ตลาดสินค้าเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 5, 2010 16:26 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ขนาดของตลาด

สหรัฐฯ เป็นผู้นำอุตสาหกรรมพลาสติกของโลก อุตสาหกรรมมีมูลค่าประมาณร้อยละ 2.6 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์รวมประชาชาติ (Gross Domestic Product) ของสหรัฐฯ หรือประมาณ 380 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยประมาณร้อย 3.5 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับพลาสติกประมาณ 18,200 แห่งทั่วประเทศ และมีการจ้างงานประมาณ 710,000 คน

2. ช่องทางการจัดจำหน่าย
3. พฤติกรรมการบริโภค

กระแสความยั่งยืน (Sustainable) ซึ่งปัจจุบันเป็นเรื่องที่วงการอุตสาหกรรมพลาสติกให้ความสนใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตและความต้องการของผู้บริโภค

การผลิต: ผู้ผลิตปรับกระบวนการผลิตการลดของเสีย (Waste) เพื่อลดภาวะโลกร้อน

ผู้บริโภค: ต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติกที่สนับสนุนต่อการรักษาสภาพแวดล้อม หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปปรับสภาพ (Recycle) และนำกลับมาใช้ได้

4. การค้าในประเทศ ราคาขายปลีก

สหรัฐฯนำเข้าพลาสติกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 เป็นมูลค่า 21.0 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ -23.0 แยกเป็นการนำเข้าเม็ดพลาสติก 5.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ ผลิตภัณฑ์พลาสติก 14.99 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีแหล่งนำเข้าพลาสติกที่สำคัญ ได้แก่ จีน (28%) แคนาดา (26%) เม็กซิโก (9%) เยอรมนี (5%) รวมทั้งจากประเทศไทย (1%)

สหรัฐฯส่งออกพลาสติกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 เป็นมูลค่า 31 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ -23.07 แยกออกเป็นการส่งออกเม็ดพลาสติก 18.0 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ ผลิตภัณฑ์พลาสติก 13.0 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เม็กซิโก (22%) แคนนาดา (21%) จีน (10) และ ไทย (0.65%)

การค้าขายเม็ดพลาสติกเป็นการซื้อขายระหว่างผู้ผลิตหรือผ่านกลางไปยังผู้ใช้ (โรงงานอุตสาหกรรม) ไม่มีการจำหน่ายในระดับค้าปลีก ดังนั้นราคาที่จำหน่ายจึงไม่ใช่ราคาขายปลีก แต่เป็นราคาขายส่ง ส่วนราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์พลาสติกเริ่มตั้งแต่ 0.01 เหรียญสหรัฐฯต่อชิ้นสินค้าเป็นต้นไป

5. ระดับราคาขายส่ง-ขายปลีก

ราคาเม็ดพลาสติกขึ้นอยู่ประเภทของพลาสติก เกรดพลาสติก และปริมาณการซื้อ เช่น ABS จะมีราคาขายส่งเฉลี่ยให้โรงงาน 1.43 เหรียญสหรัฐฯต่อการซื้อน้อยกว่า 10,000 ปอนด์ และ ราคาเฉลี่ย 0.96 เหรียญสหรัฐฯ หากการซื้อระหว่าง 10,000 - 100,000 ปอนด์ รายละเอียดราคาของเม็ดพลาสติกชนิดอื่นๆ โปรดดูจากเอกสารแนบ

เนื่องจากผลิตภัณฑ์พลาสติกมีจำนวนมากมายมหาศาล และหลากหลายชนิด ทั้งขนาดและรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีผลต่อราคาขายส่งและขายปลีก อีกทั้งราคาผันแปรไปปริมาณ รูปแบบ และ ความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ถึงแม้ว่าสินค้าชนิดเดียวกัน แต่ผู้ขายคนละคน ราคาอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่สามารถบ่งบอกราคาที่แน่นอนได้

6. สถานการณ์การแข่งขันในตลาด

ผู้นำตลาดการผลิตเม็ดพลาสติกสหรัฐฯ รายสำคัญในสหรัฐฯ คือ DuPont, Dow Chemicals และ Exxon Mobil Chemicals ซึ่งมีผลผลิตประมาณร้อยละ 60 ของตลาด ผู้ผลิตอื่นที่สำคัญ คือ BASF, EMS Grivoy, Lyondell Basell และ PolyOne ผู้ผลิตต่างประเทศเข้ามาตั้งโรงงานพลาสติกในสหรัฐฯ ได้แก่ อังกฤษ เยอรมัน อิตาลี่ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน จีน และ สิงคโปร์ มีจำนวนกว่า 50 โรงงาน ผู้ผลิตสหรัฐฯ ครองตลาดเม็ดพลาสติกในสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 85 และอีกร้อยละ 15 เป็นของตลาดนำเข้าจากเอเซีย ยุโรป และ ภูมิภาคอเมริกา

ตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกมีการแข่งขันที่เข้มข้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์พลาสติกใช้ในบ้านหรือมีขนาดเล็ก ถูกสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเข้ามาแข่งสูง ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสหรัฐฯยังคงครองตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีรูปแบบ รูปทรงขนาดใหญ่ บริษัท Rubbermaid, US Plastic Corp. แลเ Pactiv เป็นผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกในสหรัฐฯ

7. มาตรการด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี

7.1 ด้านภาษี: สหรัฐฯเรียกเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าสินค้าพลาสติกไทย ในอัตราร้อยละ 0.0 - 25.0 เม็ดพลาสติกบางชนิด และ ผลิตภัณฑ์พลาสติกหลายชนิดได้รับการยกเว้นภาษี GSP

7.2 ไม่ใช่ภาษี:

  • ภาษีทุ่มตลาด (Anti Dumping Duty) สินค้าถุงพลาสติกไทยถูกเรียกเก็บ
  • ระเบียบการควบคุมด้าน Solid Waste ของ U.S Environment Protection Agency
  • ระเบียบห้ามใช้ถุงพลาสติก Shopping Bag ของรัฐบาลท้องถิ่นในสหรัฐฯ
  • การทดสอบมาตรฐานพลาสติกของสินค้าพลาสติก ABS
8. SWOT สถานการณ์สินค้าพลาสติกและผลิตภัณฑ์ไทยในสหรัฐฯ

จุดแข็ง

1. มีการผลิตเม็ดพลาสติกที่หลากหลายทั้งเม็ดพลาสติกเกรดทั่วไปและเกรดพิเศษ มีวัตถุดิบพร้อม อีกทั้งมีอุตสาหกรรมปลายทางในประเทศที่มีศักยภาพและมูลค่าเพิ่มสูง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรกนิกส์มีวัตถุดิบเพียงพอและหลากหลาย

2. ต้นทุนการผลิตโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ดำรงฐานะการแข่งชันได้

3. มีระดับเทคโนโลยีการผลิตที่ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ

4. เป็นอุตสาหกรรมแบบครบวงจรก่อให้เกิดความได้เปรียบในด้านต้นทุน

จุดอ่อน

1. ขาดการพัฒนาด้านนวตกรรม ไม่มีการวิจัยค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ขาดเทคโนโลยี่ขั้นสูง

3. ยังไม่สามารถพัฒนากระบวนการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ในสถานการ์ปัจจุบัน เช่น การลดต้นทุน การประหยัดพลังงาน การพัฒนาหีบห่อเพื่อสนองต่อการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขาดการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์

4. อุตสาหกรรมสนับสนุนไม่แข็งแรง (แม่พิมพ์)

5. ขาดระบบรับรองมาตฐานคุณภาพที่ยอมรับจากสากล

6. ไม่มีแหล่งวัตถุดิบคือน้ำมันดิบเป็นของตนเอง จึงต้องพึ่งพิงการนำเข้า

โอกาส

1. สหรัฐฯ เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีกำลังซื้อสูงและตลาดสมารถรองรับผลิตภัณฑ์พลาสติกรูปแบบต่างๆ) และผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปหรือเป็นส่วนประกอบในการผลิต อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกาย รองเท้า วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องเขียน ของเล่น เครื่องกีฬา บรรจุภัณฑ์ อาหารแปรรูป ฯลฯ

2. ตลาดสหรัฐฯ มีกฎระเบียบที่จะเป็น อุปสรรรคต่อการขยายตลาดน้อยกว่าตลาดยุโรป

3. ตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกในสหรัฐฯ มีความน่าสนใจ และมูลค่าการนำเข้าสูงกว่าเม็ดพลาสติก

อุปสรรค

1. ประสบปัญหาด้านความครอบคลุมของโครงสร้าง พื้นฐานซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติก

2. นโยบายลดการใช้แพคเกจจิ้งหรือบรรจุภัณฑ์และถุงพลาสติกที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ

3. อุตสาหกรรมพลาสติกไทยด้อยกว่าสหรัฐฯเป็นผู้นำเทคโนโลยี่และตลาดพลาสติก ในด้านการวิจัยและพัฒนา จะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาด

4. ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มต่อเนื่องเป็นผลให้ราคาเม็ดพลาสติกสูง ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสูง

5. ค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากขึ้นทำให้สินค้าส่งออกของไทยมีราคาแพงขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศคู่แข่ง เช่น จีน เวียดนาม

6. มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด หรือ Antidumping AD ซึ่งประเทศไทยถูกเรียกเก็บภาษีถุงพลาสติกในปัจจุบัน

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ