ข้อมูลการตลาดสินค้าผลิตภัณฑ์ยางพาราในไต้หวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 16, 2010 17:18 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ขอบเขตสินค้า : HS 4011- HS4017 ยางรถยนต์และผลิตภัณฑ์ยางพารา

1. ภาวะการผลิต

ตามข้อมูลกรมสถิติ กระทรวงเศรษฐการของไต้หวัน (Department of Statistics, Ministry of Economic Affiars) ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์ยางในไต้หวันปี 2009 มีสภาพลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำจากวิกฤติการเงินโลก มูลค่าการผลิตรวมเท่ากับ 68,408 ล้านเหรียญไต้หวัน ลดลงจากปี 2008 ร้อยละ 20.24 รายละเอียดตามตารางที่ 1

ทั้งนี้ ตามข้อมูลของกระทรวงเศรษฐการไต้หวันระบุว่าในปี 2008 จำนวนโรงงานยางในไต้หวันมีประมาณ 1,017 แห่ง และมีการจ้างงานประมาณ 31,561 คน

2. การส่งออก

สินค้าที่ไต้หวันส่งออกมากคือ ยางรถยนต์ ในปี 2009 ส่งออกมูลค่า 695.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐฯ (20.62%) ญี่ปุ่น 13.81% ออสเตรเลีย (5.44%) อังกฤษ (5.34%) แคนาดา (3.88%)

สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางใช้ในอุตสาหกรรมและอื่นๆ ในปี 2009 มีมูลค่าประมาณ 350 ล้านนเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐ (32.7%) ยุโรป (18.4%) จีน (11.7%) ฮ่องกง (6.3%) ญีปุ่น (4.8%) ออสเตรเลีย (2.6%)

3. การนำเข้า

ไต้หวันมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ ได้แก่ ยางนอกชนิดอัดลม ยางใช้แล้ว ยางใน ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยหรือเภชัสกรรม ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและส่วนประกอบ ยางวัลแคไนซ์ ยางแข็ง

เนื่องจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก และอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกตกต่ำ ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ยางลดลง การนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางแต่ละชนิดในปี 2009 อยู่ในภาวะลดลง ระหว่าง ร้อยละ 10-36 ยางในลดลดมากที่สุด คือร้อยละ 36.21 รองลงมาคือ ยางใช้แล้ว ลดลงร้อยละ 30.28 ยางแข็งลดลง ร้อยละ 29.88

ผลิตภัณฑ์ยางที่ไต้หวันมีการนำเข้ามาก 3 อันดับแรกในปี 2009 คือ ยางรถยนต์ชนิดอัดลม มูลค่า 172.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางวัลแคไนซ์ 93.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเครื่องแต่งกายยาง 20.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สำหรับสินค้าผลิตภัณฑ์ยางที่ไต้หวันนำเข้าจากไทยมาก 3 อันดับแรกในปี 2009 คือ

1) ยางรถยนต์ นำเข้ามูลค่า 19.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.74 ส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 11.2

2) เครื่องแต่งกายและส่วนประกอบ นำเข้ามูลค่า 6.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 24.33 ส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 28.73

3) ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยและเภสัชกรรม นำเข้ามูลค่า 3.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 23.94 ส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 44.89

6. อัตราภาษีศุลกากรและระเบียบการนำเข้า

ไต้หวันแบ่งการจัดเก็บภาษีเป็น 2 คอลัมน์ คือ คอลัมน์ที่ 1 จัดเก็บจากประเทศที่มีผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน (รวมประเทศไทย) และคอลัมน์ที่ 2 เก็บจากประเทศที่มีการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีกับไต้หวัน และคอลัมน์ที่ 3 เก็บจากประเทศทั่วไป

สินค้าผลิตภัณฑ์ยางพาราจัดอยู่ในพิกัดศุลกากร HS Code ระหว่าง 4011 - 4017 อัตราภาษีคอลัมน์ที่ 1 (รวมประเทศไทย) ของสินค้าผลิตภัณฑ์ยางพาราชนิดต่างๆ ปรากฎดังนี้

HS 4011 ยางนอกชนิดอัดลม (new pneumatic tyres, of rubber)

                  ใช้กับรถยนต์                            ร้อยละ 15
                  ใช้กับยานอวกาศ                         ยกเว้นภาษี
                  ใช้กับยางรถจักรยานยนต์และจักรยาน          ร้อยละ 10

HS 4012 ยางหล่อดอกใหม่ หรือยางใช้แล้ว (retreaded tyres)

                  สำหรับรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์               ร้อยละ 20
                  อื่นๆ                                  ร้อยละ 15

HS 4013 ยางใน

                  ใช้กับรถยนต์                            ร้อยละ 15
                  ใช้กับยานอวกาศ                         ยกเว้นภาษี
                  ใช้กับยางรถจักรยานยนต์และจักรยาน          ร้อยละ 10
          HS 4014 ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยและเภสัชกรรม             ร้อยละ 5

HS 4015 เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบ, ถุงมือยาง ร้อยละ 5

HS 4016 ยางวัลแคไนซ์ (Vulcanised rubber) ร้อยละ 10

HS 4017 ยางแข็ง (Hard Rubber)

                  Waste and Scrap                      ร้อยละ 14
                  อื่นๆ                                  ร้อยละ 10

7. ช่องทางการจำหน่าย

การจำหน่ายยางรถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตลาดผู้ผลิตและผู้ประกอบรถยนต์ และตลาดผู้บริโภค ในส่วนตลาดผู้ผลิตภัณฑ์ช่องทางจำหน่ายคล้ายกับการนำเข้าสินค้าอะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์ อื่นๆ สำหรับในตลาดผู้บริโภค บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ชั้นนำระดับโลก ได้แก่ Bridgestone ของญี่ปุ่น, Goodyear ของอเมริกัน, Michilin ของฝรั่งเศส ล้วนแต่มีตัวแทนจำหน่ายและมีศูนย์บริการลูกค้าของตนเอง ในส่วยของผู้ผลิตยางรถยนต์แบรนด์เนม ไต้หวัน เช่น Federal, Maxxis, Kenda จะใช้กลยุทธ์ในการตั้งศูนย์จำหน่ายและบริการลูกค้าโดยตรงเช่นกัน ซึ่งการจัดตั้งศูนย์บริการลูกค้าจะมีการจัดตั้งในพื้นที่ในห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้นด้วย

ในส่วนของช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เช่น สินค้าชิ้นส่วนยางเกี่ยวกับรถยนต์ ชิ้นส่วนยางอุปกรณ์การแพทย์ ถุงมือยาง ผลิตภัณฑ์ยางอื่น มีความหลากหลายและเป็นไปตามสภาพตลาดสินค้าแต่ละชนิด ซึ่งมีทั้งระบบการนำเข้าโดยผู้นำเข้าหรือตัวแทน หรือแม้แต่ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ (end user) นำเข้าโดยตรง

8. งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง

1) งานแสดงสินค้าพลาสติกและยาง

Show: 2010 TAIPEIPLAS

Show Date: 2010/03/05 - 2010/03/09

Plastic & Rubber Processing Machinery, Injection Molding Machinery, Blow Molding Machinery, Extruders, Printing Machinery, Auxiliary Equipment, Mold & Dies, Parts & Accessories, Raw Materials, Semi-finished & Finished Products.

venues: Taipei World Trade Center NANGANG Exhibition Hall Tel: 886-2-2727-5200

Show: 2010 TAIPEIAMPA

Show Date: 2010/04/12 - 2010/04/15

Autumobile Frames & Parts, Engine PartS & Fitings, Parts of Elctric Vehicle (EV), Power Trains, Steering Lamps, Brakes, Auto Accessories, Wheels, Tires, Wheel, Tires, Wheel Covers, Rubber & Plastic Parts, Electrical Parts, Die & Jig Fixtures, Car Care Products, Tool & Equipment.

venues: Taipai World Trade Center NANGANG Exhibition Hall Tel: 886-2-2725-5200

3) งานแสดงสินค้าเครื่องกีฬา

Show: 2010 TaiSPO

Show Date: 2010/04/29 - 2010/05/02

Sporting ball, rackets, golf equipment, fitness equipment, diving & water sports equipment, camping applications, mountaineering, martial art products, skiling equipment, skates, sportswear, spoets protective devices, and other leisure goods.

venues: Taipai World Trade Center NANGANG Exhibition Hall Tel: 886-2-2725-5200

9. สรุป

ผลิตภัณฑ์ยางพาราเป็นสิ่งที่มีการใช้แพร่หลายทั้งในด้านอุตสาหกรรมและชีวิตประจำวัน วัสดุยางมีคุณสมบัติพิเศษซึ่งวัสดุสังเคราะห์เลียนแบบได้ยาก ประเทศไทยมีการเพาะปลูกต้นยางพาราเป็นแหล่งวัตถุดิบปริมาณมาก หากนำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางจะเป็นการเพิ่มมูลค่า สำหรับผู้ที่ประสงค์จะขยายตลาดไปยังไต้หวันติดต่อผู้นำเข้าได้ตามรายชื่อดังแนบ

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ