กระแสไทยแลนด์ฟีเวอร์ในเจนไน
รายงานผลการเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ Smart Shoppers Expo (14-18 มกราคม 2553)
ณ เมืองเจนไน ประเทศอินเดีย
การจัดงานแสดงสินค้านานาชาติ Smart Shoppers Expo จัดโดยหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของอินเดีย “Dinamalar” จัดขึ้นปีละ 4 ครั้ง เป็นประจำทุกปี ตามหัวเมืองใหญ่ๆ ของอินเดียใต้ เช่น เจนไน คอมบาตอร์ มาดูไร และบังกะลอร์ โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไนได้เข้าร่วมออกร้าน Thailand Pavilion ในงาน Smart Shoppers Expo ที่เมืองเจนไน ระหว่างวันที่ 14-18 มกราคม 2553 ณ อาคาร YMCA เมืองเจนไน ซึ่งมีผู้ออกร้านจำนวน 200 ราย จากในประเทศอินเดียและต่างประเทศ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น ปากีสถาน เคนยา ศรีลังกา และประเทศไทย ในส่วนของผู้ออกร้านจากประเทศไทยมี 13 ราย ประกอบด้วย
1.1 Narai Corporation - กระเป๋าหนังเทียมสตรี
1.2 Anada - อัญมณีและเครื่องประดับ
1.3 Pannee International - ดอกไม้ประดิษฐ์
1.4 Sense Aromatic -ของตกแต่งบ้าน ผลิตภัณฑ์สปา ไฟคริสต์มาส
1.5 Heritage Art - ของตกแต่งบ้านไม้
1.6 Moon Shadow - รองเท้าแตะแบบอินเดีย
1.7 STW Group - กระเป๋าสตรี
1.8 Mai Shop - เสื้อยืดแฟชั่น
1.9 Anong Thai Silk - เสื้อผ้าและเครื่องประดับสตรี
1.10 Alta Auro Asia - อัญมณีและเครื่องประดับ
1.11 Creation World Wid Wood - ดอกไม้ประดิษฐ์
1.12 Thailand Flowers - ดอกไม้ประดิษฐ์
1.13 DPN — กระเป๋าและเครื่องประดับสตรี
สำหรับพิธีเปิด จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2553 เวลา 12.00 น. โดยได้รับเกียรติจากนายไพฑูรย์ สงค์แก้ว รักษาการกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน และนายไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ ผอ. สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไนเป็นประธานในพิธีเปิด
2.1 การก่อสร้างตกแต่งคูหา และสถานที่จัดงาน
ผู้จัดงาน “Dinamalar” ได้เริ่มทำการก่อสร้างคูหาและตกแต่งสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2553 และเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 12 มกราคม 2553 โดยภายในงานมีจำนวนคูหาทั้งสิ้น 200 คูหา ซึ่งคูหาเป็นขนาดมาตรฐาน (3X3 เมตร) ลักษณะงานเป็นงานแสดงสินค้าทั่วไป และเป็นงานแสดงสินค้านานาชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น ปากีสถาน เคนยา ศรีลังกา และประเทศไทย
ในส่วนของคูหาประชาสัมพันธ์ของกรมฯ จำนวน 2 คูหา ทางผู้จัดงานได้จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ให้อย่างพร้อมเพรียง โดยสำนักงานฯ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
2.2 ประเภทของสินค้าภายในงาน
สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าอาหาร สินค้าคงทน (เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ มอเตอร์ไซค์ เครื่องครัว) เครื่องใช้ภายในบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
2.3 ประเภทสินค้าใน Thailand Pavilion
ประกอบด้วยสินค้าและของตกแต่งบ้าน อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน ผลิตภัณฑ์สปา ดอกไม้ประดิษฐ์ อัญมณีและเครื่องประดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนัง และสินค้า OTOP
2.4 กิจกรรมพิเศษภายในงาน
- การสาธิตการทำอาหารไทย
- สนามเด็กเล่น
- การแสดงปลาตู้
- บอนไซ
- การแข่งขันประกอบอาหาร
การประชาสัมพันธ์ทำได้ดีมาก เนื่องจากผู้จัดมีสื่อเป็นของตัวเองโดยพิมพ์เป็นภาษาท้องถิ่นที่มียอดการจำหน่ายสูงสุด เป็นผลให้มีผู้เข้าชมงานประมาณ 1 แสนคนในแต่ละวัน
มีผู้เข้าร่วมชมงานทั้งสิ้น 547,524 คน โดยแบ่งออกเป็นดังนี้
- 14 มกราคม 2553 จำนวน 114,211 ราย
- 15 มกราคม 2553 จำนวน 104,514 ราย
- 16 มกราคม 2553 จำนวน 98,421 ราย
- 17 มกราคม 2553 จำนวน 110,231 ราย
- 18 มกราคม 2553 จำนวน 120,147 ราย
ซึ่งจากจำนวนผู้ประกอบการชาวไทยที่เข้าร่วมงานส่วนใหญ่มีความพอใจอยู่ในระดับดีมาก และสนใจร่วมงานในครั้งต่อไป เพื่อเป็นการขยายตลาดของธุรกิจส่งออกไทยให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
5.1 บรรยากาศทั่วไป ผู้เข้าร่วมงานมีความรู้สึกประทับใจในความหลากหลายของสินค้า เนื่องจากสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดอินเดียอยู่แล้ว อีกทั้งราคาที่เหมาะสม ไม่แพงจนเกินไป และจากการสังเกตการณ์ภาย Thai Pavilion ประเภทของสินค้าที่ผู้เข้าชมงานให้ความสนใจเป็นพิเศษ จะเป็นสินค้าของตกแต่งบ้าน ของใช้ภายในบ้าน ผลิตภัณฑ์สปา และอัญมณีและเครื่องประดับ นอกจากนั้นในส่วนของกิจกรรมสาธิตการทำอาหารไทยก็มีผู้เข้าชมงานให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นสีสันของานในครั้งนี้ และเป็นจุดดึงดูดให้มีผู้เข้าร่วมชมงานได้เป็นอย่างดี
5.2 ประมาณการยอดขาย และมูลค่าคำสั่งซื้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายใน 1 ปี สรุปได้ดังนี้
1) มูลค่าการสั่งซื้อทันที ประมาณ 6,060,394 รูปี หรือประมาณ 4,329,678 บาท
2) มูลค่าการสั่งซื้อภายใน 1 ปี ประมาณ 27,830,399 รูปี หรือประมาณ 19,875,025 บาท
5.3 ความเห็นของผู้ประกอบการส่งออก
ผู้ประกอบการส่งออกได้ให้ความเห็นว่า การประชาสัมพันธ์ในการจัดงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีสื่อหนังสือพิมพ์เป็นของตนเอง จึงทำให้มีผู้เข้าชมงานถึงวันละประมาณ 1 แสนคน อีกทั้งยอดขายยังเป็นที่น่าพอใจ และเสนอให้กรมส่งเสริมการส่งออกเข้าร่วมงานในปีหน้า เพราะเนื่องจากในครั้งนี้ได้รับการตอบรับจากชาวอินเดียและเมืองใกล้เคียงเป็นอย่างดี
6.1 ผู้ประกอบการส่งออกต้องการให้มีการจัดงานแสดงสินค้าไทย Made in Thailand ที่เมืองเจนไนในเดือนกันยายน 2553 และเข้าร่วมงาน Smart Shoppers Expo ทุกปี เพื่อเป็นการสร้าง Brand ไทยให้ติดตลาดอย่างต่อเนื่อง และเป็นการขยายตลาดส่งออกสินค้าไทยให้มากยิ่งขึ้น
6.2 ควรมีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย เนื่องจากเป็นค่านิยมของคนรุ่นใหม่ในการมาเที่ยวเมืองไทย อีกทั้งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับ Brand ไทยด้วยอีกทางหนึ่ง
ที่มา: http://www.depthai.go.th