รัฐเพิ่มระเบียบการลงทุนในธุรกิจร้านอินเตอร์เนทคาเฟ่ในจีน ธุรกิจการแข่งขันดุเดือด

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 3, 2010 11:28 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ปัจจุบันชาวเน็ตจีนมีจำนวนถึง 384 ล้านคน สังคมออนไลน์ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่มหาศาลเช่นนี้ ทำให้ผู้นำจีนพะวงถึงความสามารถในการควบคุมมวลมหาชนล่าสุดกระทรวงวัฒนธรรมออกประกาศ คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ยื่นขอเปิดร้านเฟรนไชน์อินเตอร์เนทในประเทศจีน ต้องมีคุณสมบัติ 4 ข้อดังนี้คือ เงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 50 ล้านหยวน มีร้านสาขาที่เปิดดำเนินการขั้นต่ำ 30 ร้าน และมีร้านสาขาในอาณาเขตครอบคลุม 3มณฑลหรือเขตปกครองตนเอง มหานคร และสุดท้ายคือหลังดำเนินการมาแล้ว1ปีไม่เคยถูกลงโทษใดๆจากหน่วยงานของรัฐ

กลุ่มผู้ลงทุนโอดครวญ กิจการแข่งขันดุเดือดสุดท้ายเหลือไม่กี่ราย

รัฐบาลมีเจตนาดีเนื่องจากการมีเฟรนไชน์ช่วยลดต้นทุนร้านอินเตอร์เนท แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการที่คุณสมบัติครบตามนั้นก็คงมีน้อยรายที่จะตัดสินใจยื่นเอกสาร เนื่องจากมาตรการแบบนี้ที่เริ่มมาเมื่อ 7 ปี ก่อนที่ไม่บรรลุผลเท่าที่ควร โดยในปี 2003 กระทรวงวัฒนธรรมได้ออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการซึ่งมีทั้งที่เป็นของ รัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัทChina Unicom บริษัทChina Zhongqing บริษัทChangcheng BroadBand เป็นต้น จำนวน 10 รายเปิดธุรกิจร้านเฟรนไชน์อินเตอร์เนทคาเฟ่ทั่วประเทศจีน แต่ผ่านไปไม่กี่ปีร้านต่างๆเหล่านี้ค่อยๆทยอยหายไปจากตลาด "กิจการร้านอินเตอร์เนทยิ่งเปิดสาขาเยอะ ยิ่งล้มเร็ว" ผู้จัดการดูแลเฟรนไชน์ร้านอินเตอร์เนทมณฑล เจ้อเจียงให้สัมภาษณ์ เนื่องจากร้านอินเตอร์เนทของแต่ละมณฑลเองก็จะมาแย่งประมูลใบอนุญาตไป ทำให้ราคาจากเดิมไม่กี่ 10 หยวน เพิ่มสูงไปเป็นกว่า 7 แสนหยวน เช่นเดียวกับมณฑลเสฉวน ซึ่งกรมวัฒนธรรมมณฑลเสฉวนเริ่มออกใบอนุญาตในปี 2004 บริษัท XingMei Sichuan ได้สิทธิเปิดร้านอินเตอร์เนทเฟรนไชน์เป็นเจ้าแรก เพียง 2 ปีได้เปิดร้านเฟรนไชน์กว่า 500 สาขา หลังจากนั้นบริษัท TianFu Net และบริษัทYing Shang ก็เริ่มเข้าสู่ตลาด ทำให้การแข่งขันดุเดือด จนเหลือกันไม่กี่สาขาขณะนี้

ผู้ประกอบการในพื้นที่มีความได้เปรียบกว่า

ความพยายามที่จะพลักดันให้กิจการนี้เกิดเป็นระบบเฟรนไชน์ เพื่อรัฐบาลจะได้ควบคุมได้ง่ายโดยการ กำหนดคุณสมบัติ หรือออกใบอนุญาตต่างๆ ตามความเป็นจริงแล้ว ทิศทางของตลาด และตัวธุรกิจเองก็พัฒนาไปในแนวทางนั้นอยู่แล้ว เพียงแต่ผู้ประกอบการไม่ได้ขอใบอนุญาตกับรัฐ เกิดเป็นรูปแบบที่เรียกกันว่า "เฟรนไชน์ภาคประชาชน" นาย หวัง ยีหมิง กรรมการผู้จัดการบริษัทLong zhi Sichuan ให้สัมภาษณ์ว่า บริษัทได้ยื่นขอใบอนุญาตประกอบการเปิดร้านเฟรนไชน์อินเตอร์เนทโดยเตรียมเอกสารดังนี้ 1.เงินทุนจดทะเบียน 10ล้านหยวน 2.มีร้านสาขา 5 สาขาขึ้นไป ซึ่งทางบริษัทเองก็พัฒนาขึ้นมาจากร้านเล็กๆทั่วไป ค่อยๆสะสมทุนแล้วขยายใหญ่ ซึ่งตนคิดว่าเป็นหนทางที่ดีกว่าในวงการธุรกิจนี้ ขณะนี้กิจการของตนได้พัฒนามาเป็นระบบเฟรนไชน์ เชื่อว่าต้องพบปัญหาอุปสรรคเรื่องการจัดการต่างๆมากมายในอนาคต แต่ก็มั่นใจว่าการพัฒนาของตนจะราบรื่นเพราะพัฒนาไปในแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

นโยบายจากบนลงล่าง ไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาแต่ต้องมาจากความต้องการของตลาด

ผู้ประกอบการรายย่อยร้านอินเตอร์เนทในเฉิงตูให้สัมภาษณ์ว่า รูปแบบการพัฒนาควรจะเกิดจากความต้องการของตลาดเอง ไม่ควรจะเริ่มจากความต้องการในการควบคุมหรือจัดการ เนื่องจากการแข่งขันในตลาดอินเตอร์เนท ต้องสนองตอบความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย การจัดการของรัฐที่ต้องการให้เป็นระบบเฟรนไชน์ทำให้ความหลากหลายนั้นหมดไปส่งผลให้การพัฒนาหยุดชะงัก ซึ่งการออกนโยบายในครั้งนี้เห็นได้ชัดว่าเป็นความคิดจากรัฐเพียงฝ่ายเดียว และเป็นแบบบนลงล่าง ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ประกอบการในปัจจุบันที่จะขอใบอนุญาตเปิดร้านอินเตอร์เนทเป็นเรื่องลำบาก นอกจากต้องมีร้านเนตแพิ่มเป็น 5 ร้าน แล้วจึงยื่นขอใบอนุญาตเปิดร้านเฟรนไชน์ก็จะมีโอกาสมากขึ้น ซึ่งตรงนี้กลับเป็นภาระให้กับผู้ประกอบการ เนื่องจากต้องใช้ต้นทุนมากขึ้น ค่าใช้จ่ายตกแต่งที่ตามมา และปัญหาอื่นอีกมากมาย ที่สำคัญตั้งแต่ปี 2009 ต้นทุนด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ การอัพเกรดซอร์ฟแวร์สูงขึ้น รายได้จากค่าบริการก็ไม่สามารถขึ้นได้ เป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนากิจการนี้ ในอนาคต

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทส ณ นครเฉิงตู

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ