ตลาดสินค้าของขวัญ/ของใช้/ของตกแต่งบ้านในสหราชอาณาจักร

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 31, 2010 16:44 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมตลาด

จากการประมาณการณ์ของ Giftware Association อุตสาหกรรมของขวัญของสหราชอาณาจักรมีมูลค่าประมาณปีละ 10 พันล้านปอนด์ โดยที่ผ่านมาการขยายตัวของอุตสาหกรรมของขวัญของสหราชอาณาจักรพึ่งพานักท่องเที่ยวเป็นหลัก อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคภายในประเทศก็มีส่วนสาคัญในการกระตุ้นการขยายตัวของอุตสาหกรรม เนื่องจากชาวอังกฤษนิยมให้ของขวัญแก่กันตามโอกาสและเทศกาลต่างๆ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทศกาลคริสต์มาส นอกจากนี้ เทศกาลอื่นๆ เช่น วันแห่งความรัก วันแม่ วันเกิด วันแต่งงาน วันอีสเตอร์ ในส่วนของสินค้าของใช้/ของตกแต่งบ้าน มีมูลค่าประมาณ 11.3 พันล้านปอนด์ ซึ่งการขยายตัวขึ้นกับภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก

ในปี 2552 ภาพรวมของอุตสหากรรมของขวัญ/ของใช้/ของตกแต่งบ้านมีการขยายตัวติบลบ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่ถดถอย ส่งผลให้ภาคอสังหาริมทรัพย์มียอดจาหน่ายบ้านลดต่ำลงมาก ซึ่งได้ส่งผลกระทบไปยังธุรกิจการตกแต่งที่อยู่อาศัยใหม่ๆ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสาคัญที่สุดในหมวดสินค้าของตกแต่งบ้าน นอกจากนี้วิกฤตสถาบันการเงินทำให้การปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจและครัวเรือนชะงักงัน การล้มละลายของหลายบริษัททาให้มีคนตกงานจานวนมาก ผู้บริโภคจึงจำเป็นต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเช่นนี้ ทำให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับราคาสินค้าในการเลือกซื้อสินค้ามากขึ้นจากการสำรวจของนิตยสาร Gift Focus สินค้านำเข้าหัตถกรรมประเภท fair trade ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมากในช่วงปีที่ผ่านมาเนื่องจากผู้บริโภคยังมีความต้องการให้ของขวัญ ประกอบกับสินค้า fair trade มีราคาไม่สูง โดยในปีที่ผ่านมายอดขายสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43 ทาให้มีร้านค้าประเภทที่ขายสินค้านำเข้าจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลกโดยเน้นว่าเป็นสินค้าที่ traded fairly โดยเฉพาะเกิดขึ้นจำนวนมาก

2. การผลิต

อุตสาหกรรมเซรามิกเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตดั้งเดิมของสหราชอาณาจักร และเคยเป็นอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนต่อจีดีพีสูงสุด ผลิตภัณฑ์เซรามิกของสหราชอาณาจักรมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั่วโลกทั้งในแง่ของคุณภาพและการออกแบบ บางแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันก่อตั้งมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1700 ผู้ผลิตรายใหญ่กระจุกตัวในย่าน Stoke-on-Trent (หรือที่เรียกว่า the Potteries) ทั้งนี้ ผู้ผลิตรายย่อยจะกระจายไปทั่วประเทศ ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2000 อุตสาหกรรมเซรามิกของสหราชอาณาจักรเริ่มได้รับผลกระทบอย่างหนักจากผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาถูกกว่ามาก โดยเฉพาะจากจีนเนื่องจากค่าแรงที่ต่ำกว่ามากส่งผลให้หลายบริษัทต้องปิดโรงงานและย้ายฐานการผลิตไปนอกประเทศ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีชื่อเสียงทั่วโลก เช่น Royal Doulton (ประกอบด้วย 3 แบรนด์ คือ Royal Doulton, Royal Albert และ Minton) ได้ย้ายโรงงานผลิตแบลนด์ Royal Albert ไปตั้งอยู่ที่อินโดนีเซียตั้งแต่ปี 2002 แบรนด์ดังอื่นๆ ได้แก่ Waterford Wedgwood ก็ย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปจีนตั้งแต่ปี 2003 ล่าสุด ในปี 2552 อุตสาหกรรมเซรามิกของสหราชอาณาจักรได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตทางการเงิน ที่ทำให้ Wedgwood ล้มละลาย และบริษัทอเมริกันได้ซื้อกิจการไป British Ceramics Confederation ประเมินว่าผู้ผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร รูปปั้นและของประดับอื่นๆ ที่เป็นเซรามิกในสหราชอาณาจักรมีประมาณ 400 ราย โดย 40 รายทำการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวยังไม่รวมผู้ผลิตรายย่อย

3. การนำเข้า

การจำแนกประเภทสินค้า

สินค้าของขวัญ ของใช้/ของตกแต่งบ้านแบ่งแยกตามการใช้งาน ดังนี้

  • ของใช้/ของตกแต่งบ้านประเภทไม้ : หมวดสินค้า 4420 4419 4414
  • ของใช้/ของตกแต่งบ้านประเภทแก้วและกระจก : หมวดสินค้า 7013 7009 7018
  • ของใช้/ของตกแต่งบ้านประเภทเซรามิก : หมวดสินค้า 6912 6911 6913
  • ของใช้/ของตกแต่งบ้านประเภทผ้า : หมวดสินค้า 6302 6303 6304 6301
  • ของใช้/ของตกแต่งบ้านประเภทโลหะจำพวกเหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง โลหะสามัญ : หมวดสินค้า 7323 7418 7615 8306
  • อุปกรณ์รับประทานอาหารจำพวกช้อน ส้อม มีด : หมวดสินค้า 8211 8215
  • ของใช้/ของตกแต่งบ้าน ประเภทศิลปวัตถุ สิ่งมีค่า โบราณวัตถุ : หมวดสินค้า 9703 9705 9702 9704
  • ของใช้/ของตกแต่งบ้านประเภทพลาสติก : หมวดสินค้า 3924
  • ของขวัญ/ของใช้/ของตกแต่งบ้านอื่นๆ : หมวดสินค้า 330499 420231 420232 420239 950510 3301 3406 6702

1.1 การนำเข้าจากทั่วโลก

ในปี 2552 สหราชอาณาจักรนำเข้าสินค้าของขวัญ/ของใช้/ของตกแต่งบ้านจากทั่วโลกมูลค่ารวมประมาณ 8,570.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.81 จากปีก่อนหน้า โดยการนำเข้าลดลงในทุกหมวดสินค้า ทั้งนี้ปัจจัยหลัก คือ การหดตัวของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ที่ทำให้กาลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศถดถอยลง ประกอบกับภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลกในปี 2551-2552 ที่ส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสหราชอาณาจักรลดลง ในส่วนของส่วนแบ่งตลาด จีนครองตลาดอันดับหนึ่งในเกือบทุกหมวดสินค้าเนื่องจากมีความได้เปรียบด้านต้นทุนทำให้สามารถแข่งขันด้านราคา

1.2 การนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย

ในปี 2552 สหราชอาณาจักรนำเข้าสินค้าของขวัญ ของใช้/ของตกแต่งบ้านจากประเทศไทยมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 114.58 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้านำเข้าจากไทยมูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 คือ สบู่ ตามด้วยผลิตภัณฑ์บารุงผิว ของใช้บนโต๊ะอาหารและในครัวทำจากเซรามิก (ที่ไม่ใช่ porcelain & china) ของใช้บนโต๊ะอาหาร/ในครัวทาจากพลาสติก กรอบรูป/กรอบกระจก/กรอบภาพทาจากไม้ ของใช้บนโต๊ะอาหาร/ในครัวหรือในส่วนอื่นๆของบ้านเรือนทาด้วยอะลูมิเนียม ของใช้บนโต๊ะอาหาร/ในครัวหรือในส่วนอื่นๆของบ้านเรือน ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า และของใช้บนโต๊ะอาหารและในครัวทำจากไม้ ตามลาดับ ทั้งนี้ การนำเข้าสินค้าในหมวดของขวัญ/ของใช้/ของตกแต่งบ้านจากไทยลดลงเกือบทุกรายการ ยกเว้น สินค้าบางรายการที่มีการขยายตัวของการนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ ผลิตภัณฑ์บารุงผิว ของใช้บนโต๊ะอาหาร/ในครัวทาด้วยพลาสติก อุปกรณ์รับประทานอาหารจำพวกช้อน/ส้อม/มีดทำด้วยโลหะสามัญ ของที่พกติดกระเป๋าเครื่องแต่งกายหรือกระเป๋าถือ ทำจากหนัง พลาสติกและวัสดุอื่น ลูกปัดและเครื่องประดับอื่นๆ ทำด้วยแก้ว ของอื่นที่ใช้ตกแต่งบ้าน (เช่น ผ้าม่าน) ผ้าห่มและถุงนอน ของใช้บนโต๊ะอาหาร/ในครัวหรือในส่วนอื่นๆ ของบ้านเรือนทำด้วยทองแดง สะท้อนให้เห็นว่า สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันท่ามกลางเศรษฐกิจซบเซาของสหราชอาณาจักร

ส่วนแบ่งตลาด

  • สบู่ : ที่ผ่านมา ไทยเคยครองตลาดในอันดับ 1 สำหรับสบู่ก้อนในปี 2550 แต่ตั้งแต่ปี 2551 เยอรมันกลายเป็นอันดับ 1 และไทยอันดับ 2 ตามด้วยจีน
  • ของใช้บนโต๊ะอาหารและในครัวทำจากเซรามิก (ที่ไม่ใช่ porcelain & china) : ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเป็นลาดับที่ 3 รองจากจีน และโปรตุเกส
  • กรอบรูป/กรอบกระจก/กรอบภาพทำจากไม้ : ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเป็นลาดับ 2 รองจากจีน
  • ของใช้บนโต๊ะอาหารและในครัว ทำจากไม้ : ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเป็นลาดับ 2 รองจากจีน

1.3 การส่งออกของไทยมายังสหราชอาณาจักร

ในปี 2552 สหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกใหญ่เป็นอันดับ 2 ของไทยสำหรับสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร/ในครัวและบ้านเรือน สินค้าถ้วยชามทำด้วยเซรามิก สินค้ากรอบรูปไม้ รองจากสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกใหญ่เป็นอันดับ 1 ของไทยสำหรับสบู่ เป็นตลาดส่งออกใหญ่เป็นอันดับ 2 ของไทยสาหรับผลิตภัณฑ์บำรุงผิว รองจากอินโดนีเซีย และเป็นตลาดส่งออกใหญ่เป็นอันดับ 3 ของไทยสาหรับเทียนไข รองจากสหรัฐฯ และเยอรมัน

2. ช่องทางนำเข้าและจำหน่ายสินค้า

2.1 Independent stores สามารถพบได้ในแต่ละเมืองในสหราชอาณาจักร แต่ละร้านมีสินค้าและรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ร้านค้าเหล่านี้มีการรวมกลุ่มกันผ่าน BHF-BSSA Group (BSSA-British Shops and Stores Association) ซึ่งทำให้เกิดกาลังการต่อรองจากผู้ผลิต ร้านค้าเอกชนเหล่านี้ประมาณว่ามีจำนวนกว่า 1000 ร้านทั่วสหราชอาณาจักร ซึ่งมักเป็นร้านค้าเก่าแก่ที่ตั้งมานานอยู่ในแต่ละเมือง ร้านค้าเหล่านี้มักประสพปัญหาภาวการณ์แข่งขันกับห้างสรรพสินค้าที่มีสาขาในแต่ละเมืองและมีการขายสินค้าที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ ปัจจุบัน ร้านค้าประเภท Fair Trade Shops มีการขยายตัวมาก โดยมีการรวมกลุ่มผ่าน British Association for Fair Trade Shops ร้านค้าเหล่านี้นำเข้าสินค้าหัตถกรรมจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก

2.2 Specialized store chains : ร้านค้าที่จำหน่ายของใช้ในบ้านโดยเฉพาะ (Houseware specialized store chains) ซึ่งมีจำนวนน้อย ร้านค้าที่เป็นที่รู้จักดีได้แก่ Cargo Homeshop, Lakeland, Chinacraft และ Steamer Trading Cookshops และร้านค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในบ้าน ได้แก่ Habitat ; Heal’s และ IKEA

2.3 เครือซุปเปอร์มาเก็ต mainstream ซึ่งนอกเหนือไปจากสินค้าจำพวกอาหารแล้ว เครือซุปเปอร์มาร์เกตขนาดใหญ่ขายสินค้า non-food ด้วย ได้แก่ เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า เครื่องสาอาง น้ำหอม เครื่องประดับ กระเป๋า/รองเท้า ได้แก่ Tesco; Sainsbury’s; Asda

2.4 ห้างสรรพสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าสินค้าเอง โดยมีแผนกจัดซื้อพร้อม buyers สำหรับแต่ละกลุ่มสินค้าโดยเฉพาะ ซึ่ง buyers เหล่านี้ มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกและสั่งซื้อสินค้า โดยห้างชั้นนำได้แก่ Harrods; Selfridges; Liberty; John Lewis; Mark & Spencer; House of Fraser; Debenhams เป็นต้น

2.5 เครือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ได้แก่ Argos ซึ่งเป็นผู้นาตลาด โดย Argos เป็นบริษัทในเครือของ Home Retail Group เครือค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ มีร้านค้ากว่า 700 แห่ง ขายสินค้าผ่าน catalogue (catalogue retailer) โดยไม่มีการโชว์สินค้าหน้าร้าน ลูกค้าสามารถสั่งซื้อทาง on-line หรือซื้อที่ร้านเองก็ได้ อนึ่งการซื้อสินค้ารวมทั้งของขวัญ/ของใช้/ของตกแต่งบ้านผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปี 2008 ยอดขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตอยู่ที่ 42 พันล้านปอนด์ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 72 พันล้านปอนด์ในปี 2010

2.6 ตัวแทนนาเข้าและจัดจำหน่าย (agents/distributors) ปัจจุบันบริษัทตัวแทนนำเข้ามีบทบาทสาคัญมากขึ้น Design Centre ณ Chelsea Harbour ซึ่งเป็นศูนย์รวม showroomsสินค้าของตกแต่งบ้านที่เน้นการออกแบบและคุณภาพสูงระดับ premium นอกจากจะขายสินค้าที่ออกแบบโดยเจ้าของร้านแล้ว ส่วนใหญ่ยังรับเป็น showroom และ distributor ให้แก่ผู้ผลิตสินค้าของตกแต่งบ้านชั้นนาในต่างประเทศด้วย ตัวอย่าง ในส่วนของสินค้าจากประเทศไทย เช่น Fox Linton เป็น distributor ให้กับ Jim Thompson และ Brunschwig & Fils เป็น distributor ให้แก่ Jagtar

3. พฤติกรรมผู้บริโภค

ผู้บริโภคชาวอังกฤษชมชอบสินค้าที่มีความคิดสร้างสรรสินค้าที่มีความแปลกใหม่ มีการออกแบบเรียบง่าย ใช้งานทนทาน ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (eco-friendly) หากเป็นสินค้านาเข้าจากประเทศกำลังพัฒนาก็จะให้ความสำคัญกับประเด็นว่าสินค้านั้นได้ให้ราคาที่เป็นธรรมแก่ผู้ผลิตหรือไม่ (fair trade)

4. แนวโน้มตลาด

นิตยสาร Gift Focus ซึ่งเป็นนิตยสารชั้นนำในสหราชอาณาจักร คาดการณ์ว่าแนวโน้มสินค้าของขวัญที่ขายดีสำหรับปี 2009/2010 คือ เทียนหอม ทั้งนี้ เนื่องจากเทียมหอมมีราคาไม่แพงและเป็นสินค้าที่ทาให้รู้สึกดี (‘feel good’) แก่ผู้ได้รับ ทำให้ผู้บริโภคซึ่งจำเป็นต้องรัดเข็มขัดในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำยังสามารถให้ของขวัญในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆได้ ในส่วนของรูปแบบสินค้า เทียนหอมในภาชนะแก้วมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากที่สุด สำหรับวัสดุที่ใช้แนวโน้มเป็นวัสดุเทียนไขจากธรรมชาติมากขึ้น เช่น ถั่วเหลือง ขี้ผึ้ง (ทั้งนี้ หากเป็นน้ามันปาล์ม แม้ว่าจะเป็นวัสดุจากธรรมชาติแต่ผู้บริโภคกลับไม่นิยม เพราะมองว่าวัสดุดังกล่าวเชื่อมโยงกับการทำลายป่าในอินโดนีเซียเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน) อย่างไรก็ดี paraffin candles ก็ยังได้รับความนิยมมากที่สุด สำหรับกลิ่นแนวโน้มปี 2010 นิยมกลิ่นดอกไม้ ต้นไม้ เช่น วานิลลา ลาเวนเดอร์ orange blossom และ magnolia มากกว่ากลิ่นหวานๆ แบบขนม นอกจากนี้ สีของเทียนหอมก็มีความสำคัญเน้นสีตามแฟชั่นของตกแต่งบ้าน ตกแต่งโต๊ะ โดยจัดทำเป็น collection ตามฤดู ส่วนการออกแบบเน้นที่มี style วัสดุหีบห่อที่สวยงามและทำจากกระดาษที่ recycle

สำหรับสินค้าของใช้/ของตกแต่งบ้าน นั้น การออกแบบที่ทันสมัย และราคาสินค้า เป็นปัจจัยสำคัญมากขึ้นในการเลือกซื้อสินค้า ความนิยมในสินค้ารูปแบบดั้งเดิมจะค่อยๆ เลือนหายไป ปัจจุบัน ผู้ค้าปลีกรายใหญ่มีการแข่งขันด้านราคากันอย่างต่อเนื่อง โดยมีการลดราคาสินค้านอกฤดูการณ์มากขึ้น เรียกได้ว่า แทบจะลดกันตลอดทั้งปี ทั้งนี้ เนื่องจาก แม้ว่าสหราชอาณาจักรจะหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 โดยมีอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องกันมาถึง 18 เดือน การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะเป็นไปค่อนข้างช้าและมีความเปราะบางมาก โดยในปี 2553 นี้ รัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะขยายตัวทั้งปีเพียงร้อยละ 1.25 สาเหตุสาคัญ คือ จำนวนคนว่างงานยังคงสูงมากถึงกว่า 2 ล้านคน กอปรกับสถาบันการเงินยังมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อทำให้ผู้บริโภคยังคงมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย

5. สมาคมการค้าที่เกี่ยวข้อง

The Giftware Association (GA) เป็นสมาคมที่มีสมาชิกเป็นผู้ผลิต ผู้ออกแบบ ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้นาเข้า และผู้ส่งออก สินค้าของขวัญ (gift) และของใช้/ของตกแต่งบ้าน (homeware) ใน สหราชอาณาจักร

6. ภาษีศุลกากร

นำเข้าของทุกหมวด/รายการสินค้า สามารถหาได้ที่ website http://ec.europa.eu/taxation_customs/dds/cgi-bin/tarchap?Lang=EN โดย click ที่ browse ก่อน เพื่อหารหัส (code) สินค้า จากนั้นพิมพ์รหัสลงไป และ click ประเทศที่เป็นแหล่งนาเข้า และ click ที่ customs duties

7. โอกาสและความท้าทาย

สินค้าของใช้/ของตกแต่งบ้านในสหราชอาณาจักรนั้นสามารถแบ่งสินค้าได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มมีลักษณะเด่นของสินค้า และ ดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน การทาความเข้าใจว่ากาลังผลิตและสินค้าของผู้ผลิตไทยเหมาะสมกับกลุ่มสินค้าใดใน 3 กลุ่มนี้ จะทาให้สามารถวางแนวทางในการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของสินค้าได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กลุ่มสินค้าดังกล่าว ได้แก่

7.1 สินค้าเอกลักษณ์ : สินค้ากลุ่มนี้คงรูปแบบและเอกลักษณ์ของแหล่งที่ผลิตสินค้า และสินค้าที่มีการคัดลอกรูปแบบ ลวดลาย หรือรูปทรงจากศิลปหัตถกรรมพื้นเมือง และยังรวมไปถึงตัวหัตถกรรมพื้นบ้านเองด้วย ตัวอย่างสินค้าที่ประสบความสาเร็จในตลาดสหราชอาณาจักร คือ เครื่องครัว Tierra Negra Cookware จากประเทศโคลัมเบีย ซึ่งนาเข้าโดย Scot Columbus ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวมาตั้งแต่ปี 1992 โดยได้มีการพัฒนาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้ผลิตซึ่งเป็นครอบครัวช่างฝีมือในหมู่บ้านเล็กๆในโคลัมเบีย ซึ่งมีกรรมวิธีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่แปลกไม่เหมือนใคร โดยขึ้นรูปด้วยมือ ทั้งนี้ Scot Columbus ได้เข้าไปแนะนาเทคนิคการผลิตใหม่ให้แก่ช่างเหล่านี้เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านความทนทาน และการออกแบบ ส่งผลออกมาเป็น Tierra Negra ซึ่งสามารถใช้เป็นทั้ง cookware และ tableware ได้ นอกจากนี้ ยังจัดเป็นผลิตภัณฑ์ organic เนื่องจากไม่มีการผสมสารใดๆทาจากดินเหนียวล้วนๆ ปัจจุบันมีขายในห้างสรรพสินค้าชั้นนา ได้แก่ John Lewis

สินค้ากลุ่มนี้มักดึงดูดลูกค้าที่มีความสนใจในศิลปหัตถกรรมจากต่างชาติ การประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับลูกค้ากลุ่มนี้สามารถทาได้โดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ถูกต้องและชัดเจนว่าสินค้าชิ้นนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีคุณค่าความแตกต่างกับสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดอย่างไร นอกจากนี้ผู้ผลิตควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการนาเอาวัสดุ และการผลิตดั้งเดิมเข้ามาประยุกต์ใช้

7.2 สินค้าที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบางส่วน สินค้ากลุ่มนี้มักได้รับการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์หรือลักษณะการใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแล้ว แต่ยังแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของผู้ผลิต โดยสินค้าในกลุ่มนี้มักรูปลักษณ์ภายนอกที่บ่งชี้ถึงประเทศหรือกลุ่มผู้ผลิต แต่บ่งบอกในลักษณะที่ไม่ชัดเจนเท่ากับสินค้ากลุ่มแรก เช่นผ่านทางวัสดุ หรือ วิธีการผลิตที่อีกเอกลักษณ์ เป็นต้น

Tefal ผู้ผลิตเครื่องครัวชั้นนาของยุโรป กับชุด Mosaic ซึ่งประกอบไปด้วย อุปกรณ์สาหรับปรุงอาหารอินเดีย (karhai) อาหารจีน (wog) อาหารโมรอคโค (taijine) อาหารสเปน (paella) และอาหารแมกซิกัน (fajita) แสดงให้เห็นถึงความนิยมในการปรุงอาหารนานาชาติของชาวอังกฤษ

กลุ่มลูกค้าของสินค้ากลุ่มนี้มีขนาดใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งมักเป็นกลุ่มลูกค้าวัยทางานที่นาสมัย สินค้าจึงควรมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่ และยังควรคานึงถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสินค้าในด้านต่างๆที่มักเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอด้วยเช่น แนวโน้มด้านความสวยงาม (Aesthetic Trends) เทคโนโลยีวิธีการผลิตใหม่ๆ เป็นต้น นอกจากความสวยงามแล้วลูกค้ากลุ่มนี้มักต้องการสินค้าที่สามารถใช้งานได้จริง มีความทนทานและมีคุณภาพอีกด้วย

7.3 สินค้าที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบโดยสิ้นเชิง

กลุ่มสินค้ากลุ่มสุดท้ายนี้เป็นกลุ่มที่มีความซับซ้อนมากที่สุด รูปลักษณ์ของสินค้าไม่ใช่จุดสำคัญที่แสดงออกถึงที่มาของสินค้าอีกต่อไป แต่สิ่งที่สำคัญที่สร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้าคือปรัชญาหรือแนวทางในการสร้างสรรค์สินค้าชิ้นนั้นๆ

ตัวอย่างเช่น MUJI เป็นร้านค้าปลีกจากญี่ปุ่นที่ถูกก่อตั้งขึ้นในช่วงปี 1980 ปัจจุบัน มีร้าน MUJI ทั้งในสหราชอาณาจักร และยุโรป นอกจากนี้ ยังมีขายในห้างสรรพสินค้าชั้นนา ได้แก่ Selfridges; House of Fraser ทั้งนี้ MUJI ถูกก่อตั้งขึ้นด้วยปรัชญาเบื้องต้นคือ สินค้าต้องไม่มียี่ห้อ มีคุณภาพ และมีราคาที่เหมาะสม (non branded quality products at reasonable prices) สินค้าเน้นการออกแบบที่เรียบง่าย ใช้สีกลางเป็นหลัก โดยเฉพาะสีขาว ขายสินค้าหลากหลาย ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า/รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องครัว อุปกรณ์ในห้องน้า สบู่ เครื่องสาอาง กรอบรูป stationary นาฬิกา เป็นต้น

การที่สินค้าจะคงไว้ซึ่งแนวความคิดในการผลิตและมีการออกแบบ เลือกใช้วัสดุ วิธีการผลิต และการส่งเสริมการขายที่สอดคล้องกับแนวความคิดของสินค้านั้นเป็นเป้าหมายหลักของสินค้าในกลุ่มนี้ สินค้ากลุ่มนี้มักเป็นกลุ่มสินค้าที่ท้าทายผู้ผลิตมากที่สุด เนื่องมาจากสินค้ามักเป็นนวัตกรรมใหม่ หรืออยู่ภายใต้แนวความคิดแบบใหม่ ทาให้ต้องสร้างตลาดใหม่เพื่อรองรับสินค้าด้วย

8. ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ

8.1 แม้ว่าจีนจะครองตลาดสินค้าของขวัญ ของใช้ ของตกแต่งบ้านในสหราชอาณาจักรเกือบทั้งหมด เนื่องจากสามารถผลิตสินค้าในราคาที่ถูกกว่าคู่แข่ง แต่ยังมีช่องทางที่ผู้ประกอบการไทยน่าจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ โดยสิ่งสำคัญ คือ การออกแบบที่แตกต่าง (original design) มีคุณภาพ และการเน้นประเด็นที่ผู้บริโภคชาวอังกฤษให้ความสาคัญ คือ การใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น วัสดุ recycle นอกจากนี้ แบลนด์สินค้ามีความสาคัญ หากผู้บริโภคยอมรับ จะทำให้สามารถครองตลาดได้ในระยะยาว

8.2 การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าของขวัญ/ของใช้/ของตกแต่งบ้าน เป็นช่องทางสำคัญจะทาให้ได้เห็นภาพแนวโน้มความต้องการของตลาด รวมทั้งเปิดโอกาสให้ได้พบกับผู้นาเข้า/ผู้จัดจาหน่าย/ผู้ค้าปลีก/ค้าส่งเพื่อเจรจาค้าขายโดยตรง งานแสดงสินค้าของขวัญ/ของใช้/ของตกแต่งบ้านในสหราชอาณาจักรในปี 2010 ได้แก่

8.2.1 Top Drawer Spring เดือนมกราคมของทุกปี

8.2.2 Spring Fair International จัดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

8.2.3 London Design Week 2010 : 21-26 March 2010 ณ Chelsea Harbour Design Centre

8.2.4 Autumn Fair International จัดช่วงเดือนกันยายนของทุกปี

8.2.5 Top Drawer Autumn เดือนกันยายนของทุกปี

8.2.6 100% Design เดือนกันยายนของทุกปี

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ