รายงานการติดตามผลเป้าหมายการส่งออกรายเดือน ภูมิภาคยุโรป (ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) เดือนกุมภาพันธ์ 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 15, 2010 12:05 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตลาด/ประเทศ     เป้าหมายปี 2553            ม.ค. - ธ.ค. 2552             ม.ค. 2553          สัดส่วน(ม.ค.-ม.ค.)
  สินค้า          มูลค่า    % ขยายตัว         มูลค่า      % ขยายตัว       มูลค่า     % ขยายตัว*            %
เยอรมนี          2,890    + 10.0       2,626.9       -17.87       243.6        +21.70          8.4
สาเหตุ/คำชี้แจง
  • การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 2552 ที่ผ่านมามีอัตราติดลบที่ร้อยละ 5 เป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี นอกจากนี้
ยังนับเป็นครั้งแรกที่รายได้ประชาชาติของประเทศมีมูลค่าลดลง เป็นจำนวน 29,410 ยูโร/คน หรือลดลงประมาณร้อยละ 3.2 ทั้งนี้ เนื่องจาก
ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้การผลิตการส่งออกสินค้าของเยอรมนีในปีที่ผ่านมาลดลงมาก กว่าร้อยละ 70 ของกิจการในเยอรมนีต้องพึ่งพา
การส่งอกก จึงมีปัญหาด้านการเงิน ต้องลดค่าใช้จ่าย ด้วยการยกเลิกการจ่ายค่าล่วงเวลา และอื่นๆ มีการลดชั่วโมงทำงานของลูกจ้างที่ปัจจุบันมี
จำนวนประมาณ 200,000 คน นอกจากนี้ ยังมีภาระภาษี ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น เหล่านี้ได้ทำให้รายได้ประชาชาติต่อคนของเยอรมนี
ลดลงสำหรับปี 2553 คาดว่า ได้ผ่านจุดต่ำสุดของวิกฤติแล้ว และต่างประเทศได้เริ่มการสั่งซื้อบ้างแล้ว ทำให้เศรษฐกิจของเยอรมนีน่าจะขยายตัว
เพิ่มขึ้นได้ประมาณร้อยละ 1 ในปี 2553 นี้
  • การส่งออกสินค้าไทยไปเยอรมนี ในเดือนมกราคม 2553 ได้เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2552 ถึงร้อยละ 21.70 โดยสินค้าที่มี
สัดส่วนการส่งออกสูง มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ รถจักรยานและส่วน
ประกอบ
  • โดยรวมแล้วการส่งออกไปเยอรมนียังคงราบรื่นดี ยกเว้นสินค้าพืชผักสด ที่ได้มีการใช้กฏหมายใหม่ กำหนดให้ตรวจเข้มสินค้า

นำเข้า 3 รายการ (ถั่วฝักยาว มะเขือและพืชตระกูลกะหล่ำ) ตั้งแต่25 มกราคม 2553 เป็นต้นมา นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายของการตรวจสินค้าแล้ว

จะทำให้การขนส่งสินค้าล่าช้าไปอีก 2 — 5 วัน และในกรณีที่ตรวจพบสารเคมีต้องห้ามตกค้าง หรือมีอัตราเกินกำหนด สินค้าจะถูกทำลาย หากเกิด

บ่อยครั้งจะทำให้ผู้นำเข้าไม่สนใจนำเข้าสินค้าประเภทนี้จากไทยก็ได้ สำหรับสินค้ารายการอื่นๆ ส่วนใหญ่สามารถส่งออกเพิ่มขึ้น ยกเว้นสินค้าที่

เกี่ยวข้องกับยานพาหนะจะส่งออกได้น้อยลง ตามภาวะตลาดที่มีความต้องการลดลง โดยในสินค้า 20 รายการแรกที่ไทยส่งออกไปเยอรมนีมาก

ที่สุดมีสินค้าเพียง 4 รายการ ที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เสื้อผ้าสำเร็จรูป รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป

สินค้าสำคัญของไทยที่มียอดส่งออกในเดือน มกราคม 2553 ลดลง
 ตลาด/ประเทศ                        ม.ค.-ธ.ค.2552          ม.ค. 2553             สาเหตุ/คำชี้แจง
    สินค้า                          มูลค่า     % ขยายตัว     มูลค่า   % ขยายตัว*
1. ผลิตภัณฑ์ยาง                      149.4      -6.60      14.8     -12.82      - สินค้าสำคัญของไทยจะเป็นยางรถยนต์ ที่ตลาดมีความต้องการ
2. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                   140.8     +14.52      13.3      -1.10      - ตลาดหลังเทศกาลปลายปียังคงซบเซาอยู่ มีการลดราคาสินค้าเพื่อจัดเตรียม
                                                                               พื้นที่สำหรับสินค้าใหม่ ที่จะเริ่มทะยอยสั่งซื้อสินค้ากัน ทำให้การส่งออกของไทยจะดีขึ้นได้
3. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ         59.2     -37.18       5.1     -15.60      - สินค้าของไทยจะเป็นรถปิ๊กอัพ เป็นสำคัญ สินค้าอื่นๆ ได้แก่ หม้อน้ำ ท่อไอเสีย มีมูลค่า
                                                                               การส่งออกน้อย จึงทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้ารายการนี้ของไทยลดลงมาก
4. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป              44.8     -26.82       3.6     -11.98      - ได้มีการสั่งซื้อมากในช่วงปลายปี ทำให้ในเดือนนี้ยังไม่ต้องการสินค้าใหม่
5. อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ ไดโอด    29.4     -43.05       2.3     -39.54      - ความไม่แน่นอนของการจ้างงาน การแจ้งกิจการล้มละลายของผู้ประกอบการมากขึ้น
                                                                               ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชลอการซื้อสินค้าประเภทนี้
6. เครื่องเล่นเกมส์ เครื่องกีฬา           27.2      -0.97       2.2     -42.76      - สินค้าของไทยจะเป็นประเภทใช้เล่นกับน้ำ และในช่วงฤดูร้อน ในช่วงนี้เป็นฤดูหนาว
                                                                               ตลาดจึงยังไม่มีความต้องการสินค้า จึงทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยลดลง
7. ข้าว                             20.6     -10.59       1.7     -10.16      - ได้มีการซื้อสินค้าไว้มากแล้ว ประกอบกับความไม่แน่นอนของราคาที่ค่อนข้างสูงมาก                                                                                ผู้นำเข้าจึงชลอการสั่งซื้อไว้ก่อน
สินค้าสำคัญของไทยที่มียอดส่งออกในเดือนมกราคม 2553 เพิ่มขึ้น
  ตลาด/ประเทศ                  ม.ค. - ธ.ค. 2552        ม.ค. 2553           สาเหตุ/คำชี้แจง
     สินค้า                      มูลค่า   % ขยายตัว     มูลค่า   % ขยายตัว*
1. คอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ      465.2     4.21      41.6       42.67     - สินค้าไทยเป็นที่ต้องการของตลาด จึงทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าร
2. อัญมณีและเครื่องประดับ           194.1    -3.57      17.0      +54.76     - สินค้าส่วนใหญ่ของไทยจะเป็นเครื่องประดับทำด้วยเงินและอัญมณีแท้ มีราคาไม่สูงมาก
                                                                          ตรงตามความตลาดต้องการของตลาดที่นิยมสินค้าราคาปานกลาง ไม่สูงนัก
3. รถจักรยานและส่วนประกอบ         67.0   +95.00      10.9     +138.98     - จักรยานของไทยที่ส่งออกจะเป็นประเภท Mountain bike  มีราคาใกล้เคียงกับจักรยานยี่ห้ออื่นๆ
                                                                          ทำให้เป็นที่สนใจของตลาด และแนวโน้มการใช้จักรยานในเยอรมนีทั้งเพื่อการเดินทาง การพักผ่อน
                                                                           และการออกกำลังกายมีเพิ่มขึ้น
4. ก๊อก วาวล์ และส่วนประกอบ        90.0   -22.41       8.9      +14.75     - สภาพอากาศเริ่มดีขึ้น สามารถซ่อมแซม ตกแต่งบ้านกันได้แล้ว ตลาดจึงมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น
5. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป      76.7    -0.75       8.5      153.68     - ถึงแม้ว่าสินค้าของไทยจะมีราคาสูงกว่าสินค้าจากประเทศคู่ค้าอื่นๆ แต่เนื่องจากมีคุณภาพดีแน่นอน
                                                                          และเป็นที่ไว้ใจของผู้นำเข้า จึงทำให้ส่งออกไปเยอรมนีได้มากขี้น
หมายเหตุ : * หมายถึง ตัวเลข ม.ค. —ธ.ค.2553 เทียบกับ ม.ค.-ธ.ค.2552
  • * หมายถึง ตัวเลข ม.ค. —ม.ค.2553 เทียบกับ ม.ค.-ม.ค.2552

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ