สินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ในประเทศเยอรมนี

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 25, 2010 15:18 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมตลาด

สินค้าเกษตรอินทรีย์ หรือที่เรียกว่า สินค้า Bio ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน แต่เดิมเป็นสินค้าที่มีการผลิตและจำหน่ายแพร่หลายกันมากในแต่ละท้องที่ โดยเริ่มผลิตครั้งแรกในสหพันธ์ฯในปี ค.ศ. 1924 แต่ด้วยโครงสร้างการคมนาคมที่ดีมากขึ้นตามลำดับ ทำให้เป็นสินค้าที่มีวางจำหน่ายทั่วประเทศและมีการนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบรับความต้องการของผู้บริโภคที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลักการสำคัญของการผลิตสินค้าไบโอคือไม่ใช้สารเคมี สารประกอบหรือวัตถุดิบต่างๆที่มิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผลผลิตมีคุณค่าทางอาหารสูง ปลอดจากสารเคมีหรือสารพิษตกค้าง นอกจากนั้นในกระบวนการผลิตยังคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมข้างเคียงอีกด้วยในช่วงปี 2549-2551 สินค้าเกษตรอินทรีย์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนนับได้ว่าเป็นสินค้าที่มาแรงที่สุดในช่วงนั้นและเป็นช่วงปีที่สินค้าเกษตรอินทรีย์มีอัตราขยายตัวพุ่งสูงสุด อันเป็นผลจากการตื่นตัวของผู้บริโภคซึ่งให้ความสำคัญกับสุขภาพมากยิ่งขึ้น ประกอบกับโรคติดต่อจากสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น โรควัวบ้า ไข้หวัดนก ตลอดจนโรคอันเกิดจากการปนเปื้อนของสารพิษและสารเคมีตกค้างต่างๆ โดยในปี 2550 มูลค่าของตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 15 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ในปี 2551 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม จากสถิติของสมาพันธ์ผู้ประกอบธุรกิจอาหารเกษตรอินทรีย์ (BOELW) สรุปได้ว่าในปี 2552 ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของเยอรมนีอยู่ในระดับทรงตัว โดยมีมูลค่าการซื้อขายโดยรวมเท่ากับปี 2551 หรือลดลงเล็กน้อย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5.7 พันล้านยูโร หรือประมาณ 285 พันล้านบาท เนื่องจากช่องทางการตลาดที่สำคัญ ได้แก่ ร้านค้าปลีกและร้านซุปเปอร์มาเก็ตแบบ discounter ลดประเภทสินค้าเกษตรอินทรีย์ในห้างของตนลงและลดราคาสินค้าเพื่อหวังใช้กลยุทธด้านราคาเป็นตัวดึงดูดความสนใจจากลูกค้า แต่ผลกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร กล่าวคือ แม้จะมียอดจำหน่ายปริมาณมากขึ้น แต่ไม่ทำให้มูลค่ายอดขายเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด

2. การผลิต

เกษตรกรผู้ผลิตอาหารเกษตรอินทรีย์ของเยอรมนี จำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม ได้แก่

1. ผู้ผลิตภายใต้กฎระเบียบของสหภาพยุโรป (EU-Bio) คิดเป็นจำนวนร้อยละ 47.5

2. ผู้ผลิตภายใต้สมาคมผู้ผลิตของเยอรมนี (Verbands-Bio) คิดเป็นร้อยละ 52.5

ในปี 2552 เยอรมนีมีมีเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์รวมทั้งสิ้น 21,009 ราย บนพื้นที่ทั้งหมด 951,557 เฮกเตอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้ามีจำนวนกิจการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 หรือ 1,185 ราย และมีพื้นที่การเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 หรือ 40,172 เฮกเตอร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.6 ของจำนวนเกษตรกรทั้งหมดและร้อยละ 5.9 ของพื้นที่การเกษตรของประเทศ

ตารางที่ 1 สัดส่วนของผู้ผลิตอาหารเกษตรอินทรีย์ของเยอรมนีในปี 2552 จำแนกตามประเภทผู้ผลิต
                               จำนวนผู้ผลิต/กิจการ   สัดส่วน (%)     พื้นที่ (เฮกเตอร์)     สัดส่วน (%)
ผู้ผลิตภายใต้กฎระเบียบของสหภาพยุโรป      9,979            47.5           298,218         31.3
ผู้ผลิตภายใต้สมาคมผู้ผลิตของเยอรมนี       11,030            52.5           653,339         68.7
จำนวนผู้ผลิตทั้งหมด                    21,009             100           951,557          100
สัดส่วนของภาคการเกษตรโดยรวม           5.9%                              5.6%

สำหรับเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ซึ่งรวมตัวกันอยู่ในรูปของสมาคมต่างๆ ภายใต้สมาพันธ์ผู้ประกอบธุรกิจอาหารเกษตรอินทรีย์ เป็นการรวมกลุ่มตามลักษณะสินค้า ระเบียบเกี่ยวกับสินค้าและเขตพื้นที่ จากสถิติของสมาพันธ์ฯในปี 2552 มีเกษตรกร/กิจการผู้ผลิตสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ที่เป็นสมาชิกของสมาพันธ์ รวมทั้งสิ้น 11,030 บริษัท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า มีจำนวนบริษัทผู้ผลิตเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 6 หรือ620 บริษัท พื้นที่การเกษตรทั้งหมดในปี 2552 คิดเป็นจำนวน 653,339 เฮกเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 หรือ 32,301 เฮกเตอร์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยมีการผลิตในเขตเยอรมันตะวันออกมากกว่าในเขตตะวันตก

ตารางที่ 2 สมาคมผู้ผลิตของเยอรมนีในปี 2552
          สมาคม                จำนวนสมาชิก            พื้นที่ (เฮกเตอร์)
                             2008        2009       2008         2009
    1  Bioland               4,967      5,233    243,966      257,019
    2  Naturland             2,005      2,214     93,964      105,316
    3  Demeter               1,341      1,388     60,365       64,253
    4  Biokreis                726        810     29,057       33,433
    5  Biopark                 659        647    139,600      138,167
    6  Gaa                     325        337     31,092       32,588
    7  Ecovin                  197        210      1,150        1,307
    8  Verbund Okohofe         161        162     19,958       19,208
          รวม               10,410     11,030    621,038      659,339


3. ช่องทางการตลาด

ผู้บริโภคสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ในเยอรมนีปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 12-18 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 17-20 ของประชากรทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากราคาของสินค้าส่วนมากค่อนข้างสูงกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตตามปกติโดยเฉลี่ยระหว่างร้อยละ 10-40 อย่างไรก็ตามในช่วงปีที่ผ่านมา ร้านค้าปลีกและซุปเปอร์มาเก็ตแบบdiscounter ได้ลดราคาสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ของตัวเองลง เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น ทำให้ความแตกต่างด้านราคาของสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์จากสินค้าทั่วไปลดต่ำลงอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าผักผลไม้บางชนิดที่มีปริมาณการบริโภคสูงอย่างสม่ำเสมอ เช่น แครอท กล้วย ผักกะหล่ำประเภทต่างๆ เป็นต้นสำหรับช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ จำแนกได้ดังนี้

1. ร้านค้าปลีกและซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป

2. ซุปเปอร์มาเก็ตแบบ discounter

3. ร้านจำหน่ายเฉพาะสินค้าเกษตรอินทรีย์/ซุปเปอร์มาเก็ตสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะ

4. ร้านสินค้าเพื่อสุขภาพ (Reform House)

5. ร้านเบเกอร์รี่/ hand work

6. ร้านของผู้ผลิตโดยตรง

ในปี 2552 ตลาดสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ในเยอรมนียังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ามูลค่าการซื้อขายโดยรวมจะลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า คือ ประมาณร้อยละ 2.4 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5.7 พันล้านยูโร หรือประมาณ 285 พันล้านบาท แต่สาเหตุที่การขยายตัวลดลงมิใช่เกิดจากความนิยมในสินค้าลดลงแต่เป็นผลเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ดังจะเห็นได้จากการที่อัตราการลดตัวของมูลค่าการซื้อขายอาหารเกษตรอินทรีย์น้อยกว่าอัตราการลดตัวของสินค้าอาหารทั่วไป กล่าวได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงและความนิยมของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูงอย่างต่อเนื่องทำให้โอกาสการส่งออกข้าวและสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยยังคงมีแนวโน้มในระดับดี

นอกจากนั้น ในภาพรวมแล้วร้านจำหน่ายเฉพาะสินค้าเกษตรอินทรีย์และร้านซุปเปอร์มาเก็ตเกษตรอินทรีย์ยังได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2552 ร้านค้าดังกล่าวสามารถเพิ่มมูลค่ายอดจำหน่ายสินค้าได้ถึงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับมูลค่าของปีก่อนหน้า เนื่องจากความหลากหลายของสินค้าและมีพนักงานที่สามารถให้ข้อมูลและให้คำแนะนำแก่ลูกค้าได้ ตัวอย่างร้านประเภทนี้ที่สำคัญ ได้แก่ Basic, Alnatura, Reformhaus, Bio Markt เป็นต้น

4. พัฒนาการของตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์ ในปี 2552 สรุปได้ดังนี้

1. ร้านค้าซุปเปอร์มาเก็ตแบบ discounter เข้ามามีบทบาทต่อตลาดเป็นอย่างมาก ทำให้สินค้าเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในวงกว้างขึ้นเพราะเป็นธุรกิจที่มีฐานลูกค้ามากที่สุดในช่องทางการจำหน่ายสินค้าอาหารทั้งหมด มีจำนวนสาขามากและตั้งอยู่ในทำเลที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย

2. การเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของซุปเปอร์มาเก็ตแบบ discounter ส่งผลต่อปัจจัยด้านราคาสินค้า อย่างไรก็ตามแม้กลยุทธด้านการลดราคาสินค้าจะทำให้มีปริมาณการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นแต่อย่างใด

3. สินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ในภาพรวมมีราคาคงที่หรือลดต่ำลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

4. ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความหลากหลายของสินค้าที่วางจำหน่ายในร้าน ดังจะเห็นได้จากข้อมูลของสมาพันธ์ผู้ประกอบธุรกิจอาหารเกษตรอินทรีย์เกี่ยวกับร้านจำหน่ายเฉพาะสินค้าเกษตรอินทรีย์และร้านซุปเปอร์มาเก็ตเกษตรอินทรีย์ ซึ่งระบุว่าร้านที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ (ใหญ่กว่า 300 ตรม.) จะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากกว่าร้านที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ซึ่งต้องปิดตัวลงเป็นจำนวนกว่า 100 ร้านในปี 2552

5. สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตโดยผู้ผลิตในแต่ละท้องถิ่นของเยอรมนีเป็นสินค้าที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคมากที่สุด ส่งผลด้านบวกต่อการขยายตัวของร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในเมืองต่างๆ

6. การรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์

สินค้าเกษตรอินทรีย์ในเยอรมนีทุกชนิดจะต้องผ่านการควบคุมและตรวจสอบให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายของสหภาพยุโรป เลขที่ 2092/91(EEC No.2092/91) ว่าด้วยสินค้าเกษตรและอาหารเกษตรอินทรีย์และระเบียบวิธีในการเกษตรกรรมและกสิกรรมสำหรับสินค้าที่เป็น “BIO” ซึ่งสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับขององค์กร IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movement) องค์กรด้านเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญและได้รับการยอมรับเป็นอันดับหนึ่งของโลก สินค้าที่ผ่านมาตรฐานดังกล่าวเท่านั้นจึงจะมีสิทธิขอใช้เครื่องหมายรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้ โดยมีหน่วยงานตรวจสอบแตกต่างกันไป

เครื่องหมายรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ในเยอรมนี แบ่งออกได้ตามหน่วยงานและองค์กรผู้ตรวจสอบออกเครื่องหมายรับรอง ดังนี้

6.1 เครื่องหมายรับรองของสหภาพยุโรป เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2544 มีสัญลักษณ์เป็นรูปวงกลมสีเขียวล้อมวงกลมน้ำเงิน ภายในมีดาวสีขาวจำนวน 12 ดวงล้อมสัญลักษณ์รวงข้าวสีเขียว ภายนอกเป็นล้อมด้วยสามเหลี่ยมสีน้ำเงินรอบวง เขียนข้อความแปลเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรปทุกภาษา โดยผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์สามารถขอใช้เครื่องหมายดังกล่าวในภาษาใดก็ได้ ปัจจุบันสหภาพยุโรปกำลังอยู่ในระหว่างการจัดประกวดออกแบบตราเครื่องหมายรับรองใหม่ โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นและประกาศใช้อย่างเป็นทางการในช่วงกลางปี 2552 สำหรับในประเทศเยอรมนีมีการใช้เครื่องหมายรับรองของสหภาพยุโรปค่อนข้างน้อย เนื่องจากนิยมใช้เครื่องหมายรับรองของรัฐบาลเยอรมันซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากกว่า

6.2 เครื่องหมายรับรองของรัฐบาลเยอรมัน เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2545 สำหรับสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรอินทรีย์อื่นๆ มีสัญลักษณ์เป็นรูปหกเหลี่ยมสีเขียว ภายในพื้นสีขาวเขียนตัวอักษรสีดำและเขียว อ้างอิงถึงกฎหมายของสหภาพยุโรป เป็นเครื่องหมายที่ได้รับความนิยมในเยอรมนีสูงเนื่องจากเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคเยอรมันและประเทศใกล้เคียงอย่างแพร่หลาย เช่น ประเทศฝรั่งเศสเป็นต้น ปริมาณสินค้าที่ใช้เครื่องหมายรับรองจากรัฐบาลในปี 2552 รวมประมาณ 56,065 ชนิดจากจำนวนผู้ผลิตทั้งหมด 3,413 ราย โดยในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมามีปริมาณสินค้าที่ใช้เครื่องหมายเพิ่มมากขึ้นถึงกว่า 35,200 ชนิด

6.3 เครื่องหมายรับรองของสมาคมผู้ผลิต การรวมกลุ่มของผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยมากจำแนกตามลักษณะสินค้า ระเบียบเกี่ยวกับสินค้าและเขตพื้นที่ โดยกลุ่มผู้ผลิตเหล่านี้ส่วนมากมีการตั้งมาตรฐานสูงกว่ามาตรฐานรับรองของรัฐบาลและของสหภาพยุโรป เครื่องหมายที่สำคัญได้แก่ Bioland, Naturland และ Demeter นอกจากมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์และเครื่องหมายรับรองดังกล่าวแล้ว เครื่องหมายรับรองอีกมาตรฐานซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ Fairtrade หรือสัญลักษณ์การค้าเพื่อความเป็นธรรม ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจรับรองจาก FLO (Fairtrade Labelling Organisations International)โดยมีหลักเกณฑ์หลายประการ อาทิ การซื้อสินค้าเกษตรจากเกษตรกรโดยตรงในราคาที่สูงกว่าและเป็นธรรม มีการช่วยเหลือเกษตรกรในการพัฒนาการผลิตการจัดการและการจำหน่าย ปัจจุบันผู้บริโภคเยอรมันและยุโรปเริ่มให้ความสำคัญกับมาตรฐานนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทำให้ผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์หันมาปรับกลยุทธทางการตลาดด้วยการใช้เครื่องหมายรับรอง Fairtrade เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรอินทรีย์ของตน (value added) โดยในปี 2548 สองในสามของสินค้าเกษตรอินทรีย์ใช้เครื่องหมาย Fairtrade ควบคู่ไปด้วยมากถึงร้อยละ 45 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 65 ในปี 2549

7. โครงสร้างภาษี ระเบียบกฎเกณฑ์ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง

7.1 โครงสร้างภาษี

(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มมีอัตราร้อยละ 19 สำหรับสินค้าทั่วไป ส่วนอาหารจะมีอัตราร้อยละ 7

(2) อัตราภาษีนำเข้า แยกตามประเภทของสินค้าจะมีการเรียกเก็บภาษีโดยประมาณ ดังนี้

  • สินค้าประเภทวัตถุดิบจะเสียภาษีสูงสุดไม่เกินร้อยละ 4
  • สินค้าขั้นปฐมต่าง ๆ อัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 20

(3) พิกัดศุลกากร เยอรมนีใช้พิกัดศุลกากรตามระบบ Harmonized System และเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร ว่าตรงกับพิกัดสินค้าตามที่ระบุไว้ในเอกสารนำเข้าหรือไม่ และออกหนังสือยืนยันความถูกต้อง

7.2 มาตรการที่มิใช่ภาษี

(1) ใบอนุญาตนำเข้า สินค้าเกษตรที่ต้องเสียภาษีนำเข้า จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าทุกครั้ง

(2) การให้โควต้าพิเศษ การจัดแบ่งโควต้าพิเศษสำหรับสินค้าจากประเทศยุโรปตะวันออก เป็นอุปสรรคต่อการค้าของไทย เพราะทำให้สินค้าไทยที่ส่งออกมาเยอรมันเสียเปรียบในด้านราคาเมื่อเทียบกับประเทศที่ได้รับโควต้าพิเศษนี้

(3) การตรวจสอบสินค้า เจ้าหน้าที่ศุลกากรเยอรมันอาจสุ่มตัวอย่างมาตรวจสอบก่อนอนุญาตให้นำเข้า และมีการนำสินค้าที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดมาตรวจสอบเป็นครั้งคราว หรือเมื่อได้รับแจ้งจากผู้บริโภค ทั้งในด้านสุขอนามัย และตามขนาดบรรจุ เมื่อตรวจสอบพบว่าไม่ถูกต้อง ขัดกับระเบียบก็จะเก็บสินค้านั้น ๆ ออกจากตลาด

(4) กฎเกณฑ์ใหม่ ๆ สำหรับสินค้า เยอรมันให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในด้านสุขภาพการป้องกันสิ่งแวดล้อมและการสงวนทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นตามลำดับ จึงมีการกำหนดกฎระเบียบต่าง ๆ มากขึ้นเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ต่างๆ เหล่านี้

(5) การรับผิดชอบต่อสินค้า สินค้าทุกชนิดที่นำเข้าสู่ตลาดมีข้อกำหนดตามกฎหมายระบุไว้ว่า เมื่อสินค้านั้นเป็นต้นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคไม่ว่าจะในด้านสุขภาพอนามัยของผู้ใช้ หรือต่อสิ่งแวดล้อมผู้ผลิตจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในวงเงินไม่เกิน ร้อยล้านยูโร หากเป็นสินค้านำเข้า ผู้นำเข้า จะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้านั้น ยกเว้นสินค้าเกษตรที่ยังไม่แปรสภาพ

8. รายชื่อที่อยู่ องค์กร สมาคมที่เกี่ยวข้อง

1. Bioland Bundesverband

Kaiserstr. 18

55116 Mainz

Tel.: +49-61361-239790 97927

Fax: +49-6131-23

www.bioland.de

2. Bund Oekoklogische Lebensmittelwirtschaft

Marienstrasse 19-20

10117 Berlin oelw.de

E-Mail : info@b

www.boelw.de

3.Assoziation Oekologische Lebensmittelhersteller

Zum Pilsterhof 7 ach

97769 Oberleichtersb

Tel.: +49-9741-4834

Fax: +49-9741-932201

4. Biokreis e.V.

Regensburger

Str. 34

94036 Passau

Tel.: +49-851-756500

Fax: +49-851-7565025

5. Bundesanstalt fur Landwirtschaft und Ernahrung

Deichmanns Aue 29

53179 Bonn

Tel: +49 228 - 68 45-3355

Fax: +49 228 - 68 45-2907

E-Mail: bio-siegel@ble.de

Internet: www.bmelv.de

6. Geschftsstelle Bundesprogramm Okologischer Landbau in der Bundesanstalt fur Landwirtschaft und Ernahrung(BLE)

Deichmanns Aue 29

53179 Bonn Tel.: +49 228 - 68 45-3355

Fax: +49 228 - 68 45-2907 nternet:

www.oekolandbau.de

7. Bundesverband Naturkost Naturwaren Hersteller und Handel e.V.

Eberplatz 1

50668 Koeln

Tel.: +49-221-13975644 3975640

Fax: +49-221-1ww.n-bnn.dew

8. Bundesministerium fur Ernahrung, Landwirtschaft und Verbraucherschutz (BMELV)

Rochusstr. 1, 53123

Bonn Post box: 14 02 70, 53107 Bonn

Tel: 0228/529-0

Fax: 0228/529-4262

Internet: www.bmelv.de

9. International Federation of Organic Agriculture Movement

Internet: www.ifoam.org

9. งานแสดงสินค้าอาหารและเกษตรอินทรีย์ ในประเทศเยอรมนี

International Green Week Berlin

Grune Woche Berlin 15-24.01.2010

Messe Berlin GmbH2

Messedamm 2

14055 Berlin

Tel.: +49-30-30382026

Fax: +49-30-30382019 berlin.de

E-mail : igw@messe- www.greenweek.de

2.Fruit Logistica3-5.02.2010

International Trade Fair for Fruit and Vegetable Marketing

Messe Berlin GmbH2

Messedamm 2

14055 Berlin

Tel.: +49-30-30382047

Fax: +49-30-30382020 messe-berlin.de

E-mail: fruitlogistica@ itlogistica.de

www.fruitlogistica.de

3. Biofash

World Organic Trade Fair

Nurnberg Messe

Messezentrum

90471 Nurnberg

Tel.: +49-911-86068648

Fax: +49-911-86068634 fach.de

E-mail: info@bio

www.biofach.de

4. International Trade Fair for Fish and Seafood

MGH Messe-und Ausstellungsges. Hansa GmbH

Burgerweide

20209 Bremen

Tel.: +49-421-3505260

Fax: +49-421-3505261 al.de

E-mail: info@fishinternation

www.fishinternational. com

5. Inter Mopro

International Trade Fair Dairy Products

Messeplatz 1

40474 Dusseldorf

Tel.: +49-211-4560900

Fax: +49-211-4560668

E-mail: info@messe-duesseldorf.de

www.intermopro.de

7. Intercool International Trade Fair Frozen Food, Ice Cream, Refrigeration Technology

Messe Dussel GmbH

Messeplatz 1

40474 Dusseldorf

Tel.: +49-211-4560900

Fax: +49-211-4560668

E-mail: info@messe-duesseldorf.de

www.intercool.de

8.InterMeat International Trade Fair Meat, Cold Meat and Sausage

Messe Dusseldorf GmbH

Messeplatz 1

40474 Dusseldorf

Tel.: +49-211-4560900

Fax: +49-211-4560668 e-duesseldorf.de

E-mail: info@mess www.intermeat.de

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ