ภาวะการค้าระหว่างไทย-เบเนลักซ์ ในช่วง 12 เดือน (มกราคม -ธันวาคม) ปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 2, 2010 14:53 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮกขอรายงานภาวะการค้าระหว่างไทย-เบเนลักซ์ ในช่วง 12 เดือน (มกราคม - ธันวาคม) ปี 2552 ดังนี้

1. มูลค่าการค้ารวม ในช่วง 12 เดือน (มกราคม - ธันวาคม) 2552 มูลค่า 5,911.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ3 ลดลง ร้อยละ -25.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2551 (มูลค่า 7,954.0 ล้านเหรียญสหรัฐ)

1) การส่งออกของไทย - ในช่วงดังกล่าวมีมูลค่ารวม 4,481.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ -23.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 (มูลค่ารวม 5,872.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

2) การนำสินค้าจากเบเนลักซ์ - ไทยนำมูลค่ารวม 1,429.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ -31.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 (มูลค่ารวม 2,081.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

3) ดุลการค้า - ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับเบเนลักซ์ในช่วง 12 เดือน ปี 2552 มูลค่ารวม 3,051.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยได้เปรียบดุลการค้าลดลงร้อยละ 19.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2551 มูลค่ารวม 3,790.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ตารางที่ 1 : มูลค่าการค้าและดุลการค้าระหว่างไทย-เบเนลักซ์ และส่วนแบ่งการนำเข้าจากไทยของเบเนลักซ์ -เมื่อเทียบกับสหภาพยุโรป 27 ประเทศ
ในช่วง 12 เดือน (มกราคม -ธันวาคม) ปี 2552

                                                                       (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
                             เบเนลักซ์                                 สหภาพยุโรปหรืออียู ( 25 )
                  2551           2552           %              2552        %share (ม.ค.-ธ.ค.)52
               (ม.ค.-ธ.ค.)    (ม.ค.-ธ.ค.)     เพิ่ม/ลด        (ม.ค.-ธ.ค.)       เบเนลักซ์-อียู (27)
การค้ารวม         7,954.0        5,911.3       -25.68         30,305.4              19.50
ไทยส่งออก         5,872.1        4,481.6       -23.67         18,154.5              24.68
ไทยนำเข้า         2,081.9        1,429.7       -31.32         12,150.9              11.76
ดุลการค้า          3,790.2        3,051.9       -19.47          6,003.6              50.83

เมื่อเทียบมูลค่าการค้ารวมไทย-เบเนลักซ์ ในช่วง 12 เดือน (มกราคม -ธันวาคม) ปี 2552 คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 19.50 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย-สหภาพยุโรป (27) และไทยส่งออกไปเบเนลักซ์ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 24.68 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมของไทย-สหภาพยุโรป และมูลค่าการนำเข้ารวมของไทยจากเบเนลักซ์รวม 1,429.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรืออัตราส่วนร้อยละ 11.76 ของการนำเข้ารวมของไทยจากสหภาพยุโรป

จะเห็นได้ว่าเบเนลักซ์เป็น Gateway ที่สำคัญที่สุดของสินค้าไทยสู่ทวีปยุโรปโดยรวม (ไม่เฉพาะ สหภาพยุโรป)5 ดังนั้นการที่สินค้าไทยเข้าเบเนลักซ์ได้ถือว่า สามารถเข้าสู่ยุโรปได้อย่างน้อยสหภาพยุโรป 27 ประเทศ ซึ่งมีนโยบาย Free Movement of Goods และจากสหภาพยุโรปก็สามารถเข้าสู่ยุโรปส่วนอื่น ได้ด้วยบริการ Logistic ที่มีศักยภาพของเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และลักเซมเบอร์ก6

2. รายการที่ไทยส่งออก - นำเข้า

2.1 สินค้าส่งออกในภาพรวม 5 รายการแรกได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป

ตารางที่ 2 : รายการสินค้าที่ไทยส่งออกไปเบเนลักซ์ 10 อันดับแรก ในช่วง 12 เดือน (มกราคม- ธันวาคม)ปี 2552
 ลำดับ           รายการสินค้า                     มูลค่า (ล้าน USD)         อัตราการขยายตัว
                                                (ม.ค.-ธ.ค.) 52            ( % )
  1.   เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ             867.5                -36.70
  2.   เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ                  382.2                  1.24
  3.   แผงวงจรไฟฟ้า                                  363.8                -14.90
  4.   อัญมณีและเครื่องประดับ                            295.8                -17.58
  5.   เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                 180.4                 -3.47
  6.   เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                 171.8                 -6.88
  7.   ผลิตภัณฑ์ยาง                                    163.4                -18.42
  8.   ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                           131.1                  8.88
  9.   เลนส์                                         127.1                  5.56
 10.   เคมีภัณฑ์                                       108.6                 -8.58
สินค้ารายการสำคัญที่ไทยส่งออก 5 รายการแรก

เพิ่มขึ้น - ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ (ร้อยละ 1.24) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 8.88) เลนส์ (ร้อยละ 127.1) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 27.70) สิ่งปรุงรสอาหาร (ร้อยละ 4.28)

ลดลง - ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ -36.70) แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ -14.90) อัญมณีและเครื่องประดับ (ร้อยละ -17.58) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ -3.47) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และ ส่วนประกอบ (ร้อยละ - 6.88)

ตารางที่ 3 รายการสินค้า 3 หมวดสำคัญที่ไทยส่งออก 5 อันดับแรก
หมวด         รายการสินค้า                มูลค่า(ล้าน USD)         อัตราการขยายตัว
                                      (ม.ค.-ธ.ค.) 52            ( % )
1. แร่ธาตุและสินค้าเกษตร
   - ข้าว                                   96.0                 -28.03
   - กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง                        42.0                  36.36
   - ยางพารา                               37.8                 -26.88
   - ใบยาสูบ                                19.7                 -13.21
   - ดีบุก                                    3.9                 -84.33
2. อุตสาหกรรมการเกษตร
   - ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                   131.1                   8.88
   - ไก่แปรรูป                              106.5                 -29.18
   - อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป               61.3                  27.70
   - เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์        27.0                 -15.62
   - ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                       18.9                 -83.17
3. อุตสาหกรรม
   - เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ     867.5                 -36.70
   - เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ          382.2                   1.24
   - แผงวงจรไฟฟ้า                          363.8                 -14.90
   - อัญมณีและเครื่องประดับ                    295.8                 -17.58
   - ผลิตภัณฑ์ยาง                            163.4                 -18.42
หมวดสินค้าแร่ธาตุและเกษตรที่ส่งออก

เพิ่มขึ้น - ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ 36.36) สินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ (ร้อยละ 350.0) เมล็ดผักและสปอร์ ที่ใช้สำหรับเพาะปลูก (ร้อยละ 128.94)

ลดลง - ได้แก่ ข้าว (ร้อยละ -28.03) ยางพารา (ร้อยละ -26.88) เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ -15.62) ดีบุก (ร้อยละ -84.33)

หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร

เพิ่มขึ้น - ได้แก่ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 8.88) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 27.78) สิ่งปรุงรสอาหาร(ร้อยละ 4.28) อาหารสัตว์เลี้ยง (ร้อยละ 34.28)

ลดลง - ได้แก่ ไก่แปรรูป (ร้อยละ -29.18) เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ (ร้อยละ -15.62) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ร้อยละ -83.17) ผลิตภัณฑ์ข้าว (ร้อยละ -10.0)

หมวดสินค้าอุตสาหกรรม

เพิ่มขึ้น - ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ (ร้อยละ 1.24) เลนส์ (ร้อยละ 5.56) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์และอุปกรณ์ (ร้อยละ 4.38) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (ร้อยละ 94.59) เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ (ร้อยละ 23.43)

ลดลง - ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ -36.70) แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ -14.90) อัญมณีและเครื่องประดับ (ร้อยละ -17.58) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ -6.88) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ -3.47)

2.2 สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเบเนลักซ์ในช่วง 12 เดือน (มกราคม - ธันวาคม) ปี 2552 มูลค่ารวม 1,429.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ -31.32 เมื่อเทียบกับการนำเข้าในช่วงเดียวกันปี 2551 (มูลค่ารวม 2,081.9) สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 รายการแรกได้แก่ เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ รายละเอียดดังตารางที่ 5

ตารางที่ 4 : รายการสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเบเนลักซ์ 10 อันดับแรก ในช่วง 12 เดือน (มกราคม- ธันวาคม)ปี 2552
ลำดับ        รายการสินค้า                       มูลค่า (ล้าน USD)         อัตราการขยายตัว
                                             (ม.ค.-ธ.ค.) 52              ( % )
  1.    เคมีภัณฑ์                                    215.3                 -43.35
  2.    แผงวงจรไฟฟ้า                               180.9                 -12.98
  3.    เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                    158.6                 -29.76
  4.    เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ         136.8                 -57.11
  5.    เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                      95.5                 -47.23
  6.    ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม                   84.3                  -0.23
  7.    สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์                         48.8                  49.69
  8.    ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก                          47.0                 -35.17
  9.    กระดาษและผลิตภัณฑ์                            40.0                  61.94
 10.    เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์              40.0                   9.89
3. ข้อคิดเห็น/เสนอแนะ

3.1 เบเนลักซ์เป็น Gateway ที่สำคัญที่สุดของสินค้าไทยสู่ทวีปยุโรป ไม่เฉพาะสหภาพยุโรปเท่านั้น ดังนั้น การที่สินค้าไทยเข้าเบเนลักซ์ได้ถือว่า สามารถเข้าสู่ยุโรปได้อย่างน้อยสหภาพยุโรป 27 ประเทศ ซึ่งมีนโยบาย Free Movement of Goods และสินค้าจากสหภาพยุโรปก็สามารถเข้าสู่ยุโรปส่วนอื่นได้ ด้วยบริการ Logistic ที่มีศักยภาพของเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และลักเซมเบอร์ก ทั้งผู้บริโภคมีการศึกษาสูง ฐานะและรสนิยมดี อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รายได้ประชากรต่อหัว 3 ประเทศในปี 2552 เฉลี่ยประมาณ 51,228 เหรียญสหรัฐ/ปี

3.2 ผู้ผลิตและส่งออกไทยควรปรับกลยุทธ์การผลิตและส่งออกสินค้าไทยดังต่อไปนี้ อย่างต่อเนื่อง และตลอดเวลา เพื่อรักษาสถานะให้เหนือประเทศคู่แข่งและสินค้าราคาถูก เช่น

1) การปรับปรุงและพัฒนาสินค้าให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน

2) ให้ความสำคัญในด้านการวิจัยและพัฒนา (Research & Development)

3) ให้ความสำคัญในการฝึกอบรมบุคลากรด้านการค้าของไทย ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถ ดำเนินการด้านการค้าระหว่างประเทศได้ และมีความเป็น Internationalisation เพื่อให้ไทยก้าวสู่ความเป็น Trading Nation ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

4) แนะนำสินค้าใหม่ ๆ พร้อมทั้งจดลิขสิทธิ์ให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึง

5) หมั่นตรวจสอบตลาดและสถานะสินค้าจากประเทศคู่แข่ง เพื่อให้ทราบจุดเด่นและจุดด้อย ของสินค้าหรือที่เรียกว่า "รู้เขา รู้เรา" เพื่อที่จะได้ปรับแก้ไข

6) ติดตามกฎระเบียบ รูปแบบ แนวโน้ม ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องของประเทศผู้นำเข้าอย่างใกล้ชิด

7) การจัดทำประชาสัมพันธ์ในทุกรูปแบบอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง

8) การเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศทั้งในและต่างประเทศเป็นการเพิ่มโอกาสใน การพบปะนักธุรกิจต่างประเทศ ได้ทราบข้อมูลสินค้าและการตลาดและเพิ่มพูน Vision

9) การพบปะนักธุรกิจต่างประเทศและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและยาวนาน มีความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลาต่อกันตลอดเวลา ซึ่งผู้นำเข้าหลายรายชื่นชมและไม่ต้องการเปลี่ยนคู่ค้าใหม่

10) ผลิตสินค้าโดยใช้วัตถุดิบ/วัสดุที่สะอาด ปลอดภัยถูกสุขอนามัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตมีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR หรือ Corporate Social Responsibility) ไม่เอาเปรียบแรงงาน ไม่ใช้แรงงานเด็ก มีความปลอดภัยในทุกขั้นตอนการผลิต ไม่ใช้สารเคมีต้องห้าม ลดภาวะโลกร้อน ใช้พลังงานทดแทน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก สหรัฐ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ