กลุ่ม BRIC และสมาชิกใหม่ เม็กซิโก เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 28, 2010 17:17 —กรมส่งเสริมการส่งออก

BRIC เป็นการบัญญัติคำขึ้นโดยใช้อักษรตัวแรกของประเทศเป็นหลักมารวมกัน หมายถึง 4 ประเทศชั้นนำในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งประกอบด้วย บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) และจีน (China) Goldman Sachs เป็นสถาบันการเงินเพื่อการลงทุนที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง Jim O’ Neill หัวหน้าคณะวิจัยเศรษฐกิจโลก BRIC หรือ BRICs ซึ่งเป็นการบัญญัติคำขึ้นโดยใช้อักษรตัวแรกของประเทศเป็นหลักมารวมกัน BRIC จึงหมายถึงประเทศบราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) และจีน (China)

Goldman Sachs เป็นสถาบันการเงินเพื่อการลงทุนสำคัญของโลก Jim O’Neill หัวหน้าคณะวิจัยเศรษฐกิจโลกเป็นผู้ทำการศึกษาวิเคราะห์กลุ่มประเทศเหล่านี้โดยตั้งอยู่บนข้อสมมุติฐานหลายประการ แต่มีจุดเน้นด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ คณะผู้ศึกษาเสนอข้อคิดเห็นระหว่างปี 2546-2547 ว่ากลุ่มประเทศนี้จะมีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจที่เร็วมาก อีกทั้งยังพยากรณ์ไปถึงปี 2593 ว่า BRIC จะมีโอกาสมีศักยภาพใกล้เคียงกับประเทศมั่งคั่งในปัจจุบันไปได้ จึงจำเป็นที่จะต้องติดตามกลุ่ม BRIC อย่างใกล้ชิด

Goldman Sachs ได้ประเมินและตระหนักว่าประเทศ BRIC โดยรวมได้ขับเคลื่อนระบบการเมืองและเศรษฐกิจไปแล้ว และหันไปสนใจระบบเศรษฐกิจลัทธิทุนนิยมมากขึ้น และยังได้พยากรณ์ไปอีกว่าจีน และ อินเดียจะกลายเป็นผู้ค้ารายใหญ่ของโลกด้านสินค้าสำเร็จรูปรวมทั้งภาคบริการ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน จุดเด่นของทั้ง 4 ประเทศนี้มีดังนี้

Brazil - GDP สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้
  • มีทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานเป็นจำนวนมาก
  • ผู้ส่งออกหลักในด้านวัตถุดิบเพื่อการผลิต เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม
  • แหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของโลก เช่น กาแฟ ข้าวโพด ถั่วเหลือง
Russia - GDP สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก
  • มีทรัพยากรธรรมชาติทางด้านพลังงานมหาศาล มีแหล่งถ่านหินอันดับ 2 ของโลก ก๊าซธรรมชาติ 35% ของโลก น้ำมัน 20% ของโลก
  • เป็นแหล่งผลิตถ่านหินอันดับ 2 ของโลก
India - ประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และคาดว่าในปี 2040 จะมีประชากรมากที่สุดในโลก
  • ประชากรมีคุณภาพ มีการศึกษาดี มีความพร้อมทางภาษาอังกฤษ ในขณะที่อัตราค่าแรงไม่สูงนัก จึงเป็นแหล่งการให้บริการในลักษณะ Outsource ให้กับบริษัทในสหรัฐและยุโรป
  • ผู้ส่งออกหลักในส่วนของสินค้าซอฟต์แวร์ ไอที
China - ประชากรมากที่สุดในโลก ทำให้เป็นผู้บริโภคสินค้าและทรัพยากรธรรมชาติรายใหญ่ของโลก
  • แหล่งผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมรายใหญ่ของโลก
  • มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมนี

จะเห็นได้ว่าแต่ละประเทศจะมีคุณลักษณะพิเศษ จุดเด่นที่แตกต่างกัน ซึ่งช่วยเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะที่ส่งเสริมกันและกันเป็น อย่างมาก เนื่องจากมีแรงผลักดันทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน จึงเป็นพลังขับเคลื่อนที่จะก่อเกิดการขยายตัวอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจโลก

BRIC ถือเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วง ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ ในปี 2551 ที่ผ่านมา BRIC มีส่วนในการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกสูงถึง 59% และจากการคำนวณโดยอาศัยข้อมูลจาก IMF พบว่า ในปี 2552 BRIC จะมีสัดส่วนใน GDP โลกประมาณ 15.4% ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าบทบาทของ BRIC จะมีความสำคัญมากขึ้นต่อเศรษฐกิจโลก

จากเดิม BRIC เป็นเพียงคำเรียก 4 ประเทศในตลาดเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สดใส ซึ่งแต่ละประเทศไม่เคยมีความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจและการเมืองมาก่อนเลย แต่หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก จึงก่อให้เกิดความกังวลในการเสื่อมค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ

ดังนั้น จากความกังวลเกี่ยวกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและแรงจูงใจในการที่จะขยายอิทธิพล ทางการเมืองระหว่างประเทศของ BRIC จึงเกิดการประชุมสุดยอดผู้นำ BRIC ขึ้นครั้งแรกที่รัสเซีย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา โดยสรุปสาระสำคัญจากแถลงการณ์ร่วมในครั้งนี้ คือ BRIC เรียกร้องขอบทบาทที่มากขึ้นในระบบการเงินโลก และขอสิทธิ์ออกเสียงในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ พร้อมกันนี้เอง BRIC ก็ได้ประกาศศักยภาพการเงินของกลุ่มด้วยการวางแผนโยกทุนสำรองเงินตราต่าง ประเทศเข้าไปลงทุนในพันธบัตรของ IMF มากขึ้นเพื่อกระจายการลงทุน ซึ่งคาดว่าจะสนับสนุน BRIC ให้มีบทบาทเพิ่มขึ้นในองค์กรด้านการเงินระหว่างประเทศ และอาจเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นต่อทิศทางการดำเนินนโยบายทางการเงินระหว่าง ประเทศในระยะต่อไป

นอกจากนี้ BRIC ยังพยายามหาแนวทางลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีเงินสกุลใดที่มีบทบาทแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐ ในฐานะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้ แต่ประเทศสมาชิกกลุ่ม ได้แก่ จีนและบราซิล ได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการหลีกเลี่ยงการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายระหว่างกันโดยหันมาใช้เงินหยวนของจีนและเงินรีลของบราซิลแทน เพื่อเป็นการลดต้นทุนของสองประเทศ ก่อนหน้านี้ทางการจีนพยายามเพิ่มบทบาทเงินสกุลหยวนในเวทีโลกโดยพยายามผลัก ดันให้หยวนกลายเป็นค่าเงินนานาชาติ โดยจีนได้จัดทำความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างกัน (Currency Swap) กับธนาคารกลางของฮ่องกง เกาหลีใต้ มาเลเซีย เบลารุส อินโดนีเซีย และอาร์เจนตินา เพื่อไม่ต้องแลกเปลี่ยนเงินผ่านดอลลาร์สหรัฐ

จากพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรที่เป็นต้นทุนชั้นเยี่ยม เมื่อผนวกกับความร่วมมือที่จะผลักดันบทบาทบนเวทีโลกให้มากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เชื่อได้ว่าในอนาคต BRIC จะก้าวขึ้นมาเป็นกลุ่มมหาอำนาจใหม่และมีบทบาทสำคัญต่อโลกใบนี้อย่างแน่นอน

อันดับของประเทศ BRIC

   ประเภท                           Brazil       Russia       India       China
พื้นที่                                    5th          1st         7th    3rd (tie)
ประชากร                                5th          9th         2nd          1st
เติบโตประชากร                         107th        221th        90th        156th
แรงงาน                                 5th          6th         2nd          1st
GDP (nominal)                         10th          8th        12th          3rd
GDP (PPP)                              9th          6th         4th          2nd
GDP (real)   การเติบโต                 81th         69th        28th         16th
ส่งออก                                 21st         11th        23rd          2nd
นำเข้า                                 27th         17th        16th          3rd
ดุลย์บัญชี                                47th          5th       169th          1st
เงินลงทุนต่างชาติ                         16th         12th        29th          5th
เงินตราสำรองตปท.                        7th          3rd         6th          1st
หนี้ตปท.                                24th         20th        27th         19th
หนี้สาธารณะ                             47th        117th        29th         98th
การบริโภคไฟฟ้า                          10th          3rd         7th          2nd
จำนวนโทรศัพท์มือถือ                        5th          4th         2nd          1st
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต                      5th         11th         4th          1st
รถยนต์                                  6th         12th         9th          2nd
งบป้องกันประเทศ                         14th          8th         9th          2nd
กำลังทหาร                              14th          5th         3rd          1st
พื้นที่เพาะปลูก                             5th          4th         2nd          3rd
พื้นที่ป่า                                  2nd          1st        10th          5th
รถไฟ                                  10th          2nd         4th          3rd
ถนน                                    4th          8th         2nd          3rd

จากการศึกษาของ Goldman Sachs เมื่อปี 2550 มีอีก 3 ประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Emerging Market ที่มีศักยภาพสูงที่น่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีความสามารถที่จะเข้ามาเป็นหนึ่งในกลุ่ม BRIC ได้แก่ เม็กซิโก เกาหลีใต้ และล่าสุดคืออินโดนีเซีย

BRIMCK

อีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นประเทศในกลุ่ม BRIC เนื่องจากเป็นประเทศที่มี GDP สูงสุดเป็นอันดับที่ 13 และ 14 ของโลก ตามติดกลุ่มประเทศ BRIC และ G7 โดยที่มีการเติบโตของ GDP ร้อยละ 5 ต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับบราซิล จากทฤษฎีปี 2544 นั้น ยังไม่ได้รวมเม็กซิโกและเกาหลีใต้ แต่เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งล่าสุดในช่วงปีที่ผ่านมาของ 2 ประเทศที่ได้รับการพิจารณาจาก Goldman Sachs เจ้าของทฤษฎีว่าน่าจะเป็น 2 ประเทศล่าสุดที่น่าจะอยู่ในกลุ่ม ซึ่งอาจจะทำให้ชื่อเปลี่ยนไปเป็น BRIMCK

เม็กซิโกได้ก้าวขึ้นมาเป็น Emerging Market ในอันดับต้นๆ อัตราการเติบโตของเม็กซิโกทำให้ Goldman Sachs มองว่าเมื่อถึงปี 2593 ( เมื่อรวมเม็กซิโกกับกลุ่ม BRIC และสหรัฐฯ จะกลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่สุดของโลก มีประชากรรวมถึง 40 % ของโลก และมี GDP รวมกันได้ถึง 14,951 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ

การเติบโตของเม็กซิโกเน้นที่การพัฒนาอย่างรวดเร็วของสาธารณูปโภค คนชั้นกลางมีมากขึ้นและคนจนลดอันดับลง คาดว่ารายได้ต่อหัวจะแซงหน้าบางประเทศในสหภาพยุโรป

ส่วนเกาหลีใต้นั้นเป็นอีกประเทศที่มีการเติบโตในระดับเดียวกันกับบราซิลและเม็กซิโก หากเกาหลีสามารถรวมประเทศเป็นแบบเดียวกับเยอรมนีก็จะยิ่งสามารถเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการลงทุน เนื่องจากได้แรงงานราคาถูกและมีฝีมือจากเกาหลีเหนือมาหนุนเทคโนโลยีและสาธารณูปโภคที่เกาหลีใต้เป็นผู้นำในตลาดโลกได้

เกาหลี ในปี 2593

                              United Korea       South Korea       North Korea
GDP (เหรียญสหรัฐ)               $6.056  ล้านล้าน     $4.073 ล้านล้าน     $1.982 ล้านล้าน
GDP per capita                $86,000            $96,000           $70,000
GDP growth (2553-2593)        4.10%              3.30%             12.40%
รวมประชากร                    71 ล้านคน           42 ล้านคน          28 ล้านคน


ผู้นำของตลาด  Emerging Market
จาก  BRIC  -->> BRIIC

อินโดนีเซียเป็นผู้นำของ Emerging Market ที่มีศักยภาพสูงสุด ทั้งกำลังซื้อภายในประเทศ อัตราการเพิ่มของประชากรที่มีบทบาทต่อแรงงานและผู้บริโภค และการพัฒนาด้านธุรกิจ อินโดนีเซียเป็นตัวหลักที่มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจโลก

นับแต่วิกฤติเศรษฐกิจโลกเมื่อปี 2551 รัสเซียมีการขยายตัวลดลงร้อยละ 10.9 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี ขณะที่บราซิลก็มีอัตราการขยายตัวลดลงเช่นกัน แม้ว่าจะเทียบไม่ได้กับรัสเซีย โดยที่ GDP ลดลง ร้อยละ 1.2

ทั้งจีนและอินเดียไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากวิกฤติดังกล่าวเลย GDP จีนโตขึ้นร้อยละ 7.9 ขณะที่อินเดียมีอัตราการเติบโตที่ 6.0

ส่วนอินโดนีเซียมีการเติบโตที่สูงมากและกลายเป็นผู้นำในตลาด Emerging Market ในปี 2552 GDP ของอินโดนีเซียเติบโตร้อยละ 4.4 ในไตรมาสแรกและร้อยละ 4.0 ในไตรมาสที่ 2

ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากเมื่อเปรียบทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวลดลงอย่างมาก

ปัจจัยการบริโภคและความต้องการในประเทศอยู่ในระดับสูง ขณะที่เมื่อปี 2551 อัตราการบริโภคของอินโดนีเซียคือร้อยละ 60.1 เทียบกับร้อยละ 60.9 ของ บราซิล ร้อยละ34.5 ของจีน ร้อยละ 47.30 ของรัสเซีย และร้อยละ 54.6 ของอินเดีย

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรสูงที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลกคือ 227.3 ล้านคน โดยที่ประชากรร้อยละ 66.8 มีอายุระหว่าง 15-64 การบริโภคในตลาดนี้มีแต่จะเพิ่ม เช่นเดียวกับตลาดแรงงาน สถิติผู้สูงอายุในอินโดนีเซียคือ 65 ขึ้นไปอยู่ที่แค่ ร้อยละ 8.8 ขณะที่วัยรุ่นในรัสเซียมีแค่ร้อยละ 19.3 เท่านั้น

การจัดอันดับคอรัปชันของอินโดนีเซีย (CPI) ชี้ให้เห็นว่าสถานภาพทางธุรกิจในประเทศมีการพัฒนา ขณะที่อันดับที่ 0 คือคอรัปชั่นสูงสุด และ 10 คือปลอดจากคอรัปชัน อันดับของอินโดนีเซียไต่จาก 1.9 ในปี 2546 มาเป็น 2.8 ในปี 2551 และในบรรดาประเทศ BRIC ด้วยกัน รัสเซียและบราซิลมีแนวโน้มที่แย่ลง

วิกฤติเศรษฐกิจและความยากจนจะเป็นอุปสรรคและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเดินขบวน ประท้วง และความไม่สงบต่างๆ ได้ขึ้นได้ ตัวเลขล่าสุดของอินโดนีเซียและสมาชิกของ BRIC คือ ร้อยละ 21.4 ของประชากรอินโดนีเซียยังมีสภาพชีวิตที่ยากจนคือมีรายได้วันละ 1 เหรียญสหรัฐฯ ขณะที่รัสเซียมีอยู่แค่ร้อยละ 2 บราซิล 7.8 จีน 15.9 และอินเดีย 41.6

ราคาสินค้าบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อความยากจนในอินโดนีเซีย อัตราเงินเฟ้อต่อปีคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 6.4 ในไตรมาส 2 ของปี 2553 (เทียบกับร้อยละ 2.8 เมื่อเดือนกันยายน 2552 ขณะที่เงินกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐมูลค่ากว่า 6.3 พันล้าน ได้ช่วยสร้างให้เกิดการบริโภคภายในประเทศให้มากขึ้น

คาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP ของอินโดนีเซียจะอยู่ที่ร้อยละ 4 ในปี 2552 และ 4.8 ในปีถัดมา ซึ่งถือว่าเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสถิติปี 2552 ของจีนและอินเดีย คาดว่าการเติบโตจะอยู่ที่ ร้อยละ 8.5 และ 5.4 ตามลำดับ ขณะที่รัสเซียจะมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 7.5 ส่วนบราซิลจะอยู่ที่ 0.7

เมื่อเดือนมีนาคม 2552 รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศเมกาโปรเจคสร้างสาธารณูปโภคภายในปี 2560 เป็นมูลค่าถึง 34.1พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมไปถึงประปา ไฟฟ้า และรถไฟ โครงการเหล่านี้จะช่วยสร้างงาน และลดความยากจน เพิ่มมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ และพัฒนารากฐานโครงสร้างเศรษฐกิจของอินโดนีเซียต่อไปในอนาคต โดยที่โครงการเหล่านี้จะเริ่มต้นในปี 2553

การบริโภคภายในประเทศของอินโดนีเซียจะช่วยเป็นเกราะกำบังจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกยกเว้นอินเดียที่ยังจะต้องพึ่งพาตลาดภายใน ประเทศ BRIC อื่นๆ มีการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ โดยที่จีน บราซิลและรัสเซีย ยังคงพึ่งพาการส่งออกอยู่

อย่างไรก็ตาม BRIC และสมาชิกใหม่ในอนาคต จะเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีศักยภาพที่น่าสนใจและเป็นกลุ่มตลาดใหม่สดใสที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ