รายงานข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับของฮ่องกง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 27, 2010 17:21 —กรมส่งเสริมการส่งออก

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในฮ่องกง ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญของฮ่องกง โดยปัจจุบันฮ่องกงส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมากเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากอิตาลี สหรัฐอเมริกา อินเดีย และถือเป็นผู้ค้าชั้นแนวหน้าของผลิตภัณฑ์ทองคำ หยกของโลก

อัญมณีและเครื่องประดับฮ่องกงเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก ในด้านฝีมือการออกแบบสินค้า ทักษะและการออกแบบดีไซน์ที่สามารถแข่งขัน หรือเทียบเท่าโรงงานยุโรปชั้นนำของโลก มีการจัดลำดับความน่าเชื่อถือแก่ฮ่องกงจากผู้ซื้อจากทั่วโลก พบว่า

  • ด้านการออกแบบ ได้รับการยอมรับ 94 % ที่มีความประทับใจด้านการออกแบบอัญมณีที่มีแบบทันสมัยใหม่
  • ด้านคุณภาพสินค้า ได้การยอมรับสินค้ามีคุณภาพดีที่สุด 86%
  • ความเชื่อถือและยอมรับของสินค้า และแนวแฟชั่นของสินค้าในตลาดถึง 76%
การผลิต

การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในฮ่องกงมีต้นทุนสูง ทำให้โรงงานผลิตของฮ่องกง ส่วนใหญ่ย้ายโรงงานผลิตไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ ในเขตมณฑลเซินเจิ้น(Shenzhen) และปานหยู(Panyu) มากขึ้นแต่ก็ยังมีการผลิตในฮ่องกงอยู่

ในปี 2009 (ม.ค.—ก.ย.) ฮ่องกงมีโรงงานผลิตจำนวน 406 โรง และแรงงาน 3,064 คน แรงงานส่วนใหญ่จะเป็นช่างเก่าแก่ที่มีฝีมือ และคนรุ่นใหม่จะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในด้านการดีไซน์ออกแบบ

โรงงานอัญมณีและเครื่องประดับในฮ่องกง

ปี 2552(ม.ค.—ก.ย.)

โรงานผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับต่างๆ               406 โรง
แรงงาน                                         3,064 คน

ร้านขายปลีก

ปี 2551

ร้านค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับแท้           1,840 ร้าน
ร้านค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับเทียม           610 ร้าน
ที่มา:  Quarterly Survey of Employment and Vacancies, Census and Statistics Department

ข้อมูลทางการตลาด/การค้ากับต่างประเทศ
  • การนำเข้า
การนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับแท้

ฮ่องกงนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับแท้(SITC 897.3) จากทั่วโลก ในปี 2551 มูลค่า 4,676 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 26.3 และปี 2552(ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า 3,569 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับลดลง ร้อยละ 17.7

สินค้าหลักนำเข้า ได้แก่ เครื่องประดับโลหะมีค่า มูลค่า 3,521(-17.7%), รัตนชาติ(ไข่มุก และเพชรพลอยสี) มูลค่า 41 ล้านเหรียญสหรัฐ(+4.8%) เครื่องประดับเงินหรือทองรูปพรรณ มูลค่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐ(-59.2%)

แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ ตามลำดับ และนำเข้าจากไทย(อันดับที่ 13)

การนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับเทียม

ฮ่องกงนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเทียมหุ้มโลหะ(SITC 89721) ในปี 2009 (ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า 181 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลงร้อยละ 23.9 ตลาดการนำเข้าหลัก ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 136 ล้านเหรียญสหรัฐ(-24.9%) สวิสเซอร์แลนด์ มูลค่า 9 ล้านเหรียญสหรัฐ (+19.7%) ฝรั่งเศส มูลค่า 8 ล้านเหรียญสหรัฐ(-6.6%) อิตาลี มูลค่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐ(-19.2%) สหรัฐอเมริกา มูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ(-41.2%) ตามลำดับ และนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 8 คิดเป็นมูลค่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 9.6%

สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเทียมที่ไม่ใช่วัตถุมีค่า(SITC 89729) ในปี 2009(ม.ค.-พ.ย.) นำเข้า มูลค่า 72 ล้านเหรียญสหรัฐ(+1.0%) ตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน มูลค่า 33 ล้านเหรียญสหรัฐ(-20.2%) ออสเตรีย มูลค่า 29 ล้านเหรียญสหรัฐ(+62.0%) ไทย มูลค่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (+30.7%) อิตาลี มูลค่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ(-22.0%) ไต้หวัน มูลค่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ(-15.1%)

  • การส่งออก

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับแท้

การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับแท้ (SITC 897.3) ในปี 2551 มีมูลค่า 4,753 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.6 และปี 2552(ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า 3,322 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 25.6

สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับแท้ ของปี 2009(ม.ค.-พ.ย.) ส่งออกมูลค่า 3,322 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 25.6 ได้แก่ เครื่องประดับโลหะมีค่า มูลค่า 3,165(-26.5%), รัตนชาติ(ไข่มุก และเพชรพลอยสี) มูลค่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ(-1.6%) เครื่องประดับเงินหรือทองรูปพรรณ มูลค่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐ (-13.4%)

ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย สวิสเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี ตามลำดับ และไทย(อันดับที่ 20)

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเทียม

  • อัญมณีและเครื่องประดับเทียมโลหะ( imitation jewellery of base metal) ในปี 2009 (ม.ค.-พ.ย.) ฮ่องกงส่งออกคิดเป็นมูลค่า 631 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 19.0 ตลาดส่งออก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มูลค่า 210 ล้านเหรียญสหรัฐ(-11.5%) ยอรมนี 69 ล้านเหรียญสหรัฐ(-5.6%) สหราชอาณาจักร มูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ(-28.4%) อิตาลี 45 ล้านเหรียญสหรัฐ(-40.5%) จีน มูลค่า 29 ล้านเหรียญสหรัฐ(+26.3%) ไทย(อันดับที่ 42) มูลค่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ(-41.7%)
  • อัญมณีและเครื่องประดับเทียมที่เป็นวัตถุอื่นๆ(imitation jewellery of other non-precious material) ในปี 2009(ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า 193 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับลดลงร้อยละ 12.7 ตลาดส่งออก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา มูลค่า 38 ล้านเหรียญสหรัฐ(-35.5%) ออสเตรีย มูลค่า 28 ล้านเหรียญสหรัฐ (-12.9%) สหราชอาณาจักร มูลค่า 27 ล้านเหรียญสหรัฐ(+29.4%) จีน มูลค่า 16 ล้านเหรียญสหรัฐ(+15.3%) เยอรมนี มูลค่า 11 ล้านเหรียญสหรัฐ(+29.5%) ไทย(อันดับที่ 30) ขยายตัวลดลง -33.3%
การค้ากับประเทศไทย

ฮ่องกงถือว่าเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยในรายการเพชร พลอย และรูปพรรณ และส่วนประกอบทำด้วยโลหะมีค่า ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมายังฮ่องกง ในปี 2551 มูลค่า 1,527.4 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัวร้อยละ 70.14 ในปี 2552 คิดเป็นมูลค่า 1,912.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 25.20 โดยแบ่งเป็น

  • เพชร มูลค่า 242.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 14.35%
  • พลอย มูลค่า 171.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 1.50%
  • ไข่มุก มูลค่า 7.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 26.32%
  • เครื่องประดับแท้ มูลค่า 271.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.84%
  • เครื่องประดับอัญมณีเทียม มูลค่า 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 14.38%
  • อัญมณีสังเคราะห์ มูลค่า 23.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.85%
  • ทองคำไม่ได้ขึ้นรูป มูลค่า 1,186.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 42.68%
  • โลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่า มูลค่า 7.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 77.34%
พฤติกรรมผู้บริโภค

จากการสำรวจพบว่าความต้องการอัญมณีและเครื่องประดับสำหรับผู้มีรายได้สูงและ ผู้ซื้อจากจีนแผ่นดินใหญ่มีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จากสถิติของหน่วยงาน HKTDC แสดงจำนวนตัวเลขการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น และคาดการณ์ว่าในปี 2010 จะมียอดขายถึง 140.7 พันล้านเหรียญฮ่องกง คิดเป็นร้อยละ 10 ของตัวเลขการค้าอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก

สินค้าที่เป็นที่นิยมและขายได้ดี ได้แก่ สินค้าเครื่องประดับแนวแฟชั่น ประเภทแหวน โดยเฉพาะแหวนเพชร แหวนแต่งงาน สวมสำหรับชายที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สินค้าประเภทเครื่องประดับ สำหรับเทศกาลสำคัญๆ อาทิ Valentine’s Day งานครบรอบแต่งงาน หรือวันตรุษจีน

ทั้งนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนแปลงตามสภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา เดิมเคยซื้อ อัญมณีและเครื่องประดับแท้ เริ่มเปลี่ยนมาใช้ตามแฟชั่น เช่น เครื่องประดับ ประเภทลูกปัดโลหะ(Metal Bead) หินหลายสี ที่มีความเชื่อในเรื่องโชคลาภ สุขภาพ รูปแบบกระทัดรัด และทันสมัย คุณภาพดี ราคาไม่แพง

การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม

สมาคมอัญมณีและเครื่องประดับในฮ่องกง มีหลายสมาคม ก่อตั้งเพื่อให้บริการแก่สมาชิก ในการสนับสนุน และปกป้องผู้ประกอบในฮ่องกงให้ยืนอยู่อย่างแข็งแกร่งภายในและภายนอกประเทศ

     Associations                                        Website
Hong Kong Jewellery & Jade Manufacturers Association     www.jewellery-hk.org
Hong Kong Jewellery Industrial Technology Centre         www.hkpc.org/hkjitc
Hong Kong Jewelry Manufacturers' Association             www.jewelry.org.hk
Hong Kong Pearl Association                              www.hkpearlassn.org
The Chinese Gold & Silver Exchange Society               www.cgse.com.hk
The Diamond Importers Association Ltd                    www.jewelrynet.com
The Gemmological Association of Hong Kong Ltd            nil


การสนับสนุนงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ
              งานแสดงสินค้า                                    ระยะเวลา           สถานที่จัดงาน
1. Asia’s Fashion Jewellery Accessories Fair             3-6    มี.ค. 2553     Asia World —Expo(สนามบิน)
2. Hong Kong  Int’l Jewellery  Show                      5-9    มี.ค. 2553     HKCEC (ในเมือง)
3. June  Hong Kong Jewellery & Gem Fair                  24- 27 มิ.ย. 2553     HKCEC
และ Asia Fashion Jewellery & Accessories Fair — June  24- 27 มิ.ย. 2553     HKCEC
4. Asia’ s Fashion Jewellery & Accessories Fair
5. Hong Kong Jewellery & Gem Fair                        14-18  ก.ย. 2010     Asia World-Expo

16-20 ก.ย. 2010 HKCEC

รายชื่อผู้ประกอบการและนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับ

ISE Jewellry

Shop BW5, Basement Floor,

The Peninsula Hotel Shopping Arcade

TST, Kln, Hong Kong.

Tel. 852-2366 6561

Fax. 852- 2721 0415

Email: sales@isejewellery.com

Attn: Mr. Jacky Lam, Manager

Lane Crawford (HK) Ltd.

25/f, RBS Tower, Times Squares

1 Matheson St.,

Causeway Bay, Hong Kong.

Tel. 852- 2118 2888

Fax. 852- 2565 6765

Email: info@lanecrawford.com

Website: www.lanecrawford.com

Attn: Ms. Wendy Lai, Buyer

Luk Fook Jewellery & Goldsmith (HK) Co., Ltd.

Tel. 852- 2308 1218

Fax. 852- 2374 1696

Email: group@lukfook.com.hk

Website: www.lukfook.com.hk

King Fook Jewellery Group Ltd.

Tel. 852- 2822 8500

Fax. 852- 2877 6433, 2721 2245

CCC Investment Company

Flat A, 8/F Champagne Court

16 Kimberley Road, TST

Kowloon, Hong Kong.

Tel. 852- 9104 1917

Fax. 852- 2148 7877

Email: ccc_invco@yahoo.com.hk

Attn: Mr. Ricky Chan, Sales Manager

Sincere Overseas Jewellery Ltd.

17/F., 42 Hankow Road, ,

Tsim Sha Tsui,

Kowloon, Hong Kong.

Tel. 852-2356 1988

Fax. 852-22311 3808

Email: connoiss@biznetvigator.com

Attn: Mr. Ka-Keung Chow

Director

Products: Gold jewellery, Gemstone

Hong Kong Universal Jewellery Ltd.

4-5 Lyndhurst Bldg, 25-41 Lyndhurst Terrace,

Central, Hong Kong.

Tel. (852) 2541 3004

Fax. (852) 2541 5026

Website: hkuniversal.com

Email: hkujltd@hkuniversal.com

Attn: Mr. Kevin Lee, Manager

Mei Fai Jewellery Co.

Unit 32, 4/F., Blk B, Focal Ind Ctr,

21 Man Lok ST, Hung Hom,

Kowloon, Hong Kong.

Tel. 852-27642128

Fax. 852-27644413

Attn: Mr. Yu Tim Man, Manager

Nazim Brothers

B8, 14/F., Blk B, Hankow Ctr,

4A Ashley Rd., Tsimshatsui,

Kowloon, Hong Kong.

Tel. 852-23683813

Fax. 852-23112625

Website: www.nazimbrothers.net

Attn: Mr. Abdul Majeed, Manager

Trasure Gem Co., Ltd.

Rm. 508, 5/Fl., Hang Seng Tsimshatsui Bldg.,

18 Carnarvon Rd., Tsim Sha Tsui, Kowloon,

Hong Kong.

Tel. 852-2301 3666

Fax. 852-27391528

Attn: Mr. Chung Bun NG, Managing Director

ระเบียบการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าทุกชนิด

ต้องยื่นเอกสาร Import / Export Declarations ภายใต้ the Import and Export (Registration) Regulations, Chapter 60, ผู้ที่นำเข้าหรือส่งออกสินค้า สิ่งของ จะต้องยื่นหนังสือแสดงสินค้า the Commissioner of Customs and Excise ภายใน 14 วันหลังจากสินค้ามาถึงฮ่องกง สำหรับการนำเข้าอัญมณีเจียรนัยและเครื่องประดับนำเข้าได้เสรี ไม่มีการเสียภาษีและ NTB ยกเว้นต้องเสียค่าธรรมเนียม Import Declaration Charge และการนำเข้าเพชร(Diamond Rough) ต้องขอใบอนุญาตนำเข้า (Import Licence) ก่อนนำเข้า

สคร.ฮ่องกง

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ