1. ภาวะเศรษฐกิจบังกลาเทศ ยังคงเป็นไปด้วยดี โดยศูนย์วิจัยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ คาดการณ์ว่า 2010 GDP Growth=6%จากปี 2009=5.9% และจากรายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจของธนาคารกลาง ณ 28 ม.ค.10 ดังนี้
1.1 รายได้จากการเก็บภาษีเดือนธ.ค.09 จำนวน 48.4 พันล้านตากาเพิ่มขึ้นจากธ.ค.08 30.55%และยอดรวมช่วง ก.ค.-ธ.ค.09 =264.4 พันล้านตากา เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 17.95%
1.2 เงินสำรองเงินตราต่างประเทศ ณ 27 ม.ค..มีจำนวน 10,100.82 ล้านUSD ใกล้เคียงกับต้นเดือนธ.ค.แต่สูงกว่าม.ค.ปี ก่อนซึ่งมี เพียง 5,543.93 ล้าน USD
1.3 เงินโอนจากแรงงานในต่างประเทศเดือนธ.ค.มีจำนวน 876.33 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากพ.ย.09 (1,053.54 ล้านดอลลาร์)แต่สูงขึ้นจากธ.ค.08(758.0) ร้อยละ19.3 และยอดรวมช่วงก.ค.-ธ.ค .09 = 5,535.67 ล้านดอลลาร์ สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อน ร้อยละ22.89
1.4 มูลค่าส่งออกของบังกลาเทศเดือนพ.ย.09 รวม 1,197.5 ล้านดอลลาร์สูงขึ้นจากต.ค.09 (1,024 ล้านดอลลาร์) แต่ลดลงจากพ.ย.ปีก่อนซึ่งมีจำนวน1,297.5 ล้านดอลลาร์ ร้อยละ7.7 และมูลค่ารวม ก.ค.-พ.ย.09 =6,097.7 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ6.93 ในขณะที่มูลค่านำเข้าพ.ย.09=1,820.5 ลดลงจากต.ค.09(=2,032 ล้านดอลลาร์) แต่ใกล้เคียงกับพ.ย.ปีก่อน เป็นผลให้ขาดดุลการค้า 623 ล้านดอลลาร์ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 434 ล้านดอลลาร์
1.5 อัตราเงินเฟ้อต.ค.09 เท่ากับร้อยละ 6.71 สูงขึ้นจากเดือนก.ย.ซึ่งเท่ากับ 4.60 จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ยังต่ำกว่าต.ค.08ซึ่ง เท่ากับร้อยละ 7.26
2. ภาวะการค้าในประเทศ ราคาสินค้าจำเป็นต่างๆ มีราคาสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก เช่น
2.1 ภาวะการค้าน้ำตาล ราคาขายปลีกน้ำตาลกลางเดือนม.ค.=30 บาท/กก.ภายในหนึ่งสัปดาห์เพิ่มขึ้น(=27บาท/กก.)กว่า10% ราคาส่งจาก43บาท/กก.เป็น52บาท/กก.ในขณะที่รัฐบาลกำหนดราคาหน้าโรงงาน 45 บาท ราคาขายส่ง 48 บาท สมาคมโรงงานน้ำตาลได้เรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชย ในราคาต้นทุนที่ 39 บาท/กก.และตำหนิรัฐบาลที่ไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาก่อนหน้านี้ โดยยกเว้นภาษีนำเข้าน้ำตาลเดือนก.ย.-ต.ค.ซึ่งหากยกเว้นเวลานี้ก็ไม่มีประโยชน์ เนื่องจากราคาตลาดโลกได้สูงมากแล้ว แต่ให้รัฐบาลลดภาษีน้ำตาลดิบแทนเพื่อลดต้นทุนการผลิตน้ำตาลทรายขาว ปัจจุบันปริมาณความต้องการในประเทศประมาณ 1.3 ล้านตัน โดยโรงงานเอกชนผลิต 1.2 ล้านตัน โรงงานรัฐบาลผลิต 0.8ล้านตัน
2.2 ภาวะการค้าข้าว ฤดูการเก็บเกี่ยวข้าว Aman (พ.ย.-ธ.ค.)มีปริมาณ13.1ล้านตันเกินกว่าเป้า(12.7)0.4 ล้านตัน แม้ว่าปริมาณน้ำน้อยจากฝนมาช้าในปีนี้ เป็นผลจากรัฐบาลสนับสนุนพันธุ์ข้าว ปุ๋ย และการชลประทานเต็มที่ ทำให้มีการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก และมีผลผลิตต่อเอเคอร์สูงกว่าปีก่อน
3. ภาวะการส่งออกสินค้าจากไทยไปบังกลาเทศ ปริมาณการส่งออกรวม ช่วงม.ค.-ธ.ค.เพิ่มขึ้น 8.22% จากการส่งออก น้ำตาลทราย สายไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และแร่ยิบซัม เป็นต้น สำหรับการส่งออกเฉพาะเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น6.65% จากการส่งออกซีเมนต์ ด้าย เส้นใยประดิษฐ์ อะไหล่รถยนต์ เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์จากไม้ และเครื่องเทศสมุนไพร เป็นต้น
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงธากา บังกลาเทศ
ที่มา: http://www.depthai.go.th