1.1 จากสถิติของสถาบัน Institute of Food Services for the Agricultural Market (Ismea) ปี 2552 ที่ผ่านมา อิตาลีมีความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้นแม้ว่าจะอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจที่ย้ำแย่ ปริมาณการซื้อในครัวเรือนของสินค้าจ่าพวกเกษตรอินทรีย์ในปี 2552 สูงขึ้น 6.9% มากกว่าความต้องการในปี 2551 ที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว 5.2%
1.2 รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร และป่าไม้ของอิตาลี นาย Luca Zaia ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากสถิติดังกล่าวว่า ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์จ่าพวกผัก ผลไม้สด และแปรรูปส่งสัญญาณการเติบโตที่ดีคือ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 26.6% ไข่21.8% เครื่องดื่มและขนมปัง(รวมถึงอาหารที่สามารถทดแทนได้) เพิ่มปริมาณขึ้น 5.7% และ 8.7% ตามล่าดับ สินค้าจ่าพวกนมเพิ่มเล็กน้อย 1.9% ในทางกลับกันสินค้าประเภทอาหารเช้าจ่าพวก ชา กาแฟ บิสกิต มีความนิยมลดลง 14 %
1.3 แม้จะเป็นเรื่องน่าแปลกที่สินค้าอาหารที่มีราคาสูงกว่าสินค้าทั่วไปอื่น อาทิ สินค้าอาหารจ่าพวกฟุ่มเฟือย หรืออาหารที่ได้ตรารับรองคุณภาพ เช่น ตรารับรองแหล่งผลิต และคุ้มครองแหล่งผลิตสินค้า อย่างเครื่องหมาย Dop และ Igp มียอดจ่าหน่ายลดลง 1.3% เมื่อเทียบกับยอดจ่าหน่ายในปี 2551 ไวน์ที่ได้รับตรารับรองคุณภาพ และรับประกันแหล่งผลิตอย่าง Doc, Docg และ Igt ก็มียอดจ่าหน่ายลดลง 8.1% แต่ความต้องการของสินค้าเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีราคาสูงกว่าสินค้าทั่วไปเหมือนกันกลับมีมากขึ้น
ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของอิตาลีมีมูลค่าประมาณ 2,800 ถึง 3,000 ล้านยูโร โดย 1,800 ล้านยูโรมาจากการขายปลีกตามร้านค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และระบบขายตรง ในขณะที่ 200 ถึง 250 ล้านยูโรมาจากโรงอาหารในโรงเรียน และ 350 ล้านยูโรมาจากการขายส่ง
2.1 ผู้บริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
- ผู้บริโภคแต่เฉพาะอาหารเกษตรอินทรีย์อย่างเดียว เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติ ปัจจัยทางด้านราคาไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และผู้ป่วยที่แพทย์แนะน่าให้ทานอาหารจ่าพวกเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรค Celichia (Coeliac disease) ที่มีสาเหตุส่วนใหญ่จากความบกพร่องทางพันธุกรรม ท่าให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของ Glutine ได้ อาทิเช่น อาหารจ่าพวกขนมปัง แป้งสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวไรน์ อาหารแปรรูปที่ชุบแป้ง เป็นต้น ส่วนอาหารที่ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้ คือ ข้าว ข้าวโพด ผักและผลไม้สด จากผลส่ารวจของมูลนิธิผู้ป่วยโรค Celichia ในอิตาลี พบว่าในชาวอิตาลี 100 คนจะพบผู้ป่วยโรค Celichia จ่านวน 1 คน และแนวโน้มมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 10% ต่อปี ยกตัวอย่างในแคว้น Campania ของอิตาลีพบผู้ป่วยโรค Celichia แล้ว 12,000 คน จากประชากร 5,820,795 คน
- ผู้บริโภคตามวาระโอกาส ซึ่งจะให้ความส่าคัญทางด้านราคามากกว่าประโยชน์ต่อสุขภาพ หากสินค้าเกษตรอินทรีย์มีราคาไม่ต่างกับสินค้าทั่วไป ก็จะเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์เนื่องจากเชื่อว่ามีคุณภาพที่ดีกว่า นอกจากนี้การน่าเสนอข้อดีของการบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้นทางโทรทัศน์ และสื่อต่างๆ ท่าให้การบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์กลายเป็นค่านิยมส่าหรับผู้รักสุขภาพ
2.2 จากข้อมูลของหน่วยงาน Ismea ระบุว่าผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี คิดเป็น 70% ของผู้บริโภคในประเทศ (แบ่งเป็นภาคตะวันตกเฉียงเหนือ 43.1% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 27.9%) ขณะที่ภาคกลาง รวมถึงเกาะซาร์ดิเนีย และทางใต้ของประเทศอิตาลีมีผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 21.6 และ 7.5 ตามล่าดับ
2.3 แม้ว่าตลาดเกษตรอินทรีย์ของอิตาลีก่าลังไปด้วยดี แต่ผลการวิจัยในนิตยสาร Via del Gusto ของอิตาลีกลับพบว่า 19% ของชาวอิตาลีคิดว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์หมายถึงอาหารส่าหรับผู้ทานมังสวิรัติ 16% คิดว่าเป็นอาหารส่าหรับผู้ป่วยโรคที่ไม่สามารถรับประทานอาหารบางจ่าพวกได้ และ 47% ให้ความหมายของสินค้าเกษตรอินทรีย์ว่าเป็นอาหารที่อุดมด้วยโภชนาการและรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.4 ผู้บริโภคมักจะเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยจะหาจากชั้นวางของที่มีการระบุว่าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์มากที่สุด รองลงมาจะมองหาตราสัญลักษณ์สินค้าเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป และตรารับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์จากองค์กรต่างๆ ตามล่าดับ
2.5 แอปเปิ้ล กล้วย และส้มเป็นสินค้าจ่าพวกผลไม้เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับความนิยมที่สุด
2.6 ปัจจุบันผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ร่วมกันจัดตั้งกลุ่ม เพื่อสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจากแหล่งผลิต สินค้าที่ได้จึงมีราคาไม่สูงมาก โดยในปี 2552 มีกลุ่มผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ประมาณ 598 กลุ่ม เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่ส่ารวจพบว่ามีเพียง 356 กลุ่ม เพิ่มขึ้นถึง 68%
3.1 อิตาลีเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์อันดับที่ 6 ของโลก รองจาก ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา บราซิล จีน สหรัฐอเมริกาและเป็นหนึ่งในผู้น่าด้านจ่านวนฟาร์มที่ปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์ โดยล่าสุดสมาพันธ์ผู้ท่าฟาร์มเกษตรแห่งอิตาลี (COLDIRETTI) เปิดเผยว่าอิตาลีโดนสเปนแย่งชิงอันดับหนึ่งในสหภาพยุโรปไปแล้ว เนื่องจากผลกระทบจากการที่อิตาลีน่าเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์จากประเทศนอกสหภาพยุโรปมากขึ้น กลุ่มประเทศที่ตามหลังได้แก่ เยอรมนี และ อังกฤษ อิตาลียังเป็นผู้ผลิตข้าวเกษตรอินทรีย์รายใหญ่อันดับสองของโลก รองจากประเทศไทย
2551 2550 ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรอินทรีย์ 49,654 50,276 ผู้ผลิต 42,037 43,159 ผู้ผ่านกรรมวิธีผลิต 5,047 4,782 ผู้ผลิตและผู้ผ่านกรรมวิธีการผลิต 2,324 2,065 ผู้น่าเข้า 51 46 ผู้น่าเข้าที่ผลิตเองและแปรรูปด้วย 195 165 Trader (ในปี 2551 ถูกรวมไว้กับผู้ผ่านกรรมวิธีผลิต) 59 *ข้อมูลจาก SINAB
3.2 ตามรายงานของ BioBank เปิดเผยว่าแนวโน้มของการท่าฟาร์มปลูกสินค้าออร์แกนิคในอิตาลีจะเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เพราะเป็นลู่ทางธุรกิจไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจเท่าใดนัก โดยมีกลุ่มผู้ประกอบการ และขายตรงเพิ่มขึ้นจาก 1,600 แห่ง เป็น 2,100 แห่ง นอกจากนี้จ่านวนร้านอาหาร และธุรกิจโฮมเสตย์ที่เน้นขายอาหารออร์แกนิคก็มีจ่านวนเพิ่มขึ้นถึง 31.5% และ 22% ตามล่าดับ
3.3 แคว้นที่มีพื้นที่ในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์มากที่สุดได้แก่ ซีชิลี คาลาเบรีย บาซิลีคาต้า ขณะที่แคว้นเอมิเลียโรมาญนามีจ่านวนผู้ผ่านกรรมวิธีการผลิตมากที่สุด รองลงมาคือ ลอมบาร์เดีย และทัสคานี
ในปี 2552 ที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ของอิตาลีเพิ่มขึ้นเป็น 900 ล้านยูโร(ปี 2551 ประมาณ 800 ล้านยูโร) โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศภายในยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น
5.1 ผู้นำเข้าผัก ผลไม้อินทรีย์รายใหญ่ของอิตาลี ได้แก่ Gruppo Apofruit, Brio SPA, ECOR SPA และ Adria Fruit Italia SPA
5.2 บ.Gruppo Apofruit มียอดขายในปี 2553 เพิ่มขึ้นจากปี 2552 15% คิดเป็นรายได้เพิ่มขึ้น 6% ในช่วงกรกฎาคม 2553 ขายผักผลไม้อินทรีย์ได้ 10,850 ตัน ซึ่งในจ่านวนนี้ยอดขาย 30% เกิดจากการส่งออก บ. Gruppo Apofruit จ่าหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ภายใต้ครื่องหมายการค้าของตัวเอง “Almaverde” ซึ่งตอนนี้มีแผนสนับสนุนการตลาดสินค้าจ่าพวกผัก และผลไม้สดพร้อมรับประทาน (ล้างและ ปอกเรียบร้อยแล้ว) ซุปผักพร้อมประกอบอาหาร
6.1 เป็นไปตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ที่ต้องการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมการเกษตรที่ผลิต และเก็บเกี่ยวผลผลิตซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งล่าสุดสหภาพยุโรปก่าลังวางกฎการท่าประมงแบบเกษตรอินทรีย์ โดยมีประเทศน่าร่องที่เข้าร่วมโครงการแล้ว เช่น ออสเตรีย เยอรมนี นอร์เวย์ และประเทศแถบทะเลบอลติก ในประเทศอิตาลีเองยังไม่มีการท่าประมงประเภทนี้ แต่นาย Fabrizio Piva ผู้บริหาร Ccpb ซึ่งเป็นหน่วยงานของอิตาลีที่พิจารณารับรองคุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์คาดการณ์ว่าประมาณ 24-30 เดือนข้างหน้า การท่าประมงแบบเกษตรอินทรีย์จะได้รับความนิยมในอิตาลี
6.2 คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้เปิดตัวเครื่องหมายรับรองสินค้าออร์แกนิคที่วางขายในสหภาพยุโรปแบบใหม่ ภายใต้ชื่อ Euro Leaf logo ที่นักศึกษาชาวเยอรมันเป็นผู้ชนะการประกวดการออกแบบ เครื่องหมาย Euro Leaf logo มีลักษณะเป็นดาวที่เรียงตัวกันเป็นรูปใบไม้ โดยจะเริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมนี้กับสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตได้ในสหภาพยุโรป ส่วนสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่น่าเข้าสามารถเลือกได้
6.3 องค์กร Federbio ร่วมกับ ส่านักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศของอิตาลี (ICE) มีแผนจะลงทุนเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ เช่น พาร์มิซานชีส ผักแปรรูป ไวน์ น้ำส้มบาลซามิค และน้ำมันมะกอก ไปยังทวีปอเมริกาด้วยเงินงบประมาณ 450,000 ยูโร โดยจะเปิดส่านักงาน 2 สาขาในนิวยอรค์ และ ซานเปาโล ประเทศบราซิลเพื่อสนับสนุนการท่าธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของอิตาลี
7.1 ร้านขายสินค้าเฉพาะสินค้าเกษตรอินทรีย์
75% ของ 762 คนที่ได้รับการสัมภาษณ์ที่โรม และ 74% ของ 750 คนที่ได้รับการสัมภาษณ์ที่มิลาน ให้ค่าตอบว่าหากจะซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ พวกเขาจะนึกถึงที่ใดเป็นอันดับแรก ปรากฎว่าร้าน NaturaS? เป็นค่าตอบของคนหมู่มากดังกล่าว ร้าน NaturaSi เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2535 มี 66 สาขาทั่วประเทศอิตาลี และ 2 สาขาในประเทศสเปน มีสินค้าเกษตรอินทรีย์วางขายกว่า 4,000 รายการ
7.2 ร้านค้าปลีกรายใหญ่
- ซุปเปอร์มาร์เก็ตในอิตาลีทุกร้านจะต้องมีชั้นวางขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทั้งที่เป็นเครื่องหมายการค้าของตนเอง และรับมาจากผู้ผลิตรายย่อย จากผลส่ารวจในปี 2552 พบว่ายอดขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ใน Hypermarket เพิ่มขึ้น 14.7% และในซุปเปอร์มาร์เก็ตเพิ่มขึ้น 1.5% และพบเครื่องหมายการค้าของซุปเปอร์มาร์เก็ตประมาณ 10 ยี่ห้อ
- Carrefour เป็นผู้ดูแลซุปเปอร์มาร์เก็ต Carrefour, GS และ Diperdi รายงานว่า 73% ของลูกค้า หากพบว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์มีราคาไม่ต่างกับสินค้าทั่วไป จะเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ก่อน โดยเฉพาะลูกค้าสุภาพสตรี ซึ่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับความนิยม คือ ผักและผลไม้ 42.7% สินค้าประเภทนม 23% พาสต้า ข้าวและแป้ง 12% ไข่ 7.2% อาหารกระป๋อง 5% และเนื้อสัตว์ 5%
- ซุปเปอร์มาร์เก็ตประเภท Discount store ในอิตาลีก็เริ่มมีการวางจ่าหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น เนื่องจากในปี 2551 ที่ผ่านมายอดจ่าหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในร้าน Discount Store เพิ่มขึ้นถึง 45.9%
7.3 ร้านค้าปลีกรายย่อย
ยอดขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ตามร้านค้าปลีกรายย่อยเพิ่มขึ้น 17.3%
7.4 การจ่าหน่ายสินค้าระบบตรงถึงผู้บริโภค (direct sales)
- จากข้อมูลของ Biobank รายงานว่าในปี 2552 อิตาลีมีผู้ประกอบการขายตรง ดังนี้ บริษัทที่ประกอบการขายตรง 2,176 ราย AGRITOURISM 1,222 ราย E-COMMERCE 116 ราย ON-LINE SUPERMARKET 5 ราย
จากข้อมูลข้างต้น จะพบว่าระหว่างปี 2550-2552 การขายสินค้าเกษตรอินทรีย์แบบตรงได้เพิ่มขึ้นถึง 32% เพราะในปี 2550 พบบริษัทที่ประกอบการขายตรงเพียง 1,645 ราย ในขณะที่ปี 2552 มีบริษัทขายตรงถึง 2,176 ราย
- สมาคมผู้ผลิตอาหารเกษตรอินทรีย์แห่งแคว้นเอมิเลีย โรมาณญ่า ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตร เริ่มจัดท่าโครงการจ่าหน่ายอาหารเกษตรอินทรีย์ทางเครื่องจ่าหน่ายอัตโนมัติตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2552 โดยติดตั้งเครื่องจ่าหน่ายดังกล่าวในโรงเรียน โรงอาหารของชุมชน โรงพยาบาล และก่าลังขยายการติดตั้งไปยังออฟฟิศต่างๆ ที่ให้ความสนใจ
7.5 การขายผ่านโรงอาหาร
โรงอาหาร 837 แห่งในอิตาลีใช้สินค้าเกษตรอินทรีย์ในการประกอบอาหารให้นักเรียน และผู้มาใช้บริการรับประทานเพิ่มขึ้น 14% จากปีที่ผ่านมา ตามรายงานของ BioBank ส่วนใหญ่เป็นโรงอาหารของรัฐ เช่นในโรงเรียนและโรงพยาบาลของรัฐ 68% เป็นโรงอาหารทางเหนือ 23% เป็นโรงอาหารภาคกลาง ส่วนอีก 9% เป็นโรงอาหารทางใต้ และบนเกาะ ในวันหนึ่งโรงอาหารเหล่านี้ได้ใช้สินค้าเกษตรอินทรีย์ในการประกอบอาหารคิดเป็น 1,000,000 มื้อ/วัน
7.6 ร้านอาหาร
อัตราการเติบโตของร้านอาหารเกษตรอินทรีย์สูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากการจัดกลุ่มรับซื้อ และบริษัทขายตรง แคว้นลอมบาร์เดียมีร้านอาหารเกษตรอินทรีย์มากที่สุด รองลงมาคือ แคว้นเอมิเลีย โรมาณญ่า และแคว้นลาซิโอ
2550 2552 อัตราการเติบโต กลุ่มรับซื้อ 356 598 68% บริษัทขายตรง 1,645 2,176 32% ร้านอาหาร(ไม่รวม Agriturism) 174 228 31% E-commerce 106 132 25% โรงอาหาร 683 837 23% Agriturism 1,002 1,222 22% ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ 204 225 10% ร้านค้า 1,106 1,132 2%
ระหว่างปี 2549-2551 (ปริมาณ : ตัน) รายการสินค้าเกษตรอินทรีย์หลักที่ประเทศอิตาลีนาเข้าจากประเทศนอกสหภาพยุโรป
ชื่อสินค้า ปริมาณการนาเข้าของปี 2551(ตัน) Soft wheat 25,847 Hard wheat 12,395 โกโก้ 7,432 มันฝรั่ง 6,651 กล้วย 6,391 rapeseed 6,289 น้ำตาลอ้อย 5,908 น้ำมันมะกอก 3,308 บาร์เล่ย์ 3,195 เมล็ดละหุ่ง 2,435 ข้าวเปลือก 1,479 ข้าว 1,285 lentil 853 หัวหอม 687 ถั่ว pea 628 เมล็ดกาแฟ 512 มะนาว 443 ถั่ว bean 427 kiwi 418 น้ำผลไม้ชนิดเข้มข้น 413 น้ำมันปาล์ม 391
1. SINAB (National Information System on Organic Agriculture)
2. Ismea (Institution of service for food and agricultural market)
3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อิตาลี
4. นสพ. Il sole 24 ore
5. นสพ. La Stampa
6. www.blogbiologico.it
8. www.lifeinitaly.com
9. www.biobank.it
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th