ตลาดสินค้ายานยนต์ในประเทศญี่ปุ่น

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 30, 2010 17:16 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. จำนวนการผลิตรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นแบ่งแยกตามผู้ผลิต ในเดือน มกราคม 2553

Japan Production (Motor Vehicle) Type / Manufacturer Jan 2010-Jan 2010

                          Passenger Cars                        Trucks                        Buses
                Standard    Small    Mini   Total   Standard   Small   Mini    Total  Large   Small    Total   Grand Total
TOYOTA          179,445    67,850      -   247,295    7,814    7,928     -    15,742     -    5,851    5,851     268,888
NISSAN           41,984    34,699      -    76,683    6,117    3,681     -     9,798     -      457      457      86,938
MAZDA            55,455    12,226      -    67,681       50    1,560     -     1,610     -       -        -       69,291
MITSUBISHI       29,481     5,721   5,350   40,552      299      453   5,410   6,162     -       -        -       46,714
ISUZU               -         -        -      -      11,667    2,167     -    13,834    203       8      211      14,045
DAIHATSU            -       6,381  38,699   45,080      416       -    8,156   8,572     -       -        -       53,652
HONDA            12,383    51,134   8,567   72,084       -        85   5,215   5,300     -       -        -       77,384
SUBARU           30,348       -     3,327   33,675       -        -    4,160   4,160     -       -        -       37,835
UD TRUCKS           -         -        -      -       1,550      595     -     2,145    128      -       128       2,273
HINO                -         -        -      -       5,974      188     -     6,162    376      46      422       6,584
SUZUKI           14,809   10,243   48,504   73,556       -       792  10,782  11,574     -       -        -       85,130
GM JAPAN            -         -        -      -          -        -      -        -      -       -        -           -
MITSUBISHI FUSO     -         -        -      -       4,221      359     -     4,580    134     242      376       4,956
Others              -         -        -      -          83       -      -        83      -      -        -           83
TOTAL           363,905  188,254  104,447  656,606   38,191   17,808  33,723  89,722    841    6,604    7,445    753,773
ที่มา : ข้อมูลจาก Japan Automobile Manufacturer Association 2009
2. แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2010

ในปี 2010 นับว่าเป็นปีที่ท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ เนื่องจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของโลกที่เริ่มจากสหรัฐในปี 2008 ก็ยังฉุดรั้งความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2009 ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอย่างรุนแรงและนอกเหนือจากการ คาดหมายใด แม้ว่าช่วงท้ายปี 2009 เศรษฐกิจในหลายประเทศอาทิ จีน และอินเดียได้ส่งสัญญาณในเชิงบวกว่าสามารถหลุดพ้นจากภาวะ เศรษฐกิจถดถอยแล้วก็ตาม ทว่าในประเทศญี่ปุ่นเองยังไม่มีสัญญาณใดที่ชี้ชัดว่าญี่ปุ่นจะหลุดพ้นจากการถดถอยครั้งนี้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ภาคการใช้จ่ายของผู้บริโภคญี่ปุ่นก็ยังไม่ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากรายได้ของผู้บริโภคลดลง ประกอบกับการ ว่างงานที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศ ส่งผลให้ความต้องการรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในตลาดในปี 2009ปรับตัวลดลงกว่าร้อยละ 9.3หรือลดลงกว่า 4.61 ล้านคันเมื่อเทียบกับปี 2008 ถือว่าเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ติดกัน ตลาดรถจักรยานยนต์ก็เช่นกันได้ปรับตัวลดลงติดต่อ กันเป็นปีที่ 4 คือ ลดลงร้อยละ 23.7 หรือมากกว่า 432,000 คันเมื่อเทียบกับปี 2008

แม้ว่าในปี 2009 จะมีวิกฤตการณ์ต่างๆเกิดขึ้นและส่งผลด้านลบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์อย่างต่อเนื่อง แต่ช่วงครึ่งหลังของปี ตลาด รถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์อุตสาหกรรมก็เริ่มปรับตัวขึ้นจากจุดต่ำสุด ซึ่งสาเหตุหลักคือการให้การสนับสนุนจากรัฐบาลในการผ่อนผันภาษี และ ให้เงินสนับสนุนกับผู้ซื้อรถยนต์ในญี่ปุ่น โดยเฉพาะรถ Eco-Car ทำให้ตลาดรถยนต์เล็ก ประหยัดน้ำมัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Low-Carbon cars)ในประเทศขยายตัวขึ้นมาก ซึ่งภาคอุตสาหกรรมหวังว่าจะเป็นการสิ้นสุดจากภาวะถดถอยในประเทศที่ติดต่อกันถึง 2 ปี

ในปี 2010 นี้ ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมฯ คาดหวังรัฐบาลญี่ปุ่นในการออกมาตรการในการช่วยเหลืออุตสาหกรรมในประเทศอย่าง ต่อเนื่องอีกครั้ง ทั้งด้านภาษีและแรงจูงใจต่างๆที่ภาครัฐจะสามารถสนับสนุนให้ผู้ซื้อเกิดความต้องการได้ เนื่องจากอุตสาหกรรมยังคงไม่ฟื้นตัวดี และยังเสี่ยงต่อความผันผวนของค่าเงินเยนซึ่งปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์จึงไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกได้อย่างเดียว

อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ค้ำจุนเศรษฐกิจญี่ปุ่น มีอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้องมากมาย ดังนั้นการสนับสนุน อุตสาหกรรมหลักให้คงอยู่รอดนั้น หมายถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนต่างๆของรถยนต์จะได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน

3. โครงสร้างจำนวนแรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น

1. จำนวนแรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นมีจำนวน ราว 5.15 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 8 ของจำนวนแรงงาน ทั้งหมดของประเทศ (64.12 ล้านคน)

2. สามารถแยกแรงงานที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้

  • ภาคการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ (รวมจักรยานยนต์) จำนวน 895,000 คน
  • ภาคการบริการที่เกี่ยวข้อง (รถยนต์รับจ้าง การเช่ารถ เช่าที่จอดรถ การขนส่ง) จำนวน 2,728,000 คน
  • ภาควัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรม อาทิ เหล็ก พลาสติก สารเคมี ผ้า ยาง กระจก ฯลฯ จำนวน199,000 คน
  • ภายการขาย/ซ่อมบำรุง อาทิ อู่ซ่อมรถ ขายอะไหล่เก่า ขายรถใหม่-มือสอง จำนวน 1,011,000 คน
  • อื่นๆ (ปั๊มน้ำมัน ธุรกิจไฟแนนซ์ รีไซเคิ้ลรถยนต์) จำนวน 317,000 คน
4. มาตรการสนับสนุนให้ซื้อรถยนต์ใหม่

ในเดือนธันวาคม 2552 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 7.2 ล้านล้านเยน หรือ 8.1 หมื่นล้าน ดอลลาร์ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะมีเรื่องการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ซื้อรถประหยัดพลังงาน โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวได้ผ่านการเห็น ชอบจากรัฐสภาในเดือนเมษายน 2552 รายละเอียดที่สำคัญคือ รัฐบาลจะจ่ายเงิน 250,000 เยน (2,600 ดอลลาร์) แก่ผู้ที่ยินยอมขาย รถยนต์ที่ใช้งานเกินกว่า 13 ปี และจะสนับสนุนเงินสมทบให้ 100,000 เยน แก่ผู้ที่ซื้อรถใหม่ที่ผ่านมาตรฐานการปล่อยมลพิษใหม่ ซึ่งกำหนด ให้ปล่อยมลพิษลดลงร้อยละ15 หรือมากกว่า

ซึ่งเรื่องดังกล่าวทำให้กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ของสหรัฐเห็นว่าเป็นการไม่ยุติธรรมเพราะรถยนต์จากสหรัฐและรถยนต์นำเข้าจากชาติ อื่นๆไม่ได้อยู่ในแผนการณ์ให้เงินอุดหนุนของรัฐบาลด้วย จึงเตรียมยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นยกเลิกมาตรการสนับสนุนดังกล่าว แต่คาดว่า คงจะเป็นไปได้ยากเนื่องจากเป็นมาตรการการบริหารจัดการภายในของประเทศญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม มาตรการสำคัญที่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต้องการให้รัฐบาลใช้ต่อไป คือการขยายเวลาลดหย่อนภาษีของรัฐบาลออก ไปและการสนับสนุนให้ตลาดซื้อรถ Eco-car ซึ่งมาตรการดังกล่าวของรัฐบาลได้ผลตอบรับเป็นอย่างดีในปี 2009 หากรัฐบาลยังคงนโยบาย ดังกล่าวไว้ คาดว่าในปี 2010 ยอดจำหน่ายรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์จะปรับตัวสูงขึ้นเป็น 4.8 ล้านคันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับปี 2009 สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์นั้นยังปรับตัวลดลงอยู่ถึงร้อยละ 6.5 หรือ 404,000 คันเมื่อเทียบกับปี 2009 สาเหตุ หลักคือการที่รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซคาร์บอน ทำให้ราคาต้นทุนสูงขึ้น และปัญหาที่จอดรถจักรยานยนต์ภายในเมือง ที่ลดลงทุกปี ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังสะสมมานานของญี่ปุ่นส่งผลให้คนไม่นิยมใช้จักรยานยนต์กัน

5. ความเคลื่อนไหวของผู้ผลิตยานยนต์รายสำคัญในประเทศญี่ปุ่น
  • โตโยต้า

โตโยต้าเปิดเผยข้อมูลว่า สิ้นไตรมาส มีนาคม 2010 นี้บริษัทน่าจะสามารถผลักดันการขายให้อยู่ในจุดคุ้มทุนได้ จากเดิมที่ตั้ง เป้าหมายในการทำกำไรถึง 13.9 พันล้านเยน เนื่องจากยอดจำหน่ายรถยนต์ที่สหรัฐและยุโรปลดลงถึงร้อยละ 34

  • ฮอนด้า

ฮอนด้าสามารถทำกำไรจากผลประกอบการประมาณ 555 ล้านดอลลาร์เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2010 โดยบริษัทจำเป็นต้องลด จำนวนพนักงานชั่วคราวและลูกจ้างรายสัญญาลง พร้อมงดจ่ายโบนัสพนักงาน ผู้บริหารทั้งหมดสมัครใจลดเงินเดือนลงร้อยละ 10 นอกจากนั้น บริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องยุติการเข้าร่วมการแข่งขันรถยนต์สูตรหนึ่ง Formula-1 ลงและอาจต้องขายทีมด้วย ซึ่งฮอนด้าประสบปัญหาเช่น เดียวกันกับผู้ผลิตทุกรายโดยยอดจำหน่ายรถยนต์ของฮอนด้าลดลงถึงร้อยละ 31.6 เมื่อเทียบกับ ปี 2008

  • นิสสัน

ลดจำนวนการผลิตลง 8 หมื่นคันทันที ที่เกิดวิกฤตการณ์ในสหรัฐฯ

  • ซุซูกิ

ผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 4 ประกาศลดการผลิตรถยนต์ลง 3 หมื่นคัน เนื่องจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ อีกทั้งประกาศผลประกอบ การขาดทุนครั้งแรกในรอบ 8 ปี

  • มิตซูบิชิ

นอกจากการลดการผลิตแล้วบริษัทยังต้องหยุดสายงานการผลิตสำหรับรถบางรุ่น ยกเว้นอีโค้คาร์ซึ่งยอดขายยังคงที่อยู่ โดย โรงงานที่มิซึชิม่าและโอกาซากิจะเริ่มหยุดการทำงานกะกลางคืนในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2010 โดยรวมบริษัทจะต้องปรับลดกำลังการผลิตลงราว 1.1 แสนคันในปี 2010

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โอซากา

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ