รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าฮังการี ประจำเดือนมกราคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 8, 2010 16:28 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานการณ์การค้าตามตัวเลขสถิติล่าสุด ดังนี้

ในเดือนพฤจิกายน 2552 การส่งออกของฮังการี มีมูลค่าถึง 5,788 ล้านยูโร การนำเข้า มูลค่า 5,377 ล้านยูโร การคิดเป็นเงินยูโรนั้นการส่งออกลดลง 3% การนำเข้าลดลง 9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ดุลการค้าต่างประเทศพบว่าเกินดุลถึง 411 ล้านยูโร การส่งออก 80% และการนำเข้า 67% เป็นการค้ากับประเทศในสหภาพยุโรป

ในช่วง 11 เดือนแรก ปี 2552 นั้น การส่งออกสูงถึง 54,824 พันล้านยูโร และการนำเข้า สูงถึง 50,628 พันล้านยูโร ซึ่งหมายความว่าการส่งออกลดลง 20% และการนำเข้า ลดลง 27% การค้าต่างประเทศเกินดุล 4,196 ล้านยูโร ซึ่งดีกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 4,434 ล้านยูโร

1. การส่งออก-รายประเทศ
                                      มกราคม-ตุลาคม
                                      ล้านเหรียญสหรัฐฯ
                                                    สัดส่วน (%)               เปลี่ยนแปลง(%)
  ลำดับ  ประเทศ       2550    2551    2552    2550    2551    2552    2551/2550    2552/2551
   67     ไทย       43.41   41.46   29.54    0.06    0.04    0.04      -4.48       -28.77
ที่มา: WTA (World Trade Atlas)
2. การนำเข้า-รายประเทศ
                                     มกราคม-ตุลาคม
                                     ล้านเหรียญสหรัฐฯ
                                                    สัดส่วน (%)              เปลี่ยนแปลง(%)
  ลำดับ  ประเทศ       2550    2551    2552    2550    2551    2552    2551/2550    2552/2551
   33     ไทย      344.15  340.67  253.28    0.44    0.36    0.40     -1.01228     -25.65
ที่มา: WTA (World Trade Atlas)
วิเคราะห์สถิติการค้าฮังการีในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2552

การส่งออกของฮังการีไปประเทศสำคัญๆ

จากสถิติการส่งออกของฮังการีไปยังประเทศที่สำคัญๆ 10 อันดับ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการส่งออกตั้งแต่ปี 2550 - 2551 เพิ่มขึ้นมากกว่า 21% ในขณะที่แนวโน้มระหว่างปี 2551 - 2552 เปลี่ยนแปลงทำให้การส่งออกลดลง 28% เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อตลาดส่งออกของฮังการี โดยเฉพาะเยอรมนี

สัดส่วนการครองตลาดของ 10 ประเทศนั้นเกือบจะไม่เปลี่ยนแปลง ในช่วงของการวิเคราะห์ (2550-2552)โดยอยู่ในระหว่าง 66.6-68% ซึ่งการส่งออกของฮังการีสองในสามได้ดำเนินการอยู่กับ 10 ประเทศนี้

หากจะพิจารณาเป็นรายประเทศจะพบว่า

การส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งมากกว่าอัตราเฉลี่ยในช่วงแรก (โรมาเนีย 41.2% และสโลวาเกีย 35.1%) การส่งออกของฮังการีลดลงในช่วงสุดท้ายกับทุกประเทศ เช่น กับเยอรมนีลดง 25% กับอิตาลีลดลง 18% กับสหราชอาณาจักรลดลง 9% และกับฝรั่งเศสลดลง 11% ส่วนการส่งออกไปยังสมาชิกใหม่ของ EU ก็ลดลงเช่นกัน ได้แก่ โรมาเนีย -22% สโลวาเกีย -18% โปแลนด์ -24% และสโลเวเนีย -23%

สำหรับการค้ากับประเทศรัสเซียนั้น รัฐบาลชุดปัจจุบันของฮังการีต้องการปรับปรุงระดับเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางการค้ากับรัสเซียอย่างสม่ำเสมอ (ก่อนที่ฮังการีจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง ฮังการีมีการส่งออกประมาณหนึ่งในสามไปยังรัสเซีย) จากความร่วมมือกันอย่างแข็งขันของทั้งสองฝ่าย มีผลทำให้การการส่งออกไปรัสเซียเพิ่มมากขึ้น เช่น สินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์ สินค้าเภสัชกรรม และสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งการส่งออกในช่วงแรกเพิ่มขึ้นมากกว่า 34% แต่ในช่วงหลังกลับลดลงเกือบ 30%

ในกรณีของโรมาเนีย มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจมาเนิ่นนาน เนื่องจากมีชาวฮังการีอาศัยอยู่ในแคว้นทรานซิลเวเนียของโรมาเนีย และความสัมพันธ์นี้ก็แนบแน่นยิ่งขึ้นเมื่อโรมาเนียเข้าร่วม EU ทำให้มีบริษัทร่วมทุนใหม่ๆ เกิดขึ้น และมีส่วนในการสนับสนุนการส่งออกให้เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม วิกฤติเศรษฐกิจก็มีผลกระทบต่อการค้าของทั้งสองฝ่ายเช่นกัน

ประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดของฮังการี ได้แก่ เยอรมนี และอิตาลี ซึ่งยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และตราบใดที่เศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศดีขึ้น การส่งออกของฮังการีจะตามแนวโน้มเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

ในกรณีการส่งออกของฮังการีไปยังประเทศไทยก็มีแนวโน้มทั่วไปลดลง 28.8% ซึ่งสัมพันธ์กับการส่งออกรวมของฮังการีที่ลดลงเฉลี่ย 28%

การนำเข้าของฮังการีจากประเทศสำคัญๆ

ข้อสังเกตแรกของการนำเข้าแสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวที่คล้ายคลึงกับการส่งออก ซึ่งลดลงต่ำกว่า 34% ในปี 2552 การนำเข้าของฮังการีพบว่ามีโครงสร้างที่เห็นได้ชัดการส่งออกว่ามี

การนำเข้าจากประเทศสำคัญ 10 อันดับนี้ถึง 71-75% ในช่วงของปี 2550-2551 และ 2552

มูลค่าการนำเข้าจากประเทศเหล่านี้ พบว่ามีแนวโน้มลดลงในระดับเฉลี่ยที่คล้ายคลึงกัน ยกเว้นประเทศรัสเซีย (-49%) เยอรมนี (-36%) และอิตาลี (-36%) ซึ่งลดลงมากกว่า 34%

การนำเข้ามากที่สุดลำดับที่สามคือจากประเทศรัสเซีย พบว่าลดลงมาก เกือบถึง 50%

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2552 จีนเป็นประเทศคู่ค้าใหญ่ลำดับสองของฮังการี แซงหน้ารัสเซีย สำหรับจีน ฮังการีมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้ เนื่องจากจีนมีเป้าหมายที่จะให้ฮังการีเป็น HUB สำหรับการส่งออกสินค้าของจีนไปยังยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก

โรมาเนียเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีประชากรฮังการีอาศัยอยู่มาก จึงมีการนำเข้าลดลงเพียง 22%

การนำเข้าจากไทยพบว่าลดลง 25.6% ซึ่งไม่ต่างจากประเทศคู่ค้าที่ดีที่สุดของฮังการี อย่างเช่น จีน ที่มีการนำเข้าลดลง 17% และอินเดีย (- 20%) และทำนองเดียวกับการส่งออกจากฮังการีไปยังไทยที่ลดลง นอกจากนั้นการนำเข้าของฮังการีจากประเทศคู่แข่งของไทยลดลงด้วยเช่นกัน ได้แก่ สิงคโปร์ (-17%) และอินโดนีเซีย (-24%)

การส่งออกสินค้าสำคัญของฮังการี

ในระหว่างปี 2550-2552 สัดส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าสำคัญของฮังการี 10 อันดับแรก ยังคงอยู่ในระดับเดิม คือ 78.4%, 77.9%, และ 77.7% ตามลำดับ ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดภาคยานพาหนะมีการส่งออกลดลงอย่างมากถึง 43% ซึ่งเข้าใจได้ว่าถ้าพิจารณาถึงเศรษฐกิจทั่วโลกแล้วนั้น อุตสาหกรรมรถยนต์

/ส่วนประกอบและการประกอบรถยนต์ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจมากที่สุด

การส่งออกของสินค้าสำคัญ 3 รายการที่น่าจับตามอง ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องจักรกล และยานพาหนะ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสองในสามของสินค้าสำคัญ 10 อันดับแรกและมีสัดส่วนที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก (60-62%)

สินค้าเครื่องจักรไฟฟ้ายังคงอยู่ในระดับเดิมกับปีที่ก่อนเกิดภาวะวิกฤติ

การส่งออกสินค้าประเภทเครื่องจักรกลลดลง 32% เป็นผลมาจากการลงทุนอ่อนที่ตัวลง

สินค้าเภสัชกรรมเป็นสินค้าประเภทเดียวที่ได้รับอิทธิพลจากวิกฤติเศรษฐกิจน้อยที่สุด (-6.9%)

การพัฒนาด้านแร่เชื้อเพลิงสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มทั่วไปในตลาดน้ำมัน คือ Oversupply และความต้องการลดลง ซึ่งส่งผลให้การส่งออกลดลงอย่างเห็นได้ชัด

การนำเข้าสินค้าสำคัญของฮังการี

การนำเข้าสินค้าสำคัญของฮังการี 10 รายการแรก ในระหว่างปี 2550-2552 มีสัดส่วนอยู่ในระดับ 76% 77% และ 76% ตามลำดับ ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้งหมด

การนำเข้าของสินค้า 3 รายการแรกที่น่าจับตามอง ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องจักรกล และ แร่เชื้อเพลิง แต่มีการนำเข้าน้อยกว่าการส่งออก ประมาณ 52%

การนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้า พบว่าลดลงมาก (-60%)แสดงให้เห็นถึงการลงทุนที่ลดลงอย่างมาก

สินค้าประเภทเครื่องจักร และยานพาหนะที่เป็นสินค้าเพื่อการลงทุนเช่นกัน มีการนำเข้าลดลง 37% และ 53% ตามลำดับ นอกจากอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงแล้ว อุตสาหกรรมยานพาหนะเป็นหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน

สินค้าแร่เชื้อเพลิง มีแนวโน้มที่เหมือนกับการส่งออกของฮังการีทั่วไป คือมีความต้องการน้อย จึงมีการสั่งซื้อและการลงทุนน้อย

การส่งออกฮังการีไปไทย

ในปี 2552 (ม.ค.-ต.ค.) ฮังการีส่งออกไปยังประเทศไทย เป็นมูลค่า 29.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 28.77 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ เครื่องจักรกล และเครื่องจักรไฟฟ้า ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันประมาณ 80 % ของการนำเข้าสินค้าทั้งหมด ในปี 2552 (ม.ค.-ต.ค.) เครื่องจักรกล มีการส่งออก 14.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้านี้ 30.75 % แต่สินค้า เครื่องจักรไฟฟ้า มีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นถึง 108.89 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สำหรับสินค้าอื่นๆ มีการส่งออกเป็นมูลค่าน้อย และการส่งออกสินค้าส่วนใหญ่ลดลงเกือบทุกสินค้า ยกเว้น สินค้า พลาสติก และสินค้าอาหารอื่นๆ ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น

การนำเข้าของฮังการีจากไทย

สินค้าสำคัญที่ฮังการีนำเข้าจากไทย ในปี 2552 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่าการค้ารวมทั้งหมด 253.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลง 25.65% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สินค้าสำคัญที่นำเข้าได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้า และเครื่องจักรกล ซึ่งนับเป็นสัดส่วนถึง 84.3% ของสินค้าทั้งหมด การนำเข้าของสินค้าเครื่องจักรไฟฟ้า มีมูลค่า 177.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 13.28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนการนำเข้าของสินค้าเครื่องจักรกล มีมูลค่า 41.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงถึง 49.25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนสินค้าอื่นๆ มีการนำเข้าส่วนใหญ่ลดน้อยลง สินค้าอื่นๆ ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สิ่งทอ น้ำหอม และเครื่องสำอาง

เป็นที่น่าสังเกตุว่าโครงสร้างสินค้าออกและสินค้าเข้าระหว่างไทยกับฮังการียังคงไม่เปลี่ยนแปลง และส่งผลให้การค้าไทยเกินดุลอย่างมาก

เมื่อดูสถิติของไทยปรากฏว่า ปี 2552 (ม.ค.-ธ.ค.) ไทยส่งออกไปฮังการี เป็นมูลค่ารวม 306.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการขยายตัว -21.56% สินค้าส่งออกสำคัญ 2 อันดับแรก ซึ่งมีสัดส่วนรวม 46.33% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีอัตราขยายตัวลดลง -22.11% และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ มีอัตราขยายตัว 31.99% ในปี 2552 (ม.ค.-ธ.ค.) สินค้าที่มีอัตราการขยายตัวลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ก็อก วาวล์และส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ เลนซ์ และ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล

การนำเข้าของไทยจากฮังการี

สินค้าไทยนำเข้าจากฮังการี ปี 2552 (ม.ค.-ธ.ค.) มีมูลค่ารวม 61.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สินค้าสำคัญที่นำเข้าเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ซึ่งมีการนำเข้าเป็นมูลค่า 17.8 และ 13.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ อัตราการขยายตัว 281.91% และ 158.10% ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่นำเข้าเป็นอันดับที่สาม คือ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ซึ่งการนำเข้า มีมูลค่า 12.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัวลดลง 29.16% นอกจากนั้นสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าเวชกรรม เภสัชกรรม และเครื่องดนตรี ของเล่น เครื่องกีฬาและเครื่อง สินค้าที่มีการนำเข้าลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เลนซ์ แว่นตาและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การ ลวดและสายเคเบิ้ล

สคร. ณ กรุงบูดาเปสต์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ