สถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าในอิตาลี ระหว่างวันที่ 16-31 มกราคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 15, 2010 17:03 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะเศรษฐกิจในช่วง 2 สัปดาห์หลังของเดือน ม.ค. 53 ยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนที่ค่อนข้างซบเซา ผลการศึกษาของสถาบันวิเคราะห์และศึกษาด้านเศรษฐกิจของอิตาลี (The Institute for Economic Study and Analysio-ISAE) ได้รายงานว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ธ.ค. 52 ได้ลดลงจากเดือนก่อนหน้า(113.7 จุด)เป็น 111.7 จุด โดยผู้บริโภคยังคงมีความเชื่อมั่น ในทางบวกต่อภาวะเศษฐกิจปัจจุบันแต่ยังมองในแง่ลบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ

2. กลุ่มผู้บริโภคชั้นนาในอิตาลี ได้แก่ Adusbef และ Federconsumatori แถลงว่ายอดขายในช่วงเทศกาลลดราคา (On Sales) หลังจากคริสต์มาสและปีใหม่ค่อนข้างซบเซาแม้จะเริ่มดีในช่วงแรก โดยได้คาดว่ายอดขายจะลดลงเพียง 5% แต่ในความเป็นจริงกลับหดตัวลงมากกว่า 11% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งขัดแย้งกับปรากฎการณ์ในช่วง 10 วันแรกของเทศกาลลดราคาที่สมาคมผู้ค้าปลีก (CONFESERCENTI) ได้เปิดเผยว่ายอดขายเพิ่มขึ้น 10-20% โดยเฉพาะในมิลานและโรม อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้บริโภค CODACONS ก็ได้ยืนยันว่าในความเป็นจริงยอดขายในช่วงหลังของเทศกาลลดราคาได้ลดลงถึง 10% โดยประชาชนกว่า 50% ของครัวเรือนไม่มีงบประมาณพอที่จะซื้อแม้ว่าจะเป็นเทศกาลลดราคาก็ตาม

3. ในปี 2552 บริษัทอิตาลีต้องปรับโครงสร้างในการผลิต วิธีที่บริษัทต่างๆนิยมที่สุดคือ การลดจานวนพนักงาน เนื่องจากผลประกอบการที่ผ่านมาลดลงประมาณ 20 -40% โดยบริษัท Porsche Consulting ในเยอรมัน ได้เปิดสาขาขึ้นที่อิตาลีเพื่อให้การสนับสนุน SME และโน้มน้าวให้ผู้ผลิตและบริษัทในอิตาลีใช้วิธีการเดียวกัน ในการผ่านวิกฤตเศรษฐกิจ เพราะ Porsche Consulting เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ประสบความสาเร็จในช่วงวิกฤตดังกล่าว โดยเสนอจัดคอรส์อบรมแก่ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายผลิตและฝ่าย Logistic ที่สนใจที่จะเรียนรู้ “Learn management” ซึ่งเป็นวิธีการลดต้นทุนในการผลิต ตัดรายจ่ายที่ไม่จาเป็นออก และไม่จาเป็นต้องย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่มีค่าแรงต่า เพราะเป็นที่ประจักษ์ว่าการย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่มีค่าแรงต่าจะทาให้คุณภาพของการผลิตลดลง ในขณะที่การจ่ายค่าแรงที่สูงกลับคุ้มค่ากับผลผลิตที่มีคุณภาพดีและไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิตจากของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต

4. จากผลสารวจของสมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าแฮนด์ดิคราฟท์และผู้ประกอบการขนาดเล็ก (Confartigianato)พบว่า ชุมชนจีนในอิตาลี มีบทบาทมากชั้นในธุรกิจสิ่งทอ,เสื้อผ้า, เครื่องหนังและเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเป็นธุรกิจสาคัญของสินค้า Made in Italy เริ่มแรกคนจีนเป็นเจ้าของโรงงานสิ่งทอในแถบ Prato แต่ตอนนี้เริ่มขยายต่อไปในธุรกิจ Made in Italy อย่างแหล่งผลิตรองเท้าใน Mantova และรอบๆ Ascoli Piceno โรงงานผลิตโซฟาในForli และเฟอร์นิเจอร์ใน Brianza นอกจากนี้ ในแคว้นTuscany พบว่าคนจีนเป็นเจ้าของธุรกิจในอุตสาหกรรมสิ่งทอ, เสื้อผ้า,เครื่องหนังและเฟอร์นิเจอร์ ถึง 46.5% (ประมาณ 3,240 โรงงานใน Prato และอีก 2,309 ในเมืองฟลอเรนซ์ ในแคว้น Emilia Romagna นอกจากนี้ ยังมีการขยายตัวของนักลงทุนชาวจีนถึง 33.9% ในแคว้น Abruzzo 26.8% แคว้น Veneto 25.95% และแคว้น Lombardia 20.4%) โดยได้เข้าไปลงทุนและซื้อโรงงานมาจากผู้ประกอบการอิตาลี ที่ต้องขายโรงงานของตัวเองเพราะทนสู้กับค่าแรงที่ถูกมากของชาวจีนไม่ไหว ทาให้ในช่วง 4 ปีนี้ ธุรกิจของคนอิตาลีมากมายถูกชาวจีนซื้อไป และเกิดข้อสงสัยว่ามีการโอนเงินไปจีนเพื่อซื้อวัตถุดิบและนาเข้ามาอย่างผิดกฎหมายเพื่อนามาผลิตรองเท้า, เฟอร์นิเจอร์และเสื้อผ้าในโรงงานเหล่านี้และส่งออกไปขายภายใต้ แบรนด์ Made in Italy ด้วย

ทั้งนี้ Paolo Zegna รองประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมอิตาลีกล่าวว่าธุรกิจขนาดเล็กเกินไปเป็นจุดอ่อนที่สาคัญของอิตาลี จึงควรจะมีการตั้งแหล่งกองทุน เพื่อการกู้ยืมในการจัดตั้งบริษัทโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่เป็นหน้าตาของแบรนด์ Made in Italy

5. จากการจัดงาน VICENZAORO FAIR 2010 ที่ Vicenza เมื่อ 16 ม.ค. 53 ปรากฎว่า มีบริษัทต่างๆเข้าร่วม 1,500 รายจาก 31 ประเทศ และ 58 จังหวัดในอิตาลี ทั้งนี้ อุตสาหกรรมจิวเวลรี่เริ่มซบเซาตั้งแต่ปี 2543 โดยเฉพาะในปี 2546 ยอดการผลิตเครื่องประดับจากทองและเงินก็ตกลงอย่างรุนแรงเนื่องจากปัจจัยจากทั้งในและต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่นในตลาดสหรัฐฯ ยอดส่งออกลดลงกว่า 75% ในขณะที่ส่วนแบ่งตลาดถูกแย่ง โดยประเทศคู่แข่งสาคัญอย่าง อินเดีย จีน ไทย และตุรกี คาดว่าอนาคตของธุรกิจเครื่องประดับในอิตาลียังไม่มีสัญญานที่ดีนัก ผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซาและค่าวัตถุดิบที่สูงขึ้น เช่นราคาทองคาที่สูงขึ้น16% (ตั้งแต่เดือนม.ค.— ก.ย. 2552) ทาให้ธุรกิจเครื่องประดับ Made in Italy ซึ่งมีชื่อเสียงมานานในฝีมือและการออกแบบต้องหายุทธศาสตร์ใหม่ โดยการเร่งความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการกับผู้จัดจาหน่ายในการส่งเสริมการขายให้มากขึ้น

6. ISAE ได้รายงานว่าในเดือนม.ค. 53 ความเชื่อมั่นทางธุรกิจและภาคการขายปลีกของอิตาลีได้เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง โดยความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นในกลุ่มร้านค้าปลีกขนาดใหญ่แบบ OUT LET (119.3 จุดสาหรับ traditional big outlet และ 105.2 จุดสาหรับ modern outlet) และบริษัทก่อสร้าง(71 จุด) เป็นต้น

การเพิ่มขึ้นของคาสั่งซื้อและการลดลงของสินค้าคงคลังช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีความเชื่อมั่นในทางบวก (optimism )เพิ่มมากขึ้น มีผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นด้านการลงทุนของสินค้าเพิ่มมากขึ้นจาก 77 จุดเป็น 78.6 จุดดัชนีความเชื่อมั่นสาหรับสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นจาก 80 จุดเป็น 80.2 จุด ในขณะที่ดัชนีสินค้าบริโภคลดลงจาก 89.8 จุด เป็น 89 จุด

7. สานักงานสถิติแห่งสถิติ(ISTAT) ได้รายงานว่าแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 52 จะต่าสุดในรอบ 50 ปี แต่หวังว่าจะเพิ่มสูงขึ้นได้ในปี 53 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ได้ผ่านภาวะถดถอยและเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อยๆ โดยปรากฏว่าในปี 2552 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ +0.8% (เพิ่มสูงสุดในรอบ 12 ปี เมื่อปี 2551 ในอัตรา +3.3 % และมีอัตราเงินเฟ้อที่ต่าที่สุด -0.4% ในปี 2502) ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของค่าขนส่งยาสูบและค่าประกันภัย

นักสังเกตการณ์ทั้งหลายคาดว่าเศรษฐกิจอิตาลีจะฟื้นตัวและมีอัตราเงินเฟ้อที่เป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศในกลุ่มยูโรโซน 16 ประเทศ ในระดับ 1.4% ในปี 2553 และ 2% ในปี 2554

ในส่วนของการว่างงาน ISTAT ได้รายงานว่า อัตราการว่างงานในอิตาลีได้เพิ่มขึ้นจาก 8.3% ในเดือน พ.ย. 52 เป็น 8.5% ในเดือน ธ.ค. 52 สูงสุดนับตั้งแต่ ม.ค. 2549 โดยมีจานวนคนว่างงานรวมทั้งสิ้นราว 2,138,000 คน

8. ISTAT ได้รายงานดังนี้

8.1 การใช้จ่ายสาธารณะ (Public Spending) ของอิตาลีในปี 2551 ได้เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 50 % ของ GDP โดยได้เปรียบเทียบระหว่างปี 2543 และ 2551 ดังนี้

                                ปี 2543 (%ของGDP)        ปี 2551(%ของGDP)
          - การใช้จ่ายสาธารณะ           46.6%                  49.3%
          - การใช้จ่ายขั้นปฐม             39.9%                  44.1%
          - ดอกเบี้ยจ่ายชาระหนี้            6.3%                   5.1%

8.2 การส่งออก ในปี 2552 อิตาลีส่งออกไปประเทศนอกสหภาพยุโรปมีมูลค่าลดลงจากปี 2551 ถึง 18.2% ซึ่งนับว่าต่าสุดนับตั้งแต่ปี 2536 ลดลงทั่วโลก โดยตลาดที่การส่งออกลดลงอย่างสาคัญ ได้แก่ รัสเซีย สหรัฐฯ ตุรกี และประเทศแถบโอเซียเนีย

8.3 การนำเข้า ในปี 2552 อิตาลีนาเข้าลดลงจากปี 2551 ถึง 26.9 % แต่ก็ยังขาดดุล 2,328 พันล้านยูโร โดยเป็นการนาเข้าน้ามัน (19% ของมูลค่านำเข้า) ก๊าซธรรมชาติ (11.5%) แต่หากไม่รวมการนำเข้าน้ามันและก๊าซธรรมชาติดังกล่าว จะทาให้อิตาลีเกินดุลถึง 36,244 พันล้านยูโร

9. สมาพันธ์ผู้ผลิตอาหารแห่งอิตาลี(FEDERALIMENTARE) ได้เปิดเผยว่าในปี 2552 กลุ่มสินค้าอาหารเป็นสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างน้อยและดีกว่ากลุ่มสินค้าอื่นๆ ทั้งในด้านการผลิตและการจาหน่าย ดังนี้

  • ผลผลิตลดลง -1.8% (เมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมโดยทั่วไปที่หดตัวลง -18%)
  • ยอดจาหน่ายลดลง - 1.6% (ปี 2551ลดลง - 2.5% )
  • การส่งออก ลดลง 6-7% ในช่วงต้นปี 52 และคาดว่าทั้งปี 2552 ลดลง 4% (ปี 2551 ลดลง 24%) โดยตลาดสาคัญๆที่มีการส่งออกลดลงได้แก่ สหรัฐฯ (- 3.2%) แคนาดา (-9.5%) และเยอรมัน(-3.4%)

สินค้าที่อิตาลีส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ ผักและผลไม้แปรรูป (+11.3%) สินค้าที่มีการขัดสี (milled products) (+8.8%) เบียร์และลูกกวาด(+3%) เนื้อและกาแฟ(0.4%)

สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลงได้แก่ ไวน์ (-6.2%) พาสต้า (-9.9%) ทั้งนี้ สมาพันธ์ฯคาดว่าในปี 2553 การส่งออกจะไม่ต่างจากปี 2552 คือลดลง 4% และจะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆในปี 2554 และปี 2555

10. รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมอิตาลี(นาย Claudio Scajola) ได้กล่าวในงานมอบรางวัล The Leonardo Prize ซึ่งมอบให้แก่ผู้ประกอบการอิตาลีที่ได้รับคัดเลือกว่าเป็นบริษัทที่มี image และมีชื่อเสียงที่สุดในโลกว่า อิตาลีได้ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจไปแล้วอย่างชัดเจน โดยเห็นได้จากความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจที่เริมดีขึ้นรวมทั้งการส่งออกและคาสั่งซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งอิตาลีจะต้องรีบฉวยโอกาสจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยนอกเหนือจากคุณภาพสินค้าแล้ว ยังต้องเน้นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ (Innovation) ที่ถือเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจที่แท้จริงและเป็นเครื่องมือที่จาเป็นในการแข่งขันซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาคธุรกิจ มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัย ธนาคารและรัฐบาล สอดคล้องกับคากล่าวของประธาน CONFINDUSTRIA (นาง Emma Marcegaglia) ที่เน้นว่าปี 2553 จะเป็นปีที่ลาบากอีกปีหนึ่ง ซึ่งการจะผ่านพ้นไปได้ต้องอาศัยการค้นคว้าวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง การคิดค้นนวัตกรรมและการลงทุนใหม่ๆเป็นต้น

11. Wall Street Journal ได้เปิดเผยการจัดทาดัชนีโอกาสทางเศรษฐกิจของปี 2552 โดยได้จัดให้อิตาลีอยู่อันดับที่ 74 จากจานวน 179 ประเทศสาหรับโอกาสทางธุรกิจ (Business opportunity) และความมั่งคั่ง (Property) และถือว่าเป็นประเทศที่มีความเสรีทางเศรษฐกิจพอประมาณ(moderately free) ทั้งในด้านความสะดวกและความปลอดภัยในการดาเนินธุรกิจแต่ยังล้าหลังกว่าประเทศกาลังพัฒนาเช่น โคลอมเบีย(อันดับที่ 58) อัลบาเนีย(อันดับที่ 53) และมาดากัสการ์ (อันดับที่ 69)

ทั้งนี้ อิตาลียังคงมีความไม่เสมอภาคระหว่างท้องถิ่น โดยเฉพาะแคว้นอุตสาหกรรมทางตอนเหนือของประเทศและแคว้นทางตอนใต้ที่มีการบริหารจัดการด้านการคลังสาธารณะที่ไม่มีประสิทธิภาพ มีการคอรัปชั่นสูงและปัญหาหนี้สาธารณะที่สูงเป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐและญี่ปุ่น

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ยอมรับว่าการเริ่มต้นทาธุรกิจในตลาดอิตาลีค่อนข้างสะดวกและเห็นว่าความมั่นคงของตลาดการเงินของอิตาลีได้ช่วยภาคธุรกิจธนาคารให้สามารถรับมือวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้

ทั้งนี้ ฮ่องกง สิงคโปร์และออสเตรเลีย เป็นประเทศที่มีเสรีทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก ตามด้วยไอร์แลนด์(อันดับที่ 5 ซึ่งสูงสุดในกลุ่มประเทศยุโรป) ส่วนประเทศที่มีเสรีทางเศรษฐกิจต่าสุดได้แก่ กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ได้แก่ คิวบา เกาหลีเหนือและซิมบับเว ซึ่งเป็นประเทศที่เกิดสงครามค่อนข้างมาก

12. ธนาคารชาติแห่งอิตาลี (Bank of Italy) ได้คาดการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอิตาลีในปี 2553 และปี 2554 ว่าจะยังคงอ่อนแอ(Weak) และมีความไม่แน่นอนสูง(High uncertainty) โดยคาดว่า GDP ปี 2553 จะเท่ากับ 0.7% และ 1% ในปี 2554 นอกจากนี้ ในปี 2552 อิตาลีจะขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นเป็น 5.3% ( ปี 51 เท่ากับ 2.7% ของ GDP) ต่ากว่าอัตราเฉลี่ยของ 16 ประเทศยูโรโซนที่คาดว่าจะเท่ากับ 6.4% ของGDP (ปี 51 เท่ากับ 2% ของGDP) และหนี้สาธารณะในปี 2553 จะสูงขึ้น 115.1% ของ GDP

ส่วนการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนในอิตาลีในไตรมาสสุดท้ายของปี 52 ค่อนข้างอ่อนตัวและกาลังซื้อของผู้บริโภคก็ได้หยุดชะงักลงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 15 ปี

13. รายงานประจาปี 2552 ของ The Socio — economic think tank, Eurispes ได้รายงานว่ารายได้เงินเดือนของคนอิตาลีค่อนข้างต่าแต่ต้องเสียภาษีสูงกว่าประเทศอื่นๆในกลุ่ม OECD ทั้ง 30 ประเทศ (ภาษีสาหรับลูกจ้างของอิตาลีจะอยู่ประมาณ 46.5% สูงเป็นอันดับที่ 6) โดยในปี 2551 เงินเดือนเฉลี่ยของคนอิตาเลี่ยนเท่ากับ 21,374 เหรียญสหรัฐฯ (อันดับที่ 23) ซึ่งค่อนข้างต่าเมื่อเทียบกับประเทศในสหภาพยุโรปด้วยกัน เช่น เยอรมัน(29,570 เหรียญสหรัฐฯ) ฝรั่งเศส(26,010 เหรียญสหรัฐฯ) สเปน(24,632 เหรียญสหรัฐฯ) แต่ยังสูงกว่าโปรตุเกส (19,150 เหรียญสหรัฐฯ) เช็ครีพับบลิก(14,540 เหรียญสหรัฐฯ) และโปแลนด์ (13,010 เหรียญสหรัฐ)

นอกจากนี้ Eurispes ได้รายงานเพิ่มเติมว่าอุบัติเหตุที่เกิดในการทางานและในท้องถนนทาให้เกิดต้นทุนด้านภาษีของประชาชนอิตาลีถึงปีละ 72 พันล้านยูโร คิดเป็น 4.6% ของGDP โดยเฉพาะการบาดเจ็บที่เกิดจากการทางานอย่างเดียวจะมีต้นทุนในการให้บริการรักษาและค่าชดเชยถึงปีละ 44 พันล้านยูโร โดยในปี 2551 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 874,940 กรณี คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ยที่รัฐบาลต้องจ่ายกรณีละ 50,000 ยูโร

ส่วนอุบัติเหตุในท้องถนนก่อให้เกิดต้นทุนด้านภาษีรองลงมาเป็นอันดับ 2 คือ 28 พันล้านยูโร สาหรับการช่วยเหลือบนท้องถนน ค่ายา และค่าบริการอื่นๆ โดยในปี 2551 มีอุบัติเหตุบนท้องถนนกว่า 219,000 ราย คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ยที่รัฐบาลต้องจ่ายกรณีละ 131,000 ยูโร

ดังนั้น การปรับปรุงให้เกิดความปลอดภัยในการทางานและท้องถนนจะช่วยประหยัดงบประมาณด้านภาษีของรัฐบาลได้อย่างมาก

14. IMF ได้ปรับการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลกในปี 2553และปี 2554 จากที่ได้เคยจัดทาเมื่อเดือนต.ค. 52 ดังนี้

  • ภาพรวมเศรษฐกิจ คาดว่า GDP ของโลกในปี 2553 จะขยายตัว 3.9% (เดิม 3.1%) และ4.3% ในปี 2554 (เดิม 4.2%)
  • อิตาลี คาดว่า GDP ในปี 2553 จะขยายตัว 1% (เดิม 0.2%) และ 1.3% ในปี 2554 (เดิม 0.7%)
  • สหรัฐอเมริกา คาดว่า GDP ในปี 2553 จะขยายตัว 2.7% (เดิม 1.2%) และ 2.4 % ในปี 2554 (เดิม 2.0%)
  • จีน คาดว่า GDP ในปี 2553 จะขยายตัวสูง 10% และลดลงเล็กน้อยเป็น 9.7% ในปี 2554
  • อินเดีย คาดว่า GDP ในปี 2553 จะขยายตัว 7.7 % และ 7.8% ในปี 2554
  • ญี่ปุ่น คาดว่า GDP ในปี 2553 จะขยายตัว 1.7 % และ 2.2% ในปี 2554
  • รัสเซีย คาดว่า GDP ในปี 2553 จะขยายตัว 3.6 % และ 3.4 % ในปี 2554

15. รมว. อุตสาหกรรมอิตาลี (นาย Claudio Scajola) ได้เปิดเผยว่ามาตรการช่วยเหลือทางการเงินที่รัฐบาลได้ออกมาเพื่อช่วยอุตสาหกรรมรถยนต์ (มาตรการcash for clunkers) ซึ่งได้หมดอายุลงเมื่อ ธ.ค. 52 และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการยุโรปให้มีการต่ออายุมาตรการดังกล่าวในปี 2553 ออกไปอีกนั้นอาจต้องลดวงเงินและลดระยะเวลาการใช้มาตรการให้สั้นลง เนื่องจากในระยะยาวจะมีผลทาให้ตลาดขาดเสถียรภาพ นอกจากนี้อาจพิจารณาขยายมาตรการให้ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมอื่นที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

เห็นชอบจากคณะกรรมาธิการยุโรปให้มีการต่ออายุมาตรการดังกล่าวในปี 2553 ออกไปอีกนั้นอาจต้องลดวงเงินและลดระยะเวลาการใช้มาตรการให้สั้นลง เนื่องจากในระยะยาวจะมีผลทาให้ตลาดขาดเสถียรภาพ นอกจากนี้อาจพิจารณาขยายมาตรการให้ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมอื่นที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

นาย Sergio Marchionne, CEO ของเฟี๊ยตกรุ๊ปได้ออกมาเปิดเผยว่าปี 2552 ที่ผ่านมาถือเป็นปีแห่งความเสียหายโดยมีผลขาดทุนสุทธิ 800 ล้านยูโร เมื่อเทียบกับปี 2551 ที่มีผลกาไรถึง 1.7 พันล้านยูโรแต่ในปี 2553 จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง ความมีเสถียรภาพและคาดว่าจะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อเดือนธ.ค. 52 บริษัทประกาศว่ามีแผนที่จะปิดโรงงานผลิตที่ซิซิลี ซึ่งมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าโรงงานอีก 4 แห่ง ถึงคันละ 1,200 ยูโร และได้รับข้อเสนอของรัฐบาลที่ขอให้บริษัทเพิ่มการผลิตจาก 650,000 คันในปี 2552 เป็น 900,000 คันในปี 2553 เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นของอิตาลี

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ