สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าประเทศอิตาลีระหว่างวันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 10, 2010 14:08 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าปี 2553 และ 2554 ณ เดือนกุมภาพันธ์

1. การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจอิตาลีปี 2553-2554

สัญญาณของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอิตาลีเริ่มต้นจากช่วงไตรมาส 3 ของปีก่อน โดย The Institute for Studies and Economic Analyses คาดการณ์ว่าปี 2553 เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ในช่วงไตรมาส 1 และจะฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดในช่วงไตรมาส 2

โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เศรษฐกิจอิตาลีกลับมาฟื้นตัว ได้แก่

  • การกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลก (โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม)
  • ความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าจานวนคนว่างงานยังคงเพิ่มขึ้น
  • การกลับมาฟื้นตัวด้านการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม กับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลให้บริษัทที่มีระบบการดาเนินงานที่ไม่ทันสมัยต้องปิดตัวลงเป็นจานวนมาก ในทางตรงกันข้าม บริษัทที่มีรูปแบบเทคนิค/เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการดาเนินงานมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

2. ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP)
                              ปี 2552*    ปี 2553*    ปี 2554*
          GDP (%)              -4.9        1.0        1.4

ปี 2553 และ 2554 มีการคาดการณ์ตัวเลข GDP จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นบวก สืบเนื่องจากสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศกลับมาฟื้นตัว ความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น การส่งออกและนาเข้าที่มีตัวเลขดีขึ้น รวมทั้งการนาสินค้าคงคลังที่เหลือออกมาใช้

3. การผลิตและราคาการผลิต
  (%)                          ปี 2552*    ปี 2553*    ปี 2554*
การผลิตภาคอุตสาหกรรม               17.4        -          -
ราคาการผลิต                       -5.4       1.9        2.4
4. การบริโภค
                               ปี 2552*     ปี 2553*     ปี 2554*
การบริโภคของชาวอิตาเลียน (%)        -1.7        0.8         1.1

ปี 2553 การบริโภคจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นจากปี 2552 ที่มีผลติดลบ โดยมีปัจจัยมาจากตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นกอปรกับความต้องการของตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้นส่งผลให้การบริโภคดีขึ้น

ปี 2554 การบริโภคจะกลับมาฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด

5. การลงทุน
                               ปี 2552*      ปี 2553*     ปี 2554*
การลงทุน (%)                    -12.7          0.9         2.8

ปี 2553 การลงทุนมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ซึ่งมีปัจจัยมาจากการปล่อยกู้เพิ่มขึ้นจากธนาคาร เศรษฐกิจการค้าโลกที่ดีขึ้น การให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐบาลอิตาลี (การลดภาษีซื้อรถยนต์) โดยการลงทุนที่เพิ่มขึ้นคือ การลงทุนในยานยนต์พาหนะสาหรับขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 แต่การลงทุนในการก่อสร้างบ้าน อาคาร ลดลงร้อยละ 1.3

ปี 2554 การลงทุนมีแน้วโน้มฟื้นตัวดีขึ้น โดยการลงทุนในยานยนต์พาหนะสาหรับขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 และการลงทุนในการก่อสร้างบ้าน อาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4

6. การส่งออกและนาเข้า

การส่งออกอิตาลีมีความสาคัญเป็นอย่างมากในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดูเหมือนว่าอิตาลีเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพดีในตลาดลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นสินค้าที่อิตาลีเน้นส่งออก

ปัจจุบันการส่งออกของประเทศอื่นๆในยุโรปเริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นเพราะประเทศดังกล่าวเน้นส่งออกสินค้าไปยังตลาดเอเชีย แต่ตลาดส่งออกอิตาลีส่วนใหญ่เป็นตลาดในแถบยุโรป โดยตลาดแถบเอเชียอิตาลียังส่งออกในปริมาณไม่มากนัก ดังนั้น อิตาลีควรเน้นส่งออกสินค้าไปยังตลาดเอเชียเพิ่มขึ้น

(%)                    ปี 2552*      ปี 2553*       ปี 2554*
การส่งออก                -18.8        3.8           3.9
การนาเข้า                -14.9        3.2           3.5

ปี 2553 และ 2554 การส่งออกและการนาเข้า จะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น อันมีปัจจัยมาจากความต้องการจากตลาดภายในและตลาดต่างประเทศการเพิ่มขึ้นของ GDP และการนาเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต

6.1 การส่งออกมาไทย

ในระหว่างเดือนมกราคม-พฤศิจกายน 2552 ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 58 ของอิตาลี อิตาลีส่งออกมาไทยมีมูลค่า 703 ล้านยูโร (-19.2%) เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้าที่อิตาลีส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • รัตนชาติ มูลค่า 35 ล้านยูโร +14.5%
  • ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม มูลค่า 25 ล้านยูโร +82.8%
  • หนังดิบและหนังฟอก มูลค่า 15 ล้านยูโร +18.5%

สินค้าที่อิตาลีส่งออกลดลง ได้แก่

  • เครื่องจักร มูลค่า 257 ล้านยูโร -31.9%
  • เครื่องจักรไฟฟ้า มูลค่า 55 ล้านยูโร -5.1%
  • เหล็กและเหล็กกล้า มูลค่า 39 ล้านยูโร -20.2%

6.2 การนาเข้าจากไทย

ในระหว่างเดือนมกราคม-พฤศิจกายน 2552 ไทยเป็นแหล่งนาเข้าอันดับที่ 48 ของอิตาลี ซึ่งอิตาลีนาเข้าจากไทยมีมูลค่า 930 ล้านยูโร(-31.4%) เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้าที่อิตาลีนาเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ปลาและอาหารทะเล มูลค่า 102 ล้านยูโร +5.3%
  • ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ มูลค่า 58 ล้านยูโร +64.2%
  • อาหารสาหรับสัตว์เลี้ยง มูลค่า 36 ล้านยูโร +14.3%

สินค้าทิ่อิตาลีนาเข้าลดลง ได้แก่

  • เครื่องจักร มูลค่า 123 ล้านยูโร -49.7%
  • เครื่องจักรไฟฟ้า มูลค่า 79 ล้านยูโร -27.4%
  • ยาง มูลค่า 78 ล้านยูโร -48.1%

ที่มา: World Trade Atlas

7. อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate)
 (%)                    ปี 2552*      ปี 2553*      ปี 2554*
อัตราเงินเฟ้อ               0.8           1.6          2.0
          ปี 2553 อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากปี 2552 อันมีปัจจัยมาจากการราคาน้ามันเพิ่มขึ้น
          ปี 2554 อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งมีผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาการบริโภคทั้งในและต่างประเทศ

8. ตลาดแรงงาน
          จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นส่งผลให้ตลาดแรงงานอิตาลีมีการปลดพนักงานออกเป็นจานวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม หลายบริษัทพยายามหลีกเลียงการปลดพนักงานออก แต่จะใช้หลักการดังนี้
          - Cassa integrazione การให้พนักงานหยุดอยู่บ้านในช่วงระยะเวลาหนึ่งและได้รับเงินเดือน
          - การใช้วันหยุด อนุญาตให้พนักงานใช้วันหยุดแทนที่จะจ่ายเป็นเงิน

                       ปี 2552*     ปี 2553*     ปี 2554*
การจ้างงาน               -2.5        -0.6         0.7
การว่างงาน                7.8         8.8         8.8

ปี 2552 สถาบัน ISAE ได้คาดการณ์ว่าตาแหน่งว่างงานจะมีถึง 633,000 ตาแหน่ง โดยภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม (400,000 ตาแหน่ง) และภาคการก่อสร้าง

โดยพนักงานที่ตกงานส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานที่มีสัญญาทางานปีต่อปี หรือสัญญาตามโครงการ นอกจากนี้ จากไตรมาส 3 ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เริ่มปลดพนักงานที่มีสัญญาทางานตลอดชีพออก

ปี 2553 และ 2554 การจ้างงานและการว่างงานจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยการลดลงของการว่างงานจะหยุดปลดพนักงานออกในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ของปี 2553

  • คาดการณ์จากISAE

ที่มา: สานักงานสถิติแห่งชาติอิตาลี (ISTAT)

The Institute for Studies and Economic Analyses ( ISAE)

ธนาคารแห่งชาติอิตาลี, European Central Bank

Federal Reserve, IMF, HWWA

สานักงานส่งเสริมการค้าในระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ