สถานการณ์การค้าระหว่างไทย-อิหร่าน เดือน มกราคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 8, 2010 16:04 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ในช่วงเดือนมกราคม — ธันวาคม 2552 ปริมาณการค้าระหว่างประเทศรวมของไทยกับอิหร่านมีมูลค่า 1,111.38 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.39 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย อิหร่านเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 30 ของไทย และ อิหร่านเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 42 ของไทย ไทยส่งออกไปอิหร่าน มีมูลค่า 854.08 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.56 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 45.03 การนำเข้าจากอิหร่านมีมูลค่า 257.39 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.19 ของมูลค่าการนำเข้ารวมของ ไทย และเพิ่มขึ้นจากปี ที่ผ่านมาร้อยละ 7.86% ดุลการค้าระหว่างไทยกับอิหร่านในช่วงเดือนมกราคม- ธันวาคม 2552 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 596.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังตาราง

                                     การค้าระหว่างไทยกับอิหร่าน
                                                                      หน่วยล้าน: เหรียญสหรัฐฯ
                   2549       2550       2551        2551          2552        เปลี่ยนแปลง
                                                  (ม.ค.-ธ.ค.)   (ม.ค.-ธ.ค.)        %
มูลค่าการค้า         618.83     861.76     827.48       827.48      1,111.38        34.31
การส่งออก          562.66     775.08     588.92       588.92        854.08        45.03
การนำเข้า           56.18      86.69     238.55       238.55        257.29         7.86
ดุลการค้า           506.48     688.39     350.37       350.37        596.79
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
1. การส่งออกไทยไปอิหร่านในช่วงเดือนมกราคม-ธันวาคม 2552

สินค้าส่งออกสำคัญไปอิหร่าน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ยางพารา เส้นใยประดิษฐ์ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ข้าว เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง ผลิตภัณฑ์ยาง ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แก้วและกระจก เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วน เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น ผักกระป๋องและแปรรูป

สินค้าส่งออกของไทยที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (1,217.13%) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (25.88%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (129.35 %) เม็ดพลาสติก (18.32 %) เส้นใยประดิษฐ์ (6.01%) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (13.49%) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้(24.99%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง (238.66%) ผลิตภัณฑ์ยาง (199.32%) ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ (12.31%) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ (159.18%) เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า (2.95%) แก้วและกระจก (22.02 %)เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ (71.81%) ผักกระป๋องและแปรรูป (162.08 %)

สินค้าส่งออกของไทยที่ลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (-42.41%) ยางพารา -37.59%) ข้าว (-79.89%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-12.91%) เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น (-18.43%)

สาเหตุที่การส่งออกลดลง

เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อิหร่านมีการนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสินค้าจากจีนมาราคาถูกกว่าไทย

ยางพารา ไทยเผชิญการแข่งขันจากมาเลเซียเพิ่มมากขึ้น

ข้าว รัฐบาลอิหร่านยกเลิกการนำเข้าและรัฐต่อรัฐ ทำให้ไม่มีการนำเข้าข้าวขาว 100% ชั้น 2 และข้าวหอมมะลิไทยยังไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคอิหร่าน

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อิหร่านมีนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์และตั้งกำแพงภาษีเพิ่มมากขึ้นในปีที่ผ่านมา

เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น สินค้าจากจีนเข้ามาช่วงชิงตลาดในอิหร่านเพิ่มมากขึ้น

                        สินค้าสำคัญ 10 อันดับแรกที่ส่งออกไปอิหร่านในปี 2552 (ม.ค.-ธ.ค.)
                                                                                  หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
     สินค้าสำคัญส่งออกไปอิหร่าน              2549      2550       2551       2551        2552      เปลี่ยนแปลง
                                                                  (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.)        %
1 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ      7.2     17.6      21.4         21.4       282.4      1,217.13
2 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ         68.0    151.3     157.6        157.6       198.4         25.88
3 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                21.2     44.8      29.9         29.9        68.6        129.35
4 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ            37.8     62.4      62.5         62.5        36.0        -42.41
5 เม็ดพลาสติก                             6.0     10.8      20.8         20.8        24.6         18.32
6 ยางพารา                              25.4     25.7      33.6         33.6        21.0        -37.59
7 เส้นใยประดิษฐ์                          40.9     42.5      16.7         16.7        17.7          6.01
8 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                    5.7      6.9      15.1         15.1        17.1         13.49
9 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้                         1.5      3.0      13.0         13.0        16.3         24.99
10 ข้าว                                201.4    200.6      79.6         79.6        16.0        -79.89
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
2. การส่งออกของไทยในเดือนธันวาคม 2552

ไทยส่งออกไปอิหร่านเดือนธันวาคม 2552 มีมูลค่า 62.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 28.91 % เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2551 ที่มีมูลค่า 48.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้น 3.65% เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่มีมูลค่า 60.22 ล้านเหรียญสหรัฐ

                              สินค้าสำคัญส่งออกไปอิหร่าน (รายเดือน)
                                                                          หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
     สินค้าออกไปอิหร่าน                  ก.ย.-52    ต.ค.-52    พ.ย.-52    ธ.ค.-52     เปลี่ยนแปลง %
                                                                                   พย-ธค 52
1  เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ       16.44      23.78       27.78      31.94        15.01
2  ข้าว                                 1.49       3.44        2.03       3.24        59.21
3  ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้                       2.23       1.51        1.93       3.14        62.93
4  ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                  1.36       1.34        1.55       2.41        55.15
5  ผลิตภัณฑ์ยาง                           1.02       1.30        1.25       1.84        46.78
6  ยางพารา                             0.21       2.52        2.55       1.39       -45.45
7  เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ  123.44       1.94        3.39       1.30       -61.60
8  เม็ดพลาสติก                           1.77       0.24        0.82       1.27        55.16
9  เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง      3.82       0.19        1.02       1.11         9.27
10 เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น   0.17       1.00        0.59       0.97        63.67
11 ผักกระป๋องและแปรรูป                    0.75       1.13        0.58       0.81        38.84
12 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป             0.46       0.58        0.49       0.79        60.56
13 แก้วและกระจก                         0.45       0.23        0.52       0.78        48.41
14 เส้นใยประดิษฐ์                         2.45       2.93        1.81       0.76       -57.90
15 ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์                   0.83       0.69        0.44       0.69        55.38
16 ตาข่ายจับปลา                          0.17       0.44        0.24       0.69       187.80
17 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์               1.70      23.10        0.48       0.67        40.22
18 สิ่งทออื่นๆ                             0.02       1.07        0.91       0.63       -30.96
19 ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ             0.57       1.30        0.88       0.54       -38.62
20 รถถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ            0.77       0.89        0.73       0.52       -28.78
       รวม 20 รายการ                 160.10      69.60       50.00      55.50        10.96
        อื่นๆ                            7.20       6.59       10.21       6.71       -34.27
       รวมทั้งสิ้น                       167.31      76.22       60.22      62.20         3.29
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
3. ทิศทางเศรษฐกิจของอิหร่าน

เศรษฐกิจการค้าของอิหร่านได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองภายในประเทศและปัญหาการคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศไม่ดีนัก นอกจากนี้ ธนาคารไทยไม่ยอมรับ L/C ที่เปิดจากธนาคารของอิหร่าน ทำให้การค้าระหว่างไทยและอิหร่านเป็นไปด้วยความยากลำบาก

อิหร่านยังคงเผชิญปัญหาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ผันผวน และแนวโน้มที่สหรัฐจะเพิ่มความเข้มข้นในการคว่ำบาตรอิหร่าน สร้างความไม่มั่นคงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจการค้าของอิหร่านอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน อิหร่านมีอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 22.5 และอัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 11.2

รัฐบาลอิหร่านมีนโยบายยกเลิกการอุดหนุนสินค้าอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนและขายหน่วยงานของรัฐให้ภาคเอกชนไปดำเนินการ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมและตลาดภายในประเทศมากขึ้น โดยเพิ่มมาตรการการจำกัดการนำเข้ามากขึ้น แต่ยังคงส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

อย่างไรก็ดี เนื่องจากประเทศอิหร่านมีความสัมพันธ์ด้านการค้ากับต่างชาติไม่มากนัก และรายได้หลักของประเทศยังคงมาจากการขายน้ำมันดิบเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้รัฐบาลอิหร่านไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจโลกมากเท่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

เครื่องชี้สภาวะทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
GDP (purchasing power parity): $876 billion (2009 est.)
GDP - real growth rate:            2.6% (2009 est.)
GDP - per capita (PPP):            $12,900 (2009 est.)
Unemployment rate:                 11.8% (2009 est.)
Inflation rate (consumer prices):  16.8% (2009 est.)
ที่มา https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ir.html


สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ