ก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 กัมพูชาถือว่าสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทยเป็นปกติ แต่หลังจากวันดังกล่าวถือว่าไม่เป็นปกติและมีความรุนแรงเพิ่มเป็นลำดับจนถึงขั้นประกาศปรับลดความสัมพันธ์ทางการทูต
ในปี 2552 การค้าระหว่างกัมพูชากับทั่วโลกลดลง โดยการส่งออกลดลงเป็นสัดส่วนมากกว่าการนำเข้า สินค้าที่ส่งออกลดลงได้แก่ การ์เม้นท์และบุหรี่ ขณะที่มีการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น สินค้าที่นำเข้าลดลงได้แก่ รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ รถบรรทุก เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ซึ่งสินค้าเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการลดลงของรายได้คนชั้นกลางและการหดตัวในการบริโภคของประชาชน
การค้าระหว่างไทย-กัมพูชา ท่ามกลางความขัดแย้งดังกล่าวแม้ว่ายังคงดำเนินไปตามปกติ เพราะไม่มีการปิดด่านการค้าชายแดน แต่เรื่องความวิตกกังวลและความเชื่อมั่นของประชาชนที่จะทำการค้าระหว่างกันนั้นไม่ปกติอย่างแน่นอนเมื่อรวมกับปัญหาความไม่สงบของสถานการณ์ในประเทศไทยแล้ว ยิ่งทำให้เกิดความสั่นคลอนที่กระทบถึงสินค้าบริการโดยเฉพาะโรงพยาบาลที่คนกัมพูชาเดินทางไปรักษาที่ประเทศไทยปีละหลายร้อยล้านบาท
ในปี 2552 การค้าระหว่างไทย-กัมพูชามีมูลค่ารวม 1,658.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.16 เมื่อเทียบกับปี 2551 ซึ่งมีมูลค่ารวม 2,130.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการส่งออกจากไทยไปกัมพูชา มูลค่า 1,580.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และไทยนำเข้าจากกัมพูชา มูลค่า 77.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.52 และร้อยละ 13.86 โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 1,502.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ตารางแสดงการค้าระหว่างไทย-กัมพูชา
รายการ มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราการขยายตัว % 2549 2550 2551 2552 2549 2550 2551 2552 มูลค่าการค้ารวม 1,270 1,404 2,130 1,659 33.48 10.55 51.71 -22.16 การส่งออก 1,235 1,355 2,040 1,581 34.26 9.70 50.52 -22.52 การนำเข้า 35 49 90 78 10.51 40.63 84.84 -13.86 ดุลการค้า 1,200 1,306 1,950 1,503 35.10 8.81 49.23 -22.92 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากศุลกากร การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ในปี 2552 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา มีมูลค่า 45,374 ล้านบาท ลดลงจากปี 2551 ที่มีมูลค่า 50,308 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.81 แยกเป็นไทยส่งออก 42,879 ล้านบาท และนำเข้า 2,495 ล้านบาท ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า มูลค่า 40,384 ล้านบาท สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ น้ำตาล น้ำมันเชื้อเพลิง สุกรมีชีวิต ปูนซีเมนต์ ยางรถยนต์และรถจักรยานยนต์ อาหารสัตว์ น้ำอัดลม เครื่องยนต์เบนซิน/ดีเซล อะไหล่รถจักรยานยนต์ ผ้าผืน และสินค้าอุปโภค-บริโภคทั่วไป ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าผัก/ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก/ผลไม้ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค กาแฟ ชา และเครื่องเทศ ตารางแสดงมูลค่าการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา รายการ มูลค่า : ล้านบาท อัตราการขยายตัว % 2549 2550 2551 2552 2550 2551 2552 มูลค่าการค้ารวม 34,597 34,930 50,308 45,374 0.96 44.03 -9.81 ส่งออก 33,360 33,283 47,372 42,879 -0.23 42.33 -9.48 นำเข้า 1,237 1,646 2,936 2,495 33.06 78.37 -15.02 ดุลการค้า 32,123 31,637 44,436 40,384 -1.51 40.46 -9.12 ที่มา : กองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร การแข่งขันในตลาดกัมพูชาระหว่างสินค้าจากเวียดนามและไทย ซึ่งเป็นสินค้าที่ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ จึงหลีกไม่พ้นที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยมากัมพูชา ยิ่งเมื่อเวียดนามประกาศลดค่าเงินดอง จึงส่งผลกระทบต่อสินค้าไทยในตลาดกัมพูชาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสินค้าที่จำหน่ายในกัมพูชาคิดเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯเป็นหลัก แล้วจึงคิดกลับเป็นเงินสกุลเรียลของกัมพูชา การลดค่าเงินดองจึงทำให้ราคาสินค้าของเวียดนามถูกลงโดยปริยาย ขณะที่ หากเทียบกับเงินบาทของไทยที่แข็งค่า ราคาสินค้าของไทยจะสูงขึ้นโดยปริยายเช่นกัน ประกอบกับอำนาจซื้อของประชาชนกัมพูชาลดลงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย จึงจำต้องหันมาซื้อสินค้าที่มีราคาถูกกว่า สินค้าไทยในตลาดกัมพูชาจึงสูญเสียโอกาสในการแข่งขัน ปริมาณนำเข้าลดลง ส่งผลต่อภาพรวมการส่งออกของไทยมากัมพูชาซึ่งหากคิดเป็นเงินบาท ได้รับเงินบาทลดลงขณะที่ส่งออกมาในปริมาณและราคาเท่าเดิม แม้ว่ากัมพูชาจะไม่ใช่คู่ค้าที่มีมูลค่าการค้าสูงสุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านของไทยแต่ตัวเลขที่แท้จริงนั้นสูงกว่าที่ปรากฏหลายเท่า แต่นั่น....ไม่สำคัญเท่ากับว่ากัมพูชาเป็นตลาดที่รองรับสินค้าเกษตร ที่ล้นตลาด และสินค้าอุตสาหกรรมที่ตกเกรด ทำให้สินค้าดังกล่าวสามารถระบายออกสู่ตลาดได้ ไม่เกิดปัญหาราคาตกต่ำ ก่อให้เป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องหามาตรการแก้ไข ซึ่งนั่นหมายถึงการใช้เงินงบประมาณหลายพันล้านบาทเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เวียดนาม มีชายแดนติดกับกัมพูชา การขนส่งระหว่างประเทศสะดวกและรวดเร็วกว่าไทยทั้งทางบกและทางน้ำมีมูลค่าส่งออกไปกัมพูชาสูงเป็นอันดับที่ 2 รองจากไทย สินค้าส่งออกที่สำคัญเช่น น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำตาลทราย เหล็ก วัสดุก่อสร้าง สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม จีน ถือว่าเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมากที่สุด ด้วยอิทธิพลเงินช่วยเหลือที่ทุ่มให้กับกัมพูชาอย่างมหาศาลในแต่ละปีปราศจากเงื่อนไขที่จะทำให้กัมพูชาไม่สบายใจเหมือนกับเงินช่วยเหลือจากประเทศพัฒนาแล้วและกลุ่ม G 7 ความช่วยเหลือด้านการเงินของจีนในกัมพูชา เห็นชัดที่สุด ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ซึ่งจีนให้เงินช่วยเหลือมูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ น้อยกว่ากลุ่มประเทศ G7 (หรือกลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือประจำ ซึ่งได้แก่สหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น) ซึ่งให้ความช่วยเหลือรวม 601 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อมาในเดือนตุลาคม 2549 จีนให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงประสิทธิภาพกองทัพ โดยการฝึกอบรมทหาร การซ่อมบำรุงอาวุธ และในเดือนกันยายน ให้เรือรบ 6 ลำ เพื่อปราบยาเสพติดและการค้ามนุษย์ ในปี 2550 ความช่วยเหลือของกลุ่มประเทศ G7 ในกัมพูชามีมูลค่า 692.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (แยกเป็นเงินช่วยเหลือ จากสหรัฐอเมริกา 257 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สหภาพยุโรป จำนวน 214 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ญี่ปุ่น 113 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอื่นๆ) จีนประเทศเดียวให้ความช่วยเหลือ 689 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลายเป็นผู้บริจาค ลำดับ 1 สินค้าส่งออกของจีนที่แข่งขันกับสินค้าไทยในตลาดกัมพูชาได้แก่ ผ้าผืน เหล็ก กระเบื้องปูพื้น เครื่องสุขภัณฑ์เครื่องจักรกลการเกษตร รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ ผลไม้สด เช่น แอบเปิ้ล ลูกพลับ ส้ม และ ผลไม้แปรรูป จีนไม่มีพรมแดนติดกับกัมพูชาเหมือนไทยกับเวียดนาม แต่ปัจจุบันจีนได้เชื่อมเส้นทางเข้าสู่เวียดนามและต่อมาถึงกัมพูชาอย่างสะดวก มูลค่าสินค้าที่นำเข้าจากจีนจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 3 ในปี 2552 ที่มา: http://www.depthai.go.th