Imitation Jewelry

การชำระจ่ายเงินสั่งเมื่อซื้อสินค้า

โดยทั่วไปผู้นำเข้าและผู้ขายส่งเมื่อสั่งซื้อของจะจ่ายทั้งหมดภายใน 30 วัน แต่บางครั้งอาจจะตกลงกันเป็น 60วัน และ ควรจะใช้ Letter of Credit ในการตกลงขายสินค้าจนกว่าจะเกิดความไว้วางใจกัน

2.4 ช่องทางการจำหน่ายในแคนาดา

ธุรกิจสินค้าเครื่องประดับในแคนาดาส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้ร้านค้าใหญ่ๆ (Chain Store) และ ร้าน Specialty Store — ได้แก่ People’s Jewellery, Tiffany & Co. หรือ Henry Birks & Sons Inc., ห้างสรรพสินค้าชื่อดัง ได้แก่ Sears, The Bay ห้าง Discount Store ได้แก่ Walmart, Zellers หรือ Costco ผู้ขายหรือผู้ส่งสินค้ามาแคนาดาจึงควรจะต้องรู้จักผู้ซื้อ (Buyer) ของธุรกิจเหล่านี้ไว้บ้าง ส่วนร้านค้าปลีกอัญมณีรายย่อย จะซื้อจากผู้ค้าส่งหรือจัดจำหน่ายอิสระที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก

นอกจากนี้ผู้ค้ายังนิยมเจาะลูกค้าผ่าน ทางไปรษณีย์ หรือส่งแคตาล็อกตามบ้าน (Mail Order/Catalogue Order) การซื้อ-ขายผ่านรายการทางโทรทัศน์ (TV Shopping) และการซื้อ-ขายผ่านอินเตอร์เนต (Online Shopping) เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ มียอดขายเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัวในช่วง4-5ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นสุภาพสตรีเนื่องจากแคนาดาเป็นประเทศที่มีผู้ใช้อินเตอร์เนตสูงมากประเทศหนึ่งในโลก

3. กฎระเบียบการค้า การนำเข้า และส่งออก

ระเบียบการนำเข้า

  • ระเบียบที่เป็นอัตราภาษีศุลกากรขาเข้า
  • ระเบียบที่ไม่ใช่ภาษี
  • กฏระเบียบ Precious Metals Marking Act Consumer เกี่ยวกับการระบุคุณภาพสินค้าเครื่องประดับอัญมณี อาทิ การระบุกำกับสินค้าที่ทำจากโลหะมีค่าต่างๆ (ทองคำ เงิน ทองคำขาว และพาลาเดียม)เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
  • กฏระเบียบ Guide to the Precious Metals Marking Act and Regulations ซึ่งมีข้อกำหนดให้ระบุวิธีการใช้ การรับประกันต่างๆ ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส มณฑลควีเบคจะมีระเบียบเพิ่มเติมในเรื่อง Packaging and labeling ได้แก่การระบุชื่อสามัญ ฉลากข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้า

ระเบียบการส่งออก

  • แคนาดาไม่มีข้อจำกัด หรือกฏระเบียบข้อบังคับในการส่งออกสินค้าอัญมณีเครื่องประดับ
หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Precious Metals Marking Act Consumer

  • http://www.cb-bc.gc.ca/eic/site/cb-bc.nsf/vwapj/jewellery_eng.pdf/$FILE/jewellery_eng.pdf Guide to the Precious Metals Marking Act and Regulations (รวมถึงกฏระเบียบในมณฑล Quebec)
  • http://www.bureaudelaconcurrence.gc.ca/eic/site/cb-bc.nsf/eng/01234.html#examples
  • http://www.olf.gouv.qc.ca/english/infoguides/index.html
4. โครงสร้างภาษีนำเข้า

สินค้าอัญมณีเครื่องประดับ เป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าที่มีอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำ โดยไทยอยู่ในกลุ่ม GPT (สหรัฐฯเรียกว่า GSP) ที่ได้รับการลดหย่อนภาษี โดยผู้นำเข้าจะต้องแสดงเอกสารแหล่งกำเนิดสินค้า (Form A) ในขั้นตอนพิธีการศุลกากรขาเข้าแคนาดา ซึ่งสามารถสรุปอัตราภาษีขาเข้าแคนาดาได้ดังนี้

ภาษีอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)
  • เดิมมีการคิดภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) นอกเหนือจากภาษีขาเข้า สำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ นาฬิกา อัญมณี
เครื่องประดับแต่ได้ประกาศยกเลิกการจัดเก็บ ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2549
  • ภาษี GST (Goods and Service Tax) มีลักษณะคล้ายกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของไทย โดยผู้นำเข้าจะต้องจ่ายภาษี GST (อัตราปัจจุบันที่ 5%) เมื่อทำการผ่านขั้นตอนศุลกากรแคนาดา นอกเหนือจากภาษีนำเข้า (Tariff)
  • ภาษี PST (Provincial Tax) เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค โดยมีอัตราที่แตกต่างกันไปตาม มณฑล ของแคนาดาตั้งแต่ 0-8% โดยปัจจุบัน ในมณฑล Ontario มีอัตราอยู่ที่ 8% อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 1 กรกฏาคม 2553 แคนาดาในบางมณฑล (เริ่มใช้ในมณฑล Ontario และ British Columbia) จะมีการรวมภาษี PST และ GST เป็น HST ทำให้ภาษีขายใน Ontario จะเป็นอัตราร้อยละ 13% (GST (5%) + PST (8%) = 13%)
5. ข้อกีดกันทางการค้า

แคนาดา เป็นประเทศที่ไม่มีมาตรการกีดกันทางด้านภาษี (Tariff Barrier) สำหรับสินค้าอัญมณีเครื่องประดับ โดยไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศ GPT- General Preferential Tariff Treatment ที่ได้รับสิทธิการลดหย่อนภาษี อย่างไรก็ตามประเทศคู่แข่ง ของไทย อาทิ จีน อินเดีย ฮ่องกง มาเลเซีย ก็ได้รับสิทธิทางภาษีเช่นเดียวกับไทย จึงทำให้ไทยไม่ได้เปรียบด้านภาษีต่อประเทศคู่แข่ง

แคนาดาไม่มีมาตรการกีดกันด้าน Non-Tariff Barrier สำหรับสินค้าอัญมณีเครื่องประดับ แต่มีกฏระเบียบสินค้า ที่ใช้กับสินค้านำเข้าและสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค อาทิ Precious Metals Marking Act การระบุฉลากสินค้า และกฏระเบียบเกี่ยวการปนเปื้อนของสารตะกั่วในเครื่องประดับของเด็ก (Children's Jewelry Regulations under the Hazardous Products Acts) เป็นต้น

6. การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมฯ จากภาครัฐและเอกชน

การส่งเสริมสนับสนุนส่วนใหญ่มาจากภาครัฐฯ โดยส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจ การเจาะขุดเหมืองแร่เพชร ทอง หรือวัตถุดิบทางธรรมชาติ อาทิ บริษัท De Beers ได้มีการลงทุนสัมปทานเหมืองเพชร ในมณฑล Ontario มูลค่าโครงการกว่า 6.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษี (Tax Credit) ซึ่งข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ สามารถค้นหาเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยงาน Investment Canada (http://www.ic.gc.ca/eic/site/icalic. nsf/eng/home)

7. รายชื่อผู้นำเข้าและผู้ส่งออกรายสำคัญ

ผู้นำเข้ารายสำคัญ

ANDS Bali Silver

P.O. Box 221, Roberts Creek BC, V0N2W0

Tel: 416-921-2637 Fax: 604-648-9972

Baltic Amber LTD.

55 Queen St. E. #1100, Toronto, ON M5C 1R6

Tel: 416-363-9390 Fax: 416-603-6550

Email: info@balticamberltd.com

Web: www.balticamberltd.com

BAMIYAN SILVER LIMITED

55 Queen St. E. #1100, Toronto, ON M5C 1R6

Tel: 416.603.3983 Fax: 416.603.6550

Web: www.bamiyansilver.com

Bizou International inc.

1490, 3e Avenue Est, Sainte-Marie, QC, G6E 3T9

Tel: 418-387-8481 Fax: 418-387-8404

Corona Jewellery Company

16 Ripley Ave. Toronto, ON M6S 3N9

Tel: (416) 762-2222 Fax: (416) 762-2445

Gold & Silver House Ltd

21 Dundas Square #702, Toronto, On. M5B 1B7

Tel: (416) 361-1742 Fax: 416361.6180

Web: www.goldsilverhouse.com

In Accessories Inc.

Suite 705, 55 Queen St. East, Toronto, ON M5C 1R6

Tel: 416.516.4661 Fax: 416.516.0869

Email: sales@inaccessories.com

Lotus Jewellery Ltd

63 Tacoma Drive Suite 101, Dartmouth NS B2W 3E7

Tel: 877-593-0922 Fax:800-593-0923

Email: info@kameleonjewellry.ca

Web: www.kameleonjewellery.ca

MARILENA JEWELLERY IMPORTS LTD

24-3683 East Hastings St., Vancouver, BC, V5K 4Z7

Tel: (604) 299-9613 Fax: (604) 299-6033

Nathan Hennick & Co. Ltd.

6 Tippett Rd Downsview, ON, M3H 2V2

Tel: (416) 636-4040 Fax: (416) 630-8062

Web: www.nathanhennick.com

Email: brian@nathanhennick.com

Zale Canada Co

61 Mc Pherson, Markham, ON, L3R3L3

Tel: (905) 470-7573 Fax: 416-391-7870

Ambika Jewellers (1996)

25 Agnes St. Mississauga, ON , L5B3X7

Tel:(905) 270-6921 Fax (905) 270-1934

Charm Jewelry Limited

140 Portland St. Dartmouth, NC B2Y 1J1

Tel: 902-463-7177

Web: www.charmdiamondcentres.com

Fine Gold Jewellers

5000 Hwy 7 East, Unit 0411C, Markham, Ontario, L3R 4M9

Tel: (905)305-8399 Fax: (905)305-8699

E-mail: sales@markvillefinegold.com

Web: www.markvillefinegold.com

Bijouterie Diamants Elinor Inc.

5 Route Trans-Canada, Pointe-Claire QC, H9R 1C4

Tel: 514-426-3293 Fax: 514-426-4252

Empress

7050 avenue Victoria, Montreal, QC H4P 2P1

Tel: (514) 344-3684 Fax: 514-735-1190

Har Imports

620 RUE CATHCART #404, Montreal, Quebec H3B 1M1

Tel: 514-866-2699 Fax: 514-866-0372

Bijoux RNB

1255 rue Du Square-Phillips Bureau 712, Montr?al H3B 3G1, QC

Tel: 514-798-0770 Fax: 514-861-9077

ผู้ส่งออกรายสำคัญ

Polar Bear Diamond

3424 Drummond Ave., Montreal QC H3G 1Y1

Tel: 514.861.6675 ext 112

Email:ilan@polarbeardiamond.com

Contact: Mr. Ilan Dahan

Harry Winston Diamond Corporation

P.O. Box 4569, Station A, Toronto, Ontario M5W 4T9

Tel: 416.362.2237 Fax: 416.362.2230

E-mail: hw@harrywinston.com

Website: www.aber.ca

Debeers Canada Inc.

300-65 Overlea Blvd, Toronto, ON M4H 1P1

Tel: 416-646-1710 X2151 Fax: 416-429-2462

Contact: Derek Teevan

Website: www.debeerscanada.com

HRA Investment Ltd.

Suite 2160-1066 West Hastings, Vancouver, BC V6E 3X1

Tel: 604.669.9562 Fax: 604.669.5626

Website: www.hrausa.com

Barrick Gold Corporation

161 Bay Street, Suite 3700 P.O. Box 212 Toronto, Canada M5J 2S1

Tel: +1 416 861-9911 Fax: +1 416 861-2492

Web: www.barrick.com

Wesdome Gold Mines

8 King Street East, Suite 1305, Toronto, Ont. M5C 1B5

Tel: (416) 360-3743 Fax: (416) 360-7620

Email: info@wesdome.com

Web: www.wesdome.com

Teck Resources Limited

Suite 3300, Bentall 5, 550 Burrard Street

Vancouver, BC Canada V6C 0B3

Tel: 604.699.4000 Fax: 604.699.4750

Email: info@teck.com

8. แนวโน้มอุตสาหกรรม

จากข้อมูลการค้าปลีกแคนาดาล่าสุด เดือน พฤศจิกายน 2552 จาก Statistics Canada พบว่ายอดจำหน่าย สินค้าอัญมณีเครื่องประดับและเสื้อผ้าแฟชั่น ได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.8% ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณในเชิงบวก ว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับไปทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้สินค้าเครื่องประดับอัญมณี มีแนวโน้มที่ดีในแคนาดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้า Costume Jewelry ที่มีราคาไม่แพง และมีรูปแบบเปลี่ยนแปลงเร็ว ตามกระแสแฟชั่นสำหรับสินค้าไทยมีโอกาสดีมากในตลาดแคนาดา จะเป็นสินค้าเครื่องประดับที่ทำจากเงิน เนื่องจากสินค้าของไทยมีการออกแบบที่สวยงาม คุณภาพดี และราคาไม่แพงนัก ในปัจจุบันแคนาดานำเข้าสินค้าเครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน จากไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง โดยในช่วง มค-พย 52 มีมูลค่า 25.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ถึง20.28% และมีส่วนแบ่งตลาดถึง 24.31% คู่แข่ง ที่สำคัญได้แก่ จีน สหรัฐฯ และอิตาลี

ส่วนเครื่องประดับที่ทำจากเพชรของไทยยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากไทยไม่มีการผลิตเพชรที่มีขนาดใหญ่ และการออกแบบยังไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแคนาดา

ขณะนี้สินค้าไทยที่ส่งมาขายในแคนาดายังไม่มีการสร้างตราสัญญลักษณ์ของสินค้า หากมีการสร้างตราสัญญลักษณ์โดยเฉพาะสินค้าเครื่องประดับที่ทำจากเงินที่ไทยได้รับความนิยมอยู่แล้ว จะทำให้สินค้าของไทยมีมูลค่าสูงขึ้น และไม่ถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดได้โดยง่าย

พลอยสีของไทยเป็นอัญมณีที่ได้รับความนิยมในแคนาดาเช่นเดียวกัน ได้แก่ ทับทิม (Ruby) บุศราคัม (Sapphire) เทอร์คอยซ์ (Turquoise) ไพลิน (Blue Sapphire) การ์เน็ท (Garnet) นิล (Onyx) ฯลฯ

9. ข้อเสนอแนะ/กลยุทธ์การตลาด

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โตรอนโต ขอเสนอแนวทางการเจาะตลาดสินค้าอัญมณีเครื่องประดับ ในประเทศแคนาดา

  • เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในแคนาดา หรืองานแสดงสินค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคอเมริกาเหนือ
  • สร้างแบรนด์สินค้า ควบคู่ไปกับการดีไซน์สินค้าที่โดดเด่น (Unique Design) หรือดีไซน์ให้มีสีสรรเข้ากับตลาดและพิจารณาการให้บริการหลังการขาย (After sale Service) อาทิเช่น การให้รับประกันคุณภาพสินค้า (Warranty)
  • รักษาคุณภาพสินค้าให้คงที่ และสม่ำเสมอ ไม่ให้มีการปลอมปน หรือปลอมสินค้าซึ่งจะให้เสียภาพลักษณ์ สินค้าไทย
  • จัดหาตัวแทนการค้า Agent หรือ Trading Company เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในแคนาดา
  • มี Web-site ซึ่งผู้นำเข้าแคนาดาสามารถจะหาได้ง่ายทางอินเตอร์เนต เป็นการสร้างช่องทางจัดจำหน่ายสร้างโอกาสทางการค้า ทั้งในระดับ ค้าส่ง/ปลีก (B2B และ B2C)
  • ลงโฆษณาในหนังสือนิตยสารของธุรกิจเครื่องประดับอัญมณี (Trade Magazine)
10. รายชื่องานแสดงสินค้าในแคนาดาที่เกี่ยวข้อง

JCK Toronto

Toronto, ON — ระหว่างวันที่ 8-10 ส.ค. 2553

http://www.jcktoronto.ca

Mode Accessories

Toronto, ON — ระหว่างวันที่ 8-10 ส.ค. 2553 (มีการจัด 2 ครั้งต่อปี ในเดือน ม.ค. และ ส.ค.)

http://www.mode-accessories.com/toronto_show_main.asp

Canadian Gift & Tableware Association — Toronto International Centre

Toronto, ON — ระหว่างวันที่ 31 ม.ค. — 4 ก.พ. 2553 (มีการจัด 2 ครั้งต่อปี ในเดือน ม.ค. และ ส.ค.)

http://www.cgta.org/main.asp

Alberta Gift Show — Northlands

Edmonton, AB — ระหว่างวันที่ 21-24 ก.พ. 2553

http://www.albertagiftshow.com/

Montreal Gift Show — Place Bonaventure

Montreal, QC — ระหว่างวันที่ 7-10 2553

http://www.montrealgiftshow.com/

Vancouver Gift Show — BC Place Stadium

Vancouver, BC — ระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2553

http://www.vancouvergiftshow.com/

Western Canadian Jewellery Expo — Shaw Convention Centre

Edmonton, AB — (ยังไม่มีการประกาศวันจัดงาน)

http://www.wcjexpo.com/contact.php

11. รายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ควรทราบ

Trade Facilitation Office Canada

56 Sparks street, Suite 300, Ottawa, Ontario, Canada K1P 5A9

Tel: (613)233-3925 Fax: (613)233-7860

Web: www.tfco.ca

Industry Canada

C.D. Howe Building, 235 Queen Street, Ottawa, Ontario K1A 0H5

Tel: 613.954.5031 Fax: 613.954.2340

Web: www.strategis.ic.gc.ca

Canada Jewellery Association

27 Queen Street, Suite 600, Toronto, Ontario, Canada M5C 2M6

Tel: (416) 491-3999 Fax: (416) 491-5088

Web: www.canadianjewellers.com

Canadian Gemmological Association

1767 Avenue Road, Toronto, Ontario M5M 3Y8

Tel: 416-785-0962 Fax: 416-785-9043

Web: www.canadiangemmological.com/ecom/

Canadian Institute of Gemmology

P.O. Box 57010, Vancouver, B.C. V5K 5G6

Tel. 604-530-8569

Web: www.cigem.ca/

Jewellers Vigilance Canada

27 Queen St. E. Suite 600 Toronto ON M5C 2M6

Tel: 1.800.636.9536 Fax: 416.368.5552

Web: www.jewellersvigilance.ca

12. นิตยสารที่เกี่ยวข้อง

Jewellery Business Magazine

15 Wertheim Court, Suite 710

Richmond Hill, ON, L4B 3H7 Canada

Tel: 905-771-7333 Fax: 905-771-7336

Web: www.jewellerybusiness.com/1/index.php

Canadian Jeweller

60 Bloor Street West, Suite 1106 Toronto, Ontario, M4W 3B8

Tel. (416) 203-7900 Fax (416) 703-6392

Web: www.canadianjeweller.com/

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครโตรอนโต

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ