สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในตลาดสเปน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 8, 2010 14:32 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ขนาดของตลาด

มีมูลค่าประมาณ 16,000 ล้านยูโรต่อปี ผู้ผลิตมีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตหรือสั่งนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

ผลจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ผู้บริโภคใช้ระดับราคาเป็นตัวตัดสินใจเลือกซือสินค้าและยอมเลิกนิสัยการใช้ของดีราคาแพงชั่วคราว ส่งผลให้ราคาตลาดต่อหน่วยตกลงทุกประเภทรวมทังผู้จำหน่ายก็ต้องยอมลดอัตรากำไรลงเพื่อหวังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและจูงใจผู้ซือ

ช่องทางการจำหน่าย

ในตลาดการค้าปลีก ผู้บริโภคยังนิยมซื้อเสือผ้าจากร้านค้าเฉพาะ (Specialty Stores) มากที่สุด มีสัดส่วนร้อยละ 55 เพราะเชื่อว่าระดับคุณภาพสินค้าสูงที่สุด แต่ก็เริ่มสูญเสียตลาดให้กับร้านค้าประเภท Supermarket หรือ Hypermarket ที่เน้นสินค้าราคาถูกเป็นสำคัญ นอกจากนันการสั่งซือสินค้าทางอินเตอร์เน็ตก็มีอัตราการเจริญเติบโตสูงขึนเป็นลำดับ

บริษัทจำหน่ายเสื้อผ้าในสเปนที่ได้รับความนิยมสูงสุดล้วนตกอยู่ในมือของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ได้แก่ Inditex (เจ้าของตราสินค้า Zara และอื่นๆ), Mango, H&M, Decathlon (เสื้อผ้ากีฬาของฝรั่งเศส), Induyco (ผู้ผลิตสิ่งทอของห้างสรรพสินค้า El Corte Ingle's) เป็นต้น

ในตลาดค้าปลีกเสือผ้า พอจำแนกช่องทางการจำหน่ายและสัดส่วนได้ดังนี้

  • ร้านค้ารายย่อย 33.5%
  • เครือข่ายของเจ้าของตราสินค้า 30.5%
  • ห้างสรรพสินค้า 15.0%
  • ไฮเปอร์/ซุปเปอร์มาร์เก็ต 6.5%
  • อื+นๆ 14.5%
พฤติกรรมผู้บริโภค

นิยมซือเสือผ้าจากร้านค้าท+ตังอยู่ในห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าเพิ+มขึนเป็นลำดับขณะที+ร้านค้าอิสระขนาดย่อมจะค่อยๆหดหายไป

รูปแบบแฟชั่น เสือผ้าท+กำลังเป็นที่นิยมในทุกหมวด คือ แนวเสือผ้าลำลองหรือกึ่งสปอร์ตเพราะมีความยืดหยุ่นในแง่ของการประยุกต์สูงสามารถปรับใช้กับเสือผ้าได้ทุกประเภทและเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวางที่สุด รวมทังเสือผ้าประเภทที่ใช้สวมใส่อย่างเป็นทางการด้วย ซึ่งขณะนี้เสือผ้าแนวลำลองได้ครองสัดส่วนกว่าร้อยละ 60 ในกลุ่มเสือผ้าทุกประเภท

สถานะของประเทศคู่แข่ง

ผู้ที่ครอบครองส่วนแบ่งในตลาดสูงคือประเทศที+ได้เปรียบในแง่ต้นทุนการผลิต หรือมีข้อได้เปรียบด้านการขนส่ง หรือ เป็นประเทศเจ้าของตราสินค้าที่มีชื่อเสียง ได้แก่ จีน ตุรกี โมร็อกโค อิตาลี โปรตุเกส ฝรั่งเศส บังคลาเทศ อินเดีย และเวียดนาม เป็นต้น

ขณะนี จีนไม่เพียงเป็นแหล่งผลิตราคาถูกแต่อย่างเดียวอีกต่อไป แต่มีการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและแฟชั่น ด้วย ซึ่งจะเป็นคู่แข่งที่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ

มาตรการภาษีและไม่ใช่ภาษี

สินค้าเสือผ้าสำเร็จรูปทังผ้าถักและผ้าทอ เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 12 แต่ประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP (รวมทังไทย) เสียร้อยละ 9.6

อัตรา VAT ร้อยละ 16

ทังนี กฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าสหภาพยุโรปสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก exporthelp.europa.eu

วิเคราะห์สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทย

จุดแข็ง

  • ผู้ผลิตและแรงงานไทยมีความชำนาญและเชี่ยวชาญ และมีความสามารถในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีการส่งมอบสินค้าที่รวดเร็วและตรงเวลา

จุดอ่อน

  • ผู้บริโภคท้องถิ่นยังไม่รู้จักสินค้าของไทยหรือแม้แต่ประเทศไทยมากนัก
  • ระดับราคาสูงกว่าคู่แข่งจากเอเชีย เช่น จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม
  • ผู้ส่งออกไทยไม่สามารถใช้ภาษาสเปนในการนำเสนอสินค้า ตอบข้อสนเทศ หรือเจรจาการค้า และอาจเป็นสาเหตุให้ผู้ส่งออกไทยไม่ได้ให้ความสนใจกับตลาดนี้เท่าที่ควร
  • ไม่มีตราสินค้าของตนเองที่เป็นที่รู้จักและยอมรับในตลาด ส่วนมากจะเป็นผู้รับจ้างผลิตภายในตราสินค้าผู้อ+น ทำให้ไม่มีโอกาสสร้างมูลค่าเพิ+ม

โอกาส

  • สินค้าที่สามารถนำเสนอแฟชั่น และคุณภาพปานกลาง แต่มีราคาต่ำยังมีโอกาสขยายตลาดได้ตลอดปี 2553

อุปสรรค

  • EU กำหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานสินค้า เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ตลอดเวลา
  • ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ผู้บริโภคให้ความสำคัญด้านราคาเป็นลำดับแรก

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก สเปน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ