เมืองหลวง : Tokyo พื้นที่ : 377,899 ตารางกิโลเมตร ภาษาราชการ : Japanese ประชากร : 127.8 ล้านคน (February 2008) อัตราแลกเปลี่ยน : 100 เยน = 36.320 บาท (05/01/2553) (1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2553 ปี 2554
Real GDP growth (%) 1.4 1.0 Consumer price inflation (av; %) -0.4 0.8 Budget balance (% of GDP) -8 -6.7 Current-account balance (% of GDP) 2.7 2.7 Commercial banks' prime rate (year-end; %) 1.5 1.9 Exchange rate :US$ (av) 88 87 Exchange rate : E (av) 125.2 121.6 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับญี่ปุ่น มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 14,299.02 100.00 -23.90 สินค้าเกษตรกรรม 2,088.96 14.61 -22.22 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 1,514.26 10.59 -5.38 สินค้าอุตสาหกรรม 10,413.44 72.83 -22.30 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 282.36 1.97 -74.38 สินค้าอื่นๆ 0 0 -100 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับญี่ปุ่น มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 22,131.19 100.00 -28.69 สินค้าเชื้อเพลิง 137.33 0.62 33.47 สินค้าทุน 8,569.54 38.72 -26.22 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 9,821.44 44.38 -35.05 สินค้าบริโภค 1,329.85 6.01 -6.70 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ 2,271.61 10.26 -17.96 สินค้าอื่นๆ 1.42 0.01 -66.77 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — ญี่ปุ่น 2551 2552 D/%
(ม.ค.—พ.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 49,827.17 36,430.21 -26.89 การส่งออก 18,790.56 14,299.02 -23.90 การนำเข้า 31,036.60 22,131.19 -28.69 ดุลการค้า -12,246.04 -7,832.17 -36.04 2. การนำเข้า ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 1 ของไทย มูลค่า 14,441.02 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 35.83 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 22,131.19 100.00 -28.69 1.เครื่องจักรกล 4,258.00 19.24 -28.87 2.เหล็ก เหล็กกล้า 2,601.09 11.75 -47.08 3.แผงวงจรไฟฟ้า 2,166.89 9.79 -12.03 4.เครื่องจักรไฟฟ้า 1,786.91 8.07 -20.62 5.ส่วนประกอบ 1,789.91 8.07 -20.62 อื่น ๆ 4,496.59 20.32 -22.14 3. การส่งออก ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 2 ของไทย มูลค่า 9,811.74 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 28.42 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 14,299.02 100.00 -23.90 1.เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 918.51 6.42 -9.02 2.แผงวงจรไฟฟ้า 813.05 5.69 -20.16 3.ไก่แปรรูป 614.63 4.30 2.00 4.อาหารทะเลกระป๋องฯ 500.09 3.50 -2.87 5.รถยนต์ อุปกรณ์ฯ 492.72 3.45 -46.21 อื่น ๆ 8,989.21 62.87 -24.06 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปญี่ปุ่น ปี 2552 (ม.ค.—พ.ย.) ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยปี 2552 (ม.ค.-พ.ย) ไทยส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ มูลค่า 918.51 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 ในขณะเดียวกันญี่ปุ่นนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เป็นอันดับ 2 รองจากจีน โดยมีประเทศสิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เป็นตลาดนำเข้าของญี่ปุ่นอันดับที่ 4 และ 5 ตามลำดับ
แผงวงจรไฟฟ้า : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากฮ่องกง และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2551 — 2552 (ม.ค.-พ.ย.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 20.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 โดยมีประเทศสิงคโปร์ และจีน เป็นอันดับ 3 และ 4 ตามลำดับ
ไก่แปรรูป : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2551-2552 (ม.ค.-พ.ย.)พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
อาหารทะเลกระป๋องฯ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย รองจากสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2551-2552 (ม.ค.-พ.ย.) พบว่า ปี 2552 มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 10.01 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
รถยนต์ อุปกรณ์ฯ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2551-2552 (ม.ค.-พ.ย.) พบว่า ปี 2552 มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 46.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว ล้านเหรียญสหรัฐ % 3. ไก่แปรรูป 614.63 2.00 14. เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า 269.19 10.12 17. กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง 245.71 22.40 28. เครื่องสำอาง สบู่ 242.37 61.56 4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น ปี 2552 (ม.ค.- พ.ย.) 10 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง ได้แก่ อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว ล้านเหรียญสหรัฐ % 1.เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 918.51 -9.02 2.แผงวงจรไฟฟ้า 813.05 -20.16 4.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 500.09 -2.87 5.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 492.72 -46.21 6.ผลิตภัณฑ์พลาสติก 409.82 -14.64 7.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ 406.59 -24.97 8.ยางพารา 403.35 -57.62 9. เลนซ์ 378.56 -23.23 10.ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม 372.47 -10.81 11.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 333.58 -22.77 12.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร 307.55 -35.89 4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
นายมูเนะโนริ ยามาดะ ประธานเจโทรหรือองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นเข้าพบนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 6 ม.ค.2553 โดยได้แจ้งความประสงค์ว่า ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา ศาลปกครองกลางสั่งระงับ 65 โครงการมาบตาพุดให้จบภายใน 2-3 เดือน พร้อมย้ำถึงความเสียหายว่า “ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลให้นักลงทุนญี่ปุ่นมองว่า ประเทศไทยไม่ได้เป็นอันดับ 1 ของประเทศที่น่าลงทุนในเอเชียอีกต่อไปแล้ว สิ่งที่รัฐบาลควรทำขณะนี้คือประเมินความเสียหายทุกโครงการแบบรายวันเพื่อให้ทราบผลกระทบที่แท้จริงจะได้รีบดำเนินการแก้ไข ไม่ใช่แค่ดูว่าหลังเกิดกรณีนี้ขึ้น นักลงทุนญี่ปุ่นจะย้ายไปลงทุนที่ไหน” หลังจากนั้นนายมูเนะโนริ ยามาดะ ยังเดินทางเข้าหารือกับ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้รัฐบาลไทยประสานหาแหล่งเงินกู้ให้กับบริษัทญี่ปุ่นที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่เริ่มมีปัญหาขาดสภาพคล่อง และเงินสดหมุนเวียนในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะบริษัทที่เปิดดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะทำสัญญาเงินกู้ในลักษณะเงินกู้ร่วมลงทุน (Syndicate Loan) จากธนาคารในหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ซึ่งเริ่มไม่ปล่อยเงินกู้ก้อนใหม่ให้ ขณะที่แต่ละบริษัทก็ไม่สามารถกลับไปขอเงินทุนเพิ่มเติมจากในประเทศญี่ปุ่นได้ เพราะจะถูกผู้ถือหุ้นมองว่าโครงการมีปัญหาโดยนายกอร์ปศักดิ์ ได้ตอบไปว่าเป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว โดยที่ผ่านมาได้ให้ รมว.คลังประสานงานกับธนาคารกรุงไทย เพื่อที่จะให้การสนับสนุนในเรื่องนี้
หนังสือพิมพ์โยมิอุริชิมบุนของญี่ปุ่นรายงานว่า เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (5 ม.ค.) ผู้นำของ 3 องค์กรหลักภาคธุรกิจเอกชนของญี่ปุ่นได้ออกแถลงข่าวร่วมกัน โดยนายฟูจิโอะ มิตะระอิ ประธานสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น หรือ นิปปอน เคดันเร็น สภาหอการค้าและอุตสาหกรรม และสมาคมผู้บริหารองค์กรธุรกิจแห่งญี่ปุ่นได้มาแสดงความเห็นว่า เศรษฐกิจของประเทศจะมีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จากแรงขับเคลื่อนของภาคการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจในภาพรวมมีการฟื้นตัวขึ้นแล้ว โดยมีปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจในเอเชีย ขณะเดียวกันผู้นำของ 3 องค์กรใหญ่ดังกล่าวยังได้ แสดงความคาดหวังและความกังวลใจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์กระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจฉบับใหม่ที่คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเพิ่งลงมติรับรองเมื่อวันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมา
ภายใต้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว รัฐบาลญี่ปุ่นมีเป้าหมายผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่อัตราเฉลี่ยกว่า 3% ต่อปี แต่หากปรับตัวเลขเงินเฟ้อแล้วเป้าหมายจีดีพีอยู่ที่กว่า 2% นับจากปีงบประมาณล่าสุดถึงปี 2020 (พ.ศ.2563) ซึ่งเท่ากับการขยายตัว 1.5 เท่าของมูลค่าจีดีพีปัจจุบัน เป้าหมายส่วนหนึ่งก็เพื่อส่งเสริมให้มีการสร้างงานใหม่ 4.7 ล้านตำแหน่งงานภายในปี 2563 และ 3 ภาคธุรกิจเป้าหมายที่รัฐบาลญี่ปุ่นมุ่งสร้างการขยายตัวได้แก่ธุรกิจการท่องเที่ยว การส่งเสริมสุขภาพและโรงพยาบาล ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม
นายมิตะระอิ ซึ่งเป็นผู้นำองค์กรธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดและทรงอิทธิพลที่สุดในญี่ปุ่นกล่าวว่า รัฐบาลไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากจำเป็นต้องดำเนินการมาตรการต่าง ๆ ในแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับมาตั้งลำได้อย่างแข็งแรงอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการปฏิรูปทางด้านภาษี และการผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการลงทุนของบริษัทเอกชน และยังย้ำด้วยว่าญี่ปุ่นจำเป็นต้องเพิ่มความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียเพื่อเร่งให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาสู่ความแข็งแกร่ง ขณะเดียวกันนายทาดาชิ โอกามูระ ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลให้การส่งเสริมการลงทุนของเอกชนในโครงการด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโครงการดังกล่าวจะกลายเป็นแก่นแกนของนโยบายหลักระดับชาติของญี่ปุ่นในอนาคต
ทางด้านนายมาสะมิตสุ ซากุระอิ ประธานสมาคมผู้บริหารองค์กรธุรกิจ หรือ สมาคมเคไซโดยุไค เน้นว่า ภาคเอชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสู่ตลาด “เอกชนจำเป็นต้องช่วยตนเองด้วยเช่นกัน เพราะท่ามกลางภาวะที่รัฐบาลมีภาระหนี้สินมหาศาลการใช้จ่ายงบประมาณย่อมมีข้อจำกัดมาก”
ที่มา: http://www.depthai.go.th