รายงานข้อมูลข้าวในประเทศบังกลาเทศ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 2, 2010 15:58 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. นโยบายข้าวของรัฐ
  • เน้นผลิตข้าวให้เพียงพอกับความต้องการในประเทศ โดยให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตทุกอย่างอย่างเต็มที่ ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆในการปันส่วนไฟฟ้าให้กับโรงงานผลิตปุ๋ยข้าว การสูบน้ำเข้านา การชลประทานในการทำนาช่วงฤดูแล้ง
  • รักษาระดับราคาข้าวในประเทศให้พอเหมาะ ผู้บริโภคสามารถซื้อได้

บังกลาเทศเป็นประเทศที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก เช่นเดียวกับประเทศไทย สามารถผลิตข้าวเองได้ ใกล้เคียงกับความต้องการในประเทศรัฐบาลจะนำเข้าข้าวประมาณ 2 ล้านตันต่อปี หรือมากกว่าในบางปีที่มีอุทกทัย ผลผลิตเสียหาย เพื่อเป็นสต็อกของรัฐบาลสำรองไว้รักษาระดับราคาข้าวในประเทศ รัฐบาลประมาณความต้องการข้าวปี 2008 ประมาณ 25-27 ล้านตัน เนื่องจากในปีที่ผ่านมาผลผลิตทางการเกษตรเสียหายจากน้ำท่วมและพายุไซโคลน โดยมีแผนจะนำเข้าข้าวประมาณ 3 ล้านตัน ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศอินเดีย เมียนม่า เวียตนามและไทย โดยจะมีการประกาศเปิดประมูลซื้อ หรือมีเจ้าหน้าที่รัฐบาลเดินทางไปเจรจาซื้อข้าวจากประเทศต่างๆ เป็นระยะๆ

ในระยะยาว เนื่องจากสถานการณ์สินค้าอาหารต่างๆ มีราคาสูงขึ้น ทั้งเนื่องจากปริมาณการผลิตของโลกลดลงจากภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ และจากการที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น ทำให้ค่าขนส่งสูงขึ้น รวมทั้งพื้นที่ในการเพาะปลูกน้อยลง เพราะมีการเปลี่ยนไปปลูกพืชน้ำมันอื่นที่มีราคาดีกว่าแทนส่วนหนึ่ง ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าราคาธัญพืชและน้ำมันจะไม่ลดลงในระยะ 4-5 ปีข้างหน้า รัฐบาลบังกลาเทศมีนโยบายต้องพยายามพึ่งพาตนเองให้ได้ โดยเพิ่มผลผลิตข้าวต่อเอเคอร์ให้สูงขึ้น โดยการปรับปรุงดิน ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับภูมิประเทศ อากาศ และ ระบบน้ำ ต่างๆ และเพิ่มเงินอุดหนุนการวิจัยให้มากขึ้น

รัฐบาลใช้การนำเข้าข้าวสต็อกไว้ เพื่อรักษาระดับราคาข้าวในตลาดในประเทศ มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับราคานำเข้า ปริมาณนำเข้า เป็นระยะๆ ป้องกันการขึ้นราคาได้ระดับหนึ่ง

ในตลาดขายส่งข้าว สมาคมผู้ค้าส่งข้าวจะกำหนดให้มีการปิดป้ายราคาจำหน่ายส่งข้าวเป็นราคากลางไว้ให้ทราบทั่วกัน เพื่อป้องกันการขึ้นราคาข้าวเกินสมควร และพ่อค้าเก็งกำไร สร้างความวุ่นวาย

2.สถานการณ์ข้าวในประเทศ/ปัญหา

ปริมาณการผลิตข้าวในประเทศมีใกล้เคียงกับปริมาณการบริโภค ทำให้ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อเป็นสำรองข้าวของประเทศ และรักษาระดับราคาข้าวในประเทศให้มีเสถียรภาพ เนื่องจากการผลิตขึ้นกับสภาพอากาศ และบังกลาเทศมักประสบอุทกภัยและวาตภัยอยู่แทบทุกปี

พ.ย.09 รัฐบาลประกาศปริมาณและราคารับซื้อข้าวฤดูใหม่ โดยรับซื้อข้าวสารปริมาณ 0.2 ล้านตันราคากกละ22 ตากาหรือ 11บาทและข้าวเปลือกปริมาณ 0.15 ล้านตันในราคากก.ละ 14 ตากาหรือ 7 บาท เริ่ม 7 ธันวาคม 52 จากที่ปกติรับซื้อเพียง 0.15 ล้านตันข้าวสารเท่านั้น เพื่อช่วยเหลือชาวนา

ธ.ค.09 ภาวะการค้าธัญพืช ได้แก่ข้าว ข้าวสาลี .มีราคาสูงขึ้น และปริมาณการเก็บเกี่ยวฤดูใหม่คาดว่าจะได้ปริมาณน้อยกว่าปีก่อน เนื่องจากปริมาณน้ำน้อยจากฝนมาช้าในปีนี้ รัฐบาลบังกลาเทศจึงประกาศห้ามการส่งออกข้าวในช่วงเดือนธค.นี้ เช่นเดียวกับอินเดีย ซึ่งมีประกาศก่อนหน้านี้แล้ว

ม.ค.10 ภาวะการค้าข้าว ฤดูการเก็บเกี่ยวข้าว Aman (พ.ย.-ธ.ค.)มีปริมาณเก็บเกี่ยวได้ 13.1ล้านตันเกินกว่าเป้าที่รัฐบาลตั้งไว้(12.7)0.4 ล้านตัน และสูงกว่าปีก่อนซึ่งมีปริมาณ 11.61 ล้านตัน แม้ว่าปริมาณน้ำน้อยจากฝนมาช้าในปีนี้ เป็นผลจากรัฐบาลสนับสนุนพันธุ์ข้าว ปุ๋ย และการชลประทานเต็มที่ ทำให้มีการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก และมีผลผลิตต่อเอเคอร์สูงกว่าปีก่อน

รัฐบาลขยายเวลาห้ามส่งออกข้าวจากธ.ค.52 ไปจนถึง มิถุนายน 53 เนื่องจากราคาข้าวในประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3. การผลิต

ร้อยละ75 ของพื้นที่เพาะปลูกของประเทศเป็นการปลูกข้าว ชาวนาปลูกข้าวมีประมาณ 13 ล้านครอบครัว

ฤดูการผลิต/เก็บเกี่ยวมีปีละ 3 ครั้ง คือ

ข้าว Aman ปลูกสิงหาคม เก็บเกี่ยวพฤศจิกายน-ธันวาคม

ข้าว Boro ปลูกตุลาคมในพื้นที่ที่มีระบบชลประทานเก็บเกี่ยวเมษายน

ข้าว Aus ปลูกมีนาคมเก็บเกี่ยวพฤษภาคม-มิถุนายน

ปริมาณการผลิตข้าวเปลือก                                             (Million MT)
                                                        2009-10 (Expected)
Crop       2006/07       2007/08        2008/09        พื้นที่ปลูก         ผลผลิต
                                                  (million Hectre)
Aus         1.512         1.506          1.894          1.2           2.490
Aman       10.841         9.662         11.613          5.8          12.744
Boro       14.965        17.762         17.809          4.8          19.000
Total      27.318        28.931         31.316         11.8          34.234
ที่มา: Bangladesh Bureau of Statistics
4.การบริโภค

4.1 ประเภทข้าว ส่วนใหญ่เป็น ข้าวนึ่ง หรือข้าวขาว มีข้าวที่มีกลิ่นหอม เรียกว่า aromatic rice มีราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป มักส่งออกไปยังประเทศที่มีชุมชนชาวบังกลาเทศอาศัยอยู่ เช่น แคนาดา อังกฤษ ตะวันออกกลาง เป็นต้น

4.2 ปริมาณความต้องการบริโภค ประมาณปีละ

Fiscal Year      Mid Year           Rice Consumption           ข้อมูลจากกระทรวง
                Population               Requirement             เกษตรสหรัฐ
                (million)        (88% in 453.6 gm/day/cap)
 2005/06           139                    20,252                   29.0
 2006/07           141                    20,543                   29.8
 2007/08           153                    22,292                   30.7
 2008/09           155                    22,583                   31.0
 2009/10           160                    23,312                   31.4
 ที่มา: Bureau of Statistics & Department of Food

4.3 รสนิยมในการบริโภค นิยมข้าวนึ่ง ซึ่งหุงแล้วร่วนไม่แฉะและไม่เสียง่าย เหมาะสำหรับทำข้าวหมกต่างๆผู้บริโภคที่มีฐานะดี นิยมข้าวคุณภาพดี และข้าวหอม มักยึดติดกับตราสินค้า เข่น ข้าวบาสมาติกของอินเดีย ปากีสถาน ผู้บริโภคระดับกลางและล่างนิยมข้าวราคาระดับกลางถึงต่ำ ให้ความสำคัญกับราคามากกว่า

5. การจำหน่ายในประเทศ

5.1 ช่องทางการจำหน่าย ข้าวรัฐบาล จะจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาตลาดทั่วไป ตาม Outlet ที่เปิดตามจุดต่างๆทั่วประเทศ ส่วนข้าวทั่วไป จากโรงสี จำหน่ายผ่านผู้ค้าส่ง และปลีกตามลำดับ ส่วนผู้นำเข้า มักมีร้านจำหน่ายของตนเอง และส่งให้ซุปเปอร์มาร์เกตบางส่วน

5.2 ราคาขายส่งขายปลีกภายในประเทศ

    ชนิด                          ราคาขายส่ง (บาท/กก)               ราคาขายปลีก (บาท/กก)
                         ม.ค.09      มิ.ย.09      ม.ค.10      ม.ค.09       มิ.ย.09     ม.ค.10
ข้าวขาวคุณภาพต่ำ             16-18      11-12        14-15       18-21       13-15       16-18
ข้าวขาวคุณภาพดี              19-24      15-17        17-20       21-26       17-19       19-22
ข้าว Basmati ปากีสถาน          -         -            -         25-40         -         52-68
ข้าวหอมมะลิ                    -         -            -         25-35         -         50-55
6. การนำเข้า/ส่งออก
                              2005/06      2006/07     2007/08      2008/09
มูลค่าการนำเข้า(ล้าน USD)           117          180         874          239
ที่มา: ธนาคารบังกลาเทศ

การนำเข้า ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าโดยหน่วยงานของรัฐ เป็นข้าวขาวและข้าวนึ่ง คำนึงถึงราคาเป็นหลัก แหล่งนำเข้า ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน พม่า ไทย เวียตนาม และมีบริษัทเอกชนนำเข้าข้าวคุณภาพดี เข้ามาจำหน่าย โดยนำเข้าจากอินเดีย ปากีสถาน ไทย

การนำเข้าจากไทย ในปี 2551 นำเข้า 15.3 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ซึ่งนำเข้า 5.0 ตัน ร้อยละ 203.7 ปี 2552(ม.ค.-ต.ค.) นำเข้า 22.5 ตัน ส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิบรรจุถุง

การส่งออก ปริมาณการส่งออกมีน้อย เฉพาะข้าวหอม ส่งไปยังประเทศที่มีชุมชนชาวบังกลาเทศอาศัยอยู่ เช่น แคนาดา อังกฤษ ตะวันออกกลาง เป็นต้น

7. กฏระเบียบการนำเข้าและส่งออก

ไม่มีข้อจำกัดด้านปริมาณการนำเข้า การนำเข้า ผู้นำเข้าต้องมี license และมีการเปิด Letter of Credit เพื่อการชำระเงินเท่านั้น

                                         อัตราอากรขาเข้าและภาษี
  HS Code           Description                              CD     SD     VAT     AIT    ATV      TTI
1006.10.10         Rice in the Husk                         0.00   0.00   0.00    3.00    2.25    5.59
            (Paddy or Rough), Wrapped/ Canned up to 2.5 kg
1006.20.00          Husked (Brown) Rice                     0.00   0.00   0.00    0.00    0.00    0.00
1006.30.00          Semi Milled or Wholly Milled Rice       0.00   0.00   0.00    0.00    0.00    0.00
1006.40.00          Broken Rice                             0.00   0.00   0.00    0.00    0.00    0.00
CD = Custom Duty              SD = Supplementary Duty        VAT = Value Added Tax
AIT = Advance Income Tax      ATV= After Trade Vat           TTI = Total Trade Indices

8. กฏระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง  ไม่มี
9. พันธกรณีผูกพันระหว่างประเทศ  ไม่มี



          สำนักส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงธากา บังกลาเทศ

          ที่มา: http://www.depthai.go.th

แท็ก ข้อมูล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ