งานแสดงสินค้า FILMART 2010 ณ เมืองฮ่องกง

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 23, 2010 12:14 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาพรวมการจัดงาน Filmart

งาน Hong Kong International Film & TV Market 2010 ณ เมืองฮ่องกง จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงเดือนมีนาคม ปี 1995 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 14 มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 30 ประเทศ รวม 450 คูหา ถือว่าเป็นงานแสดงเกี่ยวกับภาพยนตร์บันเทิงที่ได้รับความนิยมมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายในงานแสดงมีผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ Film Financing, Distribution, Production, Post-Production, TV, Digital Entertainment, Film & Broadcasting Equipment and Shooting Locations พื้นที่แสดงจัดแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

  • Film Market เป็นส่วนซื้อ- ขายภาพยนตร์
  • TV World จัดแสดงด้านการ์ตูน Animation Graphic Design และละครโทรทัศน์
  • Location World จัดประชาสัมพันธ์ด้านสถานที่ถ่ายทำ และเงื่อนไขการสนับสนุนการถ่ายทำ(Incentives)

ผู้สนับสนุนการจัดงาน

  • Federation of Hong Kong Filmmakers
  • Hong Kong Chamber of Films
  • Hong Kong Digital Entertainment Association
  • Hong Kong Film Development Council
  • Hong Kong, Kowloon & New Territories Motion Picture Industry Association(MPIA)
  • Hong Kong Televisioners Association(HKTVA)
  • Movie Producers and Distributors Association of Hong Kong Ltd(MPDA)
การเข้าร่วมงานของไทย

กรมส่งเสริมการส่งออก ได้ร่วมงานแสดงสินค้า Hong Kong Film Festival ณ เมืองฮ่องกงมาแล้ว 2 ครั้ง ในปีนี้ กรมฯ เข้าร่วมงานเป็นครั้งที่ 3 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ภาพรวมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และบันเทิงไทยในงานด้วย โดยในคูหาประเทศไทย(Thailand Pavilion) แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • ส่วนนิทรรศการ พื้นที่ 60 ตรม.
  • ส่วนจัดแสดงสินค้าและบริการ พื้นที่ 90 ตรม. มีบริษัทเข้าร่วม 10 บริษัท ได้แก่

1. Appreciate Entertainment ประเภทสินค้า Animation, Post-production, Sales Agent

2 .Five Star Production ประเภทสินค้า Film Production, Film Distribution

3. Gbox Studio Co., Ltd. ประเภทสินค้า Animation

4. Oom Maharuai Film Co.,Ltd ประเภทสินค้า Film Production, Film Distribution

5. Oriental Eyes Co., Ltd. ประเภทสินค้า Film Production, Film Distribution

          6. Phranakorn Film            ประเภทสินค้า Film Production

7. Right Beyond Co., Ltd ประเภทสินค้า Film Production, Video Distribution, Film Distribution

          8. Sahamongkol Film           ประเภทสินค้า Film Production, Film Distribution, Video  Distribution

9. Technicolor (Thailand) ประเภทสินค้า Post-production 10. Thailand Film Office หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ กำหนดมาตรการ และดำเนินการส่งเสริมสนับสนุน ธุรกิจภาพยนตร์และสื่อบันเทิงทุกประเภท ทั้งการผลิต ภาคบริการ การถ่ายทำภาพยนตร์ของต่างประเทศในประเทศไทย และกิจการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการสร้างรายได้ การท่องเที่ยว และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม

วัตถุประสงค์การเข้าร่วมงานของไทย
  • ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์อุตสาหกรรมภาพยนตร์และบันเทิงให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับนานาชาติ
  • มีโอกาสได้พบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลและเจรจาการค้ากับผู้ซื้อ(ผู้เข้าร่วมงาน/ผู้เยี่ยมชม) ภาพยนตร์ในฮ่องกง จีน เอเชีย ยุโรป อเมริกา
  • เผยแพร่ศักยภาพของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และบันเทิงไทยที่มีอย่างครบวงจร และสนับสนุนให้ต่างประเทศเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์/รายการ/สารคดี/ทีวี ในประเทศไทย
ภาพรวมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮ่องกง

ฮ่องกงมีบริษัททำภาพยนตร์และการบริการด้านบันเทิง ในปี 2009(March) 1,589 บริษัท การจ้างงาน 14,412 คน ในปี 2008 มีจำนวนภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในฮ่องกง 247 เรื่อง และมีรายได้หนังทำเงิน “Box Office” 1,109 ล้านเหรียญฮ่องกง เมื่อเปรียบกับปี 2007 อัตรขยายตัวร้อยละ 5.5

Motion Pictures and Other Entertainment Services          March 2008         March 2009
Number of establishment                                      1,693              1,589
Employment (excluding those in civil service)               15,790             14,412
Source: Quarterly Report of Employment and Vacancies Statistics, Census and Statistics Department

                                                             2007          2008
Number of local films released                                 220          247
Total box office receipts (HK$ million)                      1,051        1,109
Year-on-year (YoY) % growth of total box office receipts      10.1          5.5

ฮ่องกงถือว่าเป็นศูนย์กลางการผลิตภาพยนตร์บันเทิงขนาดใหญ่ โดยในปี 2007(พ.ศ.2550) ฮ่องกงมีการผลิตภาพยนตร์เป็นอันดับ 1 ของเอเชีย และอันดับที่ 4 ของโลก และในช่วงหลายที่ผ่านมาฮ่องกงติดอันดับต้นๆ ของโลกที่มีการส่งออกภาพยนตร์/ทีวี มากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แม้ว่าระยะหลังๆ ภาพยนตร์/ทีวี จากประเทศอื่นๆ ในกลุ่มเอเชีย ได้เข้ามาแย่งส่วนแบ่งของตลาดฮ่องกงไปบ้าง ได้แก่ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดังนั้น ในปี 2551 The Hong Kong Film Development Council ได้เปิดตัวโครงการ “Hong Kong Film: New Action” เพื่อส่งเสริมภาพยนตร์ฮ่องกงและผู้กำกับฮ่องกงรุ่นใหม่สู่ตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงสิงคโปร์และมาเลเซีย มีการจัดคณะ Mission เดินทางไปโปรโมทในประเทศต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีการส่งเสริมการเป็นแหล่งถ่ายทำภาพยนตร์ด้วย ภาพยนตร์ที่ใช้ฮ่องกงเป็นที่ถ่ายทำ ได้แก่ The Dark Knight, Fantastic Four: Rise of the Silver Surfer, Push เป็นต้น

ช่องทางการจำหน่าย

ปี 2008 ฮ่องกงมีโรงภาพยนตร์จำนวน 47 โรง ภาพยนตร์ต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะฉายผ่านค่าย United Artists(UA), Broadway Circuit และ Panasia Circuit ภาพยนตร์จีนส่วนใหญ่จะฉายในเครือบริษัท Newport Circuit บริษัท Gala Film อีกช่องทางหนึ่งคือการจำหน่ายให้กับบริษัท/ตัวแทน แผ่นหนัง DVDs CDs ทีวี และเคเบิล

ฮ่องกงได้รับการยอมรับว่าเป็นตลาดส่งออกภาพยนตร์รายใหญ่ของโลก รายได้ภาพยนตร์ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปต่างประเทศ เนื่องด้วยตลาดฮ่องกงมีขนาดเล็กและจำกัด โดยตลาดเอเชียเป็นตลาดใหญ่สุดของฮ่องกง และในปีที่ผ่านมา จีนแผ่นดินใหญ่เป็นประเทศที่ซื้อภาพยนตร์ฮ่องกงมากที่สุด

ภาพยนตร์ฮ่องกงได้รับการยอมรับจากตลาดทั่วโลก ผู้ซื้อสนใจเข้ามาซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์/บทละคร เช่น ตลาด Hollywood ได้มีการซื้อลิขสิทธิ์บทภาพยนตร์ของฮ่องกง และนำไปสร้างใหม่(Remake) หลายเรื่อง เช่นเรื่อง “The Departed” ที่ได้รางวัลออสการ์ถึง 4 รางวัล ในปี 2007 ก็มาจากภาพยนตร์ฮ่องกงเรื่อง “Infernal Affairs” ที่สร้างในปี 2002 หรือเรื่อง “The Eye” ก็มาจากเรื่อง “Gin Gwai” เป็นต้น

ฮ่องกง มีองค์กรและสมาคม ที่มีส่วนในการส่งเสริมและพัฒนาภาพยนตร์ ทีวี และบันเทิง ได้แก่

  • The Movie Producers and Distributors Association of Hong Kong Ltd (MPDA),
  • The Motion Picture Industry Association (MPIA),
  • The Hong Kong Film Directors’ Guild (HKFDG),
  • The Hong Kong Screenwriters’ Guild (HKSWG)

ภาพยนตร์/ทีวีไทย กับตลาดฮ่องกงเนื่องจาก ฮ่องกงเป็นแหล่งผลิตและส่งออกภาพยนตร์รายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังเป็นศูนย์ล้างฟิล์มรายใหญ่ ในอดีตผู้สร้างภาพยนตร์ไทยมักจะส่งไปล้างฟิล์มที่ฮ่องกง เมื่อมีแนวคิดรวบรวมภาพยนตร์ไทยเรื่องเก่าๆ ที่สูญหายไป จึงต้องไปติดต่อกับแล็บที่ฮ่องกงที่ยังเก็บฟิล์มเนกาทีฟเอาไว้

ระยะหลัง มีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เข้ามาฉายในฮ่องกง และได้รับความนิยม ได้แก่ จันดารา ต้มยำกุ้ง องค์บาก 2 Chocolate แฝด และภาพยนตร์ Animation ก้านกล้วย

ใน บริษัทฮ่องกงที่ผลิตภาพยนตร์และสื่อต่างๆ (Production House) หลายแห่งมีคนไทยไปทำงานด้าน Graphic หลายคน โดยเฉพาะภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งจากการสอบถามทราบว่าคนไทยมีแนวคิดสร้างสรร และมีความเป็นมืออาชีพ

สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองฮ่องกง

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ