ตลาดข้าวในอิตาลี 2010

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 10, 2010 14:13 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานการณ์ทั่วไป

อิตาลีเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวและข้าวอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป แต่ละปีผลิตข้าวสารได้ประมาณ 850,000 ตัน(ข้าวเปลือก 1.4 ล้านตัน) โดย 1 ใน 3 ผลิตเพื่อตลาดภายในประเทศ และ 2 ใน 3 ผลิตเพื่อส่งออก ผลผลิตส่วนใหญ่เพาะปลูกในพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวรวมทั้งประเทศขนาด 225,000 ตารางเฮกเตอร์ เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการส่งออก

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอิตาลีมีไม่มากรายนัก ส่วนใหญ่จะมีโรงสี มีการบรรจุหีบห่อและมีเครื่องหมายการค้าเป็นของตัวเอง จึงเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้จาหน่าย ในอิตาลีมีจานวนผู้ผลิตประมาณ 5,000 ราย

การผลิต

พื้นที่แหล่งปลูกข้าวจะอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ บริเวณที่เป็นลาบลุ่มแม่น้า โดยมีการปลูกข้าวหนาแน่นบริเวณเมือง Novara, Vercelli และ Pavia ในแคว้น Piedmont เฉพาะอิตาลีเองสามารถผลิตข้าวได้เกินกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตที่ผลิตได้ในยุโรป ส่วนประเทศผู้ปลูกข้าวที่สาคัญรายอื่นของสหภาพยุโรป ได้แก่ สเปน (114,300 เอเคอร์) โปตุเกส (23,000 เอเคอร์) กรีซ (20,000 เอเคอร์) และฝรั่งเศส (18,700 เอเคอร์)

ข้าวไม่ใช้พืชเกษตรหลักของยุโรป แต่การผลิตและการบริโภคก็ยังคงมีเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆอย่างสม่าเสมอในอัตราที่คงที่ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา โดยผลผลิตข้าวในแต่ละปี ของอิตาลี ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการภายในประเทศและปริมาณการส่งออกไปยังประเทศในแถบยุโรปเหนือเป็นส่วนใหญ่

การบริโภค

อิตาลีมีความต้องการบริโภคข้าวประมาณ 400,000 ตัน/ปี การบริโภคข้าวของชาวอิตาเลียนเฉลี่ยอยู่ที่ 5 กิโลกรัม/คน/ปี ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศทางเอเชีย ซึ่งบริโภคข้าวเป็นหลัก และประเทศอื่นๆในยุโรป โดยชาวกัมพูชามีการบริโภคข้าวเฉลี่ย 170 กิโลกรัม/ปี/คน ชาวไทยและเวียตนามบริโภคเฉลี่ย 140 กิโลกรัม/ปี/คน ชาวเกาหลีเหนือ 138 กิโลกรัม/ปี/คน ชาวจีน 103 กิโลกรัม/ปี/คน โปรตุเกส 15.4 กิโลกรัม/ปี/คน เนเธอร์แลนด์ 8.3 กิโลกรัม/ปี/คน สเปนและฟินแลนด์ 6.6 กิโลกรัม/ปี/คน สวิสเซอร์แลนด์ 5.9 กิโลกรัม/ปี/คน เป็นต้น

พฤติกรรมการบริโภคข้าวของชาวอิตาเลียน

1. ในแต่ละมื้ออาหาร ชาวอิตาเลียนจะแบ่งทานอาหารเป็น 2 จานหลัก ได้แก่ อาหารจานแรก (ป้าสต้า หรือ ข้าว) อาหารจานสอง (เนื้อหรือปลา) อาหารจาพวกปาสต้าเป็นอาหารประจาชาติมาแต่ดั้งเดิม จะได้รับความนิยมทานมากกว่าข้าว เสมือนคนไทยทานข้าวทุกวัน ทั้งนี้ จะเห็นได้จากผลการสารวจออกมาว่า ผู้บริโภคข้าวทุกวันมีเพียงร้อยละ 2 ผู้บริโภคข้าวประมาณ 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 17 ผู้บริโภคข้าวประมาณ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 55 และบริโภคข้าวนานๆครั้ง ร้อยละ 23

2. การบริโภคข้าวยังไม่เป็นที่นิยมมาก มีสาเหตุหลายประการเนื่องมาจากการทาอาหารประเภทข้าวใช้เวลานาน (10-20 นาทีในการหุงให้สุก) มีกรรมวิธีค่อนข้างซับซ้อน และดัดแปลงทาอาหารได้น้อย และผู้บริโภคเองไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเหมาะสมในการใช้ข้าวประเภทต่างๆที่มีขายอยู่ในท้องตลาดในการทาอาหาร ข้าวอิตาเลียน มีลักษณะกลม สั้น ใช้เวลาหุงนาน โดยเฉลี่ยการทาอาหารประเภทข้าวต้องใช้เวลานานประมาณ 40 นาที ถึงหนึ่งชั่วโมง ยิ่งทาให้ไม่จูงใจในการทาอาหารประเภทข้าว โดยเฉพาะในหมู่คนทางาน หรือวัยรุ่น ที่มีเวลาน้อย และคนสูงอายุ

3. พฤติกรรมในการปริโภคก็คือทานเป็นอาหารจานเดียว ไม่ทานกับกับข้าวเหมือนคนไทย จึงทาให้มีวิธีการนาข้าวไปบริโภคค่อนข้างจากัด ทั้งนี้ การบริโภคอาหารจาพวกปาสต้าเป็นหลัก ทาให้ข้าวถูกลดความสาคัญลงอย่างมาก อาหารจานหลักที่ชาวอิตาเลียนนิยมปรุงจากข้าว ได้แก่ สลัดข้าว (Insalata di Riso/Rice Salads) ซึ่งเป็นอาหารจานเดี่ยว ทานเย็น นิยมทานในช่วงหน้าร้อน (กรกฏาคม-สิงหาคม) และอาหารที่เรียกว่า ซุปข้าว (Minestre/Rice Soups) และ Risotto ซึ่งเป็นอาหารจานร้อน ที่นิยมทานกันในหน้าหนาว

4. การทานข้าวนิยมทานกันในมื้อกลางวัน ข้าวทานมากทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 34) และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 25) ซึ่งเป็นภาคที่มีความผูกพันกับผลผลิตข้าวมาแต่ดั้งเดิม รวมทั้งมีแรงงานชาวต่างชาติที่มีพื้นเพการบริโภคข้าวเป็นหลักมาตั้งถิ่นฐานและทางานกันมากในพื้นที่ดังกล่าว รองลงมาคือภาคกลาง และใต้

5. ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบอาหาร โดยการทาอาหารจากข้าวกึ่งสาเร็จรูปชนิดซอง ข้าวในรูปอาหารแช่แข็ง ที่ใช้เวลาอุ่นเพียงไม่กี่นาที ทาให้ทุ่นเวลา และเหมาะกับคนสมัยใหม่ ที่เร่งรีบ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีตัวเลือกมาก และไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายมากนัก

6. ข้าวอินทรีย์กาลังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสาหรับผู้บริโภครุ่นใหม่ ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยปี 2009 พบว่ามีการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4

พฤติกรรมในการซื้อของชาวอิตาเลียน

1. การซื้อข้าวของผู้บริโภคโดยทั่วไป จะซื้อทีละน้อย เนื่องจากไม่บริโภคบ่อยนัก ผู้บริโภคชาวอิตาเลียนซื้อข้าวเฉลี่ยแล้วประมาณ 7.1 กิโลกรัม/ครอบครัว/ปี โดยหาซื้อที่ซูเปอร์มาร์เก็ตมากที่สุด มีอัตราการซื้อข้าวเฉลี่ย 6.2 กิโลกรัม/ครอบครัว/ปี ส่วนร้านขายของชาทั่วไป ร้านค้าประเภท discount มีอัตราการซื้อข้าวน้อยกว่า 4 กิโลกรัม/ครอบครัว/ปี

2. ข้าวที่นิยมซื้อจะเป็น parboiled rice ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวขาว และในปีหลังๆ มีแนวโน้มการบริโภคเพิ่มขึ้นมากกว่าข้าวขาว เนื่องจากชาวอิตาเลียนนิยมนาไปทา risotto หรือ salad ซึ่งเป็นตารับดั้งเดิมของอาหารอิตาเลียน

3. อัตราการบริโภคข้าวของชาวอิตาเลียนในช่วง 20 ปีที่ผ่านมายังคงมีอัตราไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดยมีการบริโภคมากในผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 25-44 ปี และคิดเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง นอกจากนั้น ยังมีการบริโภคมากทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความผูกพันกับข้าวมายาวนาน โดยเฉพาะในแคว้น Lombardia , Veneto และ Piemonte

4. ชาวอิตาเลียนถือว่าอาหารประเภทข้าวเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ(light & equilibrium) สามารถนาไปประกอบเป็นอาหาร appetizer ได้แก่ ข้าวปั้นอิตาเลียน(arancini), sartu’, timballi ,สลัดข้าวหรือจานแรกทั่วๆไป ได้แก่ ซุปใส , risotto เป็นต้น ทาเป็นเครื่องเคียง หรือแม้แต่อาหารจานสองที่มีตกแต่งสวยงาม นอกจากนั้น ชาวอิตาเลียนยังนิยมนาข้าวไปทาเป็นของหวานอีกด้วย ข้าวต้องใช้เวลาหุงต้มนาน วิธีการทาอาหารข้าวก็ยังไม่ค่อยแจ่มชัด ประกอบกับเวลาที่มีจากัด ทาให้การบริโภคข้าวไม่เป็นที่นิยมนัก การบริโภคค่อนข้างคงที่ ปัจจุบันมีการทาอาหารข้าวสาเร็จรูป เพื่อสร้างทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่มีเวลาน้อย และไม่มีความรู้เรื่องการปรุงอาหารข้าวมากนัก

การจัดจาหน่ายในประเทศ

เครื่องหมายการค้าข้าวรายสาคัญของอิตาลี ได้แก่ Gallo, Scotti, Flora, Blond, Curtiriso จะจาหน่ายข้าวคุณภาพเกรดดี บรรจุหีบห่อสวยงาม ทันสมัย นอกนั้น จะเป็นเครื่องหมายการค้าของ Supermarket เอง(private label) คุณภาพข้าวจะรองลงมา บรรจุถุงพลาสติกสูญญากาศ ราคาจะถูกกว่าข้าวที่มีเครื่องหมายการค้าที่เป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว และส่วนน้อยเป็นข้าวจากบริษัทเกษตรกรรายย่อย ที่มีส่วนตลาดค้าปลีกในพื้นที่ใกล้เคียงกับฐานการผลิตของบริษัท

ช่องทางการจาหน่าย

ข้าวที่วางจาหน่ายในท้องตลาดทั่วไปจะเป็นข้าวอิตาเลียนของเครื่องหมายการค้าที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนข้าวจากต่างประเทศ จะมีวางเฉพาะใน Iper/Supermarket ขนาดใหญ่ และในร้านจาหน่ายอาหารเอเชีย/อาฟริกัน/อเมริกาใต้เท่านั้น ผู้นาเข้าข้าวส่วนใหญ่จะนาเข้าข้าวเมล็ดยาว ได้แก่ ข้าว Basmatic (อินเดีย/ปากีสถาน) ข้าวหอมมะลิ(ไทย) ข้าวสุรินัม (อเมริกาใต้) ข้าว Patna(สหรัฐอเมริกา) ฯลฯ ซึ่งจะวางจาหน่ายในร้านค้าอาหารเอเชีย/อาฟริกัน/อเมริกาใต้ และมุ่งสาหรับตลาดกลุ่มเป้าหมายคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในอิตาลี ซึ่งนิยมทานข้าวจากประเทศบ้านเกิดของตนเป็นหลัก

   ชนิดและราคาของข้าวที่วางจาหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต
ชนิดของข้าว                         ราคา/กิโลกรัม
ข้าวขาว(White rice)                1.05-3.95 ยูโร
ข้าวขัดสีบางส่วน(parboiled rice)      1.69-4.16 ยูโร
ข้าวซ้อมมือ(Brown rice)              3.35-6.18 ยูโร
ข้าวสาเร็จรูป(Risotto)               5.25-13.14 ยูโร
ชนิดของข้าวที่วางจาหน่ายในท้องตลาด ขนาด ราคา

ชนิดของข้าวที่วางจาหน่ายในร้านค้าปลีกและซุปเปอร์มาร์เก็ตมี 4 ประเภท ได้แก่

  • ข้าวขาว(white rice) ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.05-3.95 ยูโร/กิโลกรัม
  • ข้าวขัดสีบางส่วน(parboiled rice)เป็นข้าวที่ได้รับความนิยมทานมากที่สุด ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.69-4.16 ยูโร/กิโลกรัม
  • ข้าวซ้อมมือ(Brown rice) 3.35-6.18 ยูโร/กิโลกรัม นิยมทานเป็นส่วนน้อย เหมาะสาหรับคนที่ต้องการควบคุมน้าหนัก
  • นอกจากนั้นยังมี ข้าวสุกเร็ว(Quick cooking rice)
  • และข้าวอินทรีย์(Bio rice)ซึ่งราคาจะอยู่ระหว่าง 2.58/3.96 ยูโร/กิโลกรัม ซึ่งพบว่าตลาดขยายตัวมากขึ้นทุกปี

ในช่วงปีหลังพบว่าราคาข้าวในตลาดยี่ห้อต่างๆ มีราคาสูงเพิ่มขึ้นเท่าตัว ทาให้ผู้ประกอบการ chain store และ distributors รายใหญ่มีการผลิตสินค้าต่างๆภายใต้ยี่ห้อของบริษัท(private label)เอง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากขึ้น ครองยอดจาหน่ายประมาณ 31.1% ในราคาที่ถูกกว่ายี่ห้อที่มีในท้องตลาดกว่าเท่าตัว(ยกตัวอย่าง ข้าวขาวยี่ห้อ Auchan ราคาเพียง 0.90 และยี่ห้อ Esselunga ราคา 1.24 ยูโรต่อกิโลกรัม) ทั้งนี้เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค ข้าวส่วนใหญ่ที่จาหน่ายทั่วไปในท้องตลาดบรรจุกล่องหรือถุง ขนาด 1กิโลกรัม และมีขนาด 250 กรัมบ้าง สาหรับรับประทานครั้งเดียว หรือทาเป็นอาหารถุงปรุงเสร็จ พร้อมนาไปต้มหรืออุ่น(semi-preparation)

ส่วนข้าว Basmati ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 2.4 ยูโร/กิโลกรัม ข้าวหอมมะลิ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 2.1 ยูโร/กิโลกรัม ทั้งนี้ ข้าวที่นาเข้าเหล่านี้ จะมีขนาดบรรจุถุง 1, 2, 5 และ 25 กิโลกรัม เนื่องจากเป็นกลุ่มลูกค้าที่ทานข้าวเป็นหลัก และส่วนใหญ่จะพบในร้านสินค้าอาหารเอเซีย/อาฟริกา

นโยบายข้าวของประเทศอิตาลี

1) ประเทศอิตาลีมีนโยบายแทรกแซงราคาข้าวที่ 150 ยูโรต่อตัน โดยราคาประกันกาหนดโดยสหภาพยุโรป หากราคาตลาดต่ากว่าราคาประกัน องค์กรข้าวแห่งชาติอิตาลี(Ente Nazionali Risi)ภายใต้กระทรวงเกษตรอิตาลี(Italian Ministry of Agriculture)จะรับซื้อผลผลิตข้าวเก็บไว้ขายในช่วงที่ราคาสูงกว่าหรือเท่ากับราคาประกัน

2) สหภาพยุโรปให้เงินสนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิตข้าวในอิตาลี จนถึง 31 ธันวาคม 2011 จานวน 453 ยูโร/เฮกเตอร์/ปี กรณีเกษตรกรผู้ผลิตใช้พื้นที่สาหรับเพาะปลูกข้าว และจานวน 616 ยูโร/เฮกเตอร์/ปี กรณีเกษตรกรผู้ผลิตใช้พื้นที่สาหรับเพาะปลูกพืชทั่วไป

               ปริมาณโควต้าข้าวของสหภาพยุโรปต่อประเทศไทย (EU 327/98 : 2009)
          สินค้า            ปริมาณโควต้า(ตัน/ปี)             ภาษีในโควต้า           ภาษีนอกโควต้า
1.ข้าวขาว (1006 30)     1.1 ทั้งหมด 63,000 ตัน              ร้อยละ 0             145 ยูโรต่อตัน
                       1.2 ไทย 21,455 ตัน(09.4128)
2.ข้าวกล้อง (100620)     All countries                    ร้อยละ 15            42.5 ยูโรต่อตัน
3.ข้าวหัก (100640)       1.1 ทั้งหมด 100,000 ตัน             45 ยูโรต่อตัน          65 ยูโรต่อตัน
                       1.2 ไทย 52,000 ตัน(09.4149)
4.ข้าวขาว (100630)      1.1 ทั้งหมด 40,216 ตัน              ร้อยละ 0             145 ยูโรต่อตัน
                       1.2 ไทย 5,513 ตัน (09.4112)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ