สินค้าอาหารในตลาดสเปน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 8, 2010 14:05 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ขนาดของตลาด

มีมูลค่าประมาณ 87,000 ล้านยูโรต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 7.6 ของ GDP หรือร้อยละ 16.4 ของอุตสาหกรรมโดยรวมทั้งประเทศ

สัดส่วนการบริโภคของภาคครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 73 รองลงมาเป็นการบริโภคของภาคธุรกิจร้านอาหารและการจัดเลี้ยงร้อยละ 24 และการบริโภคของสถาบันต่างๆ (เช่น กองทัพ โรงเรียนและสถานกักกัน เป็นต้น) ร้อยละ 3 ทั้งนี้ มูลค่าการเฉล=ยการบริโภคต่อหัวประมาณ 1,472 ยูโรต่อปี

อุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศมีผู้ประกอบการ 31,106 ราย และมีแรงงาน 502,150 คน

มูลค่าการค้าอาหารระหว่างประเทศร้อยละ 80 เป็นการซื.อขายกันเองกับประเทศสมาชิก EU แต่วัตถุดิบหลายประเภทต้องสั่งนำเข้าจากประเทศที่สาม

สเปนส่งออกสินค้าอาหารเป็นมูลค่า 26,787 ล้านยูโรในปี 2551 ไปยังตลาดที่สำคัญนอกจากประเทศใน EU ด้วยกันแล้ว ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกา สินค้าส่งออกหลักคือผัก/ผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ไวน์ และน้ำมันมะกอก ขณะเดียวกันก็นำเข้าอาหารเป็นมูลค่า 25,977 ล้านยูโร ส่วนมากเป็น น้ำตาล กาแฟ โกโก้ ผ่านประเทศอื่นใน EU

ผู้ค้าปลีกแบบเครือข่ายรายใหญ่ของฝรั่งเศส เป็นผู้ครองตลาดอาหารประเภทซุปเปอร์มาร์เก็ต ได้แก่ Alcampo (ของ Auchan) และ Carrefour

ช่องทางการจำหน่าย

ตลาดค้าปลีกที่ใหญ่และสำคัญที่สุดคือซุปเปอร์มาร์เก็ตซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 46 รองลงมาเป็นร้านค้าแบบดั้งเดิมขนาดย่อมร้อยละ 28 ไฮเปอร์มาร์เก็ต (17%) และอื่นๆ (9%)

ร้านค้าขนาดย่อม จะสั่งซื้อโดยตรงจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายในประเทศหรือจากประเทศใน EU ขณะที่ผู้นำเข้า/ผู้กระจายสินค้า และโรงงานผลิตที่ต้องการวัตถุดิบ จะสั่งนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ก่อนจะกระจายสินค้าต่อไปยังผู้ค้าปลีกและผู้บริโภค

พฤติกรรมผู้บริโภค

ชาวสเปนหันมาประกอบอาหารรับประทานเองที่บ้านหรือซื้ออาหารพร้อมรับประทานมากขึ้น เปลียนจากขนบธรรมเนียมเดิมที่มักจะออกไปรับประทานนอกบ้านซึ่งถือเป็นประเพณีการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง เนื่องจากสามารถประหยัดเวลาและประหยัดรายจ่ายในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

ชาวสเปนใช้จ่ายค่าอาหารเป็นเนื้อสัตว์ร้อยละ 20.8 รองลงมาเป็นมันฝรั่ง ผัก และผลไม้ (14.1%) อาหารทะเล (12.7%) และขนมปัง (6.3%) นมและผลิตภัณฑ์ (11.4%) ของหวาน (3.4%) น้ำมันมะกอก (2.3%) อาหารพร้อมรับประทาน (3%) ส่วนที่เหลือเป็น ไข่ ไวน์ เครื่องดื่ม และอื่นๆ

การออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน มีอัตราค่าใช้จ่ายเฉลี=ยเพียง 4.25 ยูโรต่อหัว โดยประเภทร้านอาหารขนาดเล็กที่หาได้โดยทั่ว ไปที่เป็นที่นิยมเรียกว่า “Bar” ซึ่งมักจะใช้เป็นสถานที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และรับประทานกับแกล้มด้วยเล็กน้อย

ประเภทร้านอาหารที่เป็นที่นิยมเรียงตามลำดับได้ดังนี้ อาหารสเปน (55%) อิตาเลียน (11%) จีน (5%) และญ=ปุ่น (4%) ท.งนี. ร้านอาหารไทย ยังไม่เป็นท=นิยมอย่างแพร่หลาย และมีจำนวนไม่มาก

สถานะของประเทศคู่แข่ง

สินค้าอาหารส่วนมากจะมาจากการผลิตในประเทศ ส่วนประเทศแหล่งนำเข้าที่สำคัญมักอยู่ใน EU ด้วยกัน โดยมีประเทศอิตาลีและฝรั่งเศส เป็นหลัก

ในซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่ว ไป จะพบเห็นสินค้าจากเอเชียน้อยมาก บางแห่งจะแบ่งส่วนเป็นสินค้าจากเอเชียโดยเฉพาะ เช่น ข้าวและซ๊อสปรุงรสต่างๆ แต่ก็มีสินค้าเพียงไม่กี่ชนิด ทั้งนี้ น่าจะมีสาเหตุมาจากมีชุมชนชาวเอเชียอาศัยอยู่เป็นจำนวนน้อย ส่วนคนท้องถิ่นทั่วไปก็ไม่คุ้นเคยกับสินค้าเหล่านี้

มาตรการภาษีและไม่ใช่ภาษี

อัตราภาษีนำเข้าหลากหลายตั้งแต่ 0-24% ขึ้นอยู่กับชนิด/ประเภทสินค้า สินค้าหลายรายการได้รับ GSP และบางรายการมีโควต้านำเข้า

อัตรา VAT มีด้วยกันสามระดับ ดังนี.

+ 4% สำหรับผัก/ผลไม้สดหรือแช่แข็ง

+ 7% สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมอาหารและเครื=องดื=ม

+ 16% สำหรับเครื=องดื=มแอลกอฮอล์

ระเบียบการนำเข้ากำหนดให้ต้องใช้เอกสารประกอบดังนี. 1) รับรองการควบคุมคุณภาพ 2) รับรองของกรมปศุสัตว์ 3) รับรองสุขอนามัย 4) การควบคุมการจับสัตว์น่ำ

ทั้งนี้ กฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าอาหารมีรายละเอียดจำนวนมากและหลากหลาย โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก xporthelp.europa.eu

วิเคราะห์สินค้าอาหารของไทย

จุดแข็ง - สินค้ามีความหลากหลายและมีคุณภาพเป็นที=ยอมรับ

จุดอ่อน - ผู้บริโภคท้องถิ=นยังไม่รู้จักสินค้าของไทยหรือแม้แต่ประเทศไทยมากนัก

  • ระดับราคาสูงกว่าคู่แข่งจากเอเชีย เช่น จีนและเวียดนาม
  • สินค้าหลายรายการมักถูกเพ่งเล็งหรือถูกกักกันหรือห้ามนำเข้า เนื=องจากไม่สะอาดหรือมีสารปนเปื.อน ทั.งนี. มีแนวโน้มจำนวนรายการสินค้าท=ถูกตรวจพบจะเพิ่มขึ้น
  • ผู้ส่งออกไทยไม่สามารถใช้ภาษาสเปนในการนำเสนอสินค้า ตอบข้อสนเทศ หรือเจรจาการค้า และอาจเป็นสาเหตุให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกไทยไม่สามารถสื=อสารกันได้เท่าที่ควร
  • กลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นชาวเอเชียในท้องถิ่นมีจำนวนน้อย ทำให้ผู้นำเข้าไม่สามารถสั่งซื้อสินค้าเป็นล็อตใหญ่ๆได้ ทำให้ต้นทุนสูง ดังนั้น ผู้ค้าปลีกบางรายต้องสั่งซื้อสินค้ามาจากประเทศใกล้เคียงที่มีฐานคนเอเชียอย่างหนาแน่นแทน เช่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน และสหราชอาณาจักร

โอกาส

  • สินค้าที่เน้นความปลอดภัยต่อชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีโอกาสในการทำตลาดมากกว่า เพราะมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องและผู้บริโภคก็เพิ่มความตระหนักในเรื่องนี้
  • อาหารแปรรูปสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าสินค้าเกษตร แต่ทำตลาดได้ยากกว่า
  • ผู้บริโภคให้ความสนใจอาหารพร้อมรับประทานมากขึ้นเป็นลำดับ
  • สินค้าที่สามารถผ่านเข้าประเทศใดประเทศหนึ่งของสหภาพยุโรปแล้ว สามารถขนย้ายไปได้โดยอิสระภายในกลุ่มประเทศสมาชิก

อุปสรรค

  • EU กำหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานสินค้า เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ=งแวดล้อมใหม่ๆตลอดเวลา
  • ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ผู้บริโภคให้ความสำคัญด้านราคาเป็นลำดับแรก
  • ระวางขนส่งสินค้าทางอากาศมีจำกัดและราคาแพง ทำให้สินค้าผลไม้สดไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากอเมริกาใต้ได้ ถึงแม้ผลไม้ไทยจะมีคุณภาพและรสชาติดีกว่าก็ตาม
  • ชาวสเปนมีความภาคภูมิใจและยึดติดกับขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของตน

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ