สถานการณ์สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในเยอรมนี เดือนมกราคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 9, 2010 16:29 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์การผลิต

1.1 ประเภทของอัญมณีและเครื่องประดับ

  • อัญมณี
  • เครื่องประดับอัญมณีแท้ทำด้วยเงินและทอง
  • เครื่องประดับเทียม

1.2 ผู้ประกอบการและจำนวนโรงงาน

ในเยอรมนีมีโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณี เครื่องประดับแท้และเทียมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 77 ราย ในจำนวนนี้เป็นกิจการโรงงานเครื่องประดับเทียม 15 ราย นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบเครื่องประดับและผลิตโดยเจ้าของกิจการร้านค้าปลีกเครื่องประดับอีกด้วย ปัจจุบันในเยอรมนีมีร้านค้าปลีกประเภทนี้กว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ

1.3 มูลค่าการผลิต

เครื่องประดับแท้และเทียมในเยอรมนีมีการผลิตเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 582 และ 44 ล้านยูโร ตามลำดับ ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2552 มีการผลิตเครื่องประดับแท้ มูลค่า 210.8 ล้านยูโร และเครื่องประดับเทียม 15.5 ล้านยูโร ลดลงร้อยละ 21.8 และ 22.1 ตามลำดับ

2. สถานการณ์การนำเข้า

2.1 ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2552 เยอรมนีนำเข้าสินค้ารายการนี้เป็นมูลค่า 9,486 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 19.1

2.2 สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตในประเทศ ได้แก่ ทองคำ แพลทินัม และเงิน มีสัดส่วนร้อยละ 30, 20 และ 5 ตามลำดับ แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ สหรัฐและออสเตรีย เป็นต้น

3. การส่งออกของไทยไปเยอรมนี
                                   ปี 2550      ปี 2551       ปี 2552     เพิ่ม/ลด %
   รวม                              158.5       201.3        194.1      - 3.6
- เครื่องประดับแท้ทำด้วยเงิน               63.5        81.3         91.8      +15.9
- เครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง               49.8        64.2         53.1      -17.3
- เครื่องประดับอัญมณีเทียม                  8.4         9.6         10.0       +4.0
- ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป                    14.6        18.3         13.3      -27.4
- อัญมณีมีค่า (พลอย...)                   8.1         7.5          9.3      +25.3
ที่มา กรมศุลกากรไทย
หน่วย = ล้านเหรียญสหรัฐ

          ในปี 2552 ไทยส่งออกสินค้ารายการนี้ไปเยอรมนีเป็นมูลค่า 194.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.6 โดยเครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินมีมูลค่าการส่งออกสูงสุด เป็นมูลค่า 91.8 ล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนแบ่งในตลาดเยอรมนีเป็นอันดับแรกประมาณร้อยละ 30 แหล่งอื่นๆ ที่เยอรมนีนำเข้าจะเป็นจีน อิตาลี และอินเดีย มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 26, 6 และ 5 ตามลำดับ

4. สถานการณ์และแนวโน้ม
          ถึงแม้ว่าในปี 2552 ที่ผ่านมา การค้าปลีกในภาพรวมมีมูลค่าลดลงประมาณรอ้ ยละ 2.5 ก็ตาม แต่สำหรับเครื่องประดับที่ในช่วงปลายปี มีการซื้อขายกันมากเนื่องจากความไม่แน่นอนในตลาดที่อยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์ ผู้บริโภคจึงหันมาซื้อเครื่องประดับแทน ทำให้ตลาดเครื่องประดับยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีมูลค่ารวมในปีที่ผ่านมาประมาณ 810 ล้านยูโร ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้านี้ สินค้าที่ซื้อขายกันมากจะเป็น
          เครื่องประดับที่มีระดับราคาต่ำมีส่วนแบ่ง  ร้อยละ  52
          สินค้าในระดับราคาปานกลาง          ร้อยละ  38
          สินค้าที่มียี่ห้อ Brand name มีส่วนแบ่ง   ร้อยละ  10
          สำหรับแนวโน้มในปี 2553 นี้ จากการที่ตลาดแรงงานยังคงมีความมั่นคงดี รวมทั้งราคาของวัตถุดิบต่างๆ ที่มีแนวโน้มลดลงบ้าง จะช่วยให้ ตลาดเครื่องประดับในเยอรมนียังคงแจ่มใสและมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นได้


          สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศฯ ณ กรุงเบอร์ลิน

          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ