ข้อมูลตลาดมันฝรั่งในเขตความดูแลของสคร.ชิคาโก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 8, 2010 14:44 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. แหล่งเพาะปลูกมันฝรั่ง:
  • ในเขตความดูเลของสคร.ชิคาโก (เขตตอนกลางของประเทศ) มีพื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งประมาณ 695,500 ไร่ กระจายตามมลรัฐต่างๆ 9 มลรัฐ
คือ Illinois, Kansas, Michigan, Minnesota, Missouri, Nebraska, North Dakota, Ohio และ Wisconsin
  • แหล่งเพาะปลูกมันฝรั่งที่สำคัญ คือ มลรัฐ Wisconsin (อันดับที่ 3 ของประเทศ) มลรัฐNorth Dakota มลรัฐ (อันดับที่ 6 ของประเทศ) มลรัฐ

Minnesota (อันดับที่ 8) และ มลรัฐ Michigan (อันดับที่ 10)

2. ผลผลิตมันฝรั่ง:
  • ผลผลิตปลูกมันฝรั่งในเขตความดูเลของสคร.ชิคาโก (เขตตอนกลางของประเทศสหรัฐฯ) ในปี 2551 มีจำนวนประมาณ 9,747.80 ล้านปอนด์

(4,430.80 ล้านกิโลกรัม) หรือคิดเป็นร้อย 23.74 ของผลผลิตรวมของประเทศ

3. ประเภทมันฝรั่งที่นิยมปลูก:
  • Russet , Round White, Long White, Red, Yellow Flesh และ Purple
4. การบริโภค/ใช้มันฝรั่งของสหรัฐฯ:

ร้อยละ 43 โรงงานเพื่อแปรรูปเป็นสินค้าอาหาร หรืออื่นๆ

ร้อยละ 27 จำหน่ายเป็นมันสด (Fresh)

ร้อยละ 13 ใช้ทำ Potato Chip

ร้อยละ 12 อบแห้ง

ร้อยละ 5 ใช้เป็นเมล็ดพันธุ์

5. การกระจายสินค้ามันฝรั่งในสหรัฐฯ:

5.1 มันฝรั่งที่ปลูกในสหรัฐฯ จะถูกจัดจำหน่ายไปยังผู้ซื้อทั่วประเทศ เช่น มันฝรั่งของรัฐ Idaho ซึ่งเป็นมันที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสหรัฐฯ จึงมีความต้องการทั่วประเทศ ส่วนแหล่งเพาะปลูกขนาดเล็ก มักจะกระจายผลผลิตส่วนใหญ่ในพื้นที่เขตมลรัฐใกล้กับแหล่งเพาะปลูก

5.2 เกษตรกรมันฝรั่งจัดจำหน่ายผลผลิต แยกเป็น 2 ช่องทาง คือ (1) ขายในรูปมันสดให้แก่ Shipper หรือ Packer ซึ่งจะนำมาบรรจุถุง และจำหน่ายต่อไปให้แก่ร้านค้าปลีก ซึ่งได้แก่ ร้าน Grocery และ Supermarket และ จำหน่ายให้แก่ ธุรกิจบริการอาหาร (Foodservice) ได้แก่ ร้านอาหาร โรงแรม และ (2) ขายให้แก่โรงงานแปรรูปอาหาร ซึ่งจะนำแปรรูป เช่น บด หั่นเป็นชิ้น แช่แข็ง หรือ บรรจุกระป๋อง ต่อไป

5.3 เกษตรกรจะขายผลผลิตมันฝรั่งประมาณร้อยละ 65 ให้โรงงานแปรรูปอาหาร ซึ่งได้แก่ Food Processor, Chip Factory ที่มาจัดตั้งโรงงาน หรือไซโล ห้องเย็น ใกล้แหล่งเพาะปลูกเพื่อรับซื้อสินค้า

5.4 มันฝรั่งอีกร้อยละ 35 จะจำหน่ายเป็นมันสด (Fresh Potato) ไปยังผู้ซื้อ (Shipper/Packer ) ที่อยู่ในเขตพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งจะจัดจำหน่ายต่อไปยังลูกค้า เช่น Grocery หรือ Supermarket ทั่วประเทศ หรือเฉพาะภูมิภาคใกล้เคียงกับแหล่งเพาะปลูกใน

6. ระบบการจัดซื้อมันฝรั่งในสหรัฐฯ

การซื้อ-ขายมันฝรั่งของสหรัฐฯ แยกเป็น 2 วิธี คือ (1) การซื้อ-ขายแบบมีข้อตกลง (Sales Contract) และ (2) การตกลงซื้อขายเป็นไปตามกลไกตลาด (Demand/Supply)

การซื้อ-ขายแบบมีข้อตกลง (Sales Contract): การซื้อขายมันฝรั่งในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ เป็นแบบการซื้อ-ขายแบบมีข้อตกลง (Sales Contract) คือซื้อผลผลิตอย่างเดียว ไม่รวมไปถึงการจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ วิธีการนี้เป็นวิธีที่โรงงานแปรรูปอาหาร (ซึ่งใช้มันประมาณเป็น 2 ใน 3 ของผลผลิตมันทั้งหมด) นิยมใช้ในการซื้อผลผลิตมันฝรั่งในสหรัฐฯ ซึ่งผู้ซื้อและเกษตรกรมันฝรั่งจะมีความตกลงซื้อ-ขายผลผลิตมันฝรั่งในปริมาณและราคาไว้ล่วงหน้าก่อนฤดูการเก็บเกี่ยว เกษตรกรนิยมขายด้วยวิธีนี้ เนื่องจาก ปริมาณขายมีจำนวนมาก ได้รับรายได้ที่แน่นอน และมีความเสี่ยงต่ำ แต่ราคาที่เกษตรกรได้รับจะต่ำกว่าการขายแบบตามกลไกตลาด อนึ่ง ข้อตกลงการซื้อ-ขายเพาะปลูก

การซื้อขายตามกลไกตลาด (Demand/Supply) ผลผลิตมันประมาณ 1 ใน 3 ของผลผลิตรวมจะซื้อ-ขายแบบตามกลไกตลาด (Demand/Supply) ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมใช้กับการซื้อ-ขายมันสด (Fresh Potato)

                  ราคาขายมันสด                      ราคาขายโรงงานแปรรูป
          กันยายน 2551 0.44 เหรียญฯ ต่อ กก.           0.13 เหรียญฯ ต่อ กก.
          กันยายน 2552 0.21 เหรียญฯ ต่อ กก.           0.15 เหรียญฯ ต่อ กก.

7. ข้อสังเกต

1. มันฝรั่งเป็นสินค้าเกษตรกรรมที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ให้ความสำคัญอยู่ในลำดับต้นๆ ภาครัฐให้ความช่วยเหลือในด้านการวิจัยและค้นคว้า ให้คำแนะนำ ข้อมูลตลาด และ การผลักดันการส่งออก ให้แก่เกษตรกรมันฝรั่ง รวมไปถึงการคาดการณ์ปริมาณการผลิตรวม และ ความต้องการบริโภคของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลดีต่อเกษตรกร ในด้านการรักษาระดับราคาผลผลิต และ ปริมาณการเพาะปลูกนอกจากนั้นแล้ว รัฐบาลมลรัฐที่ทำเกษตรกรรมปลูกมันฝรั่งจะจัดตั้งกรม/กองขึ้นมารับผิดชอบและอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรมันฝรั่ง อีกทั้ง กลุ่มเกษตรกรมันฝรั่งมีการรวมตัวจัดตั้งสมาคมขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือสมาชิก

2. กลุ่มผู้ซื้อหรือผู้ใช้มันฝรั่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า จะไปตั้งโรงงานแปรรูป ไซโล และ ห้องเย็น ใกล้เขตการเพาะปลูกมัน เพื่อรับซื้อผลผลิตป้อนเข้าโรงงานเพื่อแปรรูป เพื่อประโยชน์ในด้านการลดต้นทุนการผลิต และ การขนส่ง

3. ราคามันฝรั่งของรัฐ Idaho และ Washington ซึ่งรวมกันคิดเป็นประมาณร้อยละ 55 ของผลผลิตรวมของประเทศ เป็นดัชนีสำคัญในการกำหนดราคาตลาดมันฝรั่ง หากผลผลิตมันฝรั่งของรัฐทั้งสองมีจำนวนมาก ราคามันฝรั่งจะต่ำ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาของแหล่งปลูกมันอื่นๆ

4. ผลผลิตมันร้อยละ 65 ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของเกษตรกร ในขณะที่ผลผลิตส่วนน้อยขายในรูปมันสด จึงควรพิจาณาแนวทางนี้มาประยุกต์กับประเทศไทย

ข้อเสนอและคิดเห็น

1. ภาครัฐต้องให้ความสำคัญ และให้การสนับสนุนเกษตรกรมันฝรั่งในด้านข้อมูลครบวงจร เช่น การคาดการณ์ปริมาณการผลิตรวม และ ความต้องการบริโภคของประเทศ

2. สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอาหารแปรรูปที่ใช้มันฝรั่งรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในรูป ข้อตกการขาย (Sales Contract)

3. ชักชวนให้โรงงานแปรรูปอาหารที่ใช้มันฝรั่งเข้าไปตั้งโรงงาน หรือไซโล ใกล้แหล่งเพาะปลูก

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก ข้อมูล   SAS  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ