ภาวะตลาดสินค้ารถยนต์ของไต้หวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 20, 2010 16:11 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะตลาดทั่วไป

จากการที่เศรษฐกิจทั่วโลกตกอยู่ในภาวะชะงักงันตั้งแต่วิกฤต Sub-Prime ในสหรัฐในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2551 เป็นต้นมา เศรษฐกิจของไต้หว้นก็ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจนทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2551 ต่อเนื่องไปจนถึง 3 ไตรมาสแรกของปี 2552 ของไต้หวันตกอยู่ในภาวะถดถอย แน่นอนว่าภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา แบบนี้ได้ส่งผลเสียต่อตลาดรถยนต์ในประเทศเป็นอย่างยิ่ง จนทำให้ยอดขายในปี 2551 และในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 ลดลงถึงร้อยละ 30.76 และ 20.34 ตามลำดับ แต่จากการที่สภาพเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 เป็นต้นมา ประกอบกับนโยบายการลดภาษีสินค้า (Commodity Tax) จำนวน 30,000 เหรียญไต้หวันให้ผู้ที่ซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่เป็นรถใหม่ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2552 เริ่มเห็นผลส่งผลให้ยอดขายคณะกรรมการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของไต้หวันนับจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2552 มีรถยนต์ใหม่ยื่นของรับการลดภาษีจำนวน 139,662 คัน จึงคาดการณ์ว่าภาวะการซื้อขายในช่วงปี 2553 น่าจะกลับมาอยู่ในภาวะสดใสอีกครั้ง

2. ภาวะการผลิต

สึนามิการเงินที่ส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศของไต้หวันลดลง ทำให้ปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมหลักๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมรถยนต์ของไต้หวันในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2551 ลดลงอย่างหนักจนทำให้มูลค่าการผลิตตลอดปีในปี 2551 คิดเป็นมูลค่า 96,914 ล้านเหรียญไต้หวันลดลงจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 31.53 ในขณะที่มูลค่าการผลิตในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 ก็ยังคงยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่า 45,238 ล้านเหรียญไต้หวัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 26.15 รายละเอียดมูลค่าและปริมาณการผลิตรถยนต์ของไต้หวันในช่วงปี 2005-2009 (6 เดือนแรก) ปรากฎตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 มูลค่าและปริมาณการผลิตรถยนต์ของไต้หวัน

                      2005        2006          2007       2008         2009*
มูลค่า (Million NT$)  225,316     154,177      141,536      96,914       45,238
เพิ่ม/ลด (%)             5.14      -31.57        -8.20      -31.53       -26.15
ปริมาณ (คัน)          440,451     301,394      281,895     179,024       87,765
เพิ่ม/ลด (%)            3.64       -31.57        -6.47      -36.49       -21.15
Sourc: Taiwan Institute of Economic Research

3. การส่งออก

ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมรถยนต์ถือเป็นอุตสากรรมที่เป็นหัวใจสำคัญในระดับต้นๆของเศรษฐกิจไต้หวันมาโดยตลอด โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ไต้หวันส่งออกรถยนต์ไปยังต่างประเทศคิดเป็นมูลค่ารวม 306.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 17.2 โดยประเภทสินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่คือรถกอล์ฟ (มูลค่า 161.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 39.10) และรถยนต์นั่งที่กระบอกสูบจุดระเบิดด้วประกายไฟและมีความจุมากกว่า 1,500 ลบ.ซม. แต่ไม่เกิน 3,000 ลบ.ซม. (มูลค่า 140.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.92

4. การนำเข้า

สำหรับในส่วนของการนำเข้าแล้วในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ไต้หวันนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศคิดเป็นมูลค่ารวม 1,014.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 4.23 โดยประเภทสินค้าที่นำเข้ามากที่สุดคือรถยนต์นั่งกระบอกสูบจุดระเบิดด้วยประกายใฟและมีความจุมากกว่า 1,500 ลบ.ซม. แต่ไม่เกิน 3,000 ลบ.ซม. (HS-Code: 870323) ด้วยมูลค่า 522.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.97 จากช่วงเดียวกันของปี 2551 รองลงมาได้แก่รถยนต์นั่งกระบอกสูบจุดระเบิดด้วยประกายไฟและมีความจุมากกว่า 3,000 ลบ.ซม. (HS-Code: 870324 มูลค่า 321.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.03) และรถยนต์นั่งกระบอกสูบจุดระเบิดด้วยการอัด (ดีเซลหรือกึ่งดีเซล) และมีความจุมากกว่า 1,500 ลบ.ซม. แต่ไม่เกิน 2,500 ลบ.ซม (HS-Code: 870332) ด้วยมูลค่า 88.86 ล้านเหรียญสรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.07

สำหรับในส่วนของการนำเข้ารถยนต์จากประเทศไทยนั้น ไต้หวันมีการนำเข้าเพียงเล็กน้อยในสินค้ายานยนต์ขนส่งสินค้าแบบดีเซลที่น้ำหนักรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ไต้หวันนำเข้าสินค้าประเภทนี้คิดเป็นมูลค่ารวม 2.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันก่อนหน้าร้อยละ 55.05 โดยเป็นการนำเข้าจากเกาหลีใต้มากที่สุดคิดเป็นมูลค่า 2.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 44.72 รองลงมาได้แก่เยอรมันนี (มูลค่า 0.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 69.63) และไทย (มูลค่า 0.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 73.19) รายละเอียดเพิ่มเติมปรากฎตามตารางที่ 7

5. ระเบียบการนำเข้า
  • อัตราภาษีนำเข้า (HS-Code: 8703/8704211900)

1) อัตราภาษีในโควต้า ร้อยละ 17.5 (โควต้าจากประเทศไทยในปี 2553 เท่ากับ 42,998 คัน)

2) นอกโควต้า ร้อยละ 30

  • อัตราภาษีสินค้า (Commodity Tax)
  • ห้ามนำเข้าสินค้าจากจีนแผ่นดินใหญ่
6. การตลาด

จากการที่ไต้หวันได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ตกอยู่ในภาวะซบเซาตั้งแต่กลางปี 2551 เป็นต้นมา ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในไต้หวันลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 มูลค่าการจำหน่ายรถยนต์ในไต้หวันคิดเป็นมูลค่ารวม 52,381 ล้านเหรียญไต้หวัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 20.34 คิดเป็นปริมาณ 101,469 คัน ลดลงร้อยละ 15.03 โดยในจำนวนนี้ยอดขายรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (< 2,000 cc.) ถือครองสัดส่วนตลาดมากที่สุดคิดคิดเป็นร้อยละ 69.05 รองลงมาได้แก่รถบรรทุกสินค้าและผู้โดยสารด้วยสัดส่วนร้อยละ 15.05 และรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ (>=2,000 cc.) ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 10.75 โดยรายละเอียดปริมาณและมูลค่าการจำหน่ายรถยนต์ใหม่ไต้หวันในช่วงปี 2005-ครึ่งปีแรกของปี 2009

ราคาเฉลี่ย

สำหรับในส่วนของราคาเฉลี่ยแล้ว เนื่องจากรัฐบาลได้มีการลดภาษีสินค้าสำหรับรถยนต์นั่งที่มีขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 2,000 ลบ.ซม. ประกอบกับในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 บริษัท China Steel Corp. ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของไต้หวันได้ลดราคาสินค้าลงและผู้ประกอบการเองก็ได้มีการลดราคาเพื่อกระตุ้นยอดขาย จึงทำให้ราคาจำหน่ายรถยนต์ใหม่ โดยเฉลี่ยลดลงจกาช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 6.24 โดยในจำนวนนี้รถบรรทุกขนาดเล็ก (น้ำหนักต่ำกว่า 3.5 ตัน) มีราคาเฉลี่ยลดลงมากที่สุดโดยลดลงร้อยละ 7.03 ในขณะที่ราคารถยนต์นั่งขนาดเล็ก (ต่ำกว่า 2,000 cc.) มีราคาเฉลี่ยลดลงร้อยละ 3.57

แนวโน้มตลาด

ทั้งนี้ในด้านแนวโน้มตลาดรถยนต์โดยรวมของไต้หวันนั้น แม้ว่าปริมาณและมูลค่าจำหน่ายจะลดลงตามอิทธิพลของภาวะเศรษฐกิจซบเซา หากแต่เนื่องจากที่รัฐบาลได้ลดภาษีสินค้าของรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ