รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศไทยกับเดนมาร์กและประเทศในเขตอาณารับผิดชอบ ในปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 28, 2010 17:29 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกนขอรายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศไทยกับเดนมาร์ก และประเทศในเขตอาณารับผิดชอบในปี 2552 ดังต่อไปนี้

1. เดนมาร์ก

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่า               ม.ค.—ธ.ค.          ม.ค.—ธ.ค.      % เพิ่ม/ลด
                    ปี 2551               ปี 2552
การค้ารวม             826.6               721.0       -12.78%
การส่งออก             556.3               518.8        -6.73%
การนำเข้า             270.3               202.2       -25.20%
ดุลการค้า              286.0               316.6        10.70%

1.1 ในปี 2552 การค้าระหว่างประเทศไทยกับเดนมาร์กมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 721.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่มีมูลค่า 826.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.78 โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปยังเดนมาร์กมูลค่า 518.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่ส่งออกมูลค่า 556.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.73 และเป็นการนำเข้าจากเดนมาร์กมูลค่า 202.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่นำเข้ามูลค่า 270.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.20 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 316.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่ไทยได้เปรียบดุลการค้า 286.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.70

1.2 สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังเดนมาร์กที่สำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับมูลค่า 177.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.76 รองเท้าและชิ้นส่วน 102.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.78 แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า 27.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.03 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 16.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.08 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 11.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.15 วงจรพิมพ์ 9.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.15 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล 9.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.03 หนังสือและสิ่งพิมพ์ 9.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 57.67 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 8.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.98 และเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ 7.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.68

1.3 สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเดนมาร์กที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรมเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เครื่องมือ เครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ และแผงวงจรไฟฟ้า

1.4 สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปยังเดนมาร์กมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับวงจรพิมพ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และรถจักรยานและส่วนประกอบ

2. สวีเดน

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  มูลค่า                ม.ค.—ธ.ค.         ม.ค.—ธ.ค.         %เพิ่ม/ลด
                       ปี 2551            ปี 2552
การค้ารวม              1,151.7             875.6           -23.97%
การส่งออก                553.4             447.7           -19.09%
การนำเข้า                598.3             427.9           -28.48%
ดุลการค้า                 -44.9              19.8              -

2.1 ในปี 2552 การค้าระหว่างประเทศไทยกับสวีเดนมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 875.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่มีมูลค่า 1,151.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.97 โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปยังสวีเดนมูลค่า 447.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่ส่งออกมูลค่า 553.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.09 และเป็นการนำเข้าจากสวีเดนมูลค่า 427.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่นำเข้ามูลค่า 598.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.48 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 19.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ในปี 2551 ไทยเสียเปรียบดุลการค้า 44.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

2.2 สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสวีเดนที่สำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ มูลค่า 39.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.65 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 34.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.84 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 20.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 52.31 เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ 18.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.80 สายไฟฟ้าสายเคเบิ้ล 18.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.34 เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง และส่วนประกอบ 18.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.13 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 17.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.72 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 17.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.61 ไก่แปรรูป 14.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 40.07 และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 14.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.99

2.3 สินค้าที่ไทยนำเข้าจากสวีเดนที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์โลหะ

2.4 สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปยังสวีเดนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ข้าว เลนซ์ และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ

3. ฟินแลนด์

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 มูลค่า           ม.ค.—ธ.ค.       ม.ค.—ธ.ค.     % เพิ่ม/ลด
                 ปี 2551          ปี 2552
การค้ารวม         855.8           516.4         -39.66%
การส่งออก         515.9           273.6         -46.98%
การนำเข้า         339.9           242.8         -28.57%
ดุลการค้า          176.0            30.8         -82.50%

3.1 ในปี 2552 การค้าระหว่างประเทศไทยกับฟินแลนด์มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 516.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่มีมูลค่า 855.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 39.66 โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปยังฟินแลนด์มูลค่า 273.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่ส่งออกมูลค่า 515.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 46.98 และเป็นการนำเข้าจากฟินแลนด์มูลค่า 242.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่นำเข้ามูลค่า 339.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.57 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 30.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่ไทยได้เปรียบดุลการค้า 176.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 82.50

3.2 สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังฟินแลนด์ที่สำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มูลค่า 64.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 26.97 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 26.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 62.26 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 19.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.38 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 17.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.39 ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 15.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 65.48 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน 11.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.40 ผลิตภัณฑ์ยาง 10.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.36 สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล 8.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 59.22 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 82.30 และผลไม้กระป๋องและแปรรูป 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 35.43

3.3 สินค้าที่ไทยนำเข้าจากฟินแลนด์ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สื่อบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง เครื่องมือ เครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก

3.4 สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปยังฟินแลนด์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์ยาง ไก่แปรรูป เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเลนส์

4. นอร์เวย์

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 มูลค่า             ม.ค.—ธ.ค.         ม.ค.—ธ.ค.     % เพิ่ม/ลด
                   ปี 2551             ปี 2552
การค้ารวม            551.2             290.6        -47.28%
การส่งออก            191.4             118.7        -37.99%
การนำเข้า            359.8             171.9        -52.22%
ดุลการค้า            -168.4             -53.2        -68.41%

4.1 ในปี 2552 การค้าระหว่างประเทศไทยกับนอร์เวย์มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 290.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่มีมูลค่า 551.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 47.28 โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปยังนอร์เวย์มูลค่า 118.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่ส่งออกมูลค่า 191.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 37.99 และเป็นการนำเข้าจากนอร์เวย์มูลค่า 171.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่นำเข้ามูลค่า 359.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 52.22 ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 53.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่ไทยเสียเปรียบดุลการค้า 168.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 68.41

4.2 สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังนอร์เวย์ที่สำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็งมูลค่า 14.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.18 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 9.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 79.38 ข้าว 9.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.10 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 8.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.47 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 7.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.17 ผักกระป๋องและแปรรูป 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.11 อัญมณีและเครื่องประดับ 6.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.94 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.75 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 63.49 และผลไม้กระป๋องและแปรรูป 3.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.62

4.3 สินค้าที่ไทยนำเข้าจากนอร์เวย์ที่สำคัญ ได้แก่ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และเครื่องมือ เครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ

4.4 สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปยังนอร์เวย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เนื้อปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผักกระป๋องและแปรรูป เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล และเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์

5. ไอซ์แลนด์

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 มูลค่า           ม.ค.—ธ.ค.         ม.ค.—ธ.ค.      % เพิ่ม/ลด
                 ปี 2551            ปี 2552
การค้ารวม          16.4               8.3          -49.39%
การส่งออก           9.8               4.6          -53.20%
การนำเข้า           6.6               3.7          -44.29%
ดุลการค้า            3.2               0.9          -71.88%

5.1 ในปี 2552 การค้าระหว่างประเทศไทยกับไอซ์แลนด์มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 8.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่มีมูลค่า 16.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 49.39 โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปยังไอซ์แลนด์มูลค่า 4.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่ส่งออกมูลค่า 9.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 53.20 และเป็นการนำเข้าจากไอซ์แลนด์มูลค่า 3.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่นำเข้ามูลค่า 6.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 44.29 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 0.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2551 ที่ไทยได้เปรียบดุลการค้า 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 71.88

5.2 สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังไอซ์แลนด์ที่สำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป มูลค่า 0.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 48.08 ตาข่ายจับปลา 0.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.03 ข้าว 0.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.26 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 0.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 92.63 สิ่งปรุงรสอาหาร 0.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.47 เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 0.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.05 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล 0.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 5,185.00 ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 0.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.68 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 0.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.06 และอัญมณีและเครื่องประดับ 0.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.84

5.3 สินค้าที่ไทยนำเข้าจากไอซ์แลนด์ที่สำคัญ ได้แก่ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เครื่องมือ เครื่องใช้ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช

5.4 สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปยังไอซ์แลนด์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตาข่ายจับปลา ข้าว เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เสื้อผ้าสำเร็จรูป หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด เลนส์ และเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว

6. สรุปและข้อเสนอแนะ

6.1 การส่งออกของไทยไปยังประเทศในแถบสแกนดิเนเวียในปี 2552 มีอัตราการขยายตัวลดลงทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ และนอร์เวย์ ลดลงค่อนข้างมาก คือ ร้อยละ 53.20, 46.98 และ 37.99 ตามลำดับ ขณะที่เดนมาร์กและสวีเดนมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 6.73 และ 19.09 ตาม ลำดับ สาเหตุสำคัญที่ทำให้การขยายตัวของการส่งออกในปี 2552 ลดลงเนื่องจากความต้องการสินค้าชะลอตัวลงอย่างมากและต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน ตลอดจนภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศต่างๆ ในแถบสแกนดิเนเวีย ประกอบกับผู้นำเข้าส่วนใหญ่ชะลอการสั่งซื้อสินค้าเนื่องจากยังคงมีสินค้าเหลืออยู่ในสต็อกเป็นจำนวนมาก แม้ว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆ จะได้พยายามใช้มาตรการอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กระเตื้องขึ้นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องก็ตาม นอกจากนั้น ในปี 2552 ที่ผ่านมาห้างสรรพสินค้าใหญ่และร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ หลายแห่งทั้งในเดนมาร์กและสวีเดนได้ลดราคาสินค้ายาวนานกว่าปรกติเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคออกมาจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้ากันมากขึ้นเนื่องจากยอดขายสินค้าลดลงค่อนข้างมาก

6.2 สินค้าของไทยหลายชนิดที่มีศักยภาพในการส่งออกไปยังตลาดแถบนี้และมีลู่ทางที่จะขยายการส่งออกได้อีก ได้แก่ อาหาร เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไก่แปรรูป ผักกระป๋องและแปรรูป ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เนื้อปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง ข้าว สิ่งปรุงรสอาหาร และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เป็นต้น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบเครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ รถจักรยานและส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน รองเท้าและชิ้นส่วน แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาง แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เลนซ์ หนังสือและสิ่งพิมพ์ เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และตาข่ายจับปลา

6.3 สิ่งสำคัญที่ผู้ผลิตและส่งออกของไทยที่ต้องการจะขยายการส่งออกไปยังตลาดสแกนดิเนเวียจะต้องคำนึงถึง คือ เรื่องคุณภาพของสินค้า เนื่องจากตลาดแถบนี้ให้ความสำคัญและพิถีพิถันกับเรื่องคุณภาพของสินค้าค่อนข้างมาก ดังนั้น ควรพัฒนาการผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด และศึกษากฎระเบียบการนำเข้า มาตรฐานสินค้า การออกแบบตามสไตลส์ของตลาดสแกนดิเนเวียซึ่งแตกต่างจากตลาดอื่น แนวโน้มความต้องการของตลาด วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต สีสัน ขนาด และรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ รสนิยมที่แตกต่างกันตามฤดูกาล พฤติกรรมของผู้บริโภค รวมทั้งคู่แข่งขันที่สำคัญและราคาที่สามารถแข่งขันได้ ควรใช้กลยุทธ์การตลาดโดยเน้นที่ความแตกต่างของสินค้า (Differentiation) เป็นจุดขาย และเน้นที่ความโดดเด่น (Unique) ของสินค้าที่แตกต่างจากคู่แข่งขันโดยสิ้นเชิงเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค และควรกำหนดตำแหน่งของสินค้า (Positioning) เพื่อขายในตลาดระดับกลางและระดับสูงเป็นหลัก ตลอดจนควรคำนึงถึงเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ค่อนข้างมากเช่นกัน สามารถนำมาเป็นจุดขายได้ เช่น สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmental friendly products) สินค้าเพื่อสุขภาพ (Healthy products) หรือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy foods) และผลิตภัณฑ์ออร์แกนนิก (Organic products) ซึ่งกำลังมีแนวโน้มความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากตลาดนี้เป็นตลาดที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง แม้ว่าขนาดของตลาดจะไม่ใหญ่มากก็ตาม นอกจากนั้น ควรคำนึงถึงประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) การใช้แรงงานเด็ก (Child labour), Fair Trade, Health safety, Ethical Trade และ Climate change ซึ่งประเทศในแถบนี้ให้ความสำคัญค่อนข้างมาก ปัจจุบันสินค้าของไทยบางชนิดไม่สามารถแข่งขันด้านราคาในตลาดระดับล่างกับคู่แข่งขันอื่นๆ ได้ เช่น จีน เวียตนาม บังคลาเทศ ตุรกี ปากีสถาน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ของใช้ภายในบ้านและของตกแต่งบ้าน ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น เนื่องจากได้มีการย้ายฐานการผลิตสินค้าเหล่านี้ไปยังประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงงานที่ถูกกว่า แล้วส่งออกกลับเข้าไปขายในตลาดแถบนี้อีกครั้งหนึ่ง

6.4 ควรใช้กลยุทธ์การบุกเจาะตลาดเชิงรุกเพื่อหาทางขยายตลาดให้มากยิ่งขึ้น เช่น การเดินทางไปพบปะเจรจาการค้ากับผู้นำเข้าในต่างประเทศโดยตรงบ่อยครั้งและสม่ำเสมอมากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำเข้าในต่างประเทศ การเดินทางไปแสวงหาลูกค้ารายใหม่ๆ เพื่อสร้างเครือข่ายทางการค้า (Network) และการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ โดยเฉพาะงานแสดงสินค้าหรือบริการใหม่ๆ ที่ไทยมีศักยภาพ เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เพราะจะเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำเข้าในต่างประเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายทางการค้าและการลงทุนร่วมกันต่อไปในอนาคต ทำให้ผู้ผลิตและส่งออกของไทยได้พบปะกับผู้นำเข้าจากต่างประเทศโดยตรง และได้มีโอกาสเสนอขายสินค้า เจรจาการค้า และหาทางขยายการส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดแถบนี้ต่อไป

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ