ผลวิจัยการเลี้ยงกุ้งแบบใหม่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 26, 2010 17:01 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายงานผลวิจัยเรื่องการเลี้ยงกุ้งแบบใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดย Dr. Tzachi Samocha ศาสตราจารย์จาก AgriLife Research Mariculture Laboratory ใน Corpus Christi เปิดเผยว่า ระบบการเลี้ยงกุ้งแบบใหม่นี้ จะได้เผลผลิตมากกว่า 10 เท่าของการเลี้ยงกุ้งระบบฟาร์มเปิดในปัจจุบันของสหรัฐฯและยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งวงจรด้วย เนื่องจากไม่มีการปล่อยน้าออกไปสู่ภายนอก เหมือนระบบเปิดในปัจจุบัน ซึ่งต้องมีการถ่ายน้าออกและรับน้าใหม่เข้ามาเป็นระยะๆ และน้าที่ถ่ายออกไปจะมีผลต่อสิ่งแวดล้อม

กระบวนการที่เป็น Biosecure and Sustainable Process นี้ สามารถนาไปใช้ได้ในการผลิตกุ้งคุณภาพสูงที่เป็นกุ้งสด (ไม่แช่แข็ง) ได้ตลอดทั้งปี และนอกเหนือจากปริมาณการผลิตสูงแล้ว ยังมีต้นทุนที่ต่ากว่าด้วย

ระบบใหม่เมีชื่อว่า "Super-Intensive Raceway System" ได้ใช้เวลา 5 ปี ในการพัฒนาขึ้นมา และจะสามารถช่วยผู้ผลิตกุ้งในสหรัฐฯจากสินค้านาเข้ากุ้งราคาถูกจากต่างประเทศได้

ระบบนี้สามารถสร้างใกล้เมืองใหญ่ได้ เพื่อจะส่งกุ้งไปขายยังผู้บริโภคที่ต้องการกุ้งมีชีวิต สด และรสชาดดีกว่ากุ้งแช่แข็ง โดยผู้บริโภคสามารถเลือกกุ้งมีชีวิตจากตู้ในร้านอาหารได้เหมือนบริโภค Lobster

Dr.Samocha กล่าวว่า ระบบใหม่นี้สามารถผลิตกุ้งได้ 9.75 กิโลกรัม ต่อปริมาณน้า 1 ลูกบาศก์เมตร และใช้อ๊อกซิเจนบริสุทธิ์เพียงเล็กน้อย ซึ่งมีผลให้ปริมาณ Ammonia และ Nitrite ในน้ามีระดับต่า

กุ้งที่ทดลองเลี้ยงเป็นกุ้ง Pacific White Shrimp ขนาดตัวละ 23 กรัม หรือ 30 ตัว/ปอนด์ ซึ่งหมายถึง กุ้ง 21.5 ปอนด์ ในน้า 264 แกลลอน เป็นระดับการผลิตที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนในอุตสาหกรรมนี้ ถือเป็นสถิติโลก ทาให้ต้นทุนการผลิตต่าลงเป็น 5.52 เหรียญฯต่อกิโลกรัม (ประมาณ 2.50 เหรียญฯต่อปอนด์) ซึ่งนับว่าต่าเทียบ กับคุณภาพกุ้งที่ผลิตได้ และเชื่อว่าระบบที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยคานวณออกมาได้ว่า การลงทุนขั้นต้นใช้เงิน 992,000 เหรียญฯ ได้ผลตอบแทน 38%ต่อปี คุ้มทุนภายใน 2.8 ปี

Mr. Fritz Jaenike ผู้จัดการทั่วไปของ Harlington shrimp Farm ใน Rio Grande Valley แสดงควาเห็นด้วย และชื่นชมผลการวิจัยของ Dr.Samocha เพราะการผลิตที่ต้นทุนต่าและผลผลิตสูงจะช่วยผู้ผลิตในสหรัฐฯ สามารถแข่งขันกับกุ้งนาเข้าราคาถูกได้ ทั้งนี้เพราะกุ้งนาเข้าสามารถผลิตได้ตลอดทั้งปีด้วยต้นทุนแรงงานต่า และโดยเฉพาะเมื่อต้องมีงานคัดเกรด ตัดหัว ปอกเปลือก ด้วยอีกแล้ว กุ้งที่ผลิตในสหรัฐฯยิ่งเสียเปรียบมากขึ้น

จากการขาดเงินทุนในการทาวิจัย ทาให้ Dr. Samocha ต้องปล่อยน้าจากถังทดลอง (ซึ่งเขาเรียกว่า Golden Water) แต่เขาเชื่อว่าจะยังเลี้ยงกุ้งต่อไปได้อีก เมื่อมีเครื่องมือที่รักษาอุณหภูมิได้อย่างเหมาะสม

การทดลองพบว่า หลังจาก 108 วัน ระบบไม่สามารถดาเนินการอย่างประสิทธิภาพสูงสุดต่อไปได้ ดังนั้นจึงต้องปิดการทดลองผลิต เพราะยังไม่สามารถหาวิธีที่จะควบคุมอุณหภมิของน้าให้สูงพอได้ การที่น้ามีอุณหภมิต่าลงทาให้มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต และเสี่ยงต่อการสูญเสียกุ้ง อย่างไรก็ตาม Dr.Samocha ยังยืนยันว่าความต้องการกุ้งเป็นๆที่ไม่แช่แข็ง มีปริมาณมหาศาลในสหรัฐฯ และระบบที่คิดค้นขึ้นมานี้ จะสามารถทาฟาร์มกุ้งได้ในเขตใกล้เมืองเล็กเมืองใหญ่ ทั่วประเทศสหรัฐฯ ซึ่งร้านอาหารทั่วไปจะซื้อกุ้งเป็น (Live/Fresh Shrimp - Never Frozen) ที่ผลิตในประเทศได้ และเป็นกุ้งออร์แกนิกส์ที่ปราศจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (Organically produced, pollutant-free Shrimp) ส่วนปัญหาเรื่องการเลี้ยงในที่ๆอากาศเย็นนั้น ทาได้ในอาคารที่ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการทาความร้อนให้น้าและเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี

Dr.Samocha กล่าวถึงสรรพคุณระบบที่คิดขึ้นมานี้ว่า การที่ผู้บริโภคซื้อกุ้งจากฟาร์มระบบนี้ จะได้กุ้งที่มีรสชาดดี (เพราะสด ไม่แช่แข็ง) มีความปลอดภัยของอาหารสูง ไม่มีการใช้สาร Antibiotics และคุณภาพถึงขั้นนาไปทา Sashimi ได้ ที่สาคัญที่สุดคือ เงินตราไม่รั่วไหลออกนอกประเทศจากการนาเข้ากุ้ง

ข้อสังเกตุ/วิเคราะห็

ระบบดังกล่าวยังเป็นแค่ผลงานวิจัย ซึ่งยังไม่ได้ทาการทดลองจนถึงขั้นสุดท้าย ว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงกุ้งให้กับผู้ผลิตภายในประเทศสหรัฐฯได้จริงหรือไม่ แต่ข่าวดังกล่าวออกมาในช่วงที่มีการเจรจาเรื่องการยกเลิกภาษีทุ่มตลาดกุ้งนาเข้าจากต่างประเทศ โดยพยายามโน้มน้าวใหผูเบริโภคซื้อกุ้งที่ผลิตในประเทศให้มากขึ้น ทั้งๆที่ปัจจุบันกุ้งในประเทศมีราคาขายปลีกสูงกว่ากุ้งนาเข้า และผู้บริโภคจะซื้อสินค้าโดยดูจากราคาและคุณภาพ ไม่ได้ดูว่าผลิตในประเทศหรือนาเข้า แต่อย่างใด

สานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก สหรัฐ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ