รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 16-31 มกราคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 4, 2010 11:30 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ก. ภาวะเศรษฐกิจ/การค้าทั่วไป

1. เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2552 กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ได้คาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์ GDP ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ -6.8 (เทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2552) หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า GDP ขยายตัวร้อยละ 3.5 เนื่องจากการถดถอยของภาคอุตสาหกรรมการผลิต Biomedical และ Transport Engineering ส่วนการคาดการณ์ GDP ปี 2552 ขยายตัวลดลงร้อยละ -2.1 สินค้าและการบริการที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เคมีภัณฑ์, precision Engineering, ภาคการก่อสร้าง, การบริการการเงิน และการบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา

2. การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ ในปี 2552 มีมูลค่ารวม 514,148.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.25 จากปีที่ผ่านมา โดยประเทศคู่ค้า(การค้ารวม)อันดับหนึ่งคือ มาเลเซีย (การค้ารวมมูลค่า 72,160.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และประเทศคู่ค้ารองลงมาในกลุ่ม 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน (การค้ารวมมูลค่า 63,811.61 ล้านเหรียญฯ) อินโดนีเซีย (46,701.59 ล้านเหรียญฯ) สหรัฐฯ (46,034.66 ล้านเหรียญฯ) ญี่ปุ่น (39,395.11 ล้าน-เหรียญฯ) เกาหลีใต้ (32,871.79 ล้านเหรียญฯ) ไต้หวัน (27,244.98 ล้านเหรียญฯ) ไทย (คู่ค้าอันดับ 8 มูลค่า 21,959.17 ล้านเหรียญฯ) อินเดีย (17,394.44 ล้านเหรียญฯ) และออสเตรเลีย (มูลค่า 16,340.05 ล้านเหรียญฯ) ส่วนการส่งออกจากสิงคโปร์ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกมีมูลค่า 269,050.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการนำเข้าจากทั่วโลกมีมูลค่า 245,098.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

3. การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทย ปี 2552 สิงคโปร์ยังคงได้เปรียบดุลการค้ากับไทยมูลค่า 1,861.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.16 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาโดยเป็นการส่งออก และนำเข้า ดังนี้

(1) การส่งออก สิงคโปร์ส่งออกมาไทยคิดเป็นมูลค่า 10,052.27 นเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.21 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 9 สินค้าหลักที่สิงคโปร์ส่งออก ได้แก่

1) แผงวงจรไฟฟ้า

2) สื่อบันทึกข้อมูล/ภาพ/เสียง

3) เครื่องพิมพ์และเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์

4) ส่วนประกอบ/อุปกรณ์ของเครื่องจักรกล

5) น้ำมันสำเร็จรูป

6) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซีสเตอร์และไดโอด

7) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันวงจรไฟฟ้า

8) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ

9) ส่วนประกอบของเครื่องจักรประเภทที่ 84.25-84.30 และ

10) เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น

(2) การนำเข้า สิงคโปร์นำเข้าจากไทยมูลค่า 8,190.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.77 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.34) โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สำหรับอันดับหนึ่ง คือ สหรัฐฯ รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฝรั่งเศส ไทย และซาอุดิอาระเบีย สินค้านำเข้า 10 อันดับแรกเรียงลำดับตามมูลค่า ได้แก่

1) น้ำมันสำเร็จรูป

2) แผงวงจรไฟฟ้า

3) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล

4) เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ

5) เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ

6) มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

7) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด

8) เครื่องปรับอากาศ

9) ข้าว และ

10) รถยนต์

4. การคาดการณ์เศรษฐกิจสิงคโปร์ ปี 2553 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ในสิงคโปร์ให้ความเห็นว่า สิงคโปร์ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากในปัจจุบัน สิงคโปร์ได้ปรับกลยุทธ์หันมาพึ่งพาความต้องการภายในประเทศ และจากเงินงบประมาณการใช้จ่ายของภาครัฐ เมื่อความต้องการของตลาดภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้เกิดการนำเข้าเพิ่มขึ้นและอย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างรายได้และผลกำไรให้ขยายไปสู่การบริโภคและการลงทุน และหากสถานะเศรษฐกิจของสหรัฐฯดีขึ้น จะเป็น Bonus เสริมให้เศรษฐกิจสิงคโปร์เจริญเติบโตเพิ่มขึ้นในระดับสูง ทั้งนี้ ธนาคารแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียจะต้องพึงระวังถึงปัญหา asset bubbles ในเศรษฐกิจเอเชียที่จะทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อต่ำ เนื่องจากอัตราการว่างงานในสหรัฐฯสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการออกเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำ จะทำให้เงินไหลออกจากสหรัฐฯสู่เอเชียเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ได้คาดหวังว่า การเจริญเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์จะเป็นไปอย่างรวดเร็วในปี 2553 เนื่องจากมีสัญญาณแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจะกลับฟื้นตัวสู่ปกติ ในปี 2553 การเจริญเติบโตจะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 5.5 และด้วย Integrated Resorts 2 แห่งจะเปิดดำเนินกิจการ ซึ่งจะส่งผลส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว รวมถึงด้านการเงิน/การคลังและการค้าขายให้เจริญเติบโต และทำให้ธุรกิจบริการกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น

5. Monetary Authority of Singapore (MAS) คาดว่า อัตราเงินเฟ้อปี 2553 จะมีแนวโน้มสูงขึ้น อยู่ที่ร้อยละ 2.5-3.5 (ปรับจากคาดการณ์เดิมร้อยละ 1.0-2.0) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าประจำปีของอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ รวมถึงราคาน้ำมันและสินค้าบริโภคสูงขึ้น ซึ่งในปี 2553 คาดว่า ค่าใช้จ่ายต่างๆจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ยกเว้นค่าเช่าสถานที่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่คาดว่าจะสู่สภาพปกติในครึ่งปีแรกของปี 2553 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าสินค้าอาหารจะเป็นสินค้าที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศเลวร้ายและเกิดภัยพิบัติบ่อยครั้ง ส่งผลให้การผลิตอาหารทั่วเอเชียเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะข้าว ซึ่งประเทศผู้ผลิตหลายประเทศจะต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวในปี 2553 ดังนั้น การฟื้นตัวเศรษฐกิจของสิงคโปร์ที่จะมีความแข็งแกร่งขึ้นและดีขึ้นในอนาคตนั้น คงจะต้องพึงระวังปัจจัยสำคัญๆได้แก่ สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจภายนอก ค่าเงินเหรียญสิงคโปร์ ภัยพิบัติ และอัตราเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ เป็นต้น อนึ่ง สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงกว่าประเทศอื่นๆทั่วโลกเพราะมีเศรษฐกิจเปิดและขนาดเล็ก แต่การที่ทุกฝ่ายร่วมมือกันและแก้ปัญหาร่วมกัน จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งและเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นในอีก 1-2 ปีข้างหน้า แม้ว่าในช่วงปัจจุบันจะเป็นไปอย่างช้าๆก็ตาม

6. การขนส่งผ่านท่าเรือสิงคโปร์ในปี 2552 ลดลงร้อยละ 13.5 (เทียบกับปี 2551) ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลงมากที่สุดนับตังแต่ปี 2549 แต่เมื่อถึงปลายปี 2552 ค่อยดีขึ้น และคาดหวังว่า จะเป็นอันดับ 1 ของท่าเรือที่มีธุรกิจมากของโลก ทั้งนี้ สถิติเดือนธันวาคม 2552 มี container traffic สูงขึ้นร้อยละ 6.7 (เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า) Cargo ลดลงร้อยละ 8.9 อนึ่ง ภาคการเดินเรือทะเลของสิงคโปร์คิดเป็นร้อยละ 7+ ของ GDP และมีการจ้างงานมากกว่า 100,000 อัตรา คาดว่า การฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า

7. ราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันในสิงคโปร์มีราคาสูงขึ้นเกือบถึง 2 เหรียญสิงคโปร์ต่อลิตร ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้หันไปสนใจรถที่ประหยัดน้ำมัน หรือลดเกรดของน้ำมันที่ใช้แทน เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 บริษัท Caltex และ ExxonMobil ได้เพิ่มราคาจำหน่ายปลีกขึ้นอีก 5 เซนต์ต่อลิตร ทั้งนี้ ราคาน้ำมันที่ปั๊มได้เริ่มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่กลางปี 2552 ทำให้ปัจจุบันราคา 98-octane petrol ลิตรละ 1.94 และน้ำมัน 95- และ 92-octane ราคาลิตรละ 1.857 และ 1.497 เหรียญสิงคโปร์ตามลำดับ ส่วนดีเซลราคาลิตรละ 1.323 เหรียญสิงคโปร์ (ราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ยังไม่ได้ให้ส่วนลด) คาดการณ์ว่า ภายในปี 2553 ราคาจำหน่ายปลีกจะยังคงเป็นไปตามราคาดังกล่าวข้างต้น

8. การธนาคารในสิงคโปร์มีเป้าหมายจะเพิ่มการจ้างงานขึ้นพร้อมกับการเริ่มปีใหม่ ซึ่งปัจจุบันธนาคารในสิงคโปร์ได้จ้างพนักงานมากกว่า 1,000 อัตรา ส่วนมากในตำแหน่งผู้บริหาร (เงินเดือน 8,000 เหรียญสิงคโปร์/เดือน) และระดับล่าง (เงินเดือน 2,600 เหรียญสิงคโปร์/เดือน) โดยในปี 2553 ธนาคารต่างๆมีแผนการที่จะจ้างพนักงาน ดังนี้ 1) DBS จะจ้างเพิ่มอีก 500 อัตรา 2) HSBC จะจ้างเพิ่มอีก 200 อัตรา 3) May Bank DBS จะจ้างเพิ่มอีก 130 อัตรา 4) ANZ จะจ้างเพิ่มแอีก 800 อัตรา และ 5) Barclays

9. การสำรวจความคิดเห็นของชาวสิงคโปร์จำนวน 400 คนเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ เมื่อปลายปี 2552 ปรากฎว่า เพียงร้อยละ 31.2 คิดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว แต่การสำรวจเมื่อเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2552 ปรากฎว่า ร้อยละ 79.4 คิดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวและขยายตัวทางบวก ส่งผลให้สิงคโปร์เป็นอันดับที่ 3 ในเอเชียแปซิฟิค รองจากเวียดนาม (ร้อยละ 90) และ จีน (ร้อยละ 85.3) นอกจากนี้ ได้ทำการสำรวจความเห็นเกี่ยวกับคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจช่วง 6 เดือนข้างหน้าว่า ปรากฎว่า ร้อยละ 37 คาดว่าจะอยู่ระดับเดิมเหมือน 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 57 คิดว่า จะดีขึ้น (เทียบกับเดือนมีนาคม 2552 เป็นร้อยละ 24 และ 22 ตามลำดับ) ส่วนความเห็นด้านการจ้างงาน ร้อยละ 44 คาดว่าจะอยู่ระดับเดิม และร้อยละ 48 คาดว่า จะดีขึ้น (เทียบกับเดิมร้อยละ 18 และ 20 ตามลำดับ)

10. ภาคการก่อสร้างในปี 2552 คาดว่ามีการขยายตัวเป็นเลข 2 หลัก โดยกิจกรรมการก่อสร้างมีมูลค่าประมาณ 30 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ เนื่องจากมีการผลักดันจากการก่อสร้างโครงการใหญ่ๆใน 2 ปีที่ผ่านมา และภาครัฐได้สนับสนุนเงินมูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ช่วยเหลือโครงการขนาดเล็กและกลาง สำหรับในปี 2553 กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมได้คาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจไว้ที่ร้อยละ 3-5 และเพื่อการส่งเสริมภาคการก่อสร้าง SPRING ได้จัดให้มีโปรแกรมช่วยเหลือให้บริษัทได้รับเครดิตให้มีเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ และคาดว่ามูลค่าโครงการก่อสร้างในปี 2553 จะอยู่ระหว่าง 21-27 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ และในปี 2554 และ 2555 จะมีมูลค่า 18 และ 25 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ตามลำดับ

11. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอวกาศของสิงคโปร์มีความเข้มแข็งด้าน aerospace, precision engineering และ electronics จะเป็นตัวส่งเสริมและสร้างการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอวกาศในเอเชีย และมีองค์ประกอบต่างๆอย่างสมบูรณ์ในการสนับสนุนการเจริญเติบโตของการให้บริการ satellite ในเอเชีย โดยสิงคโปร์มีความได้เปรียบ 2 ประการ คือ สภาวะของธุรกิจการค้าที่เปิดเสรี และมีกลุ่มเจ้าหน้าที่ชำนาญการเทคโนโลยี จึงมีบริษัทใหญ่ๆ ได้แก่ Arianespace และ GeoEye เข้ามาลงทุนในสิงคโปร์เพื่อให้บริการลูกค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ส่งผลให้สิงคโปร์มีศักยภาพเป็นศูนย์กลางให้บริการข้อมูลเครือข่ายทั่วโลก โดยเฉพาะแก่ตลาดระดับสูง

ข. การลงทุนในสิงคโปร์

1. The Civil Aviation Authority of Singapore (CAAS) ได้จัดสรรเงิน 100 ล้านเหรียญสิงคโปร์ในการส่งเสริมมาตรฐานทั่วภาคอุตสาหกรรมการบิน เพื่อส่งเสริมให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค โดยจะส่งเสริมทุกฝ่าย ตั้งแต่การฝึกอบรมและการพัฒนาการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมเครื่องบิน จะมีความร่วมมือกับธุรกิจต่างๆ สถาบันฝึกอบรม และคู่ค้าอื่นๆ เพื่อที่จะให้ได้รับความสำเร็จในระดับมาตรฐานสูง และให้ค่าใช้จ่ายลดลง อีกทั้ง CAAS จะร่วมมือกับ Association of Aerospace Industries (AAIS) และ the Singapore Institute of Aerospace Engineers (SIAE) ที่จะจัดหาชาวสิงคโปร์ให้ทำงานในอุตสาหกรรมนี้เพิ่มขึ้น (ปัจจุบันเจ้าหน้าส่วนใหญ่เป็นชาวฟิลิปปินส์) อนึ่ง CAAS จะร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆที่มีโปรแกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน ได้แก่ Economic Development Board (EDB) ที่ส่งเสริม Seletar Aerospace Park และ Agency for Science, Technology and Research (A*Star) ที่มุ่งเน้นการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้ CAAS ได้มีการลงนาม Memorandums of Understanding (MOU) กับ AAIS, SIAE และอื่นๆเช่น the International Air Transport Association (Iata) ที่จะร่วมกันส่งเสริมระบบ e-freight คาดว่า จะสามารถประหยัดได้ถึงปีละ 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงปัจจุบัน 24 ประเทศรวมสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร เยอรมัน และมาเลเซียได้ร่วมการใช้ e-freight

2. สายการบิน Jetstar ได้เลือกสิงคโปร์เป็นฐานสำนักงานใหญ่ (แทนกัวลาลัมเปอร์, กรุงเทพฯ และโฮจิมินห์) ทำให้มีเครื่องบินอยู่ในสิงคโปร์มากกว่าสายการบินอื่นๆ ปัจจุบันสายการบิน Jetstar Airways และ Jetstar Asia มีเที่ยวบิน 408 เที่ยวต่อสัปดาห์ไปยัง 23 แห่งในภูมิภาค แต่ในอนาคตมีแผนการที่จะมีเที่ยวบินระยะไกลโดยใช้เครื่องบิน Airbus 330-200 และ Boeing 787s โดยมีปลายทางรวมถึงกรุงโรมและเอเธนส์ และจะขยายจำนวนเครื่องบินให้มีมากกว่า 100 ลำภายใน 5 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ผลดีที่สิงคโปร์ได้รับได้แก่ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น และส่งผลดีต่อเนื่องไปสู่กลุ่มธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งจะทำให้สายการบินอื่นๆให้ความสนใจที่จะใช้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการบินอีกด้วย

ค. การลงทุนในต่างประเทศ

1. บริษัท Keppel Integrated Engineering (KIE) เป็นหน่วยหนึ่งภายใต้ Keppel Corp ได้รับสัญญาการจ้างงานมูลค่า 53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับโครงการ 2 โครงการในประเทศจีน คือ 1) Waste-to-Energy Project เป็นสัญญาการจ้างครั้งแรกของ Shenzhen Energy Environment Engineering เพื่อการขยายโรงงานเดิมใน Shenzhen และ Guangdong และใช้เทคโนโลยีช่วยปรับสิ่งปฏิกูลให้เป็นพลังงาน ทั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายให้งานแล้วเสร็จภายในปี 2554 และจะเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนที่มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนสิ่งปฏิกูลได้ปริมาณ 4,200 ตันต่อวัน 2) KIE ได้รับสัญญาการจ้างจาก Energy Conservation Investment Corp (CECIC) เพื่อการจัดหาและจัดส่งเทคโนโลยีสำหรับ furnace, boiler และ flue gas cleaning components ในการปรับสิ่งปฏิกูลให้เป็นพลังงานในเมือง Chengdu

2. บริษัทสิงคโปร์ 4 ราย เป็นผู้ร่วมลงทุนใหญ่ในประเทศเวียดนาม ได้แก่ 1) Capitaland (Vietnam) ร่วมกับบริษัทเวียดนาม Hoang Thanh Investment & Infrastructure Development ในการพัฒนาพื้นที่ 14,000 ตารางเมตรสร้างอาคารที่พักอาศัยที่ Ha Dong ในฮานอย นับเป็นโครงการที่ 2 ที่พัฒนาในเขตนี้ 2) EOC Limited ร่วมกับ Petro Vietnam Transportstion Corporation ลงทุนในการดำเนินการและจัดการให้การบริการแก่ Floating Production, Storage and Offloading vessel ที่ Chim Sao Oil Project 3) Keppel Land Subsidiary KLL Strategic Holdings ร่วมกับ Tien Phuoc เวียดนาม เพื่อทำการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ 11 เฮกตาร์ สร้างอาคารที่พักอาศัยใน Ho Chi Minh และ 4) UOB ร่วมกับ Vietnam National University, Hanoi เปิดตัวโปรแกรม interest-free loan สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชาวเวียดนาม ภายใต้ UOB Vietnam Student Fund ซึ่งจะได้ประโยชน์แก่นักศึกษาประมาณ 700 คนภายในระยะเวลา 3 ปี นอกจากนี้ ธนาคาร DBS สิงคโปร์ ได้รับใบอนุญาตการเปิดดำเนินกิจการสาขาแห่งแรกที่ศูนย์กลางการพาณิชย์เวียดนาม ณ Ho Chi Minh อนึ่ง เวียดนามมีประชากร 85 ล้านคน เป็นตลาดที่น่าสนใจของสิงคโปร์ในด้านต่างๆ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาเขตโรงงานอุตสาหกรรม การศึกษา และการให้บริการสุขอนามัย เป็นต้น ซึ่งบริษัทสิงคโปร์ได้เข้าไปลงทุนในปี 2551 จำนวน 98 โครงการรวมมูลค่า470 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเวียดนามเป็นประเทศที่ยังคงมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอย โดยในปี 2551 มีการเจริญเติบโตร้อยละ 5.3 และ Asian Development Bank ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2553 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 6.5

ง. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

1. เวียดนาม Mr. Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ เยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 12-15 มกราคม 2553 เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีให้แน่นแฟ้นขึ้นทั้งทางการทูตและการค้าการลงทุน สิงคโปร์เป็นประเทศผู้นำในการค้าและการลงทุนในเวียดนาม การค้ารวมระหว่างสองประเทศในปี 2551 มีมูลค่า 13 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ และสิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าการลงทุนอันดับ 5 ของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการลงทุน 17 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ใน 760 โครงการ ทั้งนี้ Vietnam-Singpaore Industrial Park (VSIP) เป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือเป็นอย่างดีระหว่าง Becamex Corporation (เวียดนาม) กับ Sembcorp Industries (สิงคโปร์)

จ. อื่นๆ

1. ราคาข้าวจากไทยในตลาดสิงคโปร์เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผลการผลิตน้อยลงและพ่อค้าขายส่งขึ้นราคา ทำให้ราคาตามร้านทั่วไป และซุปเปอร์มาร์เก็ตเพิ่มขึ้นในขณะนี้ ได้แก่ Sheng Siong group of Supermarket และ iEcon outlets เพิ่มขึ้นระหว่าง 0.50 -3.00 เหรียญสิงคโปร์ต่อถุงบรรจุ 5 กิโลกรัม และ 10 กิโลกรัม ตามแต่คุณภาพและยี่ห้อ ส่วนที่ MCP Supermarket ข้าว Premium Golden Phoenix Fragrant rice บรรจุถุง 10 กิโลกรัม ราคา 24.80 เหรียญฯ (เดิมราคา 21.80 เหรียญฯ) และข้าวยี่ห้อ Royal Umbrella ราคา 27.80 เหรียญฯ (เดิมราคา 25.80 เหรียญฯ) อย่างไรก็ตาม ซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำใหญ่ๆที่มีสต๊อกมาก ได้แก่ NTUC Fairprice, Giant และ Shop N Save ยังคงจำหน่ายในราคาเดิม ยกเว้น Cold Storage ได้ขึ้นราคาร้อยละ 10 เฉพาะยี่ห้อ Song-He ทั้งนี้ คาดว่า ราคาข้าวในตลาดสิงคโปร์จะเพิ่มขึ้นภายใน 3 เดือนข้างหน้า อนึ่ง นอกจากราคาขายส่งข้าวได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,116 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน (เดิมเมื่อเดือนมกราคม 2552 ราคา 854 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ราคาสินค้าอื่นๆ ยังเพิ่มขึ้นด้วย ได้แก่ ถั่วเหลือง, น้ำมันปรุงอาหาร และอาหารประเภทต่างๆ สำหรับการแก้ไขปัญหาของสิงคโปร์ คือ การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าอื่นๆที่มีราคาถูกกว่า ได้แก่ เวียดนาม, สหรัฐฯ และออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม ชาวสิงคโปร์ประมาณร้อยละ 60 ยังคงนิยมบริโภคข้าวจากไทย

2. นักค้นคว้าวิจัยในสิงคโปร์ 4 รายจาก National University of Singapore (NUS) ได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทประกันภัยญี่ปุ่น Mitsui Sumitomo Insurance Group (MSIG) มูลค่า 10,000 เหรียญสิงคโปร์/ต่อราย ให้ทำการศึกษาด้านระบบความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ และความปลอดภัยในการใช้ถนนและการจราจร ที่เป็นปัญหาสำคัญแก่ประเทศต่างๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไทย อนึ่ง ในปี 2552 บริษัท MSIG ได้รับรางวัล Corporate Social Responsibility (CSR) ในงาน Asia Insurance Industry Awards ที่บริษัทได้มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชน

3. สิงคโปร์ให้ความช่วยเหลือมาเลเซียเกี่ยวกับผู้มีความรู้ความชำนาญในด้าน eco-tourism ซึ่งหน่วยงานการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศได้ร่วมกันศึกษาสถานที่ทางธรรมชาติในสิงคโปร์ได้แก่ Sungei Buloh Wetland Reserve ณ เขค Kranji สิงคโปร์ และจะนำไปทำให้เกิดสถานที่เช่นเดียวกัน ณ Sungai Pulai (Johore), Tanjung Piai และ Palau Kukup ในมาเลเซีย ทั้งนี้ สถานที่ดังกล่าวในมาเลเซียได้รับการจัดให้เป็น Ramsar site จาก Geneva-based Ramsar Convention Bureau อนึ่ง ความร่วมมือนี้ เป็นครั้งแรกภายใต้ joint ministerial committee เพื่อสร้างให้สถานที่เป็นไปตามธรรมชาติ และให้มีการท่องเที่ยวระหว่างกันเพิ่มขึ้น

4. สิงคโปร์โดย Design Society (non-profit body set up to raise the Standard of Design in Singapore)ได้มีการรวบรวมสัญลักษณ์ของสิงคโปร์ 100 รายการ (100 Icons-collection of Singapore Logos, Symbols, Trademarks และ Icons) และจัดแสดง ณ หอสมุดแห่งชาติ (National Library) ได้แก่ Comfort Taxi, Tiger Beer, POSB, Urban Development, Singapore Airlines, Cathay Organization, Cathay Organization Holding, National Park, 100 Plus Isotonic Drink, Banyan Tree Resorts, CYC custom shirt maker, Singa (Courtesy Lion) เป็นต้น

5. Singapore Airshow 2010 จัดระหว่างวันที่ 2- 5 กุมภาพันธ์ 2553 ณ Changi North ซึ่งเป็นตัวสำคัญช่วยส่งเสริมการหมุนเวียนรายได้ในต้นปี 2553 ด้วยการใช้บริการในด้านต่างๆ ได้แก่ บริษัทจัดงาน บริษัทสร้างคูหา บริษัทโลจิสติกส์ นักออกแบบ พนักงานประสานงาน พนักงานขับรถ พนักงานรักษาความปลอดภัย โรงแรม และภัตตาคาร ร้านอาหาร/เครื่องดื่ม เป็นต้น

6. งาน “Global Space & Technology Convention (GSTC) and Satellite Technology Asia (SATTECH)” หรือ GSTC-SATTECH 2010, จัดระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม 2553 เป็นการจัดโดยความร่วมมือระหว่าง Defence Technology Conferences (DTC) และ Singapore Space and Technology Association (SSTA) มุ่งเน้นจัดแสดงและปรึกษาหารือ concept ล่าสุด, ความเป็นไปได้, การท้าทาย, ข้อสรุป และผลิตภัณฑ์สำหรับ Space Domain ที่มีความยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน งานนี้ จะเป็นการรวมตัวกันของด้านต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรม space and satellite, การพาณิชย์, หน่วยงานภาครัฐ, สถาบันการศึกษานานาชาติ, นักวางแผนและผู้ตัดสินใจ ซึ่งใช้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางในการเป็นเอเย่นต์ของเทคโนโลยี space and satellite สู่ภูมิภาค

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 16-31 มกราคม 2553

1. ประสานงานเชิญนักธุรกิจสิงคโปร์เข้าชมงาน Bangkok Gems & Jewelry Fair ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 26 ก.พ.-2 มี.ค. 2553

2. ประสานงานเชิญชวนบริษัทสิงคโปร์สมัครเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ (TIFF 2010) ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 10-14 มีนาคม 2553

3. ประสานงานติดต่อสมาคม Singapore Industrial Automation Association (SIAA) และ TCEB เพื่อร่วมมือจัดหาสมาชิกเข้าร่วมแสดง สินค้าในงาน TAPA 2010

4. ประสานงานเชิญชวนนักธุรกิจสิงคโปร์เข้าชมงานแสดงสินค้า TAPA 2010

5. ประสานงานติดต่อสมาคมและนักธุรกิจสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนประเทศไทย ในเดือนมีนาคมและมิถุนายน 2553

6. ประสานงานติดตามเพื่อการอนุมัติดำเนินการงาน Thailand Trade Exhibition 2010 ในสิงคโปร์(ระหว่างวันที่ 24-28 มีค.53)

7. ประสานงานติดตามผลการประชาสัมพันธ์และการตลาดสินค้าของกลุ่มสหพัฒน์ในสิงคโปร์ จากโครงการกรมฯที่ได้จัดนำคณะนักธุรกิจของกลุ่มบริษัทสหพัฒนพิบูลย์จำนวน 26 บริษัท เข้าร่วมแสดงสินค้าและเจรจาการค้าระหว่างวันที่ 29-30 กันยายน 2552 ณ โรงแรม Fullerton ซึ่งมีนักธุรกิจสิงคโปร์ให้ความสนใจเข้าร่วมงานฯและเจรจาการค้ารวมทั้งสิ้น 448 ราย คาดว่าจะสั่งซื้อสินค้าภายใน 1 ปี ประมาณ 1.14 ล้านบาท และมีความคืบหน้าที่ได้รับจากโครงการฯ คือ บริษัทมีแผนการเปิดตัวสินค้าในเครือฯ ที่ศูนย์การค้า ALT (Alternative Life Trand” ตั้งอยู่ที่ ถนนออชาร์ด ภายในเดือนพฤษภาคม 2553 มีสินค้า 11 แบรนด์ คือ 1.Arty Professional by BSC, 2.Panadda by BBC, 3.BSC Shoes & Bags, 4.Cindora, 5.Lemonade & Panadda by BSC, 6.BSC Lingerie, 7.Janjila, 8.Becky Russell, 9. St Andrews SPA and Body Care, 10.St Andrews Plush Toys, 11.BSC Towels อีกทั้งจะจัด outlet ที่ห้างฯ OG, Metro, Takashimaya, Tangs และ Orchard Centre และมีบริษัท SSJ Pte. Ltd. จัดจำหน่ายสินค้าของ BBC จำนวน 3 รายการ คือ Wienna Lingerie, Andrews Kids และ SHEENE Cosmetics

8. เตรียมการและประสานงานการคัดเลือกภัตตาคารไทยในสิงคโปร์ให้ได้รับตราเครื่องหมาย Thai Select

9 .ติดต่อประสานงานเชิญผู้แทนจาก BOI และธนาคารกรุงไทย มหาชน จำกัด (สาขาสิงคโปร์) เข้าร่วมเป็นผู้บรรยายในการสัมมนาเรื่อง Doing Business in Thailand ณ ห้องประชุมของ Singapore Business Federation (SBF) สิงคโปร์ ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 ระหว่างเวลา 14.30-17.00 น.

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ