ตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ในสหราชอาณาจักร

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 10, 2010 14:59 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะตลาดทั่วไป

1.1 สหราชอาณาจักรนับเป็นตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่มีขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของสหราชอาณาจักรมีเงินหมุนเวียนประมาณ 10 พันล้านปอนด์ในปี 2552

1.2 ตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ในสหราชอาณาจักรมีการแข่งขันค่อนข้างสูงโดยในส่วนของเฟอร์นิเจอร์ RTA (Ready to Assemble) มีผู้นาเข้าและจัดจาหน่ายรายใหญ่ คือ Argos ; Home base และ IKEA ทั้งนี้ Argos และ Home base เป็นบริษัทในเครือของ Home Retail Group ยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีก โดย Argos มีร้านกว่า 700 แห่ง ขายสินค้าผ่าน catalogue (catalogue retailer) โดยไม่มีการโชว์สินค้าหน้าร้าน ลูกค้าสามารถสั่งซื้อทาง on-line หรือซื้อที่ร้านเองโดยดูจาก catalogue นอกจากนี้ ร้านซุปเปอร์มาเก็ตที่ขายสินค้า non-food ด้วย เช่น ASDA; Tesco; Costco ก็ขายเฟอร์นิเจอร์ประเภท RTA ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ในส่วนของห้างสรรพสินค้าที่มีชื่อเสียงในสหราชอาณาจักร เช่น Marks & Spencer ; Next Retail Ltd; John Lewis; Debenhams; Laura Ashleys Ltd เป็นต้น ขายเฟอร์นิเจอร์ที่มีคุณภาพและราคาสูงกว่า

1.4 อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในสหราชอาณาจักรได้รับผลกระทบอย่างมากจากการหดตัวของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่องติดต่อกันมา 18 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคจาเป็นต้องรัดเข็มขัดลดการใช้จ่ายลง ส่งผลให้บริษัทต้องลดราคาสินค้า อย่างไรก็ดี ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ กลับปรากฏแนวโน้มใหม่เกิดขึ้น คือ ผู้บริโภคลงทุนในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยในส่วนของการซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ แทนการย้ายบ้าน/ซื้อบ้านใหม่หรือการเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศที่เป็นความนิยมก่อนที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และการที่บริษัทจานวนมากได้หันมาให้ความใส่ใจกับการขายแบบผ่อนชาระ (point-of-sale finance) นอกจากนี้ การขายสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมและการออกแบบที่ตรงกับรสนิยมของผู้บริโภค ทาให้มีบริษัทจานวนหนึ่งที่ยังสามารถทากาไรได้

2. กฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและอัตราภาษี

2.1 กฎระเบียบด้านความปลอดภัยและการติดไฟสาหรับสินค้าเฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่งบ้าน (The Furniture and Furnishings (Fire) (Safety) Regulations 1988) และที่แก้ไขปี 1989 และ 1993 กาหนดให้สินค้าเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน เครื่องเบาะ จะต้องเป็นไปตามข้อกาหนดด้านความปลอดภัย และต้องแสดงการติดฉลากที่ถูกต้องชัดเจนเกี่ยวกับสินค้า โดยกฎระเบียบดังกล่าวใช้บังคับกับผู้ผลิต ผู้นาเข้า ผู้ค้าส่งค้าปลีกของสินค้าเหล่านี้ รวมไปจนถึงซัพพลายเออร์วัสดุที่ใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่งบ้านด้วย มีข้อกาหนดที่สาคัญ อาทิเช่น ต้องผ่านการทดสอบการต้านการติดไฟจากบุหรี่และไม้ขีดไฟ และผู้ผลิตและผู้นาเข้าเฟอร์นิเจอร์จะต้องจัดเก็บหลักฐานการทดสอบนั้นเป็นระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ผู้ผลิตหรือผู้นาเข้าขายสินค้านั้นให้กับผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่ง เพื่อใช้แสดงว่าสินค้านั้นเป็นไปตามข้อกาหนดตามกฎหมาย มีรายละเอียดข้อมูล ได้แก่ ผลการทดสอบเฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ ความเชื่อมโยงระหว่างผลการทดสอบกับแต่ละชิ้นส่วนของเฟอร์นิเจอร์ และความเชื่อมโยงระหว่างผลการทดสอบกับข้อมูลบนฉลากหรือเครื่องหมายบนตัวสินค้า เป็นต้น ทั้งนี้ ข้อกาหนดดังกล่าวไม่ครอบคลุมสินค้าฟูก ที่รองเตียง หมอน เบาะนวม ที่รองนั่ง ปลอกหุ้ม/คลุมเฟอร์นิเจอร์ที่ถอดออกได้

2.2 สำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ต้องการได้รับการติดฉลาก eco-label ของสหภาพยุโรป จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ภายใต้ระเบียบ EC No 1980/2000 และข้อกาหนดใน Annex ของ Commission Decision on establishing the ecological criteria for the award of the Community eco-label for wooden furniture ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2009 ซึ่งสาระสาคัญ ได้แก่ ต้องไม่มีการใส่สารอันตรายในช่วงการผลิตสินค้า วัสดุไม้ที่ใช้ต้องสอดคล้องกับนโยบายการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ข้อกาหนดด้านสารแช่/เคลือบและสารรักษาเนื้อไม้ ข้อจากัดในการใช้พลาสติกและโลหะผสมในขั้นตอนการเคลือบพื้นผิว ข้อกาหนดการใช้สารฆ่า/กันเชื้อรา ข้อกาหนดการประกอบชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ ข้อกาหนดด้านความคงทน ความปลอดภัย ของสินค้าตามมาตรฐาน EN Standards (หากไม่มีมาตรฐาน EN ก็ให้ใช้ข้อกาหนดในมาตรฐาน ISO) เป็นต้น ซึ่งหากผู้ผลิตผ่านการประเมินและได้รับตรา eco-label รับรองแล้ว ก็ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมว่า —wood from well managed forests-restricted hazardous substances-product tested for durability

2.3 อัตราภาษีนาเข้าสำหรับข้อมูลภาษีศุลกากรนาเข้าของทุกหมวด/รายการสินค้า สามารถหาได้ที่ http://ec.europa.eu/taxation_customs/dds/cgi-bin/tarchap?Lang=EN โดย click ที่ browse ก่อน เพื่อหารหัส (code) สินค้า จากนั้นพิมพ์รหัสลงไป และ click ประเทศที่เป็นแหล่งนาเข้า และ click ที่ customs duties

3. การนาเข้า

3.1 การนาเข้าจากทั่วโลก

ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2552 สหราชอาณาจักรนาเข้าเฟอร์นิเจอร์จากทั่วโลกมูลค่า 7,395.29 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 30.75 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นการนาเข้าจากจีนในอันดับ 1 (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 34.12) ตามด้วยอิตาลี เยอรมัน โปแลนด์ สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เวียดนาม มาเลเซีย ตามลาดับ การนาเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 14

3.2 การนาเข้าจากไทย

ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2552 สหราชอาณาจักรนาเข้าเฟอร์นิเจอร์จากไทยมูลค่า 109.98 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 32.15 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นการนาเข้าเก้าอี้ในอันดับหนึ่ง (มูลค่า 76.61 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 34.67) ตามด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ใช้ในห้องรับประทานอาหารและห้องนั่งเล่น (มูลค่า 12.34 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 22.53) โดยในส่วนหลังนี้ จีนครองตลาดอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 33.85 ตามด้วยเวียดนาม โปร์แลนด์ อิตาลี มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลิทัวเนีย ตามลาดับ การนาเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 12 สาหรับเฟอร์นิเจอร์ใช้ในห้องนอน การนาเข้าจากไทยมีมูลค่า 3.02 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 35.70

4. แนวโน้มตลาดและความต้องการสินค้า

4.1 กลุ่มผู้บริโภคอายุระหว่าง 35-44 ปี เป็นกลุ่มที่มีกาลังซื้อและมีความสนใจในการตกแต่งภายในบ้าน และแนวโน้มจะมีบ้านที่มีขนาดเล็กลงแต่ตกแต่งตามรสนิยมของตนมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการซื้อเพื่อทดแทนของเดิม โดยแนวโน้มในปัจจุบันนิยมเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สีอ่อน โดยเฉพาะไม้โอ๊ค ที่มีการออกแบบที่เรียบง่ายเป็น rustic และเข้าชุดกัน

4.2 แนวโน้มที่อยู่อาศัยที่มีขนาดเล็กลงนี้ทาให้การจัดสรรพื้นที่ภายในบ้านเปลี่ยนไปซึ่งส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์ เช่น การรวมห้องรับประทานอาหารไว้ในห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่น การใช้ห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่นเป็นห้องนอนสาหรับแขกที่มาพัก เป็นต้น ดังนั้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มต้องการเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นประโยชน์ในการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฟอร์นิเจอร์อเนกประสงค์ (multifunction furniture) ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้ และใช้พื้นที่น้อยสามารถเก็บเข้าออกได้โดยสะดวก

4.3 เฟอร์นิเจอร์มีราคาที่หลากหลาย โดยเฟอร์นิเจอร์ที่ขายในห้างสรรพสินค้าที่มีชื่อเสียงจะมีราคาสูงกว่าเฟอร์นิเจอร์ประเภท RTA มาก ด้วยคุณภาพของงานและการออกแบบ

4.4 ราคาสินค้ายังคงเป็นปัจจัยหลักของผู้บริโภคในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้า และผู้ค้าปลีกสินค้าเฟอร์นิเจอร์ในสหราชาณาจักรส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีโฆษณากระตุ้นการซื้อของผู้บริโภคโดยการลดราคาสินค้า และการมอบข้อเสนอพิเศษหรือส่วนลดพิเศษให้กับลูกค้า

5. องค์กร/หน่วยงาน/สมาคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในสหราชอาณาจักร

5.1 British Furniture Manufacturers Association (BFM): www.bfm.org.uk

5.2 Furniture, Furnishing & Interior National Training Organization (FFINTO) www.ffinto.org

6. ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตของสานักงานฯ

6.1 ปัจจุบัน ผู้ค้าปลีกในสหราชอาณาจักรนิยมสั่งซื้อ/นาเข้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์จากผู้ผลิตต่างประเทศมากขึ้น ได้แก่ ประเทศจีน โปร์แลนด์ เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซียเนื่องจากต้นทุนต่ากว่าสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ แต่สาหรับเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ยังคงมีการผลิตจากโรงงานในสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ กฎข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้วัสดุกันไฟในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เพื่อจาหน่ายในสหราชอาณาจักร เป็นสาเหตุหลักที่ทาให้ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในอังกฤษมีโอกาสทางการค้าดีกว่าผู้ผลิตจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตจากต่างประเทศได้หันมาให้ความสาคัญกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าว ทาให้สินค้านาเข้าได้รับความนิยมนาเข้ามาจาหน่ายในตลาดสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น

6.2 เนื่องจากสหราชอาณาจักรเป็นตลาดเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ และมีการแข่งขันค่อนข้างสูงทั้งสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศ และสินค้าที่นาเข้าจากต่างประเทศ แต่จากการที่เป็นตลาดที่ไม่มีภาษีนาเข้าเกือบทุกประเภทของสินค้าเฟอร์นิเจอร์ ยกเว้นเฟอร์นิเจอร์ที่ทาจากวัสดุอื่นนอกเหนือจากไม้ โลหะ และพลาสติก เช่น หวาย ไม้ไผ่ ที่ต้องเสียภาษีนาเข้าในอัตราที่ค่อนข้างต่า ประกอบกับสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของไทยได้พัฒนาคุณภาพมาตรฐาน และรูปแบบที่สามารถแข่งขันได้ดีขึ้น สินค้าเฟอร์นิเจอร์ของไทยจึงยังคงมีลู่ทางขยายการส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ได้เพิ่มขึ้นอีกมาก

6.3 แม้ว่าราคายังคงเป็นปัจจัยหลักในการเลือกซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภคส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักร แต่ผู้ส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของไทยควรหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคา และหันมาให้ความสาคัญกับการพัฒนาและการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และจับกลุ่มลูกค้าที่มีรสนิยมที่ให้ความสาคัญกับรูปแบบสินค้า ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกาลังซื้อสูง โดยควรวางตาแหน่งสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไว้ตลาดบนมากกว่าการแข่งขันด้านราคาและข้อเสนอพิเศษในการขาย เน้นการเพิ่มคุณภาพและภาพลักษณ์ของสินค้าเพื่อยกระดับราคาและกาไร และให้ความสาคัญเป็นพิเศษในการพัฒนาและนาเสนอผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ที่หลากหลาย

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ