รายงานสถานการณ์ส่งออกสินค้าไทยไปอิตาลี ประจาเดือนมกราคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 31, 2010 14:43 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์ส่งออก

ในเดือน มกราคม ของปี 2553 ไทยส่งออกสินค้ามายังอิตาลีทั้งสิ้นมูลค่า 171.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 138.7 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ 23.57 โดยมีสินค้าส่งออกสาคัญ 5 อันดับแรกได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ 44.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (24.19%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 23.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (118.67%) ยางพารา 11.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (172.11%) ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง 6.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (-9.5%) และผลิตภัณฑ์ยาง 6.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (16.49%)

2. สาเหตุที่การส่งออกเพิ่มขึ้น

เหตุผลที่การส่งออกมาอิตาลีเดือนแรก (ม.ค.) ของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.57 เนื่องจาก

2.1. ภาวะเศรษฐกิจอิตาลีได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องและเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ ก.ย. 52 เป็นต้นมา อันเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆที่รัฐบาลพยายามอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการ cash for clunkers ที่ช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สาคัญที่สุดของอิตาลี

2.2. ผู้นาเข้าอิตาลีเริ่มมีการสั่งซื้อสินค้าหลังจากได้หยุดการสั่งซื้อตั้งแต่เดือน ต.ค. —พ.ย. ที่ผ่านมาและได้ขายสินค้าในสต๊อกในช่วงเทศกาลปีใหม่และช่วงเทศกาลลดราคาหลังปีใหม่เป็นต้นมาออกไปแล้ว

2.3. นอกจากนี้ในด้านการส่งออกของอิตาลีเองก็ได้ฟื้นตัวขึ้นเช่นกัน โดยเริ่มตั้งแต่ ส.ค. 52 เป็นต้นมาซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของความต้องการของตลาดต่างประเทศซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวต่อไปเรื่อยๆ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาอิตาลีต้องประสบปัญหาการชะงักงันของผลผลิต อันเนื่องมาจากราคาที่ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอื่นๆในตลาดโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการแข็งตัวของค่าเงินยูโรและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนแรงงาน

2.4. ผู้นาเข้าอิตาลีส่วนใหญ่ยืนยันว่าภาวะตลาดในอิตาลีโดยรวมในเดือน ม.ค. 53 มีผลตอบรับค่อนข้างดี โดยจะเห็นได้จากงานแสดงสินค้าต่างๆที่สาคัญ เช่น งานแสดงสินค้าของขวัญและของตกแต่งบ้าน MACEF ที่มิลาน งานแสดงสินค้าแฟชั่น PITTI ที่ฟลอเรนซ์และงานแสดงสินค้าจิวเวลรี่ที่ Vicenza ซึ่งผู้ประกอบการอิตาลีได้สั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

2.5. สถานศึกษาและวิจัยเศรษฐกิจแห่งอิตาลี (ISAE) ได้ออกมายืนยันว่าวิกฤตเศรษฐกิจได้ผ่านพ้นไปแล้วอย่างแน่นอนและเห็นผลได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการลงทุนด้านการผลิตสินค้าของผู้ประกอบการอิตาลีและคาดว่าในไตรมาสแรกของปี 53 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและคาสั่งซื้อจะเพิ่มขึ้น +2% และยังคงมีแนวโน้มดีต่อเนื่องถึงในไตรมาส 2 ของปี 2553 อย่างไรก็ดี ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้นดังกล่าวยังไม่ได้ส่งผลในทางบวกต่อการจ้างงานและคาดว่าในปี 2553 อัตราว่างงานจะเท่ากับ 8.8%

2.6. ทั้งนี้ หากพิจารณารายสินค้าที่มีการส่งออกลดลงสามารถวิเคราะห์สาเหตุการนาเข้าที่ลดลงได้ดังนี้

2.6.1. เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ

การส่งออกในเดือน ม.ค. ของปี 2553 มีมูลค่า 4.3 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 5.2 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ -15.99 เนื่องจาก

(1) เป็นสินค้าที่มีช่วงอายุการใช้งานค่อนข้างนาน ส่งผลให้ความถี่ของการซื้อสินค้าจากทั้งผู้บริโภคและบริษัทผู้ประกอบการมีไม่มาก

(2) ผู้ผลิตและผู้จัดจาหน่ายในอิตาลีส่วนใหญ่ได้จัดเทศกาลขายลดราคาไปแล้วในช่วง คริสต์มาส ทาให้ยอดจาหน่ายในเดือน ม.ค. 53 ลดลง

(3) เป็นสินค้าที่มีมาร์จินไม่มาก เนื่องจากผู้ขายต้องพยายามลดราคาลงเพื่อให้สามารถขายแข่งขันกับสินค้านาเข้าราคาถูกเช่น จีนได้

(4) ผู้บริโภคอิตาลียังชะลอการซื้อเพื่อรอดูผลว่ามาตรการช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลที่ช่วยเหลือให้แก่ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเมื่อปี 2552 จะขยายให้ครอบคลุมถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลด้วยหรือไม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐบาลและคาดว่าจะได้รับความเห็นชอบในปลายเดือน มี.ค. 53 นี้

(5) แนวโน้มของตลาดคอมพิวเตอร์ในอนาคต ได้แก่ คอมพิวเตอร์ประเภทบุคคล ซึ่งกาลังเป็นที่นิยมของตลาดทั้งบริษัทผู้ประกอบการและครอบครัวแทนที่เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเก่า (Desktop) ที่มียอดขายลดลงอย่างมาก เนื่องจาก ขนาดเครื่องที่ใหญ่ การทางานค่อนข้างช้าและไม่สะดวก คาดว่าในอนาคตเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนย้ายได้ เช่น note book หรือ mini pc ซึ่งมีขนาดเล็กและเบาโดยใช้แบตเตอรี่ขนาดใช้งาน 8-10 ชั่วโมงและสามารถใช้งานได้ทุกประเภททั้งเวปและการเชื่อมต่อเน็ทเวิรคต่างๆได้จะมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันได้มีการแนะนาให้ใช้ในโรงเรียนแทนการที่นักเรียนต้องพกพาเป็นหนังสือที่มีนาหนักมากๆ

(6) ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 27 (สัดส่วนตลาด 0.10%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ เนอธอร์แลนด์ (34.5%) จีน(21.84%) ลักเซ็มเบิ์รก (10.53%) เยอรมัน (8.23%) และเช็ครีพับลิค(5.36%)

ประเทศคู่แข่งสาคัญได้แก่ ญี่ปุ่น(0.80%) ไต้หวัน(0.74%) เกาหลีใต้(0.22%) มาเลเซีย(0.18%) อินเดีย(0.05%) ฟิลิปปินส์ (0.04%) เวียดนาม(0.04%)

2.6.2 เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์

การส่งออกในเดือน ม.ค. ของปี 2553 มีมูลค่า 4.3 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 5.2 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ -17.75 เหตุผลเนื่องจาก

(1) โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐบาล เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวงระหว่างซาเลอโนกับเรจจิโอ-คาลาเบรีย การก่อสร้างสะพานเชื่อมระหว่างคาลาเบรียกับเกาะซิซิลี การก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างเนเปิลกับบารียังไม่สามารถเริ่มดาเนินการได้

(2) มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลตามโครงการ In House Plan ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรเงินเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมก่อสร้างยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรอันเนื่องมาจากความล่าช้าของระบบราชการ โดยมาตรการช่วยเหลือได้แก่

  • กรณี Private house จะให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ซื้อบ้านหลังใหม่ที่เป็นครอบครัวรายได้น้อย คู่แต่งงานใหม่ คนชราและนักเรียนนักศึกษาที่แยกจากครอบครัว โดยขยายจานวนบ้านออกไปได้ถึงร้อยละ 20
  • กรณี Social House รัฐบาลจะจัดสรรเงินทุน 350 ล้านยูโรเพื่อสร้างบ้าน 100,000 หลัง ภายในเวลา 5 ปี เพื่อให้ประชาชนที่ยากจนเช่า
  • กรณีเมืองใหม่ (New town) มีโครงการสร้างอพาร์ตเม้นท์จานวน 100 หลัง ในชานเมืองเพื่อขายให้คู่แต่งงานใหม่ในอัตราเงินกู้พิเศษ

(3) ผู้นาเข้ายังคงไม่วางแผนการสั่งซื้อล่วงหน้าแต่จะใช้วิธีสั่งซื้อตามความจาเป็นและต้องความต้องการของลูกค้า

(4) แนวโน้มของตลาดเหล็กในอิตาลีสาหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง (ใช้เหล็กร้อยละ 60 ของปริมาณการใช้รวม) ยังคงไม่กระเตื้องขึ้น ส่วนเหล็กชนิดสแตนเลสที่ใช้ในการผลิตสินค้าเครื่องครัวมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเล็กน้อย และปรากฏว่าในเดือน ม.ค. 53 อิตาลีมีการผลิตเหล็กเพิ่มขึ้น +17.2% ในขณะที่สถานการณ์การว่างงานในอุตสาหกรรมเหล็กยังคงค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมก่อสร้างที่คาดว่าผู้ประกอบการร้อยละ 10-15 มีความเสี่ยงต่อการขาดทุน (โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก) และจะมีคนตกงานถึง 120,000 — 150,000 คน

(5) อิตาลีมีมูลค่าการค้าเหล็กประมาณ 4 พันล้านยูโร โดยในปี 2552 มูลค่าการค้าลดลงถึง -50% โดยเฉพาะอุตสาหกรรมต่อเนื่องเช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างมีมูลค่าการค้า 370,000 ล้านยูโร จานวน 300,000 บริษัท และมีจานวนบ้านใหม่ที่ยังไม่สามารถขายได้ 250,000 หลัง อันเนื่องมาจากปัญหาในการได้รับสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านของประชาชน

(6) ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 45 (สัดส่วนตลาด 0.13%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนาเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ เยอรมัน( 16.5%) ฝรั่งเศส(11.28%) ออสเตรีย(6.92%) รัสเซีย (6.89%) และยูเครน (5.94%)

ประเทศคู่แข่งได้แก่ เกาหลีใต้(3.27%) จีน(3.02%) อินเดีย(2.23%) ไต้หวัน(1.37%) ญี่ปุ่น(0.37%)

2.6.3 รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ การส่งออกในเดือน ม.ค. ของปี 2553 มีมูลค่า 3.8 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 8.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ -56.70 เนื่องจาก

(1) ตลาดสาหรับรถยนต์ที่ใช้ในการพาณิชย์และอุตสาหกรรมซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐบาลดังกล่าวยังคงซบเซา โดยในปี 2552 มียอดการจดทะเบียนรถใหม่ลดลงถึงร้อยละ 50 และกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตของอิตาลียังคงคาดหวังว่ามาตราการช่วยเหลือ “cash for Clunker” ของรัฐบาลที่จะต่ออายุสาหรับปี 2553 จะครอบคลุมถึงรถยนต์ที่ใช้ในการพาณิชย์และอุตสาหกรรมด้วยซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ตลาดฟื้นตัวได้มากขึ้น

(2) ผู้ประกอบการอิตาเลี่ยนและผู้บริโภคยังคงรอดูผลการตัดสินใจของรัฐบาลอิตาลีในการพิจารณาการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือ “Cash for clunkers” ที่หมดอายุลงเมื่อปีที่ผ่านมาซึ่งคาดว่าจะมีผลการพิจารณาที่ชัดเจนในปลายมี.ค. 53 นี้

(3) ณ เดือน ม.ค. 53 มียอดรถยนต์จดทะเบียนใหม่จานวน 206,341 คัน เพิ่มขึ้น +30.2% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค. 52 ในขณะที่ยอดคาสั่งซื้อเริมลดลงราว 10% และคาดว่าหากรัฐบาลไม่ต่ออายุมาตรการ “Cash for clunkers” สาหรับปี 2553 ต่อไปจะมียอดจดทะเบียนรถใหม่ประมาณ 1.7 ล้านคัน

(4) สมาคมยานยนต์ (The Italian Club —ACI) ได้เปิดเผยว่าตลาดรถยนต์ประเภท ecological cars โดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้ LPG มีการอัตราการเจริญเติบโตในปี 2552 ถึง +357% และครองตลาดอยู่ 15% ทั้งนี้ ผู้ประกอบการรถยนต์เห็นว่าตลาดจะสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้ในปี 2555 และมีความจาเป็นอย่างมากที่รัฐบาลจะต้องต่ออายุมาตรการช่วยเหลือทางการเงินต่อไปในปี 2553 ซึ่งจะช่วยให้ตลาดรถยนต์ในปี 2553 ขยายตัวลดลงเล็กน้อยคือ -2.3% (หากไม่มีการขยายอายุมาตรการจะทาให้ตลาดหดตัวถึง -16.3% )

(5) ไทยครองตลาดอันดับที่ 23 (สัดส่วนตลาด 0.21%) โดยประเทศที่อิตาลีนาเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ เยอรมัน(สัดส่วนตลาด 37.19%) ฝรั่งเศส (11.92%) สเปน(10.52%) โปรแลนด์ (9.57%) และญี่ปุ่น(4.51%)

ประเทศคู่แข่งสาคัญได้แก่ ญี่ปุ่น (4.51%) จีน(1.74%) เกาหลีใต้ (1.41%) อินเดีย(1.40%) และไต้หวัน(0.65%)

2.6.4 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป

การส่งออกในเดือนม.ค. ของปี 2553 มีมูลค่า 2.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 3.6 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ -29.43 เนื่องจาก

(1) ผู้นาเข้าได้มีการสั่งซื้อสินค้าตั้งแต่ ก.ย. — พ.ย. 52 เพื่อขายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่และคงมีสินค้าในสต๊อกเพียงพอเพื่อจาหน่าย

(2) สินค้าหลักที่อิตาลีนาเข้าจากไทยคือ ปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งเป็นสินค้าที่มีอายุการเก็บสต๊อกได้นานผู้นาเข้าจึกมักจะนาเข้าในปริมาณมากแต่น้อยครั้งเพื่อเป็นการลดต้นทุนการขนส่ง

(3) ผู้บริโภคอิตาลีส่วนใหญ่นิยมบริโภคทูน่ากระป๋องในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนเนื่องจากเป็นอาหารที่เหมาะจะทานกับอาหารประเภทเบาๆ เช่น สลัดผัก สลัดข้าว (rice salads)และมะเขือเทศ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการอิตาลีมีความพยายามที่จะกระตุ้นการขายให้มีตลอดปีด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสิมการขายและสร้างสรรค์สินค้าใหม่ๆที่ใช้ทูน่ากระป๋องเป็นวัตถุดิบ

(4) ตลาดสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปในอิตาลีมีปริมาณราว 117,000 ตัน โดยมีปลาทูน่ากระป๋องเป็นตัวหลักที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคอิตาเลียนได้ ถึง 95 % เนื่องจากสามารถนาไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง มีราคาไม่แพง และเชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าการทานเนื้อสัตว์

(5) สินค้าที่ยังคงมีศักยภาพคือ ปลาทูน่ากระป๋องในน้ามัน(ขนาดน้าหนักน้อยกว่า 300 กรัม) สินค้าที่มีการทามูลค่าเพิ่มเช่น อาหารทะเลพร้อมรับประทาน เช่นสลัดปลาทูน่าหรือทูน่าผสมข้าวและผัก ซึ่งค่อนข้างเป็นที่นิยมของคนอิตาลี นอกจากนี้ยังมีสินค้าตัวใหม่ที่แนวโน้มเป็นที่นิยมอย่างมากคือ ปลาทูน่าออร์แกนิคในน้ามัน (ขนาดน้าหนัก 150 กรัม)

(6) ไทยครองตลาดเป็นอันดับ 4 (สัดส่วนตลาด 5.43%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนาเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ สเปน(21.61%) เยอรมัน (16.49%) เอควาดอร์ (6.42%) ไทย(5.43%) และฝรั่งเศส (5.09%)

ประเทศคู่แข่งสาคัญ ได้แก่ จีน(1.55%) เวียดนาม (1.01%) อินเดีย(0.30%) ฟิลิปปินส์(0.17%) และอินโดนีเซีย(0.14%)

3. ข้อคิดเห็น

3.1 คาดว่าในปี 2553 เศรษฐกิจอิตาลีจะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆแต่ยังคงมีความเสี่ยงในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจจากปัญหาการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นและหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ยังคงไม่มีความมั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจของประเทศจากสภาวะการเลิกจ้างและการว่างงานที่ยังคงมีให้เห็นทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบทางตอนเหนือของประเทศ (แถบตะวันออกเฉียงเหนือ) ซึ่งเกิดขึ้นค่อนข้างมากกว่าทางตอนกลางของประเทศ

3.2 ณ เดือน ม.ค. 53 ธนาคารแห่งอิตาลี (Bank of Italy) ได้เปิดเผยตัวเลขการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของอิตาลีดังนี้

                                   ปี 2553          ปี 2553          ปี 2554
          - GDP                      -4.8           0.7 (1.1*)       1.0 (2*)
          - Consumptions             -1.7           0.4              0.7
          - Investments             -12.6           0.7              2.3
          - Exports                 -19.2           2.6              3.1
          - Imports                 -14.9           2.1              3.0
          - Inflation                 0.8           1.5              1.9
          หมายเหตุ: *เป็นการคาดการณ์โดยสมาพันธ์อุตสาหกรรมและรัฐบาลอิตาลี
3.3 สินค้าที่ยังคงมีแนวโน้มที่ดีในตลาดอิตาลี ได้แก่

3.3.1 เครื่องโทรสาร โทรศัพท์และอุปกรณ์ ซึ่งในเดือน ม.ค. 53 ไทยส่งออกมาอิตาลีเพิ่มขึ้นถึง +170.38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ซึ่งคาดว่าจะเป็นสินค้าที่มีศักยภาพค่อนข้างมาก โดยจะเห็นได้จากการที่ ISTAT ได้เพิ่มการจัดทาดัชนีเงินเฟ้อของสินค้านี้ด้วย ทั้งนี้ ผู้บริโภคอิตาลีนิยมซื้อให้เป็นของขวัญในโอกาสพิเศษ ประเภทที่นิยมที่สุดคือ Smart Phone ที่มีระบบ GPS (Map navigation) ได้ด้วย ทั้งนี้ ในปี 2552 มียอดจาหน่ายโทรศัพท์มือถือในอิตาลีทั้งสิ้น 180 ล้านชิ้น และคาดว่าภายในปี 2553 จะมียอดจาหน่ายถึง 500 ล้านชิ้น

3.3.2 สิ่งทออื่นๆ เช่นเส้นด้ายและผ้าผืน ซึ่งในเดือน ม.ค. 53 ไทยส่งออกมาอิตาลีเพิ่มสูงขึ้นถึง + 231.63 % ซึ่งแม้ว่า 3 ปีที่ผ่านมาจะเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทออิตาลีได้รับผลกระทบอย่างมากจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี โดยที่อุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอถือเป็นอุตสาหกรรมที่สาคัญของอิตาลีเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ มีมูลค่าการค้าถึง 45,000 ล้านยูโร ทาให้รัฐบาลอิตาลีอยู่ระหว่างการพิจารณาออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นกาลังซึ่งในปี 2553 นี้ด้วยเช่นกัน คาดว่าจะมีผลการพิจารณาได้ในปลายเดือน มีนาคม 53

สินค้าที่อิตาลีนำเข้าจากไทยส่วนใหญ่ได้แก่ เส้นด้ายประเภทขนสัตว์ (yarns of combed wool) ในขณะที่สินค้าที่นาเข้าจากจีนได้แก่ ผ้าวูล (Wool) ขนสัตว์และสินค้าที่นาเข้าจากอินเดียได้แก่ ผ้าวูล (Wool) ขนสัตว์ เส้นด้ายประเภทขนสัตว์เป็นต้น

ในปัจจุบันตลาดอิตาลีซึ่งมีชื่อเสียงว่าเป็นแหล่งผลิตและจาหน่ายสินค้าแฟชั่น “made in Italy” จะให้ความสนใจอย่างมาก ในเรื่องการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าให้ได้คุณภาพสูงรวมทั้งประเด็นการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคิดค้นเทคโนโลยีในการพัฒนาแบบใหม่ๆมากขึ้น

3.3.3 เครื่องปรับอากาศซึ่งในเดือน ม.ค. 53 ไทยส่งออกมาอิตาลีเพิ่มขึ้นถึง 118.67% ซึ่งคาดว่า ผู้นาเข้าเริ่มนาเข้าเพื่อเตรียมสินค้าไว้ขายสาหรับฤดูร้อนที่กาลังจะมาถึงในช่วง มิ.ย. เป็นต้นไป

3.3.4 ยางพาราซึ่งในเดือน ม.ค. 53 ไทยส่งออกมาอิตาลีเพิ่มขึ้น 172.11% โดยอิตาลีนาเข้ายางพาราเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางรถยนต์ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลและถุงมือยางใช้ในทางการแพทย์ซึ่งได้รับผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจไม่มากนัก

3.3.5 เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ

สำนักส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ