นโยบายรัฐบาลญี่ปุ่นในการบรรลุพันธกิจในการลดก๊าซเรือนกระจก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 10, 2010 13:49 —กรมส่งเสริมการส่งออก

เมื่อเดือนกันยายน 2009 ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission) สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก ได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อประชาคมโลก โดยนายกรัฐมนตรี Yukio Hatoyama ได้ประกาศเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของญี่ปุ่นลงร้อยละ 25 เทียบกับปริมาณในปี 1990

The National Institute for Environmental Studies ของญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่า เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 25% ภายในปี 2020 ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่นจะต้องปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ หลักใหญ่ใจความ คือ การลดการใช้พลังงานจาก Carbon และหันมาใช้พลังงานทดแทนอื่นๆเช่น การใช้รถยนต์ Hybrid รถยนต์พลังงานไฟฟ้า การติด Solar Panel เพื่อนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ในบ้านเรือน และการติด Insulation เพื่อปรับสมดุลของอุณหภูมิบ้านให้เหมาะสมเพื่อลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ดังรายละเอียดในตารางข้างล่าง

                                     สัดส่วนการใช้           สัดส่วนการใช้           สัดส่วนการใช้
                              Hybrid และ Electric Car    Solar Power       High-tech Insulation
สถานะในปี 2005                          0.3%              1.42 ล้าน kw          30% ของบ้านใหม่
การลดก๊าซเรือนกระจก 15% ในปี 2020          25%                37 ล้าน kw         100% ของบ้านใหม่
การลดก๊าซเรือนกระจก 25% ในปี 2020          40%                79 ล้าน kw         100% ของบ้านใหม่

หมายเหตุ: การวิเคราะห์ดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมุติฐานของการใช้มาตรการในประเทศเพียงอย่างเดียว หากนำระบบ Emission Trading มาใช้ เช่น การซื้อ Carbon Credit จากต่างประเทศก็จะลดสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในประเทศลงได้บ้าง

The Environment Ministry ของญี่ปุ่น ได้ประกาศเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ถึงแนวทางการดำเนินการของรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 25 รวมถึงช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศทั้งมาตรการภายในประเทศ เช่น การปลูกป่าเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้พลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Renewable Energy) และการผลักดันรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการซื้อ Carbon Credit จากต่างประเทศ

          เป้าหมายและมาตรการสำหรับการลดก๊าซเรือนกระจกของ The Environment Ministry ได้ถูกกำหนดไว้สำหรับแต่ละกลุ่ม ดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย                สัดส่วนการลดเทียบกับปี 1990        ตัวอย่างมาตรการ
1.ภาคอุตสาหกรรม                  17-24%               - การผลักดันการใช้แผง Solar Cell ในโรงงานและอาคารสำนักงาน
                                20-40%                  ของโรงงานและอาคารทั้งหมด
                                                     - การกำหนดให้สถานประกอบการใช้เครื่องกำเนิดพลังงานแบบที่นำกลับ
                                                        มาใช้ใหม่ได้ในราคาที่กำหนด
2.ภาคครัวเรือน                    18-31%               - การผลักดันการใช้เครื่องทำน้ำร้อนแบบประหยัดพลังงาน 70-80% ของครัวเรือน
                                                     - การผลักดันการใช้ใช้แผง Solar Cell ในบ้าน 6-13 ล้านหลัง
                                                     - การส่งเสริมการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนที่ประหยัดพลังงาน
3.ภาคการขนส่ง                    14-25%               - การส่งเสริมการใช้รถยนต์ Hybrid สำหรับรถยนต์ใหม่ที่ออกสู่ท้องตลาด 50%
                                                     - การส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ใหม่ที่ออกสู่ท้องตลาด 7%
แนวทางการปรับตัวของไทย

ทุกภาคส่วนในญี่ปุ่นต่างต้องปรับตัวเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นตามที่ผู้นำประเทศประกาศเจตนารมณ์ไว้ การปรับตัวที่ว่ามีผลกระทบทั้งต่อวิถีชีวิตและรูปแบบการประกอบธุรกิจอย่างมาก แต่ทว่าการเริ่มปรับตัวตั้งแต่ปัจจุบันเท่ากับเป็นการสร้างรากฐานที่ดีก่อนประเทศอื่นๆ แม้ในระยะแรกจะต้องมีภาระในการลงทุนมากขึ้นก็ตาม เมื่อทิศทางสังคมญี่ปุ่นมีแนวโน้มเปลี่ยนไปเช่นนี้ ผู้ประกอบการไทยที่สนใจตลาดญี่ปุ่นและภาครัฐที่เกี่ยวข้องจำต้องเร่งปรับตัวเช่นกันเพื่อรักษายอดขายหรือขยายตลาดการส่งออกมายังญี่ปุ่นโดยสิ่งที่ควรพิจารณาดำเนินการมี ดังนี้

1. การปรับกระบวนการผลิต รูปแบบผลิตภัณฑ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์ ให้สอดคล้องต่อกระแสการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

2. การแสวงหาโอกาสจากภาระการลดก๊าซเรือนกระจกโดยการขาย Carbon Credit แก่ญี่ปุ่น

3. การจูงใจและส่งเสริมให้ญี่ปุ่นไปตั้งโรงงานหรือร่วมทุนผลิตสินค้าที่รองรับต่อ Green Society ยังประเทศไทย เนื่องจากเป็นสินค้าที่ตลาดขยายตัวสูงตามนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นและกระแสรักษ์โลก

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโตเกีย

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ