รายงานการเยี่ยมพบผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายสินค้าเฟอร์นิเจอร์ในสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 26, 2010 13:51 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ในวันที่ 8 และ 9 เมษายน 2553 สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก ได้นำผู้ส่งออกคุณชัชวลิต ธชาลุภัฏ ผู้จัดการฝ่ายขายจากบริษัท Pro Marketing Home & Decor Co., Ltd เข้าชม New York Design Center (NYDC) และพบผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่าย ตลอดจนสมาคมเฟอร์นิเจอร์และตัวแทนขาย (Sales Representative) ในสหรัฐอเมริกา

อาคาร NYDC เป็นอาคารแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่สาคัญในนครนิวยอร์ก ตั้งอยู่เลขที่ 200 Lexington Avenue, New York, NY มีอายุประมาณ 84 ปี มีพื้นที่ประมาณ 500,000 ตารางฟุต อาคารดังกล่าวถือเป็นแหล่งศูนย์กลางที่สำคัญของวงการเฟอร์นิเจอร์และการตกแต่งภายใน ปัจจุบันมีโชว์รูมแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ประมาณ 100 บริษัท แยกได้มากกว่า 500 ประเภท ทั้งสินค้าเฟอร์นิเจอร์คลาสสิก ร่วมสมัยและสินค้าสาหรับประกอบการตกแต่งภายใน เช่น ผ้าผืน วัสดุตกแต่งพื้น วัสดุตกแต่งผนังและอุปกรณ์ตกแต่งบ้านต่างๆ สำหรับข้อมูลรายชื่อบริษัทผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายที่มีโชว์รูมในอาคาร NYDC สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ www.nydc.com

นอกจากการเยี่ยมโชว์รูมแสดงสินค้าในอาคาร NYDC แล้ว ผู้ส่งออกยังได้เข้าพบและหารือกับผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายสินค้าเฟอร์นิเจอร์แบบคลาสสิก 3 ราย คือ

1. บจ. Barton Sharpe, Ltd.

บุคคลที่เข้าพบ: Mr. Marcos A. Delegado-Matos (President)

ที่อยู่: The New York Design Center

200 Lexington Avenue, Suite 914

New York, NY 10016

โทรศัพท์: 646-935-1500

โทรสาร: 646-935-1555

อีเมล์: marcos@bartonsharpe.com

เว็บไซต์: www.bartonsharpe.com

บริษัทนำเข้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์ ประเภทเก้าอี้ ตู้และโต๊ะ จากอังกฤษ โปรตุเกสและจีน และบางส่วนผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐเพนซิลเวเนีย บริษัทมีความต้องการที่จะจำหน่ายสินค้าที่มีดีไซน์ให้กับลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักออกแบบ ดังนั้นการผลิตของบริษัทจะมีปริมาณไม่มาก แต่จะเน้นความหลากลายของรูปแบบให้ลูกค้าได้เลือกสรร บริษัทมีความสนใจในการหาแหล่งผลิตสินค้าเพิ่มเติมโดยเฉพาะสินค้าเฟอร์นิเจอร์ประเภทเลียนแบบของเก่าซึ่งกาลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ อย่างไรก็ตามหากบริษัทไทยมีความสามารถในการทา Consolidate สินค้าให้กับบริษัท Barton Sharpe สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลกับบริษัทได้โดยตรง ต่อไป

2. บจ. Smith & Watson

บุคคลที่เข้าพบ: Ms. Barbara Ryan Pilcher (Vice President)

ที่อยู่: The New York Design Center

200 Lexington Avenue, Suite 801

New York, NY 10016

โทรศัพท์: 212-686-6444

โทรสาร: 212-686-6006

อีเมล์: brpilcher@smith-watson.com

เว็บไซต์: www.smith-watson.com

บริษัทนี้เริ่มจากธุรกิจของครอบครัวและพัฒนาไปสู่ธุรกิจใหญ่ จากการหารือพบว่าบริษัท ค่อนข้างมีความคุ้นเคยกับประเทศไทยเป็นอย่างดี เพราะ ในอดีต Ms. Pilcher เคยไปปฎิบัติงานและพานักที่ประเทศไทย จึงค่อนข้างมีความรู้และมีความเชื่อมั่นในเรื่องฝีมือและการออกแบบของไทย สินค้าส่วนใหญ่ที่บริษัทนำมาจัดจำหน่ายเสนอลูกค้าซึ่งเป็นกลุ่มสถาปนิก นักออกแบบทั้งแบบบ้านและแบบโครงการจะมีลักษณะการออกแบบไสตล์อังกฤษ ทั้งประเภทโต๊ะ เก้าอี้ ซึ่งประเภทสินค้าที่ลูกค้าให้ความสนใจส่วนมากจะเป็นเฟอร์นิเจอร์สาหรับห้องนอนและห้องอาหาร นอกจากนี้แล้วบริษัทยังมีบริการพิเศษให้กับลูกค้าในการในเรื่องการเลือกแบบผ้า (Fabric) ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกสรรได้จากแคตตาล๊อกของบริษัทหรือนำมาเองก็ได้ และยังมีบริการในเรื่องการจัดหาไม้และการผลิตให้ลูกค้าเดิม ในกรณีที่ลูกค้าต้องการเฟอร์นิเจอร์แบบเดียว สีเดียวกับชุดเดิม

บริษัทนำเข้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์ประเภทงานฝีมือ (Crafting) จากยุโรป และมีโรงงานผลิตสินค้าในนิวยอร์ก โรงงานตั้งอยู่ที่บล๊องซ์ (Bronx) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเก้าอี้และเป็นการ Finishing อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีความต้องการที่จะสรรหาผู้ผลิตแบบ OEM ให้กับบริษัท เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของบริษัทมีจานวนค่อนข้างมาก ซึ่งการผลิตในประเทศเพียงอย่างเดียวอาจไม่มีเพียงพอ ซึ่งขณะนี้บริษัทมีแบบเก้าอี้มากกว่า 400 แบบ ซึ่งแบบที่ได้รับความนิยมมีประมาณ 40 แบบ อย่างไรก็ดีหากผู้ผลิตไทยสามารถผลิตเก้าอี้คละแบบ แบบละประมาณ 24 ชิ้นให้กับบริษัทได้ บริษัทก็มีความสนใจที่จะหารือต่อไปในอนาคต

3. บจ. Michealangelo Designs Domus Design Center, Inc.

บุคคลที่เข้าพบ: Mr. Fred Farra (President)

ที่อยู่: 2 Main Avenue

Passaic, NJ 07055

โทรศัพท์: 973-779-3200

โทรสาร: 973-779-3494

อีเมล์: idp4angelo@aol.com

เว็บไซต์: www.michelangelodesigns.com

บริษัทนำเข้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์ทั้งแบบคลาสสิกและแบบร่วมสมัย โดยบริษัทจะทำหน้าที่จัดซื้อสินค้าจากยุโรปเพื่อส่งไปจำหน่ายยังอิตาลีและเลบานอน ดังนั้นสินค้าเฟอร์นิเจอร์แบบคลาสสิก จะเน้นไสตล์ฝรั่งเศสเป็นสาคัญ บริษัทมีความสนใจในสินค้าของผู้ส่งออกเนื่องจากมีสไตล์ใกล้เคียงกับของบริษัท ดังนั้น บริษัทจะได้ประชุมหารือภายใน หากผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ บริษัทอาจจะสั่งสินค้าในชั้นแรกประมาณ 1-2 ตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อส่งไปจัดจำหน่ายในเลบานอน ต่อไปบริษัทให้ความเห็นว่าตลาดทางแถบตะวันออกกลางเป็นตลาดเปิดใหม่ มีความสนใจในการซื้อเฟอร์นิเจอร์แบบคลาสสิกมากกว่าตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งตลาดเฟอร์นิเจอร์มีขนาดเล็กกลง การจำหน่ายแบบตู้คอนเทนเนอร์แบบในอดีตจึงค่อนข้างยาก

นอกเหนือจากการประชุมหารือกับผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายแล้ว สคร.นิวยอร์ก ได้นัดผู้แทนจากสมาคมเฟอร์นิเจอร์ในเขตนิวยอร์กมาร่วมประชุมหารือกับผู้ส่งออก คือ

Mr. Jordan Greenberg (Executive Vice President) สมาคม Greater New York Home Furnishings Association

Mr. Tommy Leflien (Sale Representative) สมาคม Greater New York Home Furnishings Association

Mr. Raymond Simonetti (Sale Representative) สมาคม Greater New York Home Furnishings Association

โดยสมาคมดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของสมาคม International Home Furnishing Representative Association เว็บไซต์ www.ihfra.org มีจำนวนสมาชิกที่เป็น Sale Representative มากกว่า 100 รายทั่วสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้ซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์เข้าหากันอย่างมีประสิทธิภาพ จากการหารือกับผู้แทนสมาคมฯ สามารถสรุปประเด็นที่สำคัญได้ ดังนี้

1. ตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ในสหรัฐอเมริกาโดยรวมในปัจจุบันมีแนวโน้มในการขยายการบริโภค เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2-5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยกลุ่มลูกค้าจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นทางด้านราคาและการออกแบบ ทางด้านราคาเป็นการยากที่จะแข่งขันกับผู้ผลิตจากจีน ดังนั้นสมาคมได้แนะนาให้ประเทศไทยพิจารณาตลาดระดับกลางถึงบน คือ เน้นการออกแบบ มีรูปแบบการนาเสนอใหม่ แต่ราคาสมเหตุสมผล

2. การจำหน่ายหากจะหวังจำหน่ายให้กับกลุ่มผู้นำเข้าขนาดใหญ่ ที่สั่งซื้อเป็นจำนวนมากเป็นไปได้ยาก เพราะ ผู้ซื้อกลุ่มดังกล่าวสนใจในเรื่องราคาเป็นลำดับแรก รองลงมาเป็นเรื่องการออกแบบและคุณภาพ ทั้งนี้ หากผู้ส่งออกไทยสามารถจับกลุ่มผู้ซื้อรายเล็กหรือกลางที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในตลาด ซึ่งบางรายยังไม่เคยนำเข้า เชื่อว่าสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยจะสามารถเจาะตลาดได้ เพราะสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยมีคุณภาพดีและราคาที่สมเหตุสมผล

3. ทั้งนี้ หากจะจาหน่ายโดยเน้นคุณภาพของสินค้า ทางสมาคมฯ แนะนำว่าผู้ส่งออกไทยควรมีโชว์รูมแสดงสินค้า ไม่จำเป็นต้องมีโชว์รูมแบบถาวร อาจจะเช่าพื้นที่บางส่วนที่ High Point และเชิญผู้ซื้อไปชมโดยต้องมีการประสานงานล่วงหน้ากับ SALE REP ก่อน จะทาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไม่ต้องเสี่ยงกับการเช่าโชว์รูมแสดงสินค้าแล้วไม่มีผู้ไปชม อย่างไรก็ตามสมาคมฯ เชื่อว่าหากของดีมีคุณภาพ ผู้ซื้อสัมผัสกับสินค้าจริงได้เชื่อว่าการทางานของ SALE REP ในการผลักดันสินค้าให้กับผู้ซื้อจะทำได้ง่ายขึ้น

4. หากผู้ประกอบการไทยบางรายไม่มีเงินทุนเพียงพอในการเช่าโชว์รูม อีกวิธีการหนึ่งที่สมาคมฯ แนะนา คือ การนำสินค้ามาทดสอบตลาดก่อนเพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา เช่น ค่าขนส่ง ค่าเช่าโกดัง ค่าเช่าพื้นที่จัดแสดงสินค้าหรือโชว์รูม

การนำสินค้ามาทดสอบตลาดผู้ส่งออกสามารถติดต่อ SALE REP ให้ประสานงานกับผู้ซื้อรายกลางและเล็กที่มีโชว์รูมแสดงสินค้าเอง ซึ่งโชว์รูมดังกล่าวจะให้โอกาสผู้ผลิตสามารถนาสินค้ามาจัดแสดงได้ โดยไม่เสียค่าเช่า ทั้งนี้ หากขายได้ผู้ซื้อจะสั่งสินค้าจากผู้ส่งออกเพิ่ม อย่างไรก็ตามหากสินค้าไม่สามารถจำหน่ายได้ผู้ส่งออกก็ต้องรับผิดชอบในการเอาของกลับคืน

ผู้ส่งออกไทยสามารถนำสินค้ามาจัดแสดงและจำหน่ายในลักษณะ Sample Sale เพื่อทดสอบความนิยมของลูกค้าในชั้นแรก ซึ่งผู้ส่งออกอาจจะส่งสินค้ามาเพียงแค่ 20 ชุด โดยกระจายตามโชว์รูมของผู้ซื้อรายกลางและเล็ก ประมาณ 5-6 แห่ง หากสินค้าสามารถจาหน่ายได้ SALE REP ก็จะได้รับค่านายหน้าประมาณร้อยละ 5 ของราคาสินค้า อย่างไรก็ตามหากผู้ส่งออกไม่มีเงินทุนในเรื่องการเช่าโกดังเก็บสินค้า สมาคมฯ แนะนาว่าผู้ส่งออกสามารถติดต่อหารือกับบริษัทขนส่ง เช่น Zenith ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งเฟอร์นิเจอร์สินค้ารายสาคัญของสหรัฐอเมริกา โดยผู้ส่งออกอาจต้องใช้บริการขนส่งของบริษัทเพื่อแลกกับการไม่ต้องเสียค่าเช่าโกดังเก็บสินค้า ทั้งนี้ แล้วแต่การตกลงของผู้ส่งออกและบริษัทขนส่ง

5. จากประสบการณ์ของสมาคมฯ สินค้าฟอร์นิเจอร์ยังเป็นที่ต้องการของตลาดสหรัฐอเมริกา เช่น ในบริเวณมลรัฐฟลอริด้า เซ้าท์แคโรไลนา นอร์ทแคโรไลนา ชิคาโก แมสซาชูเซส ทั้งนี้ หากผู้ส่งออกไทยสนใจขยายตลาดขอให้อย่าละเลยกลุ่มผู้ซื้อรายเล็ก ซึ่งมีมากกว่า 70 ราย ที่มีความสามารถในการซื้อและจะเป็นกลุ่มสำคัญที่จะผลักดันให้สินค้าหรือแบรนด์ของบริษัทเป็นที่รู้จักในตลาดสหรัฐอเมริกา

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ