สิงคโปร์มีนโยบายการนำเข้าและส่งออกข้าวอย่างเสรี
สิงคโปร์มีพื้นที่เพียง 701 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าสินค้า ได้แก่ อิเล็คทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และเภสัชภัณฑ์ ส่วนสินค้าอาหาร จะต้องพึ่งพาการนำเข้าเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ สิงคโปร์จะขาดแคลนอย่างมากหากไม่มีการนำเข้า เนื่องจากสิงคโปร์ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ในเรื่องการผลิตสินค้าอาหาร เพราะพื้นที่สำหรับทำการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 3 ของพื้นที่รวม ซึ่งมีการผลิตสินค้าอาหาร ได้แก่ อาหารทะเล(ปลา) ไข่ไก่ และผักสด โดยผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 4, 23 และ 7 ตามลำดับ ของปริมาณการบริโภครวมในประเทศ
ภาครัฐได้ให้คำแนะนำให้ผู้นำเข้าสิงคโปร์จัดหาแหล่งนำเข้าข้าวจากประเทศต่างๆทั่วโลก ไม่เฉพาะพึ่งการนำเข้าจากไทยเพียงประเทศเดียว ประเทศอื่นๆที่สิงคโปร์นำเข้าข้าว ได้แก่ เวียดนาม ปากีสถาน อินเดีย ออสเตรเลีย พม่า สหรัฐฯ และจีน
จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2551-2552 ส่งผลให้สิงคโปร์นำเข้าสินค้าประเภทต่างๆลดลง รวมถึงการนำเข้าข้าวที่มีปริมาณและมูลค่าลดลงด้วย อีกทั้งปัจจุบันชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่คำนึงถึงเรื่องสุขภาพและมีการควบคุมน้ำหนัก ทำให้คนรุ่นหนุ่ม-สาวพยายามบริโภคข้าวน้อยลง และหันไปนิยมรับประทานสินค้าใหม่อื่นๆที่เข้ามาจำหน่ายในตลาดสิงคโปร์
อย่างไรก็ตาม ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยกับการบริโภคข้าวไทย โดยเฉพาะนิยมข้าวคุณภาพชั้นดี เช่น ข้าวหอมและข้าวหอมมะลิ เนื่องจากคนสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นคนจีน(ร้อยละ 74.7) ยังคงนิยมบริโภคข้าวหอมมะลิไทย และคนมุสลิมมาเลย์(ร้อยละ 13.6) นิยมบริโภคข้าวขาวไทย นอกจากนี้ คนสิงคโปร์นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน ซึ่งกิจการร้านอาหาร/ภัตตาคารที่มีข้าวเป็นเมนูหลักยังเป็นที่นิยมเป็นส่วนใหญ่ และในประเทศสิงคโปร์ มีชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานโดย เฉพาะชาวจีน อินโดนีเชีย ไทย และฟิลิปปินส์ ที่นิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก
อนึ่ง สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์ ได้มีการส่งเสริมสินค้าข้าวหอมมะลิในสิงคโปร์อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การจัดโครงการส่งเสริมการขายสินค้าอาหารไทยร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ตในสิงคโปร์ (ซุปเปอร์มาร์เก็ต NTUC FairPrice, Giant Hypermarket และ Carrefour) และประสานกับกรมการค้าต่างประเทศจัดส่งเสริมประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิเป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่สามารถให้การสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพให้ผู้บริโภคนิยมรับประทานข้าวหอมมะลิไทยและซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและถาวร ดังนั้น คาดว่า แนวโน้มในระยะ 5 ปีข้างหน้า ความต้องการบริโภคข้าวไทยของสิงคโปร์คงจะกลับฟื้นคืนสู่ระดับปกติเช่นเดียวกับการนำเข้าในปี 2551 (ปริมาณนำเข้า 206,377 ตัน มูลค่า 170.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญอื่นๆที่จะช่วยสนับสนุนอีกด้วย ได้แก่ ราคาข้าว ภัยธรรมชาติ ราคาน้ำมัน โรคระบาด ภาวะผู้ก่อการร้าย และเสถียรภาพทางการเมืองที่ไม่มั่นคง เป็นต้น
สิงคโปร์เป็นประเทศที่ไม่มีพื้นที่ทำการเพาะปลูก ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอาหารจากทั่วโลก รวมถึงการนำเข้าข้าวเพื่อบริโภคภายในประเทศ
- ประเภทข้าว
ข้าวที่เป็นที่นิยมบริโภคได้แก่ ข้าวขาว 100% และข้าวหอมมะลิ จากจำนวนประชากรกว่า 4.8 ล้านคน ร้อยละ 84 บริโภคข้าวชนิด 100% Fragrant Rice หรือ Jasmine Long Grain Rice หรือ ข้าวหอมมะลิ ยกเว้นชาวอินเดียซึ่งนิยมบริโภคข้าวบาสมาติ ข้าวนึ่ง หรือข้าวหัก
- ปริมาณการบริโภค
สิงคโปร์บริโภคข้าวหอม และข้าวหอมมะลิ ประมาณ 15,000 ตันต่อเดือน ถ้ารวมข้าวเกรดอื่นๆ เช่นข้าว หัก ข้าวเหนียว และปลายข้าว รวมกันแล้วบริโภคประมาณ 20,000 ตันต่อเดือน
- รสนิยมในการบริโภค
สิงคโปร์มีประชากร 4.839 ล้านคน (สำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2551) เป็นชาวจีนร้อยละ 74.7 ชาวมุสลิมมาเลย์ร้อยละ 13.6 ชาวอินเดียร้อยละ 8.9 และอื่นๆร้อยละ 2.8
- ส่วนใหญ่ชาวจีนนิยมบริโภคข้าวหอม/ข้าวหอมมะลิไทย เพราะคุ้นเคยในรสชาติ เนื่องจากชอบในคุณภาพที่ดีและมีกรบริโภคกันมาแต่ดั้งเดิม
- ข้าวชนิดอื่นๆ ได้แก่ ข้าวนึ่งและข้าวบาสมาติ นำเข้าเพื่อบริโภคสำหรับชาวอินเดีย ปากีสถาน และชาวมุสลิม
- ราคาจำหน่ายในประเทศ
ผู้ค้าปลีกในประเทศที่สำคัญ คือ ซุปเปอร์มาร์เก็ต NTUC FairPrice เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพแรงงาน มีสาขาทั่วสิงคโปร์ 78 แห่ง ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 25 และสำหรับข้าวที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิและข้าวหอมจากไทย นอกจากนี้ มีซุปเปอร์มาร์เก็ตอื่นๆ ได้แก่ Cold Storage (30 สาขา) Carrefour (2 สาขา), Giant (8 สาขา), Cheers Convenience Store ตามปั๊มน้ำมัน, ร้านเพื่อนไทย ณ Golden Mile Complex และร้านค้าปลีกรายย่อยตามตลาดสด/Minimart ใกล้ที่พักอาศัยทั่วประเทศ
ในปัจจุบัน ด้วยการมีเทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ทอย่างครอบคลุมทั้งประเทศ ซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ มีระบบการให้บริการแก่ผู้บริโภคโดยสามารถสั่งซื้อสินค้าประเภทต่างๆทาง Internet ที่เว็บไซด์ของซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้นๆ ซึ่งผู้ซื้อสมัครเป็นสมาชิกโดยไม่เสียค่าสมัคร สั่งสินค้าผ่านฟอร์มอินเตอร์เน็ท จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต และทางซุปเปอร์มาร์เก็ตจะจัดส่งเสินค้าให้ถึงบ้านเมื่อสั่งซื้อมีมูลค่าเกิน 150 เหรียญสิงคโปร์ ซึ่งสินค้าที่เป็นที่นิยมสั่งซื้อ ได้แก่ ข้าว น้ำมันปรุงอาหาร ซ๊อส/เครื่องปรุงอาหาร อาหารกระป๋อง เครื่องดื่ม อุปกรณ์และเครื่องใช้ในครัว และของใช้ในการทำความสะอาดบ้าน เป็นต้น
ราคา/น้ำหนักและยี่ห้อ ข้าวที่วางจำหน่ายปลีกในตลาดสิงคโปร์ นิยมบรรจุถุงพลาสติกใส มีน้ำหนักถุงละ 1 กก., 2.5 กก., 5 กก. และ 10 กก. จากการสำรวจตลาดราคาจำหน่ายปลีกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 สรุปได้ดังนี้
ยี่ห้อ น้ำหนัก (กก.) ราคา (เหรียญสิงคโปร์)/ถุง Royal Umbrella Thai Fragrant Rice 1 3.9 Royal Umbrella Thai Fragrant Rice 5 14.2 Royal Umbrella Thai Fragrant Rice 10 27.6 Songhe Healthy Rice 2.5 7.3 Songhe New Corp Rice 5 15.25 Songhe Red Brown Rice 1 3.7 Songhe Thai Fragrant Rice 1 3.75 Songhe Thai Fragrant Rice 2.5 8.3 Songhe Thai Fragrant Rice 5 14.9 Songhe Thai Fragrant Rice 10 28.0 Yu Pin King Thai Fragrant Rice 2.5 6.95 Yu Pin King Thai Fragrant Rice 5 13.2 Heavenly Brown Rice 1 4.5 Heavenly Brown Rice 2.5 9.45 Heavenly Fragrant Rice 5 12.2 Heavenly Thai Hom Mali Rice 1 3.95 Heavenly Thai Hom Mali Rice 10 28.05 Jin Huang Thai Fragrant Rice 5 11.45 Jin Huang Thai Fragrant Rice 10 22.75 New Moon Thai Premium Fragrant Rice 1 3.3 New Moon Thai Premium Fragrant Rice 2.5 7.5 New Moon Thai Premium Fragrant Rice 5 13.6 New Moon Thai Premium Fragrant Rice 10 26.35 ยี่ห้อ น้ำหนัก (กก.) ราคา (เหรียญสิงคโปร์)/ถุง No Frills Thai Fragrant Rice 5 9.35 No Frills Thai Fragrant Rice 10 18.3 Paddy King New Corp Rice 5 14.7 Paddy King Mixed Jasmine Rice 2.5 7.95 Paddy King Sushi Rice 2.5 11.45 Paddy King Thai Jasmine Rice 5 13.7 Golden Peony Brown Rice 1 3.6 Golden Peony Thai Premium Rice 5 13.65 Golden Phoenix Brown Rice 1 4.9 Golden Phoenix Red Cargo Rice 1 4.9 Golden Phoenix Thai Rice 10 28.55 Golden Phoenix Thai Rice 5 14.7 Golden Thai Fragrant Rice 5 10.8 Golden Thai Fragrant Rice 10 21.3 First Choice Thai Hom Mali Rice 5 11.9 First Choice Thai Hom Mali Rice 10 22.9 Golden Eagle Thai Jasmine Rice + Brown Jasmine Rice 2 5.9 Golden Eagle New Corp Rice 5 13.6 Golden Eagle Thai Fragrant Rice 1 3.5 Golden Eagle Thai Fragrant Rice 2.5 8.0 Golden Eagle Thai Fragrant Rice 5 14.15 Golden Eagle Thai Fragrant Rice 10 26.05 Golden Royal Humming Bird Thai Fragrant Rice 1 2.75 GiTangkim Thai Rice Superior 5 11.0 Harmuni Premium Thai Jasmine Rice 5 13.4 Australia Calrose Rice 5 16.4 Diamond G US Brown rice 910 Grams 4.25 Fantastic Basmati Rice 120z 6.85 G.Pineapple Basmati Rice 2.5 10.25 Gallo Ita Rice Abborio 1 7.5 Kangaroo Calrose Rice 1 3.9 Koala Calrose Rice 5 13.8 Natural Organic Brown Rice 2 10.1 Sunrice JN Calrose Rice 1 4.0 Jipiak Couscous 500 Grams 8.75 ผู้นำเข้าสำคัญ
1. สมาคมผู้นำเข้าข้าวทั่วไปของสิงคโปร์ (Singapore General Rice Importers Association) นำเข้าข้าวโดยผู้นำเข้าที่เป็นสมาชิกของสมาคม มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันร้อยละ 60 ผู้นำเข้าเหล่านี้จะเป็นทั้งผู้ส่งออก หรือ ขายต่อให้ Wholesaler/Distributor
2. ซุปเปอร์มาร์เก็ต NTUC FairPrice Co-operative รายเดียวมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 25 นับว่าเป็น ผู้นำเข้าและค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ การดำเนินการมีลักษณะเป็นสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจแบบมีกำไร มีเครือข่ายสาขาซุปเปอร์มาร์เก็ต ถึง 78 แห่งทั่วสิงคโปร์ ข้าวที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นข้าวไทย และในปัจจุบันเริ่มมีนโยบายนำเข้าจากเวียดนาม
3. ผู้นำเข้าเอกชนรายอื่นๆ ร้อยละ 15
รายชื่อผู้นำเข้ารายสำคัญ เอกสารแนบ
การนำเข้า
1. สิงคโปร์นำเข้าข้าวปีละประมาณ 288,000 - 327,000 ตัน ส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศ โดยในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2552 นำเข้าข้าวจากทุกประเทศมีมูลค่า 157.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 มูลค่า 103.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.56 (เทียบกับเดือนมกราคม-กันยายน 2551) มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 65.85 รองลงมาได้แก่ เวียดนาม (ลดลงร้อยละ 6.08) ปากีสถาน (ลดลงร้อยละ 39.23) และสหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ 27.21)
สถิติมูลค่าการนำเข้าข้าวของสิงคโปร์ (HS 1006)
มูลค่า: US$’000
ประเทศ 2550 2551 มค.- กย. มค.- กย. อัตราการขยายตัว ส่วนแบ่งตลาด 2551 2552 ร้อยละ ร้อยละ มค.-กย.51/52 มค.-กย.52 การนำเข้ารวม 119,290 233,069 187,910 157,592 -16.13 100.00 ไทย 102,088 170,784 139,413 103,783 -25.55 65.85 เวียดนาม 22,441 18,503 14,770 13,871 -6.08 8.80 อินเดีย 16,259 21,490 16,529 26,804 62.16 17.01 ปากีสถาน 2,669 5,908 5,044 3,065 -39.23 1.94 พม่า 1,347 1,648 1,341 1,341 - 0.85 ออสเตรเลีย 1,659 2,840 1,915 2,285 19.32 1.45 สหรัฐฯ 1 6,929 4,869 3,545 -27.21 2.25 จีน 931 1,209 1,203 1,881 56.35 1.19 ที่มา : International Enterprise Singapore
2. การนำเข้าข้าวจากไทย : ข้าวที่นิยมนำเข้าจากไทยมากที่สุดคือ ข้าวหอมมะลิ และข้าวหอม ซี่งในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2552 สิงคโปร์นำเข้าข้าวหอมมะลิ (Thai Hom Mali Rice : HS 10063015) ปริมาณ 55,177 ตัน มูลค่า 50.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 3.38 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 99.81) และข้าวหอม (Fragrant Rice : HS 10063019) ปริมาณ 45,765 ตัน มูลค่า 36.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 28.60 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 69.33)
3. มูลค่าการนำเข้าข้าวและประเทศคู่แข่งสำคัญของไทย แยกตามระหัส HS
3.1 HS 10062010 : Thai Hom Mali Rice Husked นำเข้าจากประเทศไทยเท่านั้น ประเทศ มูลค่านำเข้า : US$’000 ส่วนแบ่งตลาด : การขยายตัว : 2550 2551 มค.- กย. มค.- กย. ร้อยละ ร้อยละ 2551 2552 มค.-กย.52 มค.-กย.52 รวม 196 507 423 469 100.00 21.02 ไทย 196 507 423 469 100.00 21.02
3.2 HS 10062090 : Other Husked (Brown) Rice คู่แข่งของไทย คือ สหรัฐฯ มาเลเซียและญี่ปุ่น แต่ในมูลค่าและส่วนแบ่งตลาดเพียงเล็กน้อย ประเทศ มูลค่านำเข้า : US$’000 ส่วนแบ่งตลาด การขยายตัว 2550 2551 มค.-กย. มค.-กย. ร้อยละ ร้อยละ 2551 2552 มค.-กย.52 มค.-กย.52 รวม 1,289 2,217 1,712 1,758 100.00 2.69 ไทย 1,178 2,099 1,624 1,667 94.85 2.66 สหรัฐฯ 34 35 24 33 1.38 37.50 มาเลเซีย 17 37 26 26 1.51 -0.48 ญี่ปุ่น 6 9 7 23 0.39 246.29 เวียดนาม 5 21 21 5 1.25 -77.87 ไต้หวัน 1 1 1 3 0.04 358.33
3.3 HS 10063015 : Thai Hom Mali Rice Semi Milled or Wholly Milled นำเข้าจากไทยมากที่สุด มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 99.81 แม้ว่าในช่วง มค.-กย. 52 จะมีการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.38 ประเทศ มูลค่านำเข้า : US$’000 ส่วนแบ่งตลาด : การขยายตัว : 2550 2551 มค.- กย. มค.- กย. ร้อยละ ร้อยละ 2551 2552 มค.-กย.52 มค.-กย.52 รวม 48,109 65,960 52,729 50,875 100.00 -3.52 ไทย 48,096 65,863 52,630 50,852 99.81 -3.38 อินเดีย 3 97 98 0 0 -100.00 จีน 0 0 1 24 0.19 1504.06
3.4 HS 10063019 : Other Fragrant Rice semi Milled or Wholly Milled ประเทศคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม และปากีสถาน แต่จะเป็นข้าวต่างคุณภาพจากไทย ประเทศ มูลค่านำเข้า : US$’000 ส่วนแบ่งตลาด : การขยายตัว : 2550 2551 มค.- กย. มค.- กย. ร้อยละ ร้อยละ 2551 2552 มค.-กย.52 มค.-กย.52 รวม 42,361 93,171 74,415 67,374 100.00 -9.46 ไทย 34,365 62,766 51,588 36,833 69.33 -28.60 อินเดีย 2,726 13,056 8,431 17,613 11.33 108.91 เวียดนาม 2,746 9,448 7,788 9,516 10.47 22.19 ปากีสถาน 2,372 5,470 4,718 2,645 6.34 -43.95 ออสเตรเลีย 55 427 236 478 0.32 102.58 บังคลาเทศ 42 1,319 1,474 284 1.98 -80.76
3.5 HS 10063020 : Parboiled Rice Semi Milled or Wholly Milled ในปัจจุบัน มีแรงงานที่นิยมทานข้าวประเภทนี้เข้ามาทำงานก่อสร้างใน สิงคโปร์เพิ่มมากขึ้น จึงมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.74 (มค.-กย.52) แต่การนำเข้าจากไทยลดลงร้อยละ 80.74 และไทยคงต้องแข่งขันกับอินเดีย อย่างมาก สำหรับประเทศคู่แข่งอื่นๆ มีมูลค่าการนำเข้าเพียงเล็กน้อย ได้แก่ บังคลาเทศ สาธารณรัฐอาหรับอิมิเรทส์ มาเลเซีย สหรัฐฯ ศรีลังกา และปากีสถาน ประเทศ มูลค่านำเข้า : US$’000 ส่วนแบ่งตลาด : การขยายตัว : 2550 2551 มค.- กย. มค.- กย. ร้อยละ ร้อยละ 2551 2552 มค.-กย.52 มค.-กย.52 รวม 13,722 9,504 9,040 9,507 100.00 5.16 อินเดีย 13,530 8,325 7,988 9,085 88.35 13.74 ไทย 181 886 835 161 9.24 -80.74 บังคลาเทศ 1 46 30 79 0.33 168.12 สาธารณรัฐอาหรับอิมิเรทส์ 0 0 0 56 0.0 100.00 มาเลเซีย 0 123 92 49 1.02 -46.77 สหรัฐฯ 5 16 16 24 0.18 45.83 ศรีลังกา 3 38 16 24 0.18 45.83 ปากีสถาน 0 48 35 6 0.38 -82.45
3.6 HS 10063030 : Rice Glutinous Semi Milled or Wholly Milled ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 80.11 แม้จะไม่ต้องกังวลกับข้าวเหนียวจาก ประเทศอื่นที่สิงคโปร์นำเข้า เช่น อินโดนีเซีย และ เวียดนาม ก็ตาม แต่การนำเข้าจากไทยลดลงถึงร้อยละ 30.79 (มค.-กย.52) เนื่องจากชาวสิงคโปร์ ลดการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลบะจ่าง และลดการไปรับประทานอาหารติมซัม(มีเมนูที่ทำจากข้าวเหนียว) ที่ภัตตาคารอีกทั้งมีความเชื่อว่า การทานขนมที่ปรุงจาก ข้าวเหนียวนั้น จะทำให้เกิดการย่อยยาก จึงซื้อเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น ประเทศ มูลค่านำเข้า : US$’000 ส่วนแบ่งตลาด : การขยายตัว : 2550 2551 มค.-กย. มค.-กย. ร้อยละ ร้อยละ 2551 2552 มค.-กย.52 มค.-กย.52 รวม 7,580 5,224 4,447 2,707 100.00 -39.13 ไทย 4,381 4,292 3,563 2,466 80.11 -30.79 อินโดนีเซีย 102 173 147 144 3.31 -2.35 เวียดนาม 3,052 695 712 50 16.01 -93.04 สวิสเซอร์แลนด์ 0 0 0 31 0 100.00 สหรัฐฯ 26 17 22 15 0.50 -32.78
3.7 HS 10063090 : Other Semi-Milled or Wholly Milled Rice นำเข้าจากไทยเป็นอันดับแรก แม้ว่าจะมีอัตราลดลงร้อยละ 45.88 ส่วนแบ่ง ตลาดร้อยละ 67.35 (มค.-กย.52) สำหรับการนำเข้าจากประเทศคู่แข่งอื่นๆของไทยลดลง ได้แก่ สหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ 26.26) และเวียดนาม (ลดลง ร้อยละ 32.51) ประเทศ มูลค่านำเข้า : US$’000 ส่วนแบ่งตลาด : การขยายตัว : 2550 2551 มค.- กย. มค.- กย. ร้อยละ ร้อยละ 2551 2552 มค.-กย.52 มค.-กย.52 รวม 35,244 49,139 39,363 21,303 100.00 -45.88 ไทย 10,087 31,551 26,511 9,822 67.35 -62.95 สหรัฐฯ 4,338 6,860 4,807 3,545 12.21 -26.26 เวียดนาม 15,430 5,298 3,947 2,664 10.03 -32.51 ออสเตรเลีย 1,604 2,413 1,679 1,807 4.27 7.63 จีน 931 1,170 1,162 1,641 2.95 41.18 พม่า 462 823 538 1,084 1.37 101.36 ญี่ปุ่น 371 767 488 469 1.24 -3.88 อินเดีย 62 12 12 106 0.03 973.74
3.8 HS 10064000 : Broken Rice ประเทศคู่แข่งสำคัญของไทย คือ เวียดนาม รองลงมาได้แก่ ปากีสถาน พม่า จีน และกัมพูชา ซึ่งช่วง มค.-กย.52 ส่วนใหญ่มีการนำเข้าลดลง ยกเว้นนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปากีสถานและจีน ในมูลค่าที่ไม่มากนัก ประเทศ มูลค่านำเข้า : US$’000 ส่วนแบ่งตลาด : การขยายตัว : 2550 2551 มค.- กย. มค.- กย. ร้อยละ ร้อยละ 2551 2552 มค.-กย.52 มค.-กย.52 รวม 6,033 7,347 5,781 4,099 100.00 -29.10 เวียดนาม 1208 3041 2302 1636 39.81 -28.94 ไทย 3605 2819 2240 1515 38.74 -32.36 ปากีสถาน 297 350 250 404 4.32 62.12 พม่า 885 825 803 257 13.88 -67.95 จีน 0 39 40 216 0.69 441.51 กัมพูชา 13 273 148 70 2.56 -52.79
สิงคโปร์ส่งออกข้าวมูลค่าน้อยมาก เนื่องจากนำสินค้าข้าวจากการนำเข้าเพื่อส่งออกต่อ โดยส่งออกไปยังประเทศไทยเล็กน้อย และประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย Reunion สาธารณรัฐอาหรับ- อิมิเรทส์ อิสราเอล ฮ่องกง บรูไน อัฟริกาใต้ เป็นต้น
สถิติมูลค่าการส่งออกข้าวของสิงคโปร์ (HS 1006) มูลค่า: US$’000 ประเทศ มูลค่านำเข้า : US$’000 อัตราการขยายตัว: ส่วนแบ่งตลาด: 2550 2551 มค.- กย. มค.- กย. ร้อยละ ร้อยละ 2551 2552 มค.-กย.51/52 มค.-กย.52 การส่งออกรวม 28,293 6,744 7,835 11,856 90.80 100.00 ฟิลิปปินส์ - 388 272 7,764 2,746.74 65.49 มาเลเซีย - 316 216 641 293.57 7.85 อินโดนีเซีย 26,942 4,558 4,435 859 -80.63 7.25 Reunion - - - 523 100.00 4.42 สาธารณรัฐอาหรับอิมิเรทส์ - 38 - 375 100.00 3.16 อิสราเอล - - - 245 100.00 2.07 ไทย 14 59 37 217 493.34 1.83 ฮ่องกง - 7 7 211 2,899.91 1.78 บรูไน 168 196 137 202 47.62 1.70 อัฟริกาใต้ - - - 126 100.00 1.07 ฝรั่งเศส - - - 87 100.00 0.73 ที่มา : International Enterprise Singapore
ภาษี และมาตรการนำเข้า
- ภาษี : สิงคโปร์มีระบบการค้าเปิดเสรี ไม่มีการเก็บภาษีนำเข้าข้าว ภาษีที่จัดเก็บคือ ภาษีสินค้าและบริการ (Goods & Services Tax : GST) ร้อยละ 7
- ระเบียบการนำเข้า ซึ่งผู้นำเข้าต้องจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไว้กับหน่วยงานสิงคโปร์ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) และได้รับใบอนุญาตการนำเข้า (Import License) จากหน่วยงาน International Enterprise Singapore (IE Singapore) โดย
1. ผู้นำเข้าข้าวสารต้องทำการสำรองข้าวสารไว้ในปริมาณ 2 เท่าของปริมาณที่นำเข้าแต่ละเดือน และข้าวที่สำรองต้องเก็บไว้ในโกดังสินค้าของรัฐบาล Singapore Storage & Warehouse Pte. Ltd. (SSW) ข้าวที่ต้องสำรอง คือ Fragrant Rice, White Rice และ Broken Rice ข้าวที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องสำรองคือ ข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง ข้าวเหนียว และข้าวบาสมาติ
2. IE Singapore เป็นผู้อนุมัติปริมาณการนำเข้า เช่นกรณีผู้นำเข้าประสงค์จะนำเข้าข้าว 500 ตันในเดือนมีนาคม จะต้องนำเข้าเพื่อเป็น Stock อีก 1000 ตัน และต่อมาในเดือนเมษายน หากต้องการนำเข้าเพิ่มขึ้นเป็น 550 ตัน จะต้องทำหนังสือขออนุมัติจาก IE Singapore ก่อน รวมถึงจะต้องมีการนำเข้าเพื่อ Stock อีก 1,100 ตัน และกรณีที่ต้องการนำเข้าลดลง เช่น จาก 500 ตันเป็น 450 ตัน จะต้องขออนุมัติจาก IE Singapore ล่วงหน้า 3 เดือนก่อน
- ภาษี : ไม่มีการเก็บภาษีส่งออกข้าว
- การส่งออก โดยผู้ส่งออกต้องจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไว้กับหน่วยงานสิงคโปร์ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) และได้รับใบอนุญาตการส่งออก (Import License) จากหน่วยงาน International Enterprise Singapore (IE Singapore)
บรรจุภัณฑ์
หน่วยงานที่ควบคุมคือ Agri-food Veterinary Authority (AVA) ภายใต้ Ministry of National Development ซึ่งมีข้อกำหนดสำคัญตามระเบียบ The Food Regulations ที่ต้องพึงถือปฏิบัติ คือ Labeling Requirement บนบรรจุภัณฑ์สินค้า ซึ่งต้องเป็นภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 3 mm. พร้อมมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง คือ
1) Common Name of Product
2) Nett Weight or Volume of Product
3) Name and Address of Manufacturer/Importer/Packer/Distributor
4) Country of Origin of Product
5) List of Ingredients in Descending Order of Proportions
6) Date of Marking for 19 Category of Products. Letters shall not be less than 3 mm in height and shall be show in one of the following ways:
Use By : dd/mm/yy
Sell By : dd/mm/yy
Expiry Date : dd/mm/yy
Best Before : dd/mm/yy
7) Bar Code/EAN
8) Nutrition Facts Panel (NIP)
9) No "Health Claims" Allowed on the Label
สิงคโปร์ไม่มีข้อตกลงหรือพันธกรณีผูกพันระหว่างประเทศ แต่ภาครัฐมีวิสัยทัศน์ไกล วางแผนให้มีการนำเข้าสินค้าอาหารจากแหล่งผลิตทั่วโลก เพื่อให้ตลาดสิงคโปร์สามารถแข่งขันได้ ให้ชาวสิงคโปร์ไม่ขาดแคลนอาหาร โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขอนามัยอาหารและสร้างระดับมาตรฐานคุณภาพสำหรับการควบคุมสินค้าที่นำเข้า
ในปี 2552 หน่วยงานภาครัฐสิงคโปร์คือ Agri-Food and Veterinary Authority (AVA) ได้ให้เงินสนับสนุน 5 ล้านเหรียญสิงคโปร์ สำหรับการจัดการ Food-capability Development และ Food Diversification มุ่งเน้นในการจัดหาแหล่งนำเข้าใหม่ๆ สำหรับสินค้าอาหาร ได้แก่ ข้าว เนื้อสุกร ไก่ ปลา ไข่ไก่ และผักใบเขียว และจัดสรรเงินทุนให้แก่การลงทุนในต่างประเทศเพื่อจัดทำเขตผลิตอาหารและ contract farming ซึ่งเงินสนับสนุนนี้ ให้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าบุคคลากร ค่าการบริการธุรกิจ ค่าการค้นคว้าวิจัยเพื่อให้เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้นจากฟาร์ม 266 แห่งในสิงคโปร์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มผลผลิตในประเทศภายใน 5 ปีข้างหน้า ได่แก่ (1) ไข่ไก่ จากร้อยละ 23 เพิ่มเป็นร้อยละ 30 (2) ปลา จากร้อยละ 4 เพิ่มเป็นร้อยละ 15 และ (3) ผักใบเขียว จากร้อยละ 7 เพิ่มเป็นร้อยละ 10 ทั้งนี้ โครงการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาจะเน้นโปรแกรมสำหรับปลาที่เป็นอาหาร รวมถึงการพัฒนาให้เกิดผลผลิตของผักเพิ่มขึ้น และพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับฟาร์มเลี้ยงไก่เพื่อไข่
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th