สถานการณ์ผลิตภัณฑ์ยางในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เดือนมกราคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 3, 2010 12:06 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ผลผลิต
ผลผลิตสินค้าทำด้วยยางในเยอรมนี ปี 2549 — 2552 (ม.ค.-มิ.ย.)
          ชนิดสินค้า           ปี 2549    ปี 2550     ปี 2551     ปี 2551     ปี 2552      +/-%      กิจการ
                                                           ม.ค.-มิ.ย.  ม.ค.-มิ.ย.  ม.ค.-มิ.ย.   ปี 2552
- ยางรถใหม่และหล่อดอก        4,031.3   4,273.6    3,989.5    2,125.5    1,639.3     -22.87        25
- ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ             6,718.9   7,275.5    7,266.1    3,900.6    2,773.2     -28.95       333
- รวมทั้งสิ้น                 10,750.2  11,549.1   11,255.6    6,028.9    4,412.5     -26.81       358
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ เยอรมัน
2. การนำเข้า

ในช่วง 11 เดือนแรกปี 2552 เยอรมนีนำเข้าผลิตภัณฑ์ทำด้วยยางจากต่างประเทศเป็นมูลค่า 8,446.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 24.6 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ ฝรั่งเศส สาธารณรัฐเช็ก อิตาลี เป็นต้น สำหรับไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 23 มูลค่า 107 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.6

                   ล้านเหรียญสหรัฐ    +/-      แหล่งนำเข้าสำคัญ และส่วนแบ่ง %
มูลค่านำเข้าโดยเฉลี่ยปีละ   10,509.6              ฝรั่งเศส (13.8) เช็ก (9.4) อิตาลี (6.9) โปแลนด์ (6.3) ไทย (1.3)
- ปี 2552 (ม.ค.-พ.ย.)   8,446.6    -24.6%
ประกอบด้วย
- ยางยานพาหนะ          4,696.2    -17.7%    ฝรั่งเศส (16.0) เช็ก (7.3) เนเธอร์แลนด์ (7.1) สโลเวเกีย (6.7) ไทย (0.7)
- ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ         1,304.3    -30.9%    ฝรั่งเศส (16.5) อิตาลี (12.3) เช็ก (7.1) อังกฤษ (7.6) ไทย (0.12)
- ยางรัดของ               758.9    -44.2%    เช็ก (10.9) โปแลนด์ (9.99) สเปน (8.9) อิตาลี (8.3) ไทย (0.66)
- ท่อยาง สายยาง           553.4    -31.5%    เช็ก (13.7) อิตาลี (12.2) ฮังการี (11.7) โปแลนด์ (9.3) ไทย (0.48)
3. การส่งออก

ในช่วง 11 เดือนแรกปี 2552 เยอรมนีส่งออกผลิตภัณฑ์ทำด้วยยางไปยังตลาดในต่างประเทศมูลค่า 9,366.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 20.1 ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักรและ อิตาลี เป็นต้น

              ล้านเหรียญสหรัฐ             +/-           ตลาดส่งออกและส่วนแบ่ง %
มูลค่าส่งออกโดยเฉลี่ยปีละ      11,250.1              ฝรั่งเศส (11.6) อังกฤษ (7.1) อิตาลี (6.8) สเปน (6.3) ออสเตรีย (6.2)
 - ปี 2552 (ม.ค.-พ.ย.)     9,366.6    -20.1%
ประกอบด้วย
 - ยางยานพาหนะ            4,160.1    -16.5%    ฝรั่งเศส (13.3) อิตาลี (9.1) อังกฤษ (7.8) สเปน (7.3)
 - ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ (ปะเก็น)   1,719.5    -19.7%    ฝรั่งเศส (11.0) โปแลนด์ (8.3) เช็ก (8.0) อังกฤษ (6.0)
 - ยางรัดของ               1,205.4    -25.7%    ฝรั่งเศส (8.2) สหรัฐ (8.1) จีน (7.5) อังกฤษ (6.3)
 - ท่อยาง สายยาง             775.2    -32.4%    ฝรั่งเศส (8.4) ออสเตรีย (8.3) อังกฤษ (6.6) จีน (6.5)
ที่มา: Eurostat
4. การค้ากับประเทศไทย

ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ทำด้วยยางไปยังตลาดเยอรมนีเป็นมุลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 151.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2552 มีการส่งออกมูลค่า 149.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 6.6 สินค้าส่งออกสำคัญๆ ได้แก่

                             ปี 2549   ปี 2550    ปี 2551   ปี 2552    +/- %
          - ยางยานพาหนะ       26.9     58.2      58.4     56.0      -4.0
          - ถุงมือยาง           45.5     51.9      61.2     53.1     -13.2
          - ผลิตภัณฑ์ใช้ทางเภสัช   19.3     21.1      25.4     30.7     +21.1
          - หลอดและท่อยาง       4.5      4.1       6.4      3.4     -46.3
          ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ, กรมศุลกากรไทย
5. อัตราภาษีและข้อจำกัดทางการค้า

5.1 การนำเข้าสามารถทำได้อย่างเสรี ไม่มีข้อจำกัด

5.2 อัตราภาษีนำเข้าระหว่างร้อยละ 2 — 6.5 ของมูลค่าสินค้าที่นำเข้า โดยมีอัตราสำคัญๆ สำหรับสินค้าแต่ละชนิด ดังนี้

  • ถุงมือยางใช้ทางการแพทย์ ร้อยละ 2.0
              - ถุงมือยางอื่นๆ             “    2.7
              - ยางรถยนต์               “    4.5
              - ยางใน                  “    4.0
              - ท่อยาง                  “    3.0
  • แท่นยาง หรือที่ใช้ทางเทคนิค “ 3.5
              - สายพาน                 “    6.5

นอกจากนี้จะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ร้อยละ 19 ของมูลค่าสินค้าที่นำเข้า ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับสินค้าอื่นๆ

5.3 สินค้าที่จะนำเข้าสู่ตลาดเยอรมนีจะต้องได้มาตรฐาน มีคุณภาพถูกต้อง และเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ในกรณีที่มีความผิดพลาด ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ โดยสามารถพิสูจน์ได้ว่า เกิดจากความผิด ความบกพร่องของผู้ผลิต ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะต้องรับผิดชอบ ชดใช้ความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้น

5.4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิต จะต้องเป็นสารที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วตามระเบียบ Reach

6. สถานการณ์การตลาด

6.1 ในเยอรมนี สินค้าต่างๆ ที่ทำด้วยยางกว่าครึ่งหนึ่งจะเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ได้แก่ ยางยานพาหนะ ชิ้นส่วนและและส่วนประกอบรถยนต์ ผลของการใช้มาตรการกระตุ้นการขายรถยนต์ทำให้ในปี 2552 ที่ผ่านมามีการขายรถยนต์ใหม่ในเยอรมนีรวมทั้งสิ้น 3.8 ล้านคัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 ทำให้มูลค่าตลาดสินค้าทำด้วยยางสูงขึ้น แต่สำหรับปี 2553 นี้ เนื่องจากจะมีการซื้อขายรถใหม่ลดน้อยลงมาก โดยคาดว่าจะลดลงอยู่ที่จำนวน 3.2 — 3.5 ล้านคัน จะส่งผลให้ความต้องการสินค้าที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ลดลงด้วยในปี 2553 นี้

6.2 สินค้าทำด้วยยางในเยอรมนีส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิต และมีการใช้ยางเทียมเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้ามากขึ้น โดยในปี 2551 มีการใช้ยางธรรมชาติ 240,000 ตัน และยางเทียม 430,000 ตัน สินค้าที่อาจจะได้รับผลกระทบ ได้แก่ ถุงมือยางที่ปัจจุบันมีปัญหาในการใช้งาน ผู้ใช้บางรายจะเกิดอาการแพ้ คัน เป็นต้น การผลิตโดยใช้ยางเทียมจะไม่ทำให้เกิดปัญหาเช่นนี้ แต่เนื่องจากยังมีราคาสูงกว่าถุงมือทำด้วยยางธรรมชาติ การผลิตโดยใช้ยางเทียมจึงยังไม่แพร่หลาย

6.3 สินค้าสำคัญทำด้วยยางของไทยที่ส่งออกไปเยอรมนี นอกจากยางรถยนต์แล้วจะเป็นถุงมือยาง ที่มีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 35 ยังคงครองอันดับต้นๆ ในตลาดเยอรมนี เนื่องจากมีคุณภาพดี มีราคาที่เหมาะสมตลาดจึงยังคงมีความต้องการต่อเนื่อง การควบคุมการผลิต ดูแลด้านคุณภาพ คุณสมบัติของสินค้าให้สม่ำเสมอจะช่วยทำให้ตลาดมีความต้องการสินค้าของไทยสืบต่อไป

7. ราคาจำหน่ายของถุงมือยางในปัจจุบันจะมีความแตกต่างกันไป ตามแหล่งที่มา ยี่ห้อของสินค้า และแหล่งจำหน่าย ดังนี้

          - ถุงมือยางใช้ครั้งเดียว          5 — 7 เซ็นต์/คู่  (2.45 — 3.43 บาท)
          - ถุงมือใช้ในครัวเรือน             50  เซ็นต์/คู่  (22 — 34 บาท)
          - ถุงมือมียี่ห้อ                    1.10 ยูโร/คู่  (54 บาท)
          - ถุงมือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม/เคมี 2.85 ยูโร/คู่  (140 บาท)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ