ปีนี้พบว่าพฤติกรรมการใช้จ่ายได้แตกต่างไปจากเดิม สคร. มิลาน จึงได้ศึกษาเสนอแนะแนวการปรับตัวสาหรับตลาดของขวัญ
เทศกาลคริสต์มาสถือเป็นเทศกาลที่มีความสาคัญเป็นอย่างมากสาหรับชาวคริสต์ โดยมีการจัดเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ สาหรับการร่วมฉลองเทศกาลคริสต์มาสของผู้ที่ไม่ได้เป็นคริสต์อาจจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนา แต่เป็นการฉลองเทศกาลที่ได้พัฒนากลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประจาปี การที่วันคริสต์มาสเป็นเทศกาลแห่งการให้ของขวัญและการตกแต่งบรรยากาศ จึงส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจในประเทศมีปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้น เทศกาลคริสต์มาสจึงกลายเป็นกิจกรรมหลักอย่างหนึ่งของผู้ค้าปลีก
แต่อย่างไรนั้น ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ยังคงอยู่ ส่งผลให้ประชาชนไตร่ตรองมากขึ้นถึงความจาเป็นในการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคในช่วงคริสต์มาส จึงพบว่าคริสต์มาสปีนี้ชาวอิตาเลียนมีพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป
ชาวอิตาเลียนให้ความสาคัญกับเทศกาลคริสต์มาสเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นเทศกาลที่มีความสาคัญทางด้านศาสนา โดยปกติชาวอิตาเลียนจะเข้าโบสถ์เพื่อประกอบพิธีทางศาสนา นอกจากนั้น มีการจัดเตรียมซื้อของขวัญ และตกแต่งประดับประดาบ้านเรือน ร้านค้า และถนนการค้าที่สาคัญด้วยดวงไฟหลายสีสันและต้คริสต์มาส
โดยปกติชาวอิตาเลียนจะเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส (วันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี) กับสมาชิกในครอบครัว โดยจะรับประทานอาหารกลางวันและมอบของขวัญให้แก่สมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้องและเพื่อน ซึ่งเทศกาลดังกล่าว ยังถือเป็นโอกาสดีที่สมาชิกในครอบครัวจะมารวมตัวกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา
ปี 2552 อิตาลียังคงต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก แต่อย่างไรนั้น ชาวอิตาเลียนยังคงให้ความสาคัญกับเทศกาลคริสต์มาสเป็นอย่างมาก โดย 7 ใน 10 ของครอบครัวชาวอิตาเลียนยังคงจับจ่ายซื้อของขวัญตามปกติ ซึ่งช่วงเวลาก่อนวันคริสต์มาสจะพบว่าตามถนนการค้าที่สาคัญ ร้านค้า ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ จะมีการตกแต่งประดับประดาดวงไฟหลากสีสันและเต็มไปด้วยผู้คนที่มาจับจ่ายซื้อของขวัญเป็นจานวนมาก
จากข้อมูลของ Confcommercio- Imprese per l'Italia (Confederazione Generale Italiana delle Imprese, delle Attivita Professionali e del Lavoro Autonomo) ได้คาดการณ์ถึงการใช้จ่ายของครอบครัวชาวอิตาเลียนในช่วงเทศกาลคริสต์มาสปี 2552 มีมูลค่าประมาณ 31 ล้านยูโร (+0.6%) เปรียบเทียบจากปีก่อนหน้า (30.8 ล้านยูโร) โดยมูลค่าดังกล่าว แบ่งเป็นการใช้จ่ายสินค้าตามแหล่งต่างๆ ดังนี้
1) ร้านค้า ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ 12.2 ล้านยูโร (+0.1%)
2) ค่าใช้จ่ายสาหรับโรงแรม ทริปท่องเที่ยว และค่ารถยนต์ 18.8 ล้านยูโร (+1%) นั้นหมายถึงครอบครัวชาวอิตาเลียนหนึ่งครอบครัวมีการใช้จ่ายประมาณ 1,270 ยูโร แต่อย่างไรก็ตาม ครอบครัวชาวอิตาเลียนได้มีการประหยัดค่าใช้จ่ายร้อยละ 2.9 จากยอดเงินโบนัสสิ้นปี มูลค่ารวม 3.7 ล้านยูโร เปรียบเทียบจากปีก่อนหน้า (3.6 ล้านยูโร) โดยปี 2009 ชาวอิตาเลียนมีการใช้จ่ายเงินโบนัสประมาณ 26.7 ล้านยูโร (+1%) เปรียบเทียบจากปีก่อนหน้า
1. 1 ใน 2 ของชาวอิตาเลียนยังคงจับจ่ายซื้อของขวัญเหมือนปีก่อนหน้า (45.5%)
2. ยกเลิกการซื้อสินค้าที่ไม่จาเป็น (33.4%)
3. ยังคงไม่แน่ใจ/ตัดสินใจ (11.4%)
4. ไม่เคยซื้อของขวัญ (9.7%)
1. ร้านค้าขนาดใหญ่/เล็ก (66.7%)
2. ห้าง/ศูนย์สรรพสินค้าชั้นนา (33.4%)
3. อินเตอร์เนต (33.4%)
จากตารางข้างต้น พบว่าชาวอิตาลีนิยมซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายเป็นของขวัญวันคริสต์มาส โดยส่วนใหญ่เป็นเครื่องแต่งกายสาหรับฤดูหนาว ได้แก่ เสื้อแจ็คเก็ต เสื้อโค้ต เสื้อกั๊ก เสื้อยืดแขนยาว เป็นต้น ข้อมูลคาดการณ์ของ World Trade Atlas พบว่าระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2552 อิตาลีได้นาเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายถักแบบนิตหรือโครเชต์จากทั่วโลกมูลค่า 4,494 ล้านยูโร (-4.8%) โดยประเทศไทยเป็นแหล่งนาเข้าอันดับที่ 21 ของอิตาลี มีมูลค่า 27 ล้านยูโร ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่านาเข้าเพิ่มขึ้น-ลดลงแบ่งได้ ดังนี้
1.1 สูทสาหรับสุภาพสตรีหรือเด็กหญิง มูลค่านาเข้า 321 ล้านยูโร (+11.4%) โดยแหล่งนาเข้าที่สาคัญ ได้แก่
- อันดับ 1 ประเทศจีน มูลค่า 83 ล้านยูโร (+36.7%)
- อันดับ 2 ประเทศฝรั่งเศส มูลค่า 33 ล้านยูโร (+2.3%)
- อันดับ 3 ประเทศโรมาเนีย มูลค่า 22 ล้านยูโร (-23.3%)
- อันดับ 26 ประเทศไทย มูลค่า 1 ล้านยูโร (+21.8%)
1.2 เชิ้ตสาหรับสุภาพบุรุษหรือเด็กชาย มูลค่านาเข้า 220 ล้านยูโร (-2.8%) โดยแหล่งนาเข้าที่สาคัญ ได้แก่
- อันดับ 1 ประเทศจีน มูลค่า 43 ล้านยูโร (+31.0%)
- อันดับ 2 ประเทศบังกลาเทศ มูลค่า 33 ล้านยูโร (+17.7%)
- อันดับ 3 ประเทศฝรั่งเศส มูลค่า 31 ล้านยูโร (-3.6%)
- อันดับ 13 ประเทศไทย มูลค่า 3 ล้านยูโร (+25.2%)
ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสครอบครัวอิตาเลียนจะรับประทานอาหารในบ้าน หรือในร้านอาหาร ซึ่งอาหารส่วนใหญ่จะเน้นเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และผลไม้สดหรือแห้ง (นิยมรับประทานในช่วงคริสต์มาส)
ข้อมูลคาดการณ์ของ World Trade Atlas พบว่าระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2552 อิตาลีได้นาเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลและปลาแช่แข็งจากทั่วโลกมูลค่า 2,241 ล้านยูโร (-3.7%) โดยประเทศไทยเป็นแหล่งนาเข้าอันดับที่ 6 ของอิตาลีและถือเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศในแถบเอเชีย มีมูลค่า 92 ล้านยูโร ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่านาเข้าเพิ่มขึ้น-ลดลงแบ่งได้ ดังนี้
2.1 ปลาแช่แข็ง (ไม่เป็นชิ้น) มูลค่านาเข้า 193 ล้านยูโร (-0.7%) โดยแหล่งนาเข้าที่สาคัญ ได้แก่
- อันดับ 1 ประเทศสเปน มูลค่า 58 ล้านยูโร (+9.4%)
- อันดับ 2 ประเทศเนเธอร์แลนด์ มูลค่า 19 ล้านยูโร (-1.8%)
- อันดับ 3 ประเทศไทย มูลค่า 10 ล้านยูโร (+78.0%)
2.2 อาหารทะเลอื่น ๆ มูลค่านาเข้า 530 ล้านยูโร (-10.2%) โดยแหล่งนาเข้าที่สาคัญ ได้แก่
- อันดับ 1 ประเทศสเปน มูลค่า 115 ล้านยูโร (-10.2%)
- อันดับ 2 ประเทศไทย มูลค่า 71 ล้านยูโร (-3.6%)
- อันดับ 3 ประเทศโมร็อคโค มูลค่า 66 ล้านยูโร (-7.7%)
จะสังเกตุเห็นว่า พฤติกรรมการบริโภคของขวัญของชาวอิตาเลียนในช่วงเทศกาลคริสต์มาสเปลี่ยนไป โดยของขวัญที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่จะเป็นของใช้ที่จาเป็นต่อการดารงชีวิตอย่างสินค้าปัจจัย 4 ในทางตรงกันข้าม ของขวัญจาพวกเครื่องประดับหรือของตกแต่งบ้านนั้นมีปริมาณการบริโภคลดลง อันเนื่องจากภาวะวิฤกติเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ส่งผลให้ชาวอิตาเลียนไตร่ตรองเพิ่มมากขึ้นในการใช้จ่าย รูปแบบสินค้าที่จะส่งมาแข่งขันในตลาดของขวัญ จึงควรมีการปรับตัว ดังนี้
1.1 เน้นส่งออกสินค้าที่จาเป็นต่อการใช้สอยในชีวิตประจาวัน เช่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เป็นต้น
1.2 ปรับรูปแบบสินค้าให้คานึงถึงประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น จากการที่ไทยมุ่งส่งออกสินค้าเครื่องประดับ และของตกแต่งบ้านสู่ตลาดอิตาลี ซึ่งยอดการสั่งซื้อดังกล่าวได้ลดลง ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยควรศึกษาตลาดและความต้องการของชาวอิตาเลียนมากขึ้น โดยเน้นส่งออกสินค้าเครื่องประดับและของตกแต่งบ้านที่มีรูปแบบและประโยชน์การใช้สอยที่ตอบสนองความต้องการของชาวอิตาเลียนให้มากที่สุด
1.3 ผลิตภัณฑ์หนังสือเป็นภาษาอิตาเลียน โดยส่วนใหญ่ชาวอิตาเลียนเป็นคนรักการอ่าน จะพบว่าในช่วงเทศกาลคริสต์มาสชาวอิตาเลียนบริโภคหนังสือเป็นอันดับ 2 แต่ปัจจุบันตลาดอิตาลียังขาดแคลนหนังสือไทยที่เขียนเป็นภาษาอิตาเลียน ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีที่จะทาหนังสือเรื่องที่คนอิตาลีสนใจ เช่น ตาราอาหารไทย หนังสือมวยไทย การนวดไทย เป็นต้น
1.4 ผลไม้อบแห้ง ผลไม้ไทยที่ส่งมายังตลาดอิตาลี ได้รับความนิยมจากเอเชียที่อาศัยอยู่ในอิตาลี ร้านอาหารไทย และชาวอิตาเลียนที่ชอบผลไม้จากเขตร้อน (Tropical) นอกจากนี้ ชาวอิตาเลียนจะเน้นรับประทานผัก ผลไม้ตามฤดูกาล ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยควรส่งออกผลแห้งไทยที่อยู่นอกเหนือฤดูกาลของอิตาลี
1.5 อุปกรณ์กีฬา ผู้ส่งออกไทยควรเน้นส่งออกอุปกรณ์เกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล มวยไทย ได้แก่ ลูกบอล กางเกงมวยไทย เนื่องจากสินค้าดังกล่าวสามารถซื้อเป็นของขวัญและได้รับความนิยม
คนอิตาลีให้ความสาคัญกับความสวยงาม ทันสมัย สินค้าที่เหมาะจะเป็นของขวัญจาต้องคานึงในเรื่องรูปแบบดีไซน์มาก เช่นเสื้อผ้า โดยปัจจุบันผู้ส่งออกไทยส่งออกสินค้าเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายแบบเอธนิค (ethnic) สู่ตลาดอิตาลี ซึ่งถือว่ายังเป็นตลาดขนาดเล็กและจากัดปริมาณถ้าเทียบกับตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นหรือเสื้อผ้าลาลอง ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยควรเน้นปรับรูปแบบและภาพลักษณ์ของสินค้าให้ทันสมัย เป็นที่ยอมของตลาด
สานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน
ที่มา: http://www.depthai.go.th