สถานการณ์การค้าไทย-อิตาลี เดือนเมษายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 23, 2010 15:46 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1) สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลี
No.            Data           2009 (% change)      2010 forecast
 1    GDP                          -4.9%                +1.0%
 2    Inflation rate               +0.8%                +1.6%
 3    Consumption rate             -0.8%                +0.4%
 4    Production rate             -17.4%                +3.8%
 5    Import                       -4.0%                +2.4%
 6    Export                       -6.7%                +1.9%
 7    Unemployment Rate (%)        +7.8%                +8.8%
 8    Public debt(%GDP)           114.8%               117.2%
ที่มา ISAE (Ministry of Treasury and of the Ministry of Budget and Economic Planning)

2) การส่งออกของไทยไปยังอิตาลี
          ปี 2552 ไทยส่งสินค้าออกมายังตลาดโลกคิดเป็นมูลค่า 152,502.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 14.2 โดยมีมูลค่าการส่งออกมายังประเทศ อิตาลี 1,314.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงถึงร้อยละ 33.5
          สำหรับปี 2553 เดือนกุมภาพันธ์ ไทยส่งออกมายังอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 314.1 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4

                             สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของไทยไปยังประเทศอิตาลีปี 2553
อันดับที่          ชื่อสินค้า                               มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐฯ                 อัตราการขยายตัว(%)
                                           2551     2552   2553 (ม.ค.-ก.พ.)     2552/2551   2553 (ม.ค.-ก.พ.)
  1   อัญมณีและเครื่องประดับ                   182.5    155.3       52.3               -14.8          +24.1
  2   เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ           182.4     96.2       39.9               -47.2         +130.6
  3   รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ             100.8     56.6       20.8               -43.8          +41.1
  4   ยางพารา                             140.7     55.8       19.8               -60.3         +168.1
  5   ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง                 104.4     93.9       13.8               -10.0           +0.9
  6   ผลิตภัณฑ์ยาง                            61.4     48.5       12.5               -21.0          +31.7
  7   เสื้อผ้าสาเร็จรูป                         65.9     46.7       10.2               -29.2          +12.1
  8   อาหารสัตว์เลื้ยง                         45.9     51.8       10.2               +12.8          +22.2
  9   เคมีภัณฑ์                              103.4     49.9        9.1               -51.6          +24.1
 10   เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ     51.4     42.4        8.7               -17.5          -16.2
          รวม 10 รายการ                 1,038.9    697.2      197.1               -32.9          +43.3
          อื่นๆ                             940.5    617.4      117.0               -34.3          +23.9
          รวมทั้งสิ้น                       1,979.4  1,314.6      314.1               -33.5          +35.4
ที่มา http://www2.ops3.moc.go.th/

          ปี 2553 เดือนกุมภาพันธ์ การส่งออกสินค้าไทยมีแนวโน้มดีขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2552 โดยเฉพาะสินค้าเครื่องประดับอัญมณี เครื่องปรับอากาศ/ส่วนประกอบ ยางพารา/ผลิตภัณฑ์ยาง และอาหารสัตว์เลี้ยง สำหรับสินค้าไทยที่ได้รับผลกระทบ จากตัวเลขการส่งออก ณ ช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่
          1. หมวดสินค้าอาหาร ได้แก่ ปลาหมึกสด/แช่เย็น/แช่แข็ง โดยอิตาลีหันมานาเข้าเพิ่มขึ้นจากประเทศเยอรมัน จีน และประเทศแถบแอฟริกาได้แก่ เซเนกัล และ เมาริตทาเนีย
          2. หมวดเครื่องแต่งกาย ได้แก่ เสื้อผ้าสาเร็จรูป เนื่องจากราคาสูงเทียบกับนำเข้าจากประเทศอื่นๆ ได้แก่ จีน ตูนีเซีย สเปน เชค บังคลาเทศ ปากีสถาน อินโดนีเซีย
          3. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อิตาลีหันมานำเข้ามากขึ้นจากประเทศจีน
             สาเหตุหลักของการนำเข้าสินค้าดังกล่าวที่ลดลงสืบเนื่องมาจาก
              - อิตาลีหันไปนาเข้าจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ากว่า
              - อิตาลีเข้าไปตั้งฐานการผลิตในประเทศที่มีความได้เปรียบด้านต้นทุนและส่งกลับมาจาหน่ายในประเทศ
              - ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและรายได้ที่ลดลงของครอบครัว ทาให้ผู้คนยังคงระมัดระวังในการใช้จ่าย แม้ว่าคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจอิตาลีปีนี้และปีถัดไปจะเป็นบวกก็ตาม

3) การนำเข้าของไทยจากอิตาลี
          ปี 2552 ไทยนำเข้าสินค้าจากตลาดโลกคิดเป็นมูลค่า 133,796 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 25.3 โดยมีมูลค่าการนำเข้าจากประเทศอิตาลี 1,484 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.9
          สำหรับปี 2553 เดือนกุมภาพันธ์ ไทยนำเข้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 231.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4

                              สินค้านาเข้า 10 อันดับแรกของไทยจากประเทศอิตาลีปี 2553
อันดับที่          ชื่อสินค้า                               มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐฯ                 อัตราการขยายตัว(%)
                                           2551     2552   2553 (ม.ค.-ก.พ.)     2552/2551   2553 (ม.ค.-ก.พ.)
  1   เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ              417.3    329.6         61.9             -21.0          -19.3
  2   สินค้าทุนอื่น ๆ                           62.7     59.6         14.9              -4.8         +173.7
  3   เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ            115.3    132.7         14.0             +15.0          -52.7
  4   เคมีภัณฑ์                              107.3     83.5         12.8             -22.1          +18.8
  5   ผลิตภัณฑ์โลหะ                          124.2    108.3         12.4             -12.8           -7.4
  6   เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน                     34.7     25.1         11.7             -27.5         +225.3
  7   สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์                   41.3     52.8         10.9             +27.6         +331.6
  8   ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม             64.0     68.2         10.4              +6.6           +8.0
  9   เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ 98.9     53.0          8.9             -46.4          +52.1
 10   เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด                       73.6     53.4          8.3             -27.4           -5.7
        รวม 10 รายการ                   1,139.3    966.2        166.1             -15.2           -0.1
        อื่นๆ                               473.1    517.8         65.7              +9.4          +33.1
        รวมทั้งสิ้น                         1,612.4    1,484        231.8              -7.9           +7.4
ที่มา http://www2.ops3.moc.go.th/


4) แนวทางการปรับตัว
          ประเทศไทยควรปรับโครงสร้างสินค้าส่งออกเพื่อเตรียมรับมือกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไป ดังนี้
          4.1) แนวโน้มสินค้าที่อยู่ในความต้องการของตลาดอิตาลี ณ เวลานี้ ได้แก่ กลุ่มยารักษาโรค ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงในอิตาลีในรอบหลายปีที่ผ่านมา และมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะจากประเทศในเขตอียูและสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น สินค้า Biological products ยังมาแรงไม่ว่าจะเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ อาหารสด/แห้ง สินค้าเสริมความงาม สินค้าที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เป็นต้น ยังเป็นกลุ่มสินค้าที่สวนกระแสผลกระทบจากเศรษฐกิจตกต่าในปัจจุบัน โดยในอิตาลี มีอัตราการบริโภคกลุ่มสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ต่อปี
          4.2) ควรสนับสนุนสินค้าไทยที่สามารถทำตลาดอิตาลีได้ดี ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง เป็นสินค้าส่งออกไปยังตลาดอิตาลีอันดับที่ 8 และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี ด้วยสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 2 ต่อปี แต่ในปี 2552 มีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4 (เทียบกับอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 4 มีสัดส่วนร้อยละ 2-4) จึงเห็นควรให้พัฒนาคุณภาพสินค้าและสร้างรูปแบบให้หลากหลายตรงกับความต้องการของตลาดที่อาจเปลี่ยนแปลงต่อไป
นอกจากนั้น สินค้าเครื่องประดับอัญมณี กลุ่ม semi/synthetic material ที่กาลังเป็นที่นิยมในอิตาลีเนื่องจากตลาดผู้บริโภคระดับกลาง-ล่าง ซึ่งเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ที่สุด ให้ความนิยมนาเครื่องประดับ costume jewelry มาใช้ประกอบการแต่งกายมากขึ้น ทั้งนี้ ต้องทาราคาให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้
          4.3) เนื่องจากปี 2552 อิตาลีนาเข้าสินค้าลดลงเกือบทุกรายการ ยกเว้นยารักษาโรค สาหรับสินค้าที่อยู่ในภาวะซบเซาในระดับผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ได้แก่ กลุ่ม Textile products/เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย/สินค้ากลุ่มเครื่องหนังและ accessories, และกลุ่มอุปกรณ์เทคโนโลยี ที่มีการบริโภคสินค้าดังกล่าวลดลงในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 อย่างต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 1.3 และร้อยละ 1 ตามลาดับ สาหรับ อุตสาหกรรมที่ลดการผลิตลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล รถยนต์ และการก่อสร้างอาคาร



          สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน
          ที่มา: http://www.depthai.go.th

แท็ก Inflation   อิตาลี   NFL   GDP  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ