คาดการณ์ตลาดน้ำตาลในสหรัฐอเมริกาในปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 8, 2010 15:27 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สำนักงาน World Agricultural Supply and Demand Estimates (WASDE) กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานการคาดการณ์แนวโน้มตลาดน้ำตาลในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2553 สรุปได้ ดังนี้

1. ปริมาณน้ำตาลในตลาดสหรัฐฯ

ปริมาณน้ำตาลดิบของประเทศสหรัฐฯ ในปี 2553 คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 10,582 พันเมตริกตัน หรือลดลงจากปี 2552 ประมาณร้อยละ -4.6 ปริมาณน้ำตาลดังกล่าวประกอบด้วย

  • สต๊อกน้ำตาลจากปี 2552 จำนวน 1,316 พันเมตริกตัน
          - ผลผลิตน้ำตาลในประเทศ          7,110 พันเมตริกตัน
  • การนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศ 2,156 พันเมตริกตัน
2. ผลผลิตน้ำตาลของสหรัฐฯ

ผลผลิตน้ำตาลดิบของสหรัฐฯ ในปี 2553 คาดว่าจะมีจำนวน 7,110 พันเมตริกตัน หรือมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ประมาณร้อยละ 4.73 แยกเป็น

  • น้ำตาลหัวบีท (Beet Sugar) 3,992 พันเมตริกตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.64)
  • น้ำตาลอ้อย (Cane Sugar) 3,118 พันเมตริกตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.59)

การผลิตน้ำตาลหัวบีทในปี 2553 จะใช้พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 2.89 ล้านไร่ มีแหล่งเพาะปลูก 11 มลรัฐ คือ Colorado, Idaho, Minnesota, Michigan, Montana, Nebraska, North Dakota, Oregon, Wisconsin, Washington และ Wyoming

การผลิตน้ำตาลอ้อยในปี 2553 จะใช้พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1 ล้านไร่ ซึ่งลดลงประมาณร้อยละ -2.5 แต่จะมีผลผลิตต่อไร่ (Yield) จะเพิ่มขึ้น แหล่งผลิตน้ำตาลอ้อยในสหรัฐฯ คือ รัฐ Florida, Louisiana, Texas และ Hawaii

3. การบริโภคน้ำตาลในสหรัฐฯ

USDA คาดว่า การบริโภคน้ำตาลของสหรัฐฯจะมีปริมาณ 9,548 พันเมตริกตัน หรือมีความต้องการลดลงจากปี 2552 ประมาณร้อยละ -2.32 การบริโภคน้ำตาลของสหรัฐฯ แยกออกเป็น

          - การส่งออกน้ำตาล                136  พันเมตริกตัน
          - บริโภคในประเทศ              9,412  พันเมตริกตัน
  • สต๊อกน้ำตาลเหลือในปี 2553 1,034 พันเมตริกตัน
4. การนำเข้าน้ำตาล

คาดว่า สหรัฐฯ นำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศในปี 2553 ประมาณ 2,155 พันเมตริกตันซึ่งจะต่ำกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ -22.88 การนำเข้าแยกออกเป็น

  • การนำเข้าน้ำตาลภายใต้ระบบโควต้า (TRQ) 1,140 พันเมตริกตัน
          - การนำเข้าจากประเทศเม็กซิโก               689  พันเมตริกตัน
          - การนำเข้าภายนอกระบบโควต้า             1,017  พันเมตริกตัน

อนึ่ง การนำเข้าน้ำตาลของสหรัฐฯในช่วงมกราคม — พฤศจิกายน 2552 มีจำนวน 2,347 พันเมตริกตัน ลดลงต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ -1.2 แหล่งนำเข้าน้ำตาลที่สำคัญของสหรัฐฯ คือ เม็กซิโก (ร้อยละ 45) โดมินิกัน รีพับลิค (ร้อยละ 6.8) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 6.7) กัวเตมาลา (ร้อยละ 5.3) และ บราซิล (ร้อยละ 5.3)

แต่ถ้าหากพิจารณาในด้านมูลค่าแล้ว จะเห็นได้ว่า มีมูลค่านำเข้าน้ำตาลของสหรัฐฯ มีมูลค่า 1103.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.33 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า น้ำตาลนำเข้ามีราคาสูงในช่วง มค.-พย. 2552

สหรัฐฯ นำเข้าน้ำตาลจากประเทศไทยในช่วงมกราคม — พฤศจิกายน 2552 เป็นจำนวน 13.74 พันเมตริกตัน หรือลดลงต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ -3.51 และ มีสัดส่วนตลาดนำเข้าในสหรัฐฯ ร้อยละ 0.58 แต่ถ้าพิจารณาเป็นตัวเงินแล้ว จะเห็นได้ว่า มูลค่านำเข้าน้ำตาลของสหรัฐฯ จากไทยในช่วงเดียวกันนี้ (มูลค่า 5.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ -7.27

ในขณะที่การคาดการณ์นำเข้าน้ำตาลของสหรัฐฯ ในปี 2553 ลดลง จะส่งผลกระทบให้สหรัฐฯ ลดการนำเข้าน้ำตาลจากประเทศไทยทั้งปริมาณและมูลค่าในปี 2553

                    การนำเข้าน้ำตาลของสหรัฐฯ ในช่วง มกราคม-พฤศจิกายน 2552

                             ปริมาณ: พันเมตริกกัน                  มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แหล่งนำเข้า             มค-พย.51   มค-พย.52    เพิ่ม/ลด     มค-พย.51     มค-พย.52     เพิ่ม/ลด
1. เม็กซิโก              740.75     977.60     31.97      354.40        497.16      40.28
2. โดมินิกัน รีพับลิค        164.17     169.60      3.24       66.34         75.31      13.52
3. ฟิลิปปินส์              177.28     167.17     -5.70       63.91         73.63      15.21
4. กัวเตมาลา            439.74     152.65    -65.29      143.43         58.48     -59.22
5. บราซิล               197.84     139.54    -29.47       78.32         58.45     -25.26
21.ไทย                  14.24      13.74     -3.51        6.07          5.63      -7.27
การนำเข้ารวม          2,376.25   2,347.36     -1.22      982.65       1103.77      12.33
ที่มา: World Trade Atlas, November 2009
                คาดการณ์ปริมาณน้ำตาลตลาดสหรัฐอเมริกาปี 2553
                        หน่วย : พันเมตริกตัน
     น้ำตาล                       ปี 2552       ปี 2553*      เพิ่ม/ลด (%)
ปริมาณน้ำตาล
1. สต๊อกจากปี 2552                 1,506        1,316          -12.61
2. ผลผลิตน้ำตาลในประเทศ            6,789        7,110            4.73
3. การนำเข้าจากต่างประเทศ          2,796        2,156          -22.28
  รวมปริมาณน้ำตาลในตลาดสหรัฐฯ      11,092       10,582           -4.60
การใช้น้ำตาล
1. บริโภคในประเทศ                 9,650        9,412           -2.47
2. ส่งออกไปต่างประเทศ                126          136            7.93
3. สต๊อกน้ำตาลคงเหลือของปี 2553      1,316        1,034          -21.43
    รวมปริมาณน้ำตาลในตลาดสหรัฐฯ    11,092       10,582           -4.60
* คาดการณ์โดย World Agricultural Supply and Demand Estimates กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ