ทมิฬนาฑูมีศักยภาพในการรองรับสินค้าส่งออกของไทยหลายชนิด ได้แก่ รองเท้าแตะ ชิ้นส่วนรองเท้าโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ยางพาราและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ ทองรูปพรรณ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ เครื่องสำอาง อาหารปรุงแต่ง ผลไม้ไทย น้ำผลไม้ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม กระจก และจักรยานยนต์ และมีโอกาสการลงทุนหลายชนิด เช่น บ้านจัดสรร การแปรรูปอาหาร และการท่องเที่ยว
GDP Growth- 4% (ค่าประมาณการปี 2009) ทมิฬนาฑูมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 3 ของอินเดียรองจากรัฐมหารัชตระ ซึ่งมีมุมไบเป็นเมืองหลวงของรัฐ และอุตรประเทศที่มีกรุงนิวเดลีเป็นเมืองหลวงของรัฐ และเป็นรัฐที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม มากเป็นเป็นอันดับสองรองจากรัฐมหารัชตระ และเป็นจุดที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนไทยเนื่องจากเจนไนเป็นเมืองท่าที่ใกล้ประเทศไทย และประชากรมีกำลังซื้อสูงอันเนื่องมาจากอุตสาหกรรม IT และsoftware เติบโตอย่างรวดเร็ว ทมิฬนาฑูมี FDI เป็นอันดับ 3 รองจากรัฐมหาราชตระ และกรุงนิวเดลีตามลำดับ ทั้งนี้ทมิฬนาฑูมี FDI คิดเป็นสัดส่วน 9.12% ของการลงทุนจากต่างประเทศของอินเดีย ปัจจุบันมีบริษัทของคนไทยที่เข้าไปลงทุน ได้แก่ ซีพี (จำหน่ายอาหารสัตว์ และพันธ์กุ้ง) SCG (จัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง) สยามคูโบตา (รถแทรกเตอร์และเครื่องยนต์การเกษตร) บ้านพฤกษา บริษัท Rockworth (เฟอร์นิเจอร์)
พื้นที่- 130,058 ตารางกิโลเมตร (เล็กกว่าประเทศไทยเล็กน้อย) เป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 11 ของอินเดีย และมีประชากรมากเป็นอันดับ 7 ของอินเดีย
เจนไน (Chennai) ประชากร 7 ล้านคน ประชากร:
66,396,000 คน (ปี 2008) เป็นชาย 33 ล้านคน เป็นหญิง 33 ล้านคน
น้อยมาก อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่า 2.8% ในเขตชนบท และ 4.8% ในเขตเมือง ส่งผลให้เจนไนเป็นเมืองที่มีปัญหาอาชญากรรมและการก่อการร้ายน้อยมากเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ของอินเดีย และทำให้ต่างชาตินิยมไปลงทุนในเจนไน
จากการศึกษาเรื่อง“Location Ranking Survey” โดยสถาบัน ECA International พบว่า เจนไนเป็นเมืองที่มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดในอินเดีย และผลการสำรวจของสถาบัน Mercer พบว่าเชนไนเป็นเมืองที่น่าอยู่เป็นอันดับสองรองจากกรุงนิวเดลี แต่ในด้านความปลอดภัย เชนไนมีอัตราการเกิดอาชญากรรมน้อยที่สุดในอินเดีย แม้ว่าเชนไนจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ตึกระฟ้ากลับไม่เป็นสิ่งที่จะพบเห็นได้ เนื่องจากมีการจำกัดความสูงของตึก อย่างไรก็ตามเจนไนมีระบบรถไฟฟ้าและรถไฟที่ดีที่สุดของประเทศ แต่ยังไม่มีรถไฟใต้ดิน
ร้อยละ 11.19
อัตราการรู้หนังสือ: 73%
ทมิฬนาฑู โดยเฉพาะเชนไนมีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ ได้แก่อุตสาหกรรมรถยนต์ ( เชนไนเป็นฐานการผลิตรถยนต์ชั้นนำ ได้แก่ Ford, Caterpillar, Hyundai, BMW and Mitsubishi, MRF, TI cycles of India, Ashok Leyland, Royal Enfield, Mahindra & Mahindra, TAFE Tractors and TVS ฯลฯ) การบริการด้าน software การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ IT และศูนย์กลางทางการเงิน นอกจากนั้นยังมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ฐานการผลิตสำคัญอยู่ที่เมือง Coimbatore, Tirupur และ Erode ได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองเมนเชสเตอร์แห่งอินเดีย) และมีท่าเรือที่ทันสมัยและดีเยี่ยมแห่งหนึ่งของอินเดียที่เชนไน
เนื่องจากอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของรัฐนี้ จึงมีโรงงานผลิตกระดาษจากชานอ้อยใหญ่ที่สุดในโลก ชื่อTamil Nadu Newsprint and Papers Ltd. (TNPL) ตั้งอยู่ที่เมือง Karur และทมิฬนาฑูยังมีโรงงานผลิตนาฬิกา Titan ซึ่งใหญ่อันดับ 7 ของโลกตั้งอยู่ที่เมือง Hosur
ภาคอุตสาหกรรม - 20%
ภาคบริการ - 59%
ภาคการเกษตร - 21%
ทมิฬนาฑู มีแหล่งแร่สำคัญหลายชนิด ได้แก่ ลิกไนต์ (87% ของประเทศ) , Vermiculite (66%), แกรนิต -เป็นสินค้าส่งออกสำคัญ (42%), Zircon (38%), กราไฟต์ (33%), Ilmenite (28%), Rutile (27%), Monazite (25%), แมกนิไซต์ (17%) นอกจากนั้นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมเหล็กก็มีโรงงานอยู่ที่เมืองเซลัม (Salem) เนื่องจากรัฐนี้เป็นแหล่งแร่เหล็กสำคัญ และบริษัท Sterlite Industries มีโรงงานทองแดงที่เมือง Tuticorin และโรงงานอลูมิเนียมที่เมือง Mettur
เชนไนเป็นฐานการผลิตรถยนต์ใหญ่ที่สุดของอินเดียโดย 30% ของการผลิตยานยนต์ในอินเดียผลิตที่ทมิฬนาฑู และ 60% ของการส่งออกรถยนต์เกิดขึ้นที่เชนไน เชนไนเป็นที่รู้จักกันในฐานะ the Detroit of South Asia บริษัทรถยนต์ในเชนไนที่สำคัญ ได้แก่
บริษัท สินค้าที่ผลิต Ashok Leyland รถบรรทุก Ford, USA รถยนต์นั่งโดยสาร Hyundai, Korea (กำลังการผลิต 6 แสนคันต่อปี) รถยนต์นั่งโดยสาร Mitsubishi รถยนต์นั่งโดยสาร BMW รถยนต์นั่งโดยสาร Renault รถยนต์นั่งโดยสาร Royal Enfield รถจักรยานยนต์ Taft แทรกเตอร์ Tata-Udyog HCVS TVS-Suzuki รถจักรยานยนต์ Caterpillar รถตักดิน Komatsu รถตักดิน Creaves แทรกเตอร์ HVF รถยานเกราะเพื่อการทหาร ICF ตู้โดยสารรถไฟ TI Cycles รถจักรยานยนต์ Madras Rubber Factory (MRF) ยางรถยนต์
- เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ —ทมิฬนาฑูเป็นฐานใหญ่ของการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำคัญๆ ได้แก่ Nokia, Flextronics, Motorola, Sony-Ericsson, Foxconn, Samsung, Cisco, Moser Baer , Dell โดยส่วนใหญ่มีโรงงานอยู่ที่เมืองเชนไน ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นแผงวงจรไฟฟ้าและโทรศัพท์มือถือ นอกจากนั้นบริษัท BHEL (Bharat Heavy Electrical Limited) ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าใหญ่ที่สุดของอินเดียก็มีโรงงานอยู่ที่เมือง Tiruchirapalli และ Ranipet ของรัฐทมิฬนาฑู
- ซอฟแวร์ — เชนไนเป็นคู่แข่งสำคัญของบังกะลอร์ในเรื่อง IT และ BPO แต่ IT Park ที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียกลับอยู่ที่เชนไน เชนไนเป็นแหล่ง outsource จากทั่วโลกใหญ่เป็นอันดับสองรองจากบังกะลอร์ และเป็นอันดับสองรองจากบังกะลอร์ในเรื่องการส่งออก software เชนไนมีนิคมอุตสาหกรรมซอฟแวร์กว่า 80 แห่ง บนถนนสาย Software corridor ชื่อ Old Mahabalipuram อาทิเช่น Tidel Park ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่ใหญ่อันดับต้นๆ ของอินเดีย บริษัทชั้นนำด้านซอฟแวร์ล้วนมีฐานการผลิตที่เชนไน ได้แก่ HCL, Wipro, TCS, Satyam, Infosys, Cognizant Technology Solutions, Acme Technology Pvt Ltd, Covansys, Ford Information Technology, Xansa, Verizon, iSoft, iNautix, Electronic Data Systems, Bally สำหรับ Infosys Technologies ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนา software ใหญ่ที่สุดของอินเดียอยู่ที่เชนไน
- Hardware- บริษัทชั้นนำของโลกได้เข้าไปตั้งโรงงานอยู่ในเชนไน ได้แก่ Hewlett-Packard, IBM, Accenture, Computer Sciences Corporation, Cognizant Technology solutions, Tata Consultancy Services, Infosys, Wipro, Tech Mahindra สินค้าสำคัญที่มีการผลิตในเจนไนคือโทรศัพท์มือถือ โดยมีกำลังการผลิตด้านโทรศัพท์มือถือของนิคมอุตสาหกรรม riperumbudur ประมาณ 50 ล้านเครื่อง (ประมาณครึ่งหนึ่งของการผลิตของเสินเจิ้นของจีน) ซึ่งจะส่งออกประมาณร้อยละ 30 ที่เหลือขายในประเทศ ต้นทุนการผลิตในเชนไนต่ำกว่าในจีนถึงร้อยละ 11 ส่งผลให้โนเกียใช้เจนไนเป็นฐานการผลิตเพื่อป้อนตลาดเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลเจนไนได้ตั้งเป้าหมายให้เจนไนมีกำลังการผลิต electronic Hardware ได้เท่ากับเสินเจิ้นของจีนภายในปี 2010
- เกษตร — ทมิฬนาฑูผลิตข้าวได้มากเป็นอันดับสองของอินเดีย ผลิตผลเกษตรสำคัญของรัฐนี้ได้แก่ อ้อย ธัญพืช ข้าว ถั่ว ข้าวฟ่าง ฝ้าย, ragi, bajra, ข้าวโพด มะพร้าว ชา กาแฟ กล้วย มะม่วง ข้าวเป็นอาหารหลักของคนในทมิฬนาฑู ซึ่งต่างจากคนในภาคเหนือของอินเดียที่รับประทานอาหารทำจากแป้งสาลีเป็นหลัก การปลูกข้าวทำกันใน 3 ช่วง คือ 1) ช่วง ‘Kuruvali’3-4 เดือน ประมาณ กรกฎาคม — พฤศจิกายน 2) ช่วง‘Thaladi’ มีช่วงเวลาประมาณ 5-6 เดือน ระหว่างเดือน ตุลาคมหรือพฤศจิกายน —กุมภาพันธ์หรือมีนาคม หรือ 3) ช่วง 'Samba' ประมาณ 6 เดือนระหว่างเดือนสิงหาคม — มกราคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ เนื่องจากบริเวณชายฝั่งเป็นที่ราบ ขณะที่บริเวณที่ลึกเข้าไปเป็นที่ราบสูง
- อุตสาหกรรมภาพยนต์ —มุมไบมีโบลิวูด เจนไนมีกัลลีวูด อุตสาหกรรมภาพยนต์ของเชนไนใหญ่เป็นอันดับสองของอินเดียรองจากมุมไบ ประชาชนในทมิฬนาฑูนิยมการชมภาพยนต์มาก โรงภาพยนต์มีผู้ชมเต็มทุกรอบ ภาพยนต์ไทยก็เป็นนิยมเช่นกัน เช่น ภาพยนต์ action (องค์บาก) ภาพยนต์เพลง (แฟนฉัน) และการ์ตูน animation (ก้านกล้วย-หรือ jumbo ในเวอร์ชั่นอินเดีย)
ท่าเรือ — รัฐบาลทมิฬนาฑูมีนโยบายขยายท่าเรือต่างๆ ให้ทันสมัยและกว้างขวางขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะยานยนต์และIT ได้แก่ ท่าเรือ Kattupalli, Ennnore (ท่าเรือส่งออกรถยนต์โดยเฉพาะ) , Chennai, Cuddalore,Thirukadaiyur, Nagapattinam, Pambann & Rameswaram, Valinokkam, Tuticorin, Manappadu, Colachel
นิคมอุตสาหกรรม: ทมิฬนาฑูมีนิคมอุตสาหกรรมประมาณ 110 แห่ง สำหรับอุตสาหกรรมทั่วไป นอกจากนั้นเป็นนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน เช่น Rubber Park, Apparel Parks, Floriculture Park, TICEL Park สำหรับธุรกิจ Biotech, Siruseri IT Park และ Agro Export Zone
- มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 8%
- มีความหลายกหลายทางชีวภาพด้านการผลิตสินค้าเกษตร
- เป็น Medical Hub มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจการรักษาพยาบาล และอุตสาหกรรมการผลิตยา
- มีความเข้มแข็งในการผลิตภาพยนต์ป้อนตลาดโลก
- มีสถาบันการศึกษาชั้นนำหลากหลายสาขาป้อนให้กับภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเพียงพอ
- ทรัพยากรมนุษย์มีคุณภาพ — ทมิฬนาฑูเป็นรัฐที่มีสถาบันการศึกษาด้านวิศวกรรมและงานช่างที่ดีเป็นอันดับ 1 ของอินเดีย อีกทั้งยังมีแรงงานไร้ฝีมือมากอย่างเพียงพอ โดยค่าแรงขั้นต่ำประมาณ 3,000 รูปีต่อเดือน สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในรัฐนี้มี 252 แห่งสามารถผลิตวิศวกรได้กว่า 8 หมื่นคนในแต่ละปี มีวิทยาลัยเทคนิกกว่า 230 แห่งผลิตช่างเทคนิคได้กว่า 63,000 คนในแต่ละปี และมีโรงเรียนช่างฝีมือ 659 แห่ง สามารถผลิตแรงงานได้กว่า 1.3 แสนคนในแต่ละปี
- นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในนโยบายส่งเสริมการลงทุนอย่างจริงจังของรัฐ เสถียรภาพทางการเมืองและสังคม ปัญหาการก่อการร้ายและความไม่สงบมีน้อยมากสินค้าที่คาดว่าจะมีการขยายตัวสูงขึ้นมากภายหลัง FTA อาเซียน-อินเดียมีผลบังคับใช้แล้ว
- สินค้าจากประเทศไทย- โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ยางพาราและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ ทองรูปพรรณ (อินเดียเป็นผู้บริโภคทองคำใหญ่ที่สุดในโลก) รองเท้าแตะ ชิ้นส่วนรองเท้า (เจนไนเป็นฐานการลผลิตให้กับแบรนด์ดังของอิตาลี) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ เครื่องสำอาง ผักและพืช
- สินค้าจากอินเดีย- วัตถุดิบประเภทเหล็ก ปลาทู ปลาทูนา อาหารทะเล อลูมิเนียม ฝ้าย และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
- Software & Electronic
- เครื่องปั่นไฟและสำรองไฟ (อินเดียไฟฟ้าดับบ่อยมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน)
- การร่วมมือในธุรกิจ Medical tourism อุตสาหกรรมการผลิตยา และพัฒนายาสมุนไพร
- Contract farming
- ร่วมมือพัฒนาภาพยนต์ตีตลาดโลก 3 ประเภท คือ แนว action, animation และภาพยนต์เพลง โดยฮีโรในภาพยนต์ควรผิวสีใกล้เคียงกับชาวอินเดีย หรือมีเชื้อสายอินเดีย เช่น คุณพิ้งกี้
- สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ต้นทุนต่ำกว่า 1$US/ชิ้น) และเคหะสิ่งทอ
- เครื่องหนัง (เจนไนเป็นศูนย์กลางผลิตเครื่องหนังอันดับต้นๆ ของอินเดีย)
- เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี
- การประมูลงานโครงการก่อสร้าง/โครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลทมิฬนาดู เช่น การประปา การไฟฟ้า การสื่อสาร เครือข่ายถนนและทางรถไฟเชื่อมโยงกับเขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรม
- รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟไปยังเขตอุตสาหกรรม Sriperumbudur, Cheyyar และ Cuddalore
- รัฐบาลมีโครงการสร้างเส้นทางรถไฟสาย เจนไน-นิวเดลี เพื่อเป็นทางด่วนขนส่งสินค้า (Freight corridor) ไปยังกรุงนิวเดลี
- การก่อสร้างถนน และอาคารที่พักอาศัยและสำนักงาน บ้านจัดสรร
- โรงภาพยนต์แบบ Multiplex และ entertainment complex
- การตั้งโรงงานกระดาษ- ปัจจุบันสยามซีเมนต์กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานในอินเดีย
- การบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม
- ทมิฬนาฑูผลิตสินค้าในกลุ่มผลไม้ได้ประมาณ 4.83 ล้านตันต่อปี และผักได้กว่า 6.15 ล้านตันต่อปี แต่ยังมีเทคโนโลยีการแปรรูปสินค้าเกษตรที่ล้าหลัง อีกทั้งประชากรกว่า 700 ล้านคนเป็นมังสวิรัติ จึงเหมาะที่จะเข้าไปลงทุนด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร และการบริหารจัดการด้านการกระจายสินค้าเกษตร (พืช ผัก ผลไม้ ในตลาดบอบช้ำมาก เนื่องมาจากการขนส่ง การบริหารจัดการไม่ดีพอ)
- การส่งออกสินค้าเกษตรและประมง ปัจจุบันทมิฬนาดูเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและประมงไปยังเอเชียตะวันออกและตะวันออกกลาง ปีละประมาณ 550 ล้านเหรียญสหรัฐ
- การพัฒนายาจากสมุนไพร เนื่องจากทมิฬนาดูมีความหลากหลายด้านพืชสมุนไพรโดยสามารถผลิตได้กว่า 150,000 ตันต่อปี
- สร้างความร่วมมือในสาขา IT การสื่อสาร การศึกษา การเงินการธนาคาร การท่องเที่ยว และก่อสร้าง/สถาปนิก
- การท่องเที่ยว ฮันนีมูน และการแต่งงานแบบอินเดียในไทย
- โทรทัศน์
- จักรยานยนต์
- เครื่องปรับอากาศ
- กระจก
- เครื่องใช้ไฟฟ้า
- เครื่องสีข้าว เครื่องจักรทางการเกษตร เครื่องปอกมะพร้าว
- อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- เคมีภัณฑ์
- สิ่งทอ
- เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์
- เครื่องสำอาง
- อัญมณีและเครื่องประดับ ทองรูปพรรณ (คนอินเดียนิยมเครื่องประดับทองคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 85%)
- ด้ายและเส้นใยสังเคราะห์
- เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม
- เฟอร์นิเจอร์
- ผักและพืชประเภทถั่ว
- อาหารปรุงแต่ง
- ปลาซาร์ดีนแปรรูป
- น้ำผลไม้
- ชิ้นส่วนยานยนต์ (ปัจจุบันอินเดียเป็นผู้นำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์)
ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ
ผู้อำนวยการ
สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไน
ที่มา: http://www.depthai.go.th