ภาวะเศรษฐกิจของประเทศจีนและมณฑลกวางตุ้งของปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 4, 2010 16:53 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.1 GDP

ในปี 2552 GDP ของประเทศจีนรวม 33,535,300 ล้านหยวน เทียบกับปี 2551 เพิ่มขึ้น 8.7% โดยแยกเป็น

  • ด้านการเกษตร 3,547,700 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 4.2%
  • ด้านอุตสาหกรรม 15,695,800 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 9.5%
  • ด้านธุรกิจบริการ 14,291,800 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 8.9%

1.2 การลงทุนด้านทรัพย์สินถาวร

การลงทุนด้านทรัพย์สินถาวรรวม 22,484,600 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 30.1% โดยแยกเป็น

  • ในเขตเมือง 19,413,900 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 30.5%
  • ในเขตชนบท 3,070,700 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 27.5%

1.3 การค้าปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภค

มูลค่าค้าปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภครวม 12,534,300 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 15.5% โดยแยกเป็น

  • ในเขตเมือง 8,513,300 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 15.5%
  • ในเขตชนบท 4,021,000 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 15.7%

1.4 การนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศจีน-ทั่วโลก

มูลค่าการนำเข้าส่งออกรวม 2,207,266 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -13.9% โดยแยกเป็น

  • มูลค่าการนำเข้ารวม 1,005,603 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -11.2%
  • มูลค่าการส่งออกรวม 1,201,663 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -16%

ประเทศจีนได้ดุลการค้า 196,060 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับปี 2551 ลดลง —99,399 ล้านเหรียญสหรัฐ

1.5 การนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศจีน-ประเทศไทย

มูลค่าการนำเข้าส่งออกรวม 38,204 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง —7.5% โดยแยกเป็น

  • มูลค่าการนำเข้ารวม 24,897 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -3%
  • มูลค่าการส่งออกรวม 13,307 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง —14.9%

ประเทศจีนขาดดุลการค้า 11,589 ล้านเหรียญสหรัฐ

1.6 รายได้เฉลี่ยต่อหัว

  • ในเขตเมือง 17,175 หยวน เพิ่มขึ้น 9.8%
  • ในชนบท 5,153 หยวน เพิ่มขึ้น 8.5%
2. ภาวะเศรษฐกิจของมณฑลกวางตุ้ง

2.1 GDP

ในปี 2552 GDP ของมณฑลกวางตุ้งรวมทั้งหมด 3,908,159 ล้านหยวน เทียบกับปี 2551 เพิ่มขึ้น 9.5% โดยแยกเป็น

  • ด้านการเกษตร 200,602 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 4.9%
  • ด้านอุตสาหกรรม 1,927,048 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 8.7%
  • ด้านธุรกิจบริการ 1,780,509 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 11%

2.2 การลงทุนด้านทรัพย์สินถาวร

การลงทุนด้านทรัพย์สินถาวรรวม 1,336,678 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 9.5% โดยแยกเป็น

  • ในเขตเมือง 1,040,374 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 18.2%
  • ในเขตชนบท 296,304 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 24.5%

2.3 การค้าปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภค

มูลค่าค้าปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภครวม 1,277,220ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 20.3% โดยแยกเป็น

  • ในเขตเมือง 901,048 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 19.8%
  • ในเขตอำเภอ 58,277 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 27.6%
  • ในเขตตำบลและหมู่บ้าน 317,894 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 20.6%

2.4 การนำเข้าส่งออกระหว่างมณฑลกวางตุ้ง-ทั่วโลก

มูลค่าการนำเข้าส่งออกรวม 611,118 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 27.7% ของทั่วประเทศจีนเทียบกับปี 2551 ลดลง-10.8% โดยแยกเป็น

-มูลค่าการนำเข้ารวม 252,162 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง —9.7%

-มูลค่าการส่งออกรวม 358,956 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง —11.5%

มณฑลกวางตุ้งได้ดุลการค้า 106,793 ล้านเหรียญสหรัฐ

2.5 ภาวะการค้าระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับไทย

มูลค่าการนำเข้าส่งออกรวมทั้งหมด 12,898 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 33.7% ของยอดการนำเข้าส่งออกระหว่างไทย-จีน ลดลง -2.2% เมื่อเทียบกับปี 2551 โดยแยกเป็น

  • การนำเข้าจากไทยรวม 9,499 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.3%
  • การส่งออกไปไทยรวม 3,399 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง —8.6%

มณฑลกวางตุ้งขาดดุลการค้า 6,100 ล้านเหรียญสหรัฐ

2.6 การนำเข้าสินค้าเกษตรของไทย

  • ปริมาณการนำเข้าผลไม้ไทยรวม 476,413 ตัน มูลค่ารวม 405.96 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 68.4% และ 69.6% ตามลำดับ
  • ปริมาณการนำเข้าข้าวไทยรวม 283,066 ตัน มูลค่ารวม 172.78 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.7% และ 7.3% ตามลำดับ
  • ปริมาณการนำเข้ามันสำปะหลังรวม 295,644 ตัน มูลค่ารวม 87.21ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 81.6% และ 36.3% ตามลำดับ
  • ปริมาณการนำเข้ายางพารารวม 71,696 ตัน มูลค่ารวม 111.09 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณเพิ่มขึ้น 10.4% และมูลค่าลดลง —12.8% ตามลำดับ
3. ความเห็น

3.1 ปัจจุบันอาเซียนและไทยถือเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตของจีนสินค้าส่งออกหลักๆ ไปจีนเป็นสินค้าขั้นกลางและสินค้าทุนที่จีนใช้ผลิตและส่งออกไปยังตลาดโลก สำหรับสินค้าส่งออกของไทยไปจีนสำคัญอันดับต้นๆ เป็นสินค้าวัตถุดิบ/ขั้นกลางที่ใช้ในภาคการผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติกแผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง

3.2 สินค้าผลไม้ไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีน ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น 68.4 % โดยเฉพาะทุเรียนกับมังคุด มูลค่าการนำเข้าสูงถึง 122.49 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 123.52 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.8 และ 151.3 ตามลำดับ นอกจากนี้ มูลค่าการนำเข้าลำใยลำใยสูงถึง 100.53 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34

3.3 ปี 2553 เป็นปีแรกที่อาเซี่ยนและจีนต้องลดภาษีสินค้านำเข้าให้เหลือร้อยละ 0 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำเข้าสินค้าไทย และเชื่อว่าจีนจะมีการนำเข้าสินค้าไทยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสินค้านำเข้าส่วนใหญ่ จะไม่มีกำแพงภาษีต่อไป แต่ขณะเดียวกัน ประเทศไทยคงต้องระวังสินค้าจีนที่จะทะลักเข้าสู่ตลาดไทยเหมือนกัน โดยเฉพาะสินค้าเส้นใย สิ่งทอ เสื้อผ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นต้น ซึ่งจุดขายของสินค้าจีนคือราคาถูก และจุดขายดังกล่าวเป็นส่งสำคัญในการดึงดูดผู้บริโภคด้วย

ทั้งนี้ สถิติการนำเข้า/ส่งออก สินค้าเกษตร และสินค้า 15 อันดับแรกระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับประเทศไทย ตามเอกสารแนบ

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ