มีมูลค่ารวมประมาณ 5,000 ล้านยูโรต่อปี
สเปนเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับอันดับที่ 18 ของโลก และลำดับที 4 ของยุโรป รองจากอิตาลี สหราชอาณาจักร และสวิสเซอร์แลนด์ โดยคิดเป็นมูลค่าตลาดประมาณ 1,600-1,700 ล้านยูโร/ปี จากโรงงานผลิต 4,000 แห่งและมีการจ้างงาน 32,000 คน ส่วนมากเป็นธุรกิจขนาดย่อมของครอบครัวที่มีลูกจ้างไม่เกิน 5 คน ส่วนกิจการที่มีลูกจ้างมากกว่า 10 คนมีเพียงร้อยละ 10 แต่ถ้านับธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้จะมีมากถึง 20,000 รายและมีการจ้างงานถึง 200,000 คน ยังไม่รวมอีก 175,000 คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทางอ้อม ผลผลิตในประเทศต่อปีคิดเป็นน้ำหนักประมาณ 40-50 ตัน สินค้าส่วนมากทำด้วยทองและเงิน ส่วนอัญมณีและวัตถุดิบอื่นๆ นำเข้าจากต่างประเทศ
เมืองคอร์โดบา เป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับขนาดเล็กและชนิดที่ทำด้วยเงิน เมืองบาเลนเซีย เป็นแหล่งผลิตสินค้าระดับคุณภาพปานกลาง-สูง กรุงมาดริดเป็นศูนย์กลางเครื่องประดับและนาฬิการะดับสูง นครบาร์เซโลนาเป็นแหล่งผลิตสินค้าระดับบนที่มีชื่อเสียงในการออกแบบที่ทันสมัย และแคว้นกาลิเซียเป็นแหล่งผลิตอัญมณีและเครื่องประดับระดับบนเช่นกัน
จุดแข็งของสินค้าสเปน คือ มีคุณภาพสูง ส่วนมากใช้แรงงานฝีมือ และมีรูปแบบทันสมัย
ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่ารูปแบบธุรกิจขนาดย่อมที่เป็นของครอบครัวจะค่อยๆ เลือนหายไป เนื่องจากปรับตัวไม่ทันกับเทคโนโลยีและระบบบริหารจัดการสมัยใหม่ รวมทั้งการสร้างภาพลักษณ์ของตราสินค้า ซึ่งประการหลังนี้ถือเป็นจุดวัดความสำเร็จในการแสดงถึงความแตกต่างและชื่อเสียงที่เป็นที่ยอมรับท่ามกลางการแข่งขัน อาทิเช่น Carrera y Carrera, Tous, Majorica, Lotus, Calipso และ Festina เป็นต้น
ในปี 2551 สเปนนำเข้ามูลค่า 940 ล้านยูโร คิดเป็นนำหนัก 18,727 ตัน แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ จีน อิตาลี เยอรมนี อินเดีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย และไทย ขณะที่ส่งออกเป็นมูลค่า 490 ล้านยูโร คิดเป็นน้ำหนัก 5,641 ตัน โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิตาลี โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ เม็กซิโก เยอรมนี และ เนเธอร์แลนด์
ร้อยละ 60 ของการนำเข้าจะผ่านผู้นำเข้าซึ่งขณะเดียวกันก็มีฐานะเป็นผู้ค้าส่งด้วย ส่วนผู้ค้าปลีกก็มีแนวโน้มว่าจะเดินทางออกไปซื้อสินค้ามาจำหน่ายเองเพิ่มขึ้น
ขณะนี้นิยมรูปแบบสินค้ารูปทรงเราขาคณิต แบบคลาสสิค หรือ แบบบาร็อก ย้อนยุคในสมัยทศวรรษ 1920 ทั้งนี้ เพชร พลอยสี และไข่มุกก็ยังคงได้รับความนิยมมาโดยตลอดแนวโน้มเครื่องประดับยุคใหม่จะสอดแทรกวัสดุใหม่ ได้แก่ ยาง โลหะใหม่ๆ และพลาสติกเข้ามาเป็นส่วนผสมมากขึ้น เพื่อพัฒนารูปแบบให้ดูทันสมัยร้อยละ 60 ของผู้บริโภคเป็นผู้หญิง ที่กลับมานิยมเครื่องประดับทำด้วยทองคำสีเหลืองมากกว่าทองคำขาวอีกครั้ง
ช่วงที่ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าสูงสุดคือเทศกาลคริสต์มาส รองลงมาคือวันแม่ในเดือนพฤษภาคม รวมทั้งช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน-กรกฎาคม ที่เป็นฤดูการแต่งงาน นอกจากนั้น ก็เป็นช่วงวันสำคัญอื่นๆได้แก่ วันวาเลนไทน์และวันพ่อในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
สินค้าที่เป็นที่นิยมแบ่งตามประเภทต่างๆได้ดังนี
- แหวน (60%)
- ตุ้มหู (20%)
- จี้ (10%)
- กำไลข้อมือ (10)
ในแง่ของอัญมณี เพชรยังคงได้รับความนิยมสูงสุด รองลงมาเป็นพลอยสีน้ำเงิน ทับทิม และมรกต ส่วนหินสี ได้แก่ พลอยสีม่วง บุษราคัม และโกเมน นอกจากนั้น ไข่มุกหลากสีก็เป็นที่นิยมเช่นกัน
ผลผลิตในประเทศร้อยละ 80-90 จะซื>อขายอยู่ภายในประเทศ ส่วนสินค้าส่งออกส่วนมากส่งไปจำหน่ายในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปด้วยกัน
ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ยอดจำหน่ายสินค้าระดับปานกลางจะหดตัวมากถึงร้อยละ 35 ขณะที่สินค้าระดับบนกลับไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากผู้บริโภคที่มีกำลังซื>อสูงสามารถเลือกซื้อของดีได้ในราคาที่ถูกลง รวมทั้งผู้บริโภคจากฝรั่งเศส รัสเซีย และสหราชอาณาจักร ที่เข้ามาซื้อสินค้าจะสามารถประหยัดค่าภาษีที่ต่ำกว่าประเทศของตน
ในปี 2552 ผลพวงจากพิษเศรษฐกิจ ทำให้การนำเข้าวัตถุดิบตกลงทุกประเภทโดยรวมร้อยละ 40 โดยมีสินค้าหลักได้แก่ ทอง (-57%) เพชร (-41%) และไข่มุก (-43%) ขณะเดียวกัน การนำเข้าเครื่องประดับเงินสำเร็จรูปกลับเพิ่มขึ้>น 51% แต่เครื่องประดับทองสำเร็จรูปลดลง -22%
ผู้นำเข้า/ผู้ค้าปลีก จะบวกกำไรประมาณ 80-100% ส่วนผู้ค้าปลีกจะบวกเพิ่มอีก 100-140%
อิตาลี และเดนมาร์ก เป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดเหนือประเทศอื่นๆ รองลงมาได้แก่ ฝรั่งเศสอินเดีย ไทย จีน ฮ่องกง และตุรกี ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดว่าข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดในการแข่งขันคือการออกแบบ
ส่วนตลาดเพชรขนาดใหญ่ มีอิสราเอลเป็นแหล่งนำเข้าหลัก ขณะที"เพชรขนาดเล็กจะนำเข้าจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่
- อัญมณี ไม่มีภาษีนำเข้า
- เครื่องประดับแท้ เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 2.5 ยกเว้นประเทศที่ได้รับสิทธิ์ GSP
- เครื่องประดับเทียม เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 4 ยกเว้นประเทศที่ได้รับสิทธิ์ GSP
- ผู้นำเข้า รับรู้ได้ว่าผู้ส่งออกและภาครัฐของไทยให้ความสำคัญในการพัฒนาและมุ่งสร้างภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง
- สินค้าไม่มีข้อแตกต่างที่ชัดเจนหรือตราสินค้าของตนเอง
- ระดับราคาสูงกว่าคู่แข่งจากเอเชีย เช่น จีนและอินเดีย
- ยังไม่มีระบบมาตรฐานการควบคุมและรับประกันพลอยสีว่าเป็นของแท้
- ผู้ส่งออกไทยไม่สามารถใช้ภาษาสเปนในการนำเสนอสินค้า ตอบข้อสนเทศ หรือเจรจาการค้า และอาจเป็นสาเหตุให้ผู้ส่งออกไทยไม่ได้ให้ความสนใจกับตลาดนี้ เท่าที่ควร
Opportunities - ตลาดสเปนยังเปิดรับสินค้าใหม่ๆที่มีการออกแบบดีและระดับราคาไม่สูงนัก
- ผู้ผลิตสินค้าแฟชัน่ เสื้อผ้าที่มีตราสินค้าที่โด่งดัง ได้เริ่มรุกตลาดเครื่องประดับอย่างจริงจังถือเป็นการขยายไลน์สินค้าและสามารถตั>งราคาสินค้าได้สูงกว่าเครื่องประดับทั่ว ไปที่ไม่มีตราสินค้า
- สภาพเศรษฐกิจของสเปนยังไม่หลุดพ้นจากภาวะวิกฤต จนกว่าจะพ้นกลางปี 2553
ที่มา: http://www.depthai.go.th