การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทยปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 3, 2010 17:10 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์

ในปี 2552 มีมูลค่ารวม 514,148.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.25 จากปีที่ผ่านมา โดยประเทศคู่ค้า(การค้ารวม)อันดับหนึ่งคือ มาเลเซีย (การค้ารวมมูลค่า 72,160.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และประเทศคู่ค้ารองลงมาในกลุ่ม 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน (การค้ารวมมูลค่า 63,811.61 ล้านเหรียญฯ) อินโดนีเซีย (46,701.59 ล้านเหรียญฯ) สหรัฐฯ (46,034.66 ล้านเหรียญฯ) ญี่ปุ่น (39,395.11 ล้าน-เหรียญฯ) เกาหลีใต้ (32,871.79 ล้านเหรียญฯ) ไต้หวัน (27,244.98 ล้านเหรียญฯ) ไทย (คู่ค้าอันดับ 8 มูลค่า 21,959.17 ล้านเหรียญฯ) อินเดีย (17,394.44 ล้านเหรียญฯ) และออสเตรเลีย (มูลค่า 16,340.05 ล้านเหรียญฯ) ส่วนการส่งออกจากสิงคโปร์ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกมีมูลค่า 269,050.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการนำเข้าจากทั่วโลกมีมูลค่า 245,098.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

2. การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทย

ปี 2552 สิงคโปร์ยังคงได้เปรียบดุลการค้ากับไทยมูลค่า 1,861.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.16 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเป็นการส่งออก และนำเข้า ดังนี้

  • การส่งออก สิงคโปร์ส่งออกมาไทยคิดเป็นมูลค่า 10,052.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.21 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 9 สินค้าหลักที่สิงคโปร์ส่งออก ได้แก่ 1) แผงวงจรไฟฟ้า 2) สื่อบันทึกข้อมูล/ภาพ/เสียง 3) เครื่องพิมพ์และเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์ 4) ส่วนประกอบ/อุปกรณ์ของเครื่องจักรกล 5) น้ำมันสำเร็จรูป 6) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซีสเตอร์และไดโอด 7) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันวงจรไฟฟ้า 8) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ 9) ส่วนประกอบของเครื่องจักรประเภทที่ 84.25-84.30 และ 10) เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น
  • การนำเข้า สิงคโปร์นำเข้าจากไทยมูลค่า 8,190.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.77 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.34) โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สำหรับอันดับหนึ่ง คือ สหรัฐฯ รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฝรั่งเศส ไทย และซาอุดิอาระเบีย สินค้านำเข้า 10 อันดับแรกเรียงลำดับตามมูลค่า ได้แก่ 1) น้ำมันสำเร็จรูป 2) แผงวงจรไฟฟ้า 3) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล 4) เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ 5) เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ 6) มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 7) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด 8) เครื่องปรับอากาศ 9) ข้าว และ 10) รถยนต์ (รายละเอียดปรากฏตามตารางแนบ : Singapore Top 50 Export Products to Thailand and Singapore Top 50 Import Products from Thailand)

3. ในปี 2552 เป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจทั่วโลกยังคงถดถอยต่อเนื่อง สิงคโปร์ได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ การขยายตัวของเศรษฐกิจต้องพึ่งพาการนำเข้าเพื่อนำมาเพิ่มมูลค่าแล้วส่งออก ประเทศคู่ค้าส่งออกสำคัญของสิงคโปร์คือ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ได้ลดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลงอย่างมาก จึงทำให้สิงคโปร์ต้องลดการนำเข้าจากทั่วโลก ทั้งนี้สิงคโปร์นำเข้าลดลงจากประเทศคู่ค้าสำคัญ 10 อันดับแรก (ยกเว้นฝรั่งเศส) ได้แก่

1) สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.31

2) มาเลเซีย ลดลงร้อยละ 23.19

3) จีน ลดลงร้อยละ 21.03

4) ญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 25.78

5) อินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 16.79

6) เกาหลีใต้ ลดลงร้อยละ 19.72

7) ไต้หวัน ลดลงร้อยละ 19.91

8) ยกเว้น ฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.59

9) ไทย ลดลงร้อยละ 25.22 10) ซาอุดิอาระเบีย ลดลงร้อยละ 43.21

การนำเข้าสินค้าจากไทย สิงคโปร์นำเข้าสินค้าสำคัญ 10 รายการแรก ลดลงถึง 9 รายการ ได้แก่

(1) 2710 น้ำมันสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 40.35

(2) 8542 แผงวงจรไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 0.57

(3) 8473 ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล ลดลงร้อยละ 36.17

(4) 8471 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 26.67

(5) 8517 เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 30.08

(6) 8541 อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซีสเตอร์และไดโอด ลดลงร้อย 24.05

(7) 8415 เครื่องปรับอากาศ ลดลงร้อยละ 17.95

(8) 1006 ข้าว ลดลงร้อยละ 15.96

(9) 8703 รถยนต์ ลดลงร้อยละ 45.18

ส่วนรายการที่สิงคโปร์นำเข้าเพิ่มขึ้นจากไทย(ในกลุ่ม 10 อันดับแรก) มี 1 รายการ คือ

(1) 8501 มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 102.65

สำหรับสินค้ารายการอื่นๆในกลุ่มอันดับที่ 11- 50 รายการ สิงคโปร์นำเข้าเพิ่มขึ้นจากไทยเพียง 9 รายการ ได้แก่

(1) 8431 ส่วนประกอบของเครื่องจักรกลประเภทที่ 84.25-84.30 เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.07

(2) 8001 ดีบุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 208.54

(3) 7006 แก้วและกระจก เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.84

(4) 2709 น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส เพิ่มขึ้นร้อยละ 5,338,672.18

(5) 8402 บอยเลอร์กำเนิดไอน้ำหรือทำน้ำร้อนยิ่งยวดและส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 285.09

(6) 9030 อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์ตรวจสอบปริมาณทางไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.78

(7) 9001 เส้นใยนำแสงนอกจากเคเบิลใยนำแสงประเภท 85.44 ไม่ตกแต่งใช้ในงานทางทัศนศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02

(8) 7616 ของอื่นๆทำด้วยอะลูมิเนียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 203.69

(9) 3304 สิ่งปรุงแต่งที่ใช้เสริมความงาม บำรุงรักษาผิวและแต่งเล็บ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.69

ข้อมูลอื่นๆ/ข้อสังเกต

1. สิงคโปร์ยังเป็นตลาดคู่ค้าสำคัญของไทย แม้ว่าการนำเข้าจากไทยมีมูลค่าลดลงก็ตาม ทั้งนี้ ประเทศคู่แข่งสำคัญของไทยในอาเซียน คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ส่วนประเทศคู่แข่งที่สำคัญอื่นๆ คือ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน และอินเดีย

2. การค้ารวมของสิงคโปร์ในปี 2552 ลดลงร้อยละ 19 เนื่องจากการค้าสินค้าน้ำมันและสินค้าทั่วไปลดลง การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ในขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 21

3. การส่งออก NODX (Non-oil Domestic Export) ลดลงร้อยละ 11 (Electronic NODX ลดลงร้อยละ 18, Non-Electronic NODX เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7) ซึ่งตัวสินค้า Electronic NODX ที่ส่งออกลดลง ได้แก่ Parts of PCs (-18%)} parts of ICs (-30%) และ ICs (-8.7%) ส่วนสินค้า Non-Electronic NODX ที่ส่งออกลดลงได้แก่ petrochemicals (-24%), heating & cooling equipment (-46%) และ other specialty chemicals (-21 %) ประเทศคู่ค้าสำคัญที่สิงคโปร์ส่งออกลดลงได้แก่ สหรัฐฯ, สหภาพยุโรป 27 และมาเลเซีย

4. การส่งออก NORX (Non-oil Re-export) ลดลงร้อยละ 16 เนื่องจากความต้องการสินค้า Electronic NORX จากต่างประเทศลดลงร้อยละ 18 โดยตัวสินค้าสำคัญได้แก่ ICs (-8.2%), parts of PCs (-30%) และ Telecommunications Equipment (-35%) ส่วนสินค้า Non-Electronic NORX ลดลงร้อยละ 12 ซึ่งตัวสินค้าสำคัญได้แก่ Piston Engines (-28%), primary chemicals (-45%) และ Civil Engineering Equipment Parts (-13%)

5. การเจริญเติบโตเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 2552 คาดว่าจะอยู่ระหว่างร้อยละ -2.5 ถึง 2.0 (กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์จะประกาศอัตราจริงในเดือนมีนาคม 2553) และคาดการณ์ว่า สิงคโปร์เริ่มก้าวไปสู่การฟื้นตัวในปี 2553 เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

6. ภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ รวมถึงสมาคมการค้าและภาคเอกชนในสิงคโปร์ประสานความร่วมมือกันเพื่อทำให้ธุรกิจสิงคโปร์มีความอยู่รอดและสามารถฟื้นตัวได้อย่างดี ซึ่งความช่วยเหลือในด้านต่างๆ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

6.1 SPRING Singapore และ International Enterprise Singapore

6.1.1 ให้ความช่วยเหลือธุรกิจผ่าน Lead Program (The Local Enterprise and Association Development Program) ซึ่งในปี 2552 จำนวนเงิน 70 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพื่อให้บริษัทสิงคโปร์ สามารถขยายตลาดส่งออก พัฒนาให้มีการจัดการที่ดีและเพิ่มศักยภาพในการผลิตและผลผลิต โดยให้เงินสนับสนุนร้อยละ 80 ของโครงการที่ได้รับอนุมัติ และในปัจจุบัน ได้ขยายการให้ความช่วยเหลือไปถึงด้านการฝึกอบรมพนักงานด้วย นอกจากนี้ ยังให้ความช่วยเหลือร้อยละ 70 แก่สมาคมอุตสาหกรรมที่แนะนำและนำผู้ซื้อต่างชาติเดินทางมาสิงคโปร์เพื่อซื้อสินค้า โดยจะเป็นค่าใช้จ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พัก และค่าพาหนะเดินทาง ทั้งนี้ สมาคมที่เข้ารวมโปรแกรม ได้แก่ The Franchising and Licensing Association (FLA), Textile and Fashion Federation (Taff) และ The Singapore Food Manufacturers’ Association (SFMA)

6.1.2 ให้การสนับสนุนในด้านBranding and Design โดยผ่าน BrandPact Programme และ Get Singapore ซึ่งทุกปีจะมีการมอบรางวัล Prestige Brand Award สำหรับในปี 2552 เป็นปีที่ 8 บริษัทส่วนใหญ่จาก 52 บริษัทที่ได้รับรางวัลเป็นบริษัท SMEs แบ่งออกเป็นรางวัลสำคัญๆ และผู้ได้รับรางวัล ได้แก่

  • Promising Brands (ดำเนินธุรกิจ 3-8 ปี) : Toast Box (a Coffee-toast chain by BreadTalk Group)
  • Established Brands (ดำเนินธุรกิจ 6-30 ปี) : Xpress Holdings (a printing services supplier), Wan Yang Health Product & Foot Reflexology Centre
  • Heritage Brands & Hall of Fame (ดำเนินธุรกิจมากกว่า 30 ปี) : Thomson Medical Centre (a health-care provider)
  • CitiBusiness Regional Brands (ดำเนินธุรกิจอย่างน้อย 3 ปี และมีกิจการในต่างประเทศอย่างน้อย
5 ประเทศ) : Best World Lifestyle (a direct seller of lifestyle products)
  • Most Popular Brand : Bee Cheng Hiang (a barbecued meat —bak kwa- supplier)
  • Special Merit เป็นรางวัลใหม่เริ่มในปี 2552 ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานที่ไม่มีผล
กำไร ดำเนินกิจการมาแล้ว 3 ปี : Children’s Society, SHRI, Powering Human Capital, Singapore Kindness Movement, Society for the Physically Disabled

6.2 Economic Development Board (EDB) มีนโยบายส่งเสริมให้เพิ่มการผลิตจากร้อยละ 10 ให้เป็นร้อยละ 30 ภายในปี 2563 ใน 4 สาขา คือ 1) Green Electronics ได้แก่ solar panels และ energy-efficient computer chips 2) Plastic Electronics ได้แก่ flexible displays และ batteries 3) Bioelectronics ได้แก่ artificial hearts และ chips that can detect viruses of diseases 4) Security Products ได้แก่ retinal และ facial recognition products ทั้งนี้ ภาครัฐจะให้ความช่วยเหลือ tax breaks และเงินทุนด้านการค้นคว้าวิจัย

6.3 Agri-Food and Veterinary Authority (AVA) ให้เงินสนับสนุน 5 ล้านเหรียญสิงคโปร์ สำหรับ การจัดการ Food-capability Development และ Food Diversification มุ่งเน้นในการจัดหาแหล่งนำเข้าใหม่ๆ สำหรับสินค้าอาหาร ได้แก่ ข้าว เนื้อสุกร ไก่ ปลา ไข่ไก่ และผักใบเขียว และจัดสรรเงินทุนให้แก่การลงทุนในต่างประเทศเพื่อจัดทำเขตผลิตอาหารและ contract farming เงินสนับสนุนจะให้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าบุคคลากร ค่าการบริการธุรกิจ ค่าการค้นคว้าวิจัยเพื่อให้เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้นจากฟาร์ม 266 แห่งในสิงคโปร์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มผลผลิตในประเทศภายใน 5 ปีข้างหน้า ได้แก่ (1) ไข่ไก่ จากร้อยละ 23 เพิ่มเป็นร้อยละ 30 (2) ปลา จากร้อยละ 4 เพิ่มเป็นร้อยละ 15 และ (3) ผักใบเขียว จากร้อยละ 7 เพิ่มเป็นร้อยละ 10

6.4 Singapore Institute of Manufacturing Technology (SIMTech) ได้เปิดตัว The MedTech Manufacturing Counsortium ช่วยเหลือบริษัทสิงคโปร์ด้านอิเล็คทรอนิกส์และ precision engineering ให้ประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการแพทย์ ซึ่งสิงคโปร์เป็นประเทศผู้นำสำคัญของโลกที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับการแพทย์เพื่อการส่งออก ได้แก่ contact lens คิดเป็นร้อยละ 10, thermal cyclers ร้อยละ 50 และ microarrays มากกว่าร้อยละ 50 ซึ่ง Economic Development Board คาดว่าในปี 2558 อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าการแพทย์จะมีมูลค่าถึง 5 พันล้านเหรียญ

6.5 Ministry of State for Trade and Industry and Manpower เป็นหน่วยงานตัวแทนสิงคโปร์ให้การช่วยเหลือธุรกิจขนาดย่อมในการประชุม Asia-Pacific Economic Cooperation (Apec) เพื่อทำการขยายการค้าไปสู่ตลาดโลก เพื่อให้มีความรู้อย่างถูกต้องในเรื่อง กฎ/ระเบียบ และมาตรการต่างๆทั้งที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษีของตลาดส่งออก โดยได้เสนอให้เริ่มกิจกรรมโครงการในปี 2553 ได้แก่ (1) Apec Business Fellowship (ABF) เป็นการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ระดับสูง ให้ได้รับความรู้และเข้าใจตลาดส่งออก (2) Export Technical Assistance Project โดยช่วยบริษัทให้มีความเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐาน/กฎ/ระเบียบในการส่งออก ทั้งนี้ SMEs สามารถสร้างมูลค่าการค้าประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการลงทุนโดยตรงของต่างชาติจำนวน 150 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในประเทศสมาชิก Apec

6.6 กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมจัดให้มีการคัดเลือกธุรกิจดีเด่นให้ได้รับรางวัล Enterprise 50 Awards เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2552 ทำการมอบรางวัลเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 แก่บริษัท 50 ราย ที่สำคัญ ได้แก่ Samwoh Corporation Pte. Ltd., Ryobi Kiso(S) Pte. Ltd., Sin Heng Heavy Machinery Pte. Ltd., Tru-marine Pte. Ltd., Koufu Pte. Ltd., Union Energy Corporation Pte. Ltd., Kenyon Engineering Pte. Ltd., Xin Ming Hua Pte. Ltd., Binter & Co Pte. Lte., Consolidated Pipe Carriers Pte. Ltd., Wee Tiong (S) Pte. Ltd., Borden Company (Pte) Ltd., Atlas Vending Pte. Ltd., P&N Holding Pte. Ltd., Farlin Timbers Pte. Ltd., Orient Express Lines (S) Pte. Ltd., Linkers (FE) Pte. Ltd., Star Controls Engineering Co Pte. Ltd., Atlas Sound & Vision Pte. Ltd., Superworld Electronics (S) Pte. Ltd., Nordic Flow Control Pte. Ltd., IPS-Lintec Asia Pacific Pte.Ltd., Star Furniture Pte. Ltd., เป็นต้น

6.7 Singapore Institute of Manufacturing Technology (SIMTech)ได้ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมหน่วยงานค้นคว้าด้านการชุมชน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการค้นคว้าและวิจัย จัดตั้ง Sustainable Manufacturing Centre (SMC) ในสิงคโปร์ เพื่อวางนโยบายและเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพและรักษาธรรมชาติ รวมถึงให้ความร่วมมือด้านผู้ชำนาญการ การถ่ายทอดความรู้ไปสู่เชิงพาณิชย์ มุ่งเน้น จะทำให้สภาวะธรรมชาติดีขึ้นโดยการพัฒนาสร้างสรรเทคโนโลยีที่ส่งผลให้อากาศเสียและสิ่งปฏิกูลอยู่ในระดับต่ำที่สุด รวมถึงให้ใช้ระบบ recycle และให้สิงคโปร์สามารถส่งออกเจ้าหน้าที่ชำนาญการเพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งในการส่งเสริมให้เศรษฐกิจดีขึ้น

6.8 Infocomm Development Authority of Singapore ให้การสนับสนุนด้าน IT โดยได้เปิดตัวแผนการ 10-year Intelligent Nation 2015 (iN2015) มีจุดมุ่งหมายในการปรับเปลี่ยนสิงคโปร์ให้เป็น Digital Global City ที่มีองค์ประกอบครบวงจร ได้แก่ เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน บริษัทดำเนินธุรกิจ และผู้ชำนาญการ รวมถึงได้ประกาศการกำหนดใช้ ultra high-speed next generation “Nationwide Broadband Network (NBN)” ที่จะให้แล้วเสร็จภายในปี 2555 และจะเป็นการนำการให้บริการแบบใหม่และน่าตื่นเต้นมาสู่ภาคธุรกิจและผู้บริโภค

6.9 Monetary Authority of Singapore (MAS) ส่งเสริม Islamic Banking ได้ลงนามเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2552 ในข้อตกลง Memorandum of Understanding (MOU) กับ Central Bank of Bahrain (CBB) ณ World Islamic Conference ครั้งที่ 16 ในบาห์เรน โดยมีจุดประสงค์สำคัญๆ ได้แก่ ความร่วมมือด้านพื้นฐานเพื่อสนับสนุนทั้งสองฝ่ายให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ส่งเสริมให้การดำเนินการด้านสถาบันการเงินมีความมั่นคงแข็งแกร่ง จัดให้มีการฝึกอบรมและการช่วยเหลือด้านเทคนิค เป็นต้น อนึ่ง ใน ปัจจุบัน Islamic Financing มีมูลค่าประมาณ 1.4 ล้านล้านเหรียญสิงคโปร์

6.10 Tourism Board ส่งเสริมการเชิญชวนชาวต่างชาติเข้ารับการรักษาพยาบาลในขณะเดินทาง ท่องเที่ยวสิงคโปร์ (Medical Tourism) โดยตั้งเป้าไว้ที่จำนวน 1 ล้านคนภายในปี 2555 ซึ่งสิงคโปร์พยายามมุ่งเน้นให้ประเทศเป็นจุดหมายปลายทางการรักษาพยาบาลชั้นนำของโลก ซึ่งคาดการณ์ว่ากลุ่ม Medical Tourism จะกลับฟื้นตัวขึ้นในปี 2553 หลังจากที่เศรษฐกิจทั่วโลกมีสภาวะปกติ ส่วนใหญ่คนไข้จากรัสเซีย เยอรมนี สวีเดน และสหรัฐฯ แม้ว่า ค่ารักษาพยาบาลในสิงคโปร์จะอยู่ในระดับสูง แต่สิงคโปร์มีชื่อเสียงที่เป็นศูนย์แห่งการรักษาพยาบาลอย่างยอดเยี่ยม การเดินทางสะดวก และการสื่อสารโทรคมนาคมรวดเร็ว

6.11 Singapore Manufacturers’ Federation (SMa), SPRING Singapore และ Singapore Environment Council ได้สร้างตราสินค้าพิเศษ “Green Label” สำหรับสินค้าที่มีคุณภาพดีผลิตในสิงคโปร์และรักษาสิ่งแวดล้อม มอบให้แก่บริษัทที่มีการผลิตใช้ระบบลดพลังงาน ลดเศษขยะ และมีคุณภาพได้ระดับมาตรฐาน เพื่อส่งออกไปยังประเทศที่ควบคุมสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะยุโรป

7. สิงคโปร์พยายามสร้างให้ประเทศมีชื่อเสียงในการเป็นศูนย์กลาง (Hub) ด้านต่างๆ ได้แก่ (1) Logistics Hub (2) Solar Energy Hub (3) Biomedical Hub (4) Clean Technology and Urban Solution Hub (5) Accountancy Hub (6) Property Investment Hub เพื่อส่งเสริมให้ต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในสิงคโปร์และส่งผลให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตทางบวกอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สิงคโปร์ ได้รับชื่อเสียงเป็นประเทศที่เป็นมิตรในการทำธุรกิจ จากการสำรวจ The Global Enterprise ของ Chatered Accountants ครอบคลุมฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย แม้ว่าอัตราภาษีนิติบุคคลในสิงคโปร์เป็นร้อยละ 18 สูงกว่าฮ่องกง (ร้อยละ 16.5) ก็ตามส่วนมาเลเซีย ร้อยละ 25 และประเทศอื่นๆในเอเชีย-แปซิฟิค ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 40.69) อินเดีย (33.99) ออสเตรเลีย (30) ไทย (30) ฟิลิปปินส์ (30) อินโดนีเซีย (28) จีน(25) เกาหลีใต้ (24.2) และ มาเก๊า (12) และจากการสำรวจของ Bloomberg Global Poll ได้จัดลำดับให้สิงคโปร์อยู่อันดับที่ 2 ของประเทศที่เป็นศูนย์กลางการเงินชั้นนำของโลกและน่าลงทุนทำธุรกิจ รองจากนิวยอร์ค และประเทศที่รองจากสิงคโปร์ ได้แก่ ลอนดอน เซี่ยงไฮ้ และดูไบ

8. ตลาดต่างประเทศที่สำคัญของสิงคโปร์ ในปี 2553 (นอกเหนือจากตลาดจีนและอินเดีย) ได้แก่ ตลาดในอาเซียน อัฟริกา และตะวันออกกลาง คาดว่าปี 2554-2555 เศรษฐกิจจะกลับฟื้นตัวสู่สภาพที่ดี อย่างแข็งแกร่ง และ Association of Small and Medium Enterprises : ASME ได้ให้คำแนะนำแก่ บริษัทสิงคโปร์ให้มองโลกในแง่ดี พร้อมมีพลังในการทำงาน และเผชิญปัญหาด้วยปัญญาเพื่อความสำเร็จในอนาคต

9. สิงคโปร์สร้างสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตเศรษฐกิจ ได้แก่

(1) มาเลเซีย มุ่งเปิดด้านการเงินและการบริการเพิ่มขึ้น

(2) สาธารณรัฐอิมิเรทส์ ลงนาม MOU ระหว่าง Singapore Business Federation (SBF) และ Ajman Chamber of Commerce and Industries (AJCCI) ของ United arab Emirates (UAE)

(3) ญี่ปุ่น เชิญชวนบริษัทญี่ปุ่นให้เข้ามาลงทุนในสิงคโปร์ สาขาธุรกิจ Biotechnology และ digital media และได้ลงนาม Memorandum on Defence Exchanges (MDE) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2552 ในญี่ปุ่น สร้างความสัมพันธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยและมีการแลกเปลี่ยนการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ทหารของทั้งสองฝ่าย

(4) Tatarstan —รัสเซีย ลงนาม MOU ร่วมมือกันในด้าน) Infocomm Technology (ICT) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในการใช้ ICT และพัฒนาความสามารถบุคคลากรและอุตสาหกรรม ICT ใน Tatarstan

(5) จีน ให้ความร่วมมือในด้านประสบการณ์และความรู้ความสามารถเรื่องการก่อสร้างอาคาร การบำรุงรักษาและพัฒนาห้องชุดอย่างมีประสิทธิภาพด้วยราคาที่ย่อมเยา พร้อมกับมีสภาวะแวดล้อมที่ช่วยรักษาธรรมชาติ

(6) ไทย ประสานการประชุม Civil Service Exchange Programme (CSEP) ประจำปี 2552 ที่สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ ทั้งสองประเทศให้ความร่วมมือกันใน 13 สาขา ได้แก่ การศึกษา สุขอนามัย กีฬา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การพัฒนาระบบผังเมือง และในปีนี้มุ่งเน้นให้ความสำคัญมากด้านสภาวะสิ่งแวดล้อม เรื่องมลพิษที่มีผลมาจากหมอกควันพิษและควันเสียจากยานพาหนะ) รวมถึงเรื่องโรคระบาด

(7) กรีซ ได้ให้เงินสนับสนุน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แก่เงินกองทุนของหน่วยงานการเดินเรือนานาชาติ เพื่อช่วยเหลือและรักษาความปลอดภัยการเดินเรือในน่านน้ำ Straits of Malacca และสิงคโปร์

(8) สหรัฐฯ รัฐมนตรีอาวุโส Mr. Lee Kuan Yew ได้รับ Lifetime Achievement Award ในวอชิงตัน เนื่องจากได้ช่วยให้ความสัมพันธ์ของสหรัฐกับเอเชียเป็นไปอย่างดี

(9) ฝรั่งเศส ได้ลงนามข้อตกลง Double Taxation Agreement (DTA) ระหว่างกัน

(10) เม็กซิโก ได้ลงนามข้อตกลง Investment Guarantee Agreement (IGA) มุ่งเน้นความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการลงทุนอย่างลึกซื้ง

(11) รัสเซีย จะสร้าง Russian Orthodox Church แห่งแรกของเอเชียในสิงคโปร์ ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า โอกาสของนักธุรกิจสิงคโปร์เข้าไปลงทุนในรัสเซีย ได้แก่ โครงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเศรษฐกิจ เช่น สนามบิน และในสาขาค้นคว้าวิจัย รวมถึงศิลปะ และวัฒนธรรม

(12) อาบูดาบีและคูเวต ลงนามในข้อตกลง Investment Guarantee Agreement (IGA) ร่วมกับ Mustafa Jassim Mohammad al-Shimali รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของคูเวต ในการวางนโยบายและระเบียบที่ชัดเจนสำหรับการปกป้องผลประโยชน์ในการลงทุนของทั้งสองฝ่าย ให้สามารถนำกลับประเทศตนเองได้ โดยภาครัฐให้การค้ำประกัน

(13) ฟินแลนด์ ได้ลงนามความร่วมมือ Double Taxation (DTA) ทั้งนี้ข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อทั้งสองประเทศได้ให้สัตยาบัน

(14) Georgia ได้ลงนามความร่วมมือ Double Taxation (DTA) ทั้งนี้ข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อทั้งสองประเทศได้ให้สัตยาบัน

(15) บาห์เรน ได้มีข้อตกลงในการส่งเสริมการขยายตัวของ Islamic banking ระหว่างสิงคโปร์กับบาห์เรน โดยลงนาม MOU ระหว่าง Monetary Authority of Singapore (MAS) และ The Central Bank of Bahrain เพื่อการพัฒนาความร่วมมือและการใช้ข้อมูลร่วมกัน

(16) คิวบา เกี่ยวกับการพัฒนาท่าเรือใหม่ของคิวบา

(17) อินเดีย ความร่วมมือระหว่างกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศในสาขาการปกครอง การศึกษา และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเศรษฐกิจ

(18) อินโดนีเชีย ลงนาม Memorandum of Understanding (MOU) ความร่วมมือด้าน clean energy ระหว่าง The Sustainable Energy Association of Singapore (Seas) กับ The Sustainable Energy Association of Indonesia เพื่อให้ความร่วมมือกันด้านการรักษาและการเริ่มต้นในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้บริษัท clean energy ของสิงคโปร์สามารถเข้าสู่ตลาดอินโดนีเซียได้ง่าย

10. สิงคโปร์สนับสนุนการลงทุนในประเทศเพื่อให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีเงินหมุนเวียน ได้แก่

(1) บริษัท Equinix เปิดศูนย์พัฒนา IT “SG2 International Business ExchangeTM (IBXTM) มูลค่า 65 ล้านเหรียญสิงคโปร์ในสิงคโปร์ เพื่อให้บริการธุรกิจ Global Data Service Provider ในย่านอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเซีย-แปซิฟิค ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของสิงคโปร์ทั้งการเป็นศูนย์ IT ของโลก, การมีผู้ชำนาญการพอเพียง และมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อธุรกิจที่ดี

(2) บริษัทอินเดีย K S Oils ซึ่งเป็นผู้นำด้าน Edible Oil ได้จัดตั้งสำนักงานใหญ่นานาชาติ K S Natural Resources (KSNR)ในสิงคโปร์เพื่อเป็นหัวหอกในการขยายตลาดสินค้าฯไปยังทั่วโลก

(3) บริษัทสวิตเซอร์แลนด์ สินค้าเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม “Huntsman” ได้วางแผนจัดตั้งและสร้างศูนย์ R&D ในสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นหลังจากที่กลุ่มด้านสินค้าสิ่งทอ สีย้อมผ้า และชุดเคมีภัณฑ์ ของบริษัทฯ ได้ย้ายสำนักงานจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์มาอยู่ที่สิงคโปร์เมื่อเดือนมีนาคม 2552

(4) บริษัท Medtronic ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯด้านเทคโนโลยีการรักษาโรค ได้จัดตั้งสำนักงานใหญ่ ณ เขต Changi ในสิงคโปร์เพื่อกิจการในภูมิภาคอื่นๆ(ยกเว้นตลาดสหรัฐฯ) และลงทุน 80 ล้านเหรียญสิงคโปร์สร้างโรงงานผลิตสินค้า cardiac devices สำหรับตลาดนานาชาติ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2554 และมีการจ้างงานประมาณ 100 อัตรา

(5) มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในสิงคโปร์ SIM University (UniSIM) จะลงทุนมูลค่า 300 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ขยายพื้นที่ของมหาวิทยาลัยที่ Clementi Campus เพิ่มขึ้นอีก 28,000 ตารางเมตร ภายในปี 2557 ซึ่งในปี 2552 มีนักศึกษาจำนวน 10,000 คน คาดว่า ภายในปี 2563 จะมีนักศึกษาถึง 14,000 คน

(6) The Institute of Chemical and Engineering Sciences (ICES) ได้เปิดตัว Kilo Laboratory (Kilo Lab) ณ Jurong Island ซึ่งเป็นห้องทดลองแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการค้นคว้าพัฒนาเทคนิคใหม่สำหรับแก้ไขปัญหาการผลิตเภสัชภัณฑ์และภาคอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์

(7) หน่วยงาน Media Development Authority (MDA) ได้ร่วมมือกับบริษัทต่างชาติ 2 บริษัท คือImagenation Abu Dhabi และ Hyde Park Entertainment Group (Major Hollywood Production Company) ให้การสนับสนุนเงินทุนประมาณ 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในระยะเวลา 5 ปี สำหรับการสร้างภาพยนต์จำนวน 3-4 เรื่องต่อปี รวมทั้งจะจัดตั้งสำนักงานในสิงคโปร์ให้บริการในภูมิภาคเอเชียต่อไป

(8) บริษัท Sembcorp Marine ลงทุนสร้าง Integrated yard แห่งแรกของสิงคโปร์ ณ Tuas View Extension พื้นที่ 206 เฮกตาร์ บนพื้นที่ถมทะเล 3 ส่วน ภายใน 16 ปี ในส่วนแรกค่าใช้จ่าย 750 ล้านเหรียญสิงคโปร์ จะแล้วเสร็จภายใน 4 ปีข้างหน้า สำหรับอีก 2 ส่วน จะทำภายใน 12 ปี อู่เรือนี้ จะให้บริการ one-stop hub ในการซ่อมปรับปรุงเรือ สร้างเรือ สร้างที่ขุดน้ำมัน และ off-shore engineering and construction จะทำให้สิงคโปร์เป็นผู้นำอุตสาหกรรม marine and offshore ของโลก

(9) Land Transport Authority (LTA) ลงทุนสร้าง MRT downtown line มูลค่า 803.3 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่งบริษัท Lum Chang Building Contractor ได้สัญญาโครงการ เป็นเอกเทศ

(10) บริษัทญี่ปุ่น Okura Group ผลิตอุปกรณ์อุตสาหกรรม ได้ปรับสำนักงานเดิมที่จัดตั้งในสิงคโปร์เมื่อปี 2532 ให้เป็นสำนักงานใหญ่เพื่อควบคุมธุรกิจนอกประเทศญี่ปุ่น โดยให้บริษัทสาขาในสหรัฐและยุโรปรายงานตรงต่อสำนักงานในสิงคโปร์ และจะมีรายได้ประมาณปีละ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

(11) Media Development Authority (MDA) สิงคโปร์ ให้เงินสนับสนุน 6 ล้านเหรียญสิงคโปร์ในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาการศึกษาจัดทำเกมส์ “Serious Games” (เกมส์ที่ไม่ใช่เพื่อการบันเทิง) ใช้ปฏิบัติงาน เพื่อช่วยเหลือ game studio ท้องถิ่น ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเกมส์ในสิงคโปร์เจริญเติบโตร้อยละ 20 ต่อปี มูลค่าประมาณ 830 ล้านเหรียญสิงคโปร์

(12) บริษัท Lucite International ผู้ผลิคเคมีภัณฑ์ ได้เปิดโรงงานผลิตมูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ เกาะจูร่ง เพื่อผลิตส่วนผสมที่ใช้สำหรับ transparent plastics ให้มีค่าใช้จ่ายน้อยและปลอดภัย สามารถ ผลิตได้ 120 kilotonnes ต่อปี มีการจ้างงาน 75 อัตรา โรงงานผลิตนี้ เป็นแห่งแรกที่ใช้ Lucite’s Revolutionary Alpha Technology ในการผลิต Methylmethacrylate (MMA)

(13) บริษัท Qatar Petroleum International ร่วมลงทุนกับ Shell Eastern Petroleum (Pte) Ltd. ด้าน Shell Chemicals ในสิงคโปร์ (ครั้งแรกที่บริษัท Qatar ลงทุนในต่างประเทศ) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายธุรกิจต่อไปทั่วโลก ซึ่งสิงคโปร์เป็นศูนย์สำคัญด้าน Petrochemicals

(14) ธนาคาร ICICI Bank จากอินเดียได้ยื่นขอใบอนุญาตเปิดกิจการ Qualifying Full Bank (QFB) ในสิงคโปร์ เป็นธนาคารจากอินเดียแห่งที่ 2 แข่งกับธนาคาร The State Bank of India (SBI)

(15) Huaneng Power International Inc และ Tuas Power ได้ลงทุนสร้าง Tembusu Multi-Utilities Complex (TMRC) มูลค่า 2 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ณ เกาะจูร่ง ซึ่งมี cogeneration plant ที่จะทำให้ได้ clean coal technology ใช้ Biomass and Clean Coal (BMCC) ผสมในการผลิตไฟฟ้า และสามารถบำบัดน้ำเสียได้

(16) บริษัท Medtronic จัดตั้งสำนักงานภูมิภาคและสำนักงานใหญ่นานาชาติในสิงคโปร์ และสร้างโรงงาน Medtronic Singapore Operations : MSO ณ Changi South มูลค่า 80 ล้านเหรียญสิงคโปร์ จะเริ่มต้นดำเนินการในปี 2554 เพื่อผลิต cardiac devices และ Cardiac Rhythm Desease Managementy (CRDM) device สำหรับตลาดเอเชีย

(17) บริษัทเยอรมัน Linde Gas ผู้ผลิตก๊าซ ได้เปิดโรงงานใหม่ 2 แห่ง ณ เกาะจูร่ง มีมูลค่ารวม 25 ล้านเหรียญสิงคโปร์โดยโรงงานแรกผลิต Carbon Dioxide ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการนำเข้า และช่วยทำให้ระดับ Carbon Dioxide Emission อยู่ในระดับต่ำ และโรงงานที่ 2 จะเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคสำหรับก๊าซที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์

(18) บริษัท ST Kinetics ได้เปิดตัว STAR Automotive Centre มูลค่า 24 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ณ Jalan Boon Lay พื้นที่ 2,600 ตารางเมตร เพื่อให้บริการแก่ผู้ขับขี่รถยนต์ให้ได้รับการบริการอย่างรวดเร็วในด้านการซ่อมบำรุงและทาสี

11. สิงคโปร์สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศ ช่วยสร้างเศรษฐกิจมั่นคง ได้แก่

(1) International Enterprise (IE) Singapore ร่วมกับ Singapore Business Federation และ Singapore Chinese Chamber of commerce & Industry นำคณะบริษัทสิงคโปร์ 31 ราย เยือนไนจีเรีย อัฟริกาใต้และกานา ระหว่างวันที่ 11-18 ตุลาคม 2552 และได้รับสัญญาการค้ามูลค่า 66 ล้านเหรียญสิงคโปร์ โดยเฉพาะธุรกิจด้าน port and logistics, environmental services, offshore marine, oil and gas, info-communications technology, urban and infrastructure building, and commodities trading

(2) การลงทุนใน Eastern China’s Zhejiang Province โดยเฉพาะในธุรกิจการบริการ ได้แก่ urban masterplanning, water solutions, education, tourism, finance, transport and logistics ทั้งนี้ การค้าระหว่างสิงคโปร์กับ Zhejiang ปี 2551 ประมาณ 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 14.8 อีกทั้ง โครงการประมาณ 900 โครงการ มูลค่า 1.89 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ถึง มิย.52)

(3) การลงทุนในประเทศไทย ซึ่งบริษัท Tan Chong International ดำเนินกิจการจำหน่ายรถยนต์ในสิงคโปร์ ได้ลงทุนซื้อ Mitsubishi Fuso’s truck assembly and distribution ในประเทศไทย ด้วยมูลค่า 41.7 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ทั้งนี้ บริษัท ได้มี truck outfit ในประเทศไทยเมื่อปี 2545 มูลค่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งได้ส่งผลกำไรให้แก่บริษัทและเพิ่มรายได้จากต่างประเทศซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 10 ในปี 2552

12. สิงคโปร์ได้รับชื่อเสียงจากนานาชาติในด้านต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญส่งเสริมให้ชาวต่างชาติให้ความเชื่อมั่นเข้ามาลงทุนในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น ได้แก่

(1) ได้รับชื่อเสียงเป็นประเทศที่เป็นมิตรในการทำธุรกิจ จากการสำรวจ The Global Enterprise ของ Chatered Accountants ครอบคลุมฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย แม้ว่าอัตราภาษีนิติบุคคลในสิงคโปร์เป็นร้อยละ 18 สูงกว่าฮ่องกง (ร้อยละ 16.5) ก็ตาม ส่วนมาเลเซีย ร้อยละ 25 และประเทศอื่นๆในเอเชีย-แปซิฟิค ได้แก่ ญี่ปุ่น(ร้อยละ 40.69) อินเดีย(33.99) ออสเตรเลีย((30) ไทย(30) ฟิลิปปินส์(30) อินโดนีเซีย(28) จีน(25) เกาหลีใต้(24.2) และ มาเก๊า(12) นอกจากนี้ Bloomberg Global Poll ได้จัดลำดับให้สิงคโปร์อยู่อันดับที่ 2 ของประเทศที่เป็นศูนย์กลางการเงินชั้นนำของโลกและน่าลงทุนทำธุรกิจ รองจากนิวยอร์ค และประเทศที่รองจากสิงคโปร์ ได้แก่ ลอนดอน เซี่ยงไฮ้ และดูไบ

(2) จากการสำรวจของ Urban Land Institute and PricewaterhouseCoopers (PwC) ในปี 2551 สิงคโปร์เป็นประเทศอันดับที่ 2 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคที่นักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์นิยมเข้ามาลงทุน แต่ในปี 2552 นักลงทุนหันไปลงทุนในจีนแทน สิงคโปร์ จึงตกอยู่ในอันดับที่ 5 ประเทศที่เป็นอันดับ 1 คือ เซี่ยงไฮ้ รองลงมาได้แก่ ฮ่องกง ปักกิ่ง และเกาหลีใต้ สิงคโปร์ อนึ่ง คาดว่า ในอีก 2 ปีข้างหน้า อสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์จะมีมากเกินความต้องการ อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ยังได้รับความสนใจในฐานะเป็น Property Investment Hub

การคาดการณ์เศรษฐกิจสิงคโปร์ ปี 2553

1) นักเศรษฐศาสตร์ในสิงคโปร์ให้ความเห็นว่า สิงคโปร์ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากในปัจจุบัน สิงคโปร์ได้ปรับกลยุทธ์หันมาพึ่งพาความต้องการภายในประเทศ และจากเงินงบประมาณการใช้จ่ายของภาครัฐ เมื่อความต้องการของตลาดภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้เกิดการนำเข้าเพิ่มขึ้นและอย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างรายได้และผลกำไรให้ขยายไปสู่การบริโภคและการลงทุน และหากสถานะเศรษฐกิจของสหรัฐฯดีขึ้น จะเป็น Bonus เสริมให้เศรษฐกิจสิงคโปร์เจริญเติบโตเพิ่มขึ้นในระดับสูง ทั้งนี้ ธนาคารแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียจะต้องพึงระวังถึงปัญหา asset bubbles ในเศรษฐกิจเอเชียที่จะทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อต่ำ เนื่องจากอัตราการว่างงานในสหรัฐฯสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการออกเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำ จะทำให้เงินไหลออกจากสหรัฐฯสู่เอเชียเพิ่มขึ้น ทั้งนี้

ได้คาดหวังว่า การเจริญเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์จะเป็นไปอย่างรวดเร็วในปี 2553 เนื่องจากมีสัญญาณแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจะกลับฟื้นตัวสู่ปกติ ในปี 2553 การเจริญเติบโตจะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 5.5 และด้วย Integrated Resorts 2 แห่งจะเปิดดำเนินกิจการ ซึ่งจะส่งผลส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว รวมถึงด้านการเงิน/การคลังและการค้าขายให้เจริญเติบโต และทำให้ธุรกิจบริการกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น

2) ภาครัฐสิงคโปร์ได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์จะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในปี 2553 โดย GDP จะมีการขยายตัวร้อยละ 3.0-5.0 (ประมาณร้อยละ 5.5) และ Monetary Authority of Singapore (MAS) ได้คาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจปี 2552/2553 ในแต่ละภาคอุตสาหกรรม ดังนี้

Key Indicators                                        2552(%)       2553(%)
          GDP                                           -2.0          5.5
                    Manufacturing                       -3.4          6.3
                    Financial Services                  -0.9          6.5
                    Construction                        16.5          7.1
                    Wholesale and retail trade          -9.5          7.0
                    Hotel & Restaurant                  -3.9          5.2
          Private consumption                           -1.8          3.8
          Non-oil domestic exports                     -12.0         10.1
          Consumer Price Index                           0.3          2.8
          Unemployment rate (end period)                 3.4          3.0
          Exchange rate (S$ per US$1)                  1.382         1.35

3) การค้ารวมปี 2553 คาดว่า จะเจริญเติบโตร้อยละ 7.0 ถึง 9.0 โดยราคาน้ำมันจะสูงขึ้นหากเทียบกับปี 2552 และคาดว่าความต้องการจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นด้วย

4) ปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนให้การเจริญ เติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์ปี 2553 ดีขึ้น ได้แก่

(1) ประเทศเศรษฐกิจสำคัญในเอเชียจะมีการเจริญเติบโตเป็นบวกในปี 2553 เนื่องจากได้รับการส่งเสริมจากความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จีนจะเป็นผู้นำซึ่ง IMF คาดการณ์ว่าจะมีการเจริญเติบโตร้อยละ 9.0 ในการนี้จะช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจสิงคโปร์มีการเจริญเติบโตขึ้น ถึงแม้ว่า ความต้องการสินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม

(2) ความต้องการสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ของทั่วโลกจะมีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้า semi-conductor อาจจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 แม้ว่าการกลับฟื้นตัวของประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่จะเป็นไปอย่างเชื่องช้า

(3) ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2553 คาดว่า ราคาประมาณ 74 เหรียญสิงคโปร์ต่อบาเรล จะทำให้สิงคโปร์มีรายได้เพิ่มขึ้นในการส่งออกน้ำมัน

5) Monetary Authority of Singapore (MAS) คาดว่า อัตราเงินเฟ้อปี 2553 จะมีแนวโน้มสูงขึ้น อยู่ที่ร้อยละ 2.5-3.5 (ปรับจากคาดการณ์เดิมร้อยละ 1.0-2.0) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าประจำปีของอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ รวมถึงราคาน้ำมันและสินค้าบริโภคสูงขึ้น ซึ่งในปี 2553 คาดว่า ค่าใช้จ่ายต่างๆจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ยกเว้นค่าเช่าสถานที่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่คาดว่าจะสู่สภาพปกติในครึ่งปีแรกของปี 2553 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าสินค้าอาหารจะเป็นสินค้าที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศเลวร้ายและเกิดภัยพิบัติบ่อยครั้ง ส่งผลให้การผลิตอาหารทั่วเอเชียเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะข้าว ซึ่งประเทศผู้ผลิตหลายประเทศจะต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวในปี 2553 ดังนั้น การฟื้นตัวเศรษฐกิจของสิงคโปร์ที่จะมีความแข็งแกร่งขึ้นและดีขึ้นในอนาคตนั้น คงจะต้องพึงระวังปัจจัยสำคัญๆได้แก่ สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจภายนอก ค่าเงินเหรียญสิงคโปร์ ภัยพิบัติ และอัตราเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ เป็นต้น อนึ่ง สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงกว่าประเทศอื่นๆทั่วโลกเพราะมีเศรษฐกิจเปิดและขนาดเล็ก แต่การที่ทุกฝ่ายร่วมมือกันและแก้ปัญหาร่วมกัน จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งและเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นในอีก 1-2 ปีข้างหน้า แม้ว่าในช่วงปัจจุบันจะเป็นไปอย่างช้าๆก็ตาม

ที่มา: Ministry of Trade and Industry, International Enterprise Singapore,

The Business Times & The Straits Times

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ