รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าประเทศบังกลาเทศระหว่างวันที่ 16—31 ธันวาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 27, 2010 12:33 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์เศรษฐกิจบังกลาเทศมีความเติบโตด้วยดีต่อเนื่อง โดย

1.1. รายได้จากการเก็บภาษีเดือนต.ค.09 จำนวน 44.9 พันล้านตากาเพิ่มขึ้นจาก ต.ค.08 28.6%และยอดรวมช่วง ก.ค.-ต.ค.09 =169.4 พันล้านตากา เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 14%

1.2 ธนาคารกลางบังกลาเทศรายงานว่า เงินสำรองเงินตราต่างประเทศ ณ 29 ธ.ค..มีจำนวน 10,336.26 ล้านUSD ใกล้เคียงกับต้นเดือนพ.ย.แต่สูงกว่าธ.ค.ปี ก่อนซึ่งมี เพียง 5,803.3 ล้าน USD

1.3 เงินโอนจากแรงงานในต่างประเทศเดือนพ.ย.09 มีจำนวน 1,053.54 ล้านดอลลาร์ สูงขึ้นจากพ.ย.08 ร้อยละ38.37 และยอดรวมช่วงก.ค.-พ.ย.09 = 4,662.34 ล้านดอลลาร์ สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อน ร้อยละ24.44

1.4 มูลค่าส่งออกต.ค.09 รวม 1,024 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นจากต.ค.ปีก่อนซึ่งมีจำนวน867 ล้านดอลลาร์ ร้อยละ18 และมูลค่ารวมกค.-ต.ค.09 =4,897.7 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ6.74 ในขณะที่มูลค่านำเข้าต.ค.=2,032 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 2.8 ขาดดุลการค้า 1,008 ล้านดอลลาร์ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 158 ล้านดอลลาร์

2. ภาวะการค้าโดยทั่วไปเป็นปกติ สำหรับการค้าน้ำตาล ราคาเริ่มลดลง เนื่องจากโรงงานบีบอ้อยเริ่มดำเนินการได้(พ.ย.-มีค.) หลังจากต้องหยุดงาน จากการไม่มีอ้อยป้อนโรงงานก่อนหน้านี้ แต่อย่างไรก็ตาม ในปีนี้พื้นที่ที่มีการปลูกอ้อยมีเพียง 5,492 เอเคอร์ ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดไว้ที่ 14,000 เอเคอร์มาก และรัฐบาลประกาศราคารับซื้ออ้อยสูงขึ้น 22%จากปีก่อน จาก172-175 เป็น 206-214 ตากาต่อควินตัน

การค้าปอ มีการขาดแคลนปอป้อนโรงงาน โรงงานหลายแห่งต้องหยุดกิจการชั่วคราว แม้ว่ารัฐบาลประกาศห้ามส่งออกปอไปแล้วเมื่อ 7 ธ.ค.09 ราคาปอดิบ เพิ่มจาก 1500 เป็น 1800ตากาต่อมัด ภายใน 1 สัปดาห์ ปริมาณการใช้ปีก่อน 3.5 ล้านมัด ปีนี้ความต้องการ 4.2 ล้านมัด แต่ปริมาณปอมีเพียง 2.25 ล้านมัด ส่งออกไปแล้ว 1.0 ล้านมัด

3. ภาวะการส่งออกสินค้าจากไทยไปบังกลาเทศ ปริมาณการส่งออกรวม ช่วงม.ค.-พ.ย.เพิ่มขึ้น8.19% จากการส่งออก น้ำตาลทราย สายไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และแร่ยิบซัม แม้ว่าการส่งออกเฉพาะเดือนพ.ย.ลดลง3.48% จากการส่งออกน้ำตาลทราย เครื่องจักรกล ตู้เย็นตู้แช่ เส้นใยประดิษฐ์ อะไหล่รถยนต์ เหล็กและเหล็กกล้า และเครื่องเทศสมุนไพร เนื่องจากมีการนำเข้าในเดือนก่อนปริมาณสูง จากเป็นเทศกาลฆ่าวัว มีความต้องการสูง

4. สถานการณ์ก๊าซหุงต้ม ตามบ้านพักอาศัยในธากา มีการขาดแคนลนเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในเวลาเช้าและกลางคืน เนื่องจาก ปริมาณก๊าซขาดแคลนและแรงดันในท่อต่ำ รัฐบาลได้ขึ้นราคาก๊าซไป 11% เมื่อเดือนสิงหาคม 09 และสัญญาว่าจะปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้น แต่ปัจจุบันก็ยังคงไม่ดีขึ้น

5. ตั้งแต่ 31 ธันวาคม 09 เวลา 11.59น.บังกลาเทศประกาศปรับเวลากลับสู่เวลาเดิมก่อนหน้า 1 ชั่วโมง(GMT+6) คือ ช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง จากที่ได้ปรับเวลาเร็วขึ้น 1 ชั่วโมงตั้งแต่กรกฏาคม 09 เพื่อประหยัดไฟ ทำให้เวลาเท่ากับประเทศไทย(GMT+7) และจะปรับเวลาเป็น GMT+7 อีกครั้ง ระหว่าง 31 มีนาคม -31 ตุลาคม 2010 เป็นเวลา 5 เดือน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงธากา บังกลาเทศ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ