ตลาดสินค้าวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้างของประเทศญี่ปุ่น

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 3, 2010 16:11 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ขนาดของตลาด

อุตสาหกรรมการก่อสร้างญี่ปุ่น ในปี 25521 คาดว่าจะมีมูลค่ารวมประมาณ 43.19 พันล้านเยน ลดลงจากปีที่ผ่านมา -8.6% โดยการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวเพียง 6.8% อันเนื่องมาจากการยกเลิกโครงการก่อสร้างหลายโครงการ ในขณะที่การลงทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้างบ้านของภาคเอกชนหดตัว -13.6% เนื่องจากผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจโลก และอัตราคนว่างงานเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 ปี (5.4% ณ มิ.ย.52)

คาดการณ์ว่า ปี 2553 อุตสาหกรรมการก่อสร้างญี่ปุ่น จะมีมูลค่ารวมประมาณ 41.6 พันล้านเยน ลดลงจากปี 2552 เท่ากับ — 3.7%

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการลดหย่อนภาษีการกู้ยืมเงินสำหรับที่อยู่อาศัย สามารถลดแรงกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ภาคการก่อสร้างที่อยู่อาศัยไม่หดตัวลงมากนัก

ประเภทวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้าง

ประเภทของวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ตามลักษณะการใช้งานและมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

  • ประเภทสินค้าวัตถุดิบ ได้แก่ วัสดุก่อสร้างประเภท หิน กรวด ทราย ซีเมนต์ หินปูน แร่ยิบซั่ม เป็นต้น สินค้าในกลุ่มนี้ซึ่งเป็นประเภทวัตถุดิบ เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ
  • ประเภทวัสดุกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ คอนกรีต ยางมะตอย เหล็ก อิฐบล็อก สีสำหรับทาทั้งภายนอกและภายใน สารเคมีสำหรับยึดเกาะ วัสดุยาแนว แผ่นกระเบื้อง หลังคา ผนัง
  • ประเภทผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ได้แก่ ระบบกรอบอาคาร ประตู หน้าต่าง แผ่นฟิล์มกันแสง เครื่องสุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น ซึ่งสินค้าในกลุ่มนี้นับว่าเป็นกลุ่มสินค้าที่มูลค่าเพิ่มสูง
การค้าระหว่างประเทศ ปี 2552 (ม.ค.-พ.ย. 52)

การส่งออก

การส่งออกสินค้าวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ของประเทศญี่ปุ่น มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับยอดรวมของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของประเทศ และน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าประเภทเดียวกันจากต่างประเทศ ดังนี้

ปี 2552 (ม.ค.-พ.ย. 52) มูลค่าการส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นรวมทั้งสิ้น 520,419 ล้านเหรียญ สหรัฐ เป็นการส่งออกสินค้าวัสดุก่อสร้างประเภทไม้ (HS 4409 , HS 4418) มูลค่า 0.53 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าโครงวัสดุก่อสร้างที่ทำด้วยเหล็ก อลูมิเนียม และส่วนประกอบ(HS 7308, HS 7610) มูลค่า 408.82 และ 17.06 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

การนำเข้าสินค้าวัสดุก่อสร้างจากประเทศไทย และสถานะคู่แข่งในตลาดต่างประเทศ

ญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ (HS 4409 , HS 441, HS 7308, HS 7610) ในปี 2552 มูลค่า2,946.27 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา — 4.06% สินค้าวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์นำเข้าที่สำคัญ ดังนี้

Wood, Continuously Shaped (Tongued, Grooved Etc.): HS 4409 ปี 2552 ญี่ปุ่นนำเข้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 210.32 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเท่ากับ — 19.05 % โดยนำเข้าจากจีนมากเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยมูลค่า 98.71 ล้านเหรียญสหรัฐ(สัดส่วน 46.93 % อัตราการขยายตัว -9.64%) รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยนำเข้ามูลค่า 21.50 ล้านเหรียญสหรัฐ(สัดส่วน 10.22% อัตราการขยายตัว -32.95%) และ 17.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (สัดส่วน 8.27 % อัตราการขยายตัว -30.67%) ตามลำดับ

นำเข้าจากไทย เป็นอันดับที่ 9 มูลค่า 5.78 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 2.75 % อัตราการขยายตัว -32.51%

Builders' Joinery And Carpentry Of Wood : HS 4418 ญี่ปุ่นนำเข้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 718.26 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเท่ากับ 7.36 % โดยนำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์มากเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยมูลค่า 262.81ล้านเหรียญสหรัฐ(สัดส่วน 36.59 % อัตราการขยายตัว 27.17%) รองลงมาได้แก่ จีน และออสเตรีย โดยนำเข้ามูลค่า 127.48 ล้านเหรียญสหรัฐ(สัดส่วน 17.75 % อัตราการขยายตัว -15.17%) และ 78.11 ล้านเหรียญสหรัฐ (สัดส่วน 10.88 % อัตราการขยายตัว 15.88%) ตามลำดับ นำเข้าจากไทย เป็นอันดับที่ 13 มูลค่า 9.29 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 1.20 % อัตราการขยายตัว 45.61 %

Structures Nesoi & Parts Thereof, Of Iron Or Steel : HS 7308 ญี่ปุ่นนำเข้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 1,546.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเท่ากับ 10.95% โดยนำเข้าจากจีนมากเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยมูลค่า 992.43 ล้านเหรียญสหรัฐ (สัดส่วน 64.16 % อัตราการขยายตัว 18.16%) รองลงมา คือ เกาหลีใต้ มูลค่า 254.97 ล้านเหรียญสหรัฐ (สัดส่วน 16.48 % อัตราการขยายตัว -1.87%)

นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 133.06 ล้านเหรียญสหรัฐ (สัดส่วน 8.6 % อัตราการขยายตัว 13.88 %)

Aluminum Structures Nesoi (No Prefab) & Parts Of. : HS 7610 ญี่ปุ่นนำเข้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 470.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเท่ากับ — 6.54 % โดยนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยมูลค่า 317.39 ล้านเหรียญสหรัฐ(สัดส่วน 67.41 % อัตราการขยายตัว -2.74 %) รองลงมาได้แก่ จีน และเกาหลีใต้ โดยนำเข้ามูลค่า 97.87 ล้านเหรียญสหรัฐ(สัดส่วน 20.79 % อัตราการขยายตัว -4.47 %) และ 22.69 ล้านเหรียญสหรัฐ (สัดส่วน 4.82 % อัตราการขยายตัว 0.65%)

ช่องทางการจำหน่าย
                              ?Overseas manufacturers?
                                          |
                                          |
                         |-----------------------------------|
              Japanese manufacturer              Import trading companies
                         |----------------|------------------|
                                          |
                            Retailers, Building contractors
                                          |
                                          |
                                  End Users(Homeowners

แนวโน้มของตลาด
          ปัจจุบันได้มีการศึกษาค้นคว้าและพัฒนานวัตกรรมในการหาวัตถุดิบชนิดใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าหรือเหนือกว่ามาทดแทนวัตถุดิบไม้ที่เหลือน้อยและมีราคาแพง เช่น เหล็ก อลูมิเนียมพีวีซี  กระจก  เซรามิก  เป็นต้น  รวมทั้งได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพการใช้งานได้นานทนทานยิ่งขึ้น  รวมทั้งยังมีคุณสมบัติอื่นๆ  อาทิ ประหยัดพลังงาน  เน้นความเป็นธรรมชาติมากที่สุดและเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค
          แนวโน้มอุตสาหกรรมงานบำรุงรักษา ซ่อมแซม ปรับปรุง จะมีบทบาทสำคัญและอาจจะครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่าอุตสาหกรรมงานก่อสร้างใหม่ในอนาคต  เนื่องจากความต้องการงานก่อสร้างใหม่เริ่มลดลง ซึ่งสภาพการณ์นี้เกิดขึ้นแล้วในหลายๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฯลฯ
          การให้ความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการก่อสร้างใหม่ๆ เป็นอย่างมาก เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของตนมากยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นประเทศที่มีแผ่นดินไหวและอากาศหนาวเย็น นอกจากนี้มีการวิจัยพัฒนาวัสดุก่อสร้างชนิดใหม่ๆ เช่นวัสดุประเภท Continuous Fiber, Anchorage, หรือน้ำยาปรับปรุงคุณภาพ คอนกรีตแบบต่างๆ และวัสดุอื่นๆ เข้าสู่ตลาดมากขึ้น การวิจัยดังกล่าวไม่จำกัดเฉพาะศูนย์วิจัยของภาครัฐ แต่ยังมีการวิจัยของภาคเอกชนซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
          วัสดุก่อสร้างอลูมิเนียม  ประเภทกรอบอาคาร ประตู หน้าต่าง ปัจจุบันครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง ทดแทนวัสดุชนิดอื่น โดย 93.3% ของบ้านพักอาศัย  88.7% ของอพาตเมนท์  และ 56.1% ของตึกอาคารสำนักงานต่างๆ  จะใช้กรอบประตู หน้าต่าง ที่เป็นวัสดุอลูมิเนียม
          อย่างไรก็ตามผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้ราคาสินค้าอลูมิเนียมตกต่ำลง อันเนื่องมาจากความต้องการที่หดตัว ส่งผลให้กำไรของผู้ประกอบการลดน้อยลง บริษัท Fuji Sash Co.,Ltd ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตอลูมิเนียมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ได้ร่วมทุนกับ Bunka Shutter Co.,Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตบานประตูหน้าต่าง และประตูม้วนชั้นนำของญี่ปุ่น โดยมีแผนที่จะผลิตสินค้ากรอบอาคาร ประตู หน้าต่าง ที่ผลิตจาก resin (resin sash) ออกสู่ตลาด  ซึ่งถึงแม้ว่าราคาจะสูงกว่าอลูมิเนียม  แต่เมื่อเทียบกับคุณสมบัติที่สามารถป้องกันความเย็น และช่วยประหยัดพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาคารบ้านเรือนในเขตอากาศหนาวเย็น เช่น ฮอกไกโด และ โทโฮกุ จึงน่าจะเป็นสินค้าที่ตอบสนองตลาดได้ดี ในภาวะที่รัฐบาลญี่ปุ่นและในหลายๆประเทศ พยายามรณรงค์การประหยัดพลังงาน



          สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองฟูกูโอกะ

          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ