สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.—ธ.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 4, 2010 11:39 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง         :   Washington , DC
พื้นที่              :   9,161,923  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ       :   English
ประชากร          :   301.6 ล้านคน (1 ก.ค. 2550)
อัตราแลกเปลี่ยน     :   US$ : 33.15 บาท (25/01/53)
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
                                        ปี 2009     ปี 2010
Real GDP growth (%)                      -4.7        0.7
Consumer price inflation (av; %)          2.2        2.4
Budget balance (% of GDP)               -14.2      -14.4
Current-account balance (% of GDP)       -1.5       -0.8
3-month Treasury rate (av;%)              1.2        0.9
Exchange rate :US$ (av)                  1.57       1.55
Exchange rate US$: (av)                   1.4       1.42
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหรัฐอเมริกา
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  16,661.57         100.00         -17.82
สินค้าเกษตรกรรม                     1,520.24           9.12         -17.74
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร             2,068.96          12.42           0.90
สินค้าอุตสาหกรรม                    12,540.16          75.26         -20.93
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    532.20           3.19          -1.40
สินค้าอื่นๆ                               0.01              0
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหรัฐอเมริกา
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด
                                     ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น                               8,373.24         100.00         -26.70
สินค้าเชื้อเพลิง                               187.84           2.24         -48.25
สินค้าทุน                                  2,956.44          35.31         -22.58
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   4,032.17          48.16         -31.39
สินค้าบริโภค                               1,039.04          12.41         -15.70
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  108.95           1.30         -11.56
สินค้าอื่นๆ                                    48.80           0.58         -40.72
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหรัฐอเมริกา
                           2551            2552         D/%

(ม.ค.- ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            31,698.01       25,034.81     -21.02
การส่งออก                20,274.76       16,661.57     -17.82
การนำเข้า                11,423.25        8,373.24     -26.70
ดุลการค้า                  8,851.50        8,288.33      -6.36
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 4 มูลค่า 8,373.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
26.70 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด
                                      ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม                       133,795.97          100.00         -25.35
1.แผงวงจรไฟฟ้า                             982.28           11.98         -14.91
2.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                  796.37           11.73         -13.48
3.เคมีภัณฑ์                                  796.37            9.51         -30.92
4.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ                584.58            6.98          -4.70
5.พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช                        578.94            6.91         -10.84
               อื่น ๆ                     2,694.99           32.19         -34.37

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา เป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 16,661.57  ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
17.82  สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                                    มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด
                                                ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม                                  152,502.36         100.00         -14.22
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                 2,946.31          17.68         -14.02
2.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                          1,251.76           7.51           5.01
3.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                     1,017.34           6.11         -27.78
4.ผลิตภัณฑ์ยาง                                          866.22           5.20          -9.38
5.อัญมณีและเครื่องประดับ                                  840.75           5.05         -21.86
       อื่น ๆ                                        6,747.19          40.50         -22.91

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (มค.- ธค.) ได้แก่
          เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์:  สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย รองจากจีนและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- ธค.) พบว่า ปี 2552 (มค.- ธค.)  มีอัตราการขยายตัวลดลง 14.02  ในขณะที่ปี 2549  2550  2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 44.83  17.40 และ 1.13 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

          อาหารทะเลกระป๋องฯ :  สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี  2549 — 2552 (มค.- ธค.)พบว่า ปี 2549  2551 และ 2552 (มค.- ธค.)มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.25  14.18  และ 5.01 ในขณะที่ปี 2550  มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 6.04 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

          เสื้อผ้าสำเร็จรูป: สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- ธค.) พบว่ามีอัตราการขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ  2.26  5.81  8.09 และ 27.78  ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

          ผลิตภัณฑ์ยาง: สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี  2549 — 2552(มค.- ธค.) พบว่า ปี 2552 (มค.- ธค.)  มีอัตราการขยายตัว ลดลงร้อยละ 9.38 ในขณะที่ปี 2549 - 2551  มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 23.36  11.87 และ  11.22 ตามลำดับ  เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

          อัญมณีและเครื่องประดับ: สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี  2549-2552 (มค.- ธค.)พบว่า ปี 2549  และ ปี 2552(มค.- ธค.) ที่มีอัตราการขยายตัว ลดลงร้อยละ 1.84 และ 21.86 ในขณะที่ปี 2550 และ  2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 และ 4.78  ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552(ม.ค.-ธ.ค.) 25 รายการแรก  สินค้าที่มี
อัตราเพิ่มสูงขึ้น รวม 2 รายการ คือ
         อันดับที่ / รายการ                    มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                       ล้านเหรียญสหรัฐ             %
2.  อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป              1,251.76              5.01
12. ข้าว                                    380.36             15.71


4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.-ธ.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตรา
ลดลง รวม  22 รายการ คือ
         อันดับที่ / รายการ                             มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                                ล้านเหรียญสหรัฐ             %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                2,946.31             -14.02
2.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                    1,017.34             -27.78
3.ผลิตภัณฑ์ยาง                                        866.22               -9.38
4.อัญมณีและเครื่องประดับ                                840.75              -21.86
5.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ                      758.49              -17.89
6.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                     647.03               -3.65
7.กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                                  608.70               -3.73
8.แผงวงจรไฟฟ้า                                      482.57              -31.04
9.น้ำมันดิบ                                           468.20               -7.73
10.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                              440.38               -2.65
11.ยางพารา                                         296.88              -48.94
12.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องกล                294.04               -9.45
13. เครื่องโทรศัพท์  เครื่องตอบรับโทรศัพท์                  238.18              -17.28
14.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                    234.02              -30.91
15.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                         224.75              -28.25
16.ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน                  220.50              -24.99
17.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                               219.30              -10.58
18.เลนซ์                                            213.98               -7.11
19.เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน                204.45              -24.05
20.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                           200.02              -65.15
21.เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ                   153.68              -16.20
22.รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ                         137.50               -5.14
23.รองเท้าและชิ้นส่วน                                  129.51              -45.28
24.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                       128.93              -19.90
25.เคหะสิ่งทอ                                        109.25              -27.77

4.4 การนำเข้าของสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับไทย

      Top 10 U.S.A Imports  from  the world                    Top 10 U.S.A Imports  from  Thailand
    Jan — Oct 09               Share       Valued             Jan — Oct 09             Share       Valued
                                 %      (Million USD)                                    %      (Million USD)
84 Mineral Fuel,oil            11.55      34,756.79     16 Prepared Meat, Fish,Et      19.60        374.661
71 Precious Stones,Metal       10.06      30,281.38     85 Electrical machinery        11.43        218.474
27 Mineral Fuel, Oil Etc        9.47      28,484.97     84 Machinery                   10.43        199.350
85 Electrical Machinery         9.20      27,695.86     71 Precious Stones, Metal       6.96        133.071
87 Vehicles, Not Railway        8.26      24,849.55     87 Vehicles, Not Railway        6.01        114.919
30 Pharmaceutical Products      3.99      12,001.24     27 Mineral Fuel, Oil Etc        5.18         99.071
88 Aircraft, Spacecraft         3.25       9,769.15     61 Knit Apparel                 4.55         87.040
90 Optic,Nt 8544; Med Ins       2.74       8,235.82     94 Furniture And Bedding        3.72         71.068
39 Plastic                      2.68       8,059.08     39 Plastic                      2.93         55.930
29 Organic Chemicals            2.66       7,996.40     40 Rubber                       2.88         54.962
ที่มา:  World Trade  Atlas
4.5 ข้อมูลเพิ่มเติม
O แนวโน้มการบริโภคโดยรวมของตลาดสหรัฐอเมริกาในปี 2552 และอนาคต

สถานการณ์สินค้าเฟอร์นิเจอร์ในตลาดสหรัฐอเมริกาในปี 2552 และในอนาคต นั้นปี 2552 ถือเป็นปีวิกฤติเศรษฐกิจครั้งสำคัญของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้เกิดการว่างงานในหลายอุตสาหกรรม ทำให้ผู้บริโภคเริ่มหวาดระแวงและเริ่มควบคุมในเรื่องการจับจ่าย ใช้สอย ในช่วงคริสต์มาสซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลที่มีการจับจ่ายใช้สอยมากที่สุด แต่ในปี 2552 ที่ผ่านมาพบว่ายอดซื้อสินค้ามีการปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 639 เหรียญสหรัฐ/คน (ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ USA Today และ Gallup Poll) ซึ่งลดลงจากปีที่ผ่านมาถึง 194 เหรียญสหรัฐ/คน อย่างไรก็ตามได้มีการคาดการณ์ว่าในปี 2533 ช่วงฤดูกาลคริสต์มาสยอดจับจ่ายซื้อสินค้าอาจจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 743 เหรียญสหรัฐ/คน สืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเร่งใช้นโยบายในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและเงินกระตุ้นต่าง ๆ ตลอดจนการคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานน่าจะลดต่ำลงจากปี 2552

O แนวโน้มการนำเข้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ประเทศสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มการนำเข้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์ลดลงมาตั้งแต่ปี 2551 โดยมูลค่าการนำเข้าในช่วงเดือน ม.ค. — พ.ย. 2552 ลดลงกว่า 8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 22.88 เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเดียวกันในปี 2551 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากที่สุดคือ Buildings (HS9406) ลดลงร้อยละ 35.65 แต่มีสัดส่วนการนำเข้าน้อยกว่าร้าอยละ 1 แต่กลุ่มสินค้าที่มีสัดส่วนการนำเข้ากลุ่มใหญ่และมีสัดส่วนการนำเข้าที่ลดลงอย่างน่าตกใจ คือ Furniture Nesoi and Parts Thereof (HS:9403) มีส่วนแบ่งการนำเข้ากว่าร้อยละ 40 ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 24.18 และ Seat (Except Barber, Dental, Elc) and parts (HS 9401) มีส่วนแบ่งการนำเข้ากว่าร้อยละ 34.35 และมีปริมาณการนำเข้าในปี 2007 มากกว่า 29 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์มายังประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมด ทั้งนี้ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. 2552 ปริมาณการนำเข้าของสองกลุ่มนี้ได้ลดลงเป็นมูลค่ากว่า 8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ

O วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาติดลบ 6% พุ่งมาอยู่ในแดนบวก จีดีพีโต 3% ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

วิกฤติฟองสบู่แตกในสหรัฐฯ ที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก ถึงแม้จีดีพีที่ฟื้นเป็นบวก ที่ดูเหมือนว่าวิกฤติเศรษฐกิจโลกน่าจะคลี่คลายได้นั้น ยังเป็นแค่เพียงภาพลวงตา ไม่ใช่การเจริญเติบโตที่แท้จริงก็ตาม

ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้วิเคราะห์ว่าวิกฤติเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้น เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบมากมายมหาศาล ทำให้มีเงินจับจ่ายใช้สอยในระบบเพิ่มมากขึ้น เลยส่งผลให้จีดีพีเป็นบวกเหมือนเศรษฐกิจทำท่าจะฟื้น แต่ความเป็นจริงแล้วธุรกิจภาคเศรษฐกิจกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น ตัวเลขคนว่างงานในสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มสูงอยู่ มีอัตราคนตกงานสูงถึง 10.2% ทั้งที่ในภาวะปกติ ตัวเลขคนตกงานต้องอยู่ที่ 4.5% นั่นแสดงว่าเงินที่อัดฉีดลงไป ไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจริง เพราะไม่ได้ช่วยให้เกิดการสร้างงาน จ้างงานแต่อย่างใด

นี่คือปัญหาใหญ่ของสหรัฐฯ ประชาชนไม่อยากทำงานภาคการผลิตที่ หนทางที่สหรัฐฯ จะพอสู้ได้ก็คือ ต้องลดค่าเงินดอลลาร์ลง เพื่อให้สินค้านำเข้ามีราคาแพง จนคนสหรัฐฯสู้ราคาไม่ไหว เป็นแรงบีบให้คนสหรัฐฯหันกลับมาทำงานภาคการผลิตที่แท้จริง และเพื่อให้ตัวเองเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจต่อไป สหรัฐฯต้องส่งออกสินค้าราคาแพง ต้องหันมาลงทุนทำเทคโนโลยีชีวภาพ ไบโอเทค เทคโนโลยีลดภาวะโลกร้อน และพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นที่ต้องการสูงของตลาดโลกในอนาคต ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่สหรัฐฯจะทำได้ในเร็ววัน เพราะต้องใช้เวลาในการศึกษาวิจัยนานหลายปี และสหรัฐฯแทบจะนับหนึ่งใหม่อยู่เหมือนกัน เนื่องจากในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจต่าง ๆ หันไปธุรกิจเก็งกำไรเป็นหลัก มากกว่าพัฒนาเทคโนโลยี

นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ เตือนนักธุรกิจไทยที่หวังพึ่งพาเงินดอลลาร์เป็นหลักให้เตรียมตัวเตรียมใจรับภาวะบาทแข็งดอลลาร์อ่อนไว้ให้ดี เพราะเป็นภาวะที่ยากจะหลีกพ้น แต่ให้พลิกวิกฤติบาทแข็งดอลลาร์อ่อนมาเป็นโอกาส สินค้าทุนน้ำมัน เงินบาทแข็งดอลลาร์อ่อนซื้อของได้ถูกกว่าเดิม บาทแข็งจึงเป็นโอกาสทองในการนำเงินลงทุนในต่างประเทศ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ